กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 4

Prowpannarai
artipania
Published in
2 min readSep 3, 2021

ว่าด้วยเรื่องภาพประกอบ

#กว่าจะมาเป็นหนังสือ Visualifezation ตอนที่ 4

ว่าด้วยเรื่องภาพประกอบ

ปกติรูปที่เราใช้วาดในการทำงานแบบเผยแพร่บน social media มักจะเป็นสไตล์ที่เรียกว่า star man ให้นึกถึงรูปคนในโลโก้กลุ่มซูโม่สำอาง (ถ้าใครเกิดทัน) ที่จะเป็นตัวก้อน ๆ กลม ๆ จะมีผอมบ้าง อ้วนบ้าง เตี้ย สูง แล้วแต่ขณะนั้น ๆ