กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 3

Prowpannarai
artipania
Published in
2 min readSep 3, 2021

ไม่กังวลไปข้างหน้า ไม่คิดถึงข้างหลัง อยู่กับสิ่งที่ต้องทำตรงหน้า

ความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากที่ตัดสินใจเรื่อง Main idea ของหนังสือได้แล้ว
ว่าคือการผสมผสานกันระหว่าง Design Thinking + Visual Thinking + CBT

ก็จะต้องเขียนเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาด เพื่อให้ภาพที่วางไว้ครบถ้วนสมบูรณ์

เรื่อง Design Thinking — เขียนได้สบาย

เรื่อง Visual Thinking — เขียนได้สบาย

เรื่อง CBT Cognitive Behavioral Therapy — ยังไม่เคยเขียนที่ไหนเลย ยังไม่ค่อยมั่นใจ กล้า ๆ กลัว ๆ เอ..เราจะมีความรู้มากพอที่จะเขียนได้มั้ยนะ

ถึงยังไงก็ต้องเขียนล่ะ ไม่งั้นหนังสือก็ไม่เสร็จ แต่เพราะความกังวลยังมีก็เลยต้องมาสำรวจความคิดของตัวเองที่ทำให้ไม่กล้าลงมือเขียน

จึงมีความไม่ค่อยมั่นใจ กล้า ๆ กลัว ๆ เอ..เราจะมีความรู้มากพอที่จะเขียนได้มั้ย

แต่ถึงยังไงก็ต้องเขียนล่ะ ไม่งั้นหนังสือก็ไม่เสร็จตามแผนที่วางไว้ แต่เพราะความกังวลยังมีก็เลยต้องมาสำรวจความคิดของตัวเองแบบ CBT

สำรวจความคิดแบบ CBT

  1. เราประเมินความสามารถต่ำไปมั้ย — เราไม่มีความรู้ ความรู้ไม่พอที่จะเขียนรึเปล่านะ
  2. เรามองว่ามันจะเกิดเรื่องไม่ดี — เขียนไม่ดี — หนังสือออกมาไม่ดี

แล้วโอกาสที่จะเป็นแบบนั้นมันเยอะแค่ไหนนะ

3. แล้วเราสามารถจัดการสถานการณ์หรือมีทรัพยากรอื่น ๆ มาช่วยมั้ยนะ

ก็ต้องตอบว่า ก็ไม่ใช่ขนาดนั้น ก่อนหน้านั้นก็ทำเวิร์กช็อปการผสมผสาน Design Thinking และ CBT มาแล้วหลายรอบ ได้นำเสนอในงานประชุมในประเทศ และได้ไปพรีเซนต์ที่ Berlin มาแล้ว รวมถึงได้ไปสอน/ทำ workshop ให้กับสถาบันอื่น ก็เห็นความจริงว่าเราก็มีความรู้มากพอ

นอกจากนั้นถ้าเขียนไปแล้วติด หรือต้องเขียนในส่วนที่ลงลึกมาก ๆ และไม่แน่ใจก็หาข้อมูลได้นี่ในแง่วิชาการต่าง ๆ ว่าจะถูกผิดมั้ย และนอกจากการอ่านหนังสือของครูบาอาจารย์เพิ่มเติมและบทความวิชาการต่าง ๆ แล้ว เราก็คิดว่า ควรจะต้องมีใครสักคน ที่สามารถให้ feedback เรื่องความถูกต้องได้ ดังนั้นก็ลองหาคนที่มีความรู้เรื่อง CBT ที่เก่ง ให้ช่วยอ่านสิ แล้วค่อย ๆ เขียนออกมาทีละขยัก-สองขยัก สิ

เนื่องจาก บก.ไม่มีความรู้เรื่อง CBT ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เขาก็จะคอยดูว่าเราเขียนมาแล้วเขาอ่านแล้วเข้าใจมั้ย ก็เป็นการ check อีกรอบนึงไปในตัว นอกเหนือจากการตรวจภาษา และช่วยแก้ สลับ วิธีการเล่าเรื่อง

พอตรวจสอบความคิดแล้ว ว่าที่เราคิดตอนแรกจนกังวลนั้น มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น และประเมินตัวเองตามให้ตรงความจริงมากขึ้น เราก็แค่ทำให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้ ที่เหลือก็ปล่อยเป็นเรื่องอนาคตไป ดังนั้นก็ต้อง ลุยยย !!!

