แมกนีเซียม สำคัญอย่างไร และบริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม?

ARINCARE
ARINCARE
Published in
1 min readJul 21, 2016
http://www.newsmax.com/FastFeatures/magnesium-food-sources/2014/09/14/id/593363/

“แมกนีเซียม” มีความจำเป็นต่อระบบการเผาผลาญของแคลเซียม และวิตามินซี เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มก. มีความจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ

มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน และช่วยคลายความเครียดได้ด้วย ส่วนคนที่ดื่มสุราเป็นประจำมักจะขาดแมกนีเซียม

ผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 250–500 มก. ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แนะนำ 300–355 มก. และร่างกายคนเรามีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 21 กรัม

http://craventhecity.com/its-time-to-stop-the-gushing/

ข้อดีต่อร่างกายของแมกนีเซียม

· ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน

· ช่วยต่อสู้กับอาการซึมเศร้า

· ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง และป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน

· ช่วยควบคุมระดับคอเรสเตอรอล

· ป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

· ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pain

· ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

· ช่วยให้ฟันแข็งแรง

· ช่วยป้องกันการสะสมของแคลเซียม นิ่วในไต และนิ่วในถุงน้ำดี

· บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

· เมื่อรวมกับแคลเซียม ทำงานคล้ายเป็นยาสงบประสาทจากธรรมชาติ

แหล่งจากธรรมชาติ

ธัญพืชไม่ขัดสี มะเดื่อฝรั่ง อัลมอนด์ ถั่ว ผักสีเขียวเข้ม กล้วย เมล็ดธัญพืช อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นแหล่งอาหารที่มีแมกนีเซียมต่ำ

http://www.tsgclub.net/กินธัญพืชบำรุงหัวใจx

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แมกนีเซียม และแคลเซียมในปริมาณที่เท่า ๆ กัน เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด มีจำหน่ายในรูปแบบวิตามินรวมและแร่ธาตุ หรือหาซื้อในรูปแบบแมกนีเซียมออกไซด์ 250 มก./เม็ด โดยทั่วไปมีจำหน่ายในขนาด 133.3 มก. และรับประทาน 4 เวลา ไม่ควรทานหลังอาหารทันที เพราะจะไปลดกรดในกระเพาะอาหารได้

อาการเป็นพิษหากทานมากเกินไป

หากรับประทานเป็นปริมาณมากในระยะเวลาที่นาน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากเราทานแคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงด้วย หรือหากไตของเราทำงานได้ไม่ดี

ศัตรู

ยาขับปัสสาวะ แอลกอฮอล์

***ข้อควรระวัง***

หากคุณกำลังรับประมานยากลุ่มดิจิทัลลิส เพื่อรักษาโรคหัวใจ ยานี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายคุณได้ หากคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียม และโพแทสเซียม และพึงระลึกไว้ว่ายาหลายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะแอมิโนไกลโคไซค์ ซิลพลาทิน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ไซโคลสปอริน ยาขับปัสสาวะ ฟอสคาร์เน็ต เจ็นทาไมซิน และเพนทามิดีน

--

--

ARINCARE
ARINCARE

สังคมสุขภาพ ความรู้เรื่องความงาม ยารักษาโรค การบริหารร้านขายยา