ตอนที่ 1 ความแตกต่างระหว่าง MVVM และ jQuery ในการเรียกใช้ Kendo UI (Telerik)

การเขียน MVVM ในรูปแบบนี้ จะแตกต่างจากการเขียน jQuery ไปเลย เพราะวิธีการเขียนในส่วนตรงนี้จะเป็นการแทรก tag (data-blah) เพิ่มเข้าไปในส่วนของ html ในการกำหนด property ต่าง ๆ ซึ่งการกำหนด property ต่าง ๆ ของ MVVM นั้น จะไม่แตกต่างจากแบบ jQuery แต่จะแตกต่างกันตรงวิธีการนำไปใช้

MVVM ตัวอย่างในการเขียน ถ้าเราดูตาม Doc (Telerik) จะมีน้อยมาก ซึ่งตรงนี้จะเสียเวลาในการ ลองผิดลองดู ว่า property ไหนจะใส่ tag แบบไหน และหลังจากใส่ tag ไปแล้วเวลาผิดพลาด มักจะไม่ได้บอกตรงจุดที่ผิดพลาด ตรงนี้อาจทำให้ คนที่พึ่งเริ่มเขียนจะ งง ได้

ภาพตัวอย่างของ MVVM

jQuery ตัวอย่างในการเขียน Doc (Telerik) มีตัวอย่างในการเขียนมาก และสร้าง Copy Code ไปใช้ได้เลย ซึ่งจะสะดวกและรวดเร็วกว่า

ภาพตัวอย่างของ jQuery

จากภาพด้านบนทั้งสองภาพ เห็นแล้วว่าวิธีการเขียนจะแตกต่างกัน แต่ property ที่ใช้งานจะคล้ายคลึงกัน ทีนี้เราลองมาดู API Reference กันว่ามีอะไรเพิ่มเติมบ้างทั้งสองอันนี้

ภาพตัวอย่าง API Reference MVVM/jQuery

อ๊ะ ๆ เห็นอะไรไหม ทั้งสองอย่างมี property เหมือนกันแต่ ๆ อย่าพึ่งด่วนสรุปไปว่ารายละเอียดข้างในจะต่างกัน ถ้าลองคลิกเข้าไปดูแน่นอน property จะเป็นตัวอย่างของ jQuery อย่างเดียวทั้งหมดเลย ซึ่งบทความต่อไปจะแนะนำมาใช้ แต่ก่อนอื่นถ้ายังไม่รู้ว่า MVVM คืออะไรลองดูลิงค์ที่เตรียมไว้ให้เสร็จแล้วกันต่อเลย

Kendo MVVM ฉบับเข้าใจง่ายๆ

ตอนที่ 2 การสร้าง UI ให้รองรับ MVVM ของ Kendo UI (Telerik)

--

--