ระหว่างนั้นก็เป็นช่วงล็อคดาวน์รอบแรกของปี 2020 ก็เลยอพยพไปอยู่แถวชายทะเล เราก็เลยได้เหมือนเก็บตัวเขียนหนังสือ ซึ่งก็วางแผนไว้ว่าจะเขียนบทไหนกี่บท เนื้อหาส่วนไหนวันละกี่หน้า

(ถ้าดูในรูปประกอบ จะเห็นว่า CBT อยู่บทที่ 3) แต่ภายหลังปรับมาไว้เป็นบทที่ 2 แทน

ส่วนการลงมือเขียน CBT ได้นั้น เราคิดหัวข้อไว้ครบแล้ว และแบ่งไว้ย่อย ๆ เลยว่า ในหนึ่งครั้งของการลงมือนั่งเขียน ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน วันไหนก็ตาม เราจะหยิบขึ้นมาเขียนหนึ่งหัวข้อ แล้วก็เขียนเฉพาะเรื่องนั้น ไม่คิดถึงเรื่องอื่น

ทำอย่างนี้ ก็จะทำให้เขียนได้ โฟกัสมากขึ้น

ไม่กังวลไปข้างหน้า ไม่คิดถึงข้างหลัง อยู่กับสิ่งที่ต้องทำตรงหน้า เขียน ๆ ๆ อย่างเดียว

บทที่ 2 ในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นบทที่ให้เวลากับมันนานกว่าจะเสร็จ

และคนที่มาช่วยดูความถูกต้องให้ก็คือ…หมอทิพ แพทย์หญิงทิพมาศ เตชวิวรรธน์จิตแพทย์และเพื่อนร่วมรุ่น 5 ที่เรียน CBT ด้วยกันที่จุฬาฯ (ขอบคุณหมอทิพมาก ๆ ไว้ตรงนี้ด้วยอีกทาง)

นอกจากเนื้อหาแล้ว ภาพประกอบในบทนี้ ก็ค่อนข้างยาก เพราะเราใช้ Visual metaphor บางอย่างเข้ามา ซึ่งเป็น metaphor ที่เราใช้วาดเพื่ออธิบายให้เคส CBT ฟังด้วยในหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งตรงจุดนี้ไม่เคยแชร์กับใครเลย แต่ตัวเองคิดว่าเวิร์ก เพราะเคส CBT เข้าใจ มาตอนหลังจากเขียนหนังสือส่วนนี้เสร็จแล้ว ได้แชร์ให้หมอทิพและเพื่อนนักจิตวิทยาคลินิกอีกคนอ่าน ก็พบว่าโอเค และใช้อธิบายให้ supervisee ฟัง เขาก็ชอบ บอกว่าเข้าใจง่ายดี เห็นภาพมาก ๆ ก็เลยมั่นใจว่าใช้งานได้

มาใช้เวลาอีกครั้งกับเรื่องนี้ ในส่วนของการวาดภาพประกอบทั้งเล่ม เพราะนอกจากจะต้องออกแบบให้ดูเข้าใจง่ายแล้ว ก็ยังวาด ๆ แก้ ๆ อยู่อีกหลายรอบ โดยเฉพาะในบทที่ 1 และ บทที่ 2 ที่เป็น metaphor ที่เล่าไว้ด้านบน ขนาดตอนเอามาทำเลย์เอาท์ในหนังสือแล้ว ก็ยังแก้อีก ไว้จะเล่าเรื่องภาพประกอบในเล่มนี้ ในตอนถัด ๆ ไปค่ะ

ปล.บท CBT นี้ ตอนหลังมีอีกท่านหนึ่งช่วยดูให้ด้วย เป็นหนึ่งในสองท่านที่กรุณาเขียนคำนิยมหนังสือเล่มนี้นั่นเอง เขาเป็นใครกันนะ??

To be continued…(มีต่อตอนที่ 4)

พบกับ

หนังสือ “VisuaLIFEzation แก้ปัญหาชีวิตด้วยการคิดเป็นภาพ”

ที่ www.facebook.com/visualifezation หรือที่ www.visualifezation.com

Pre-order วันที่ 10 กันยายน นี้ พร้อมของแถมสุดพิเศษสำหรับช่วงโปรโมชั่นนี้ ONLY!

--

--

Prowpannarai
artipania

I design to help people learn & change behavior. a Learning Experience Design Director at Artipania, Stanford /D.School/UCL/Arch Chula alum. www.artipania.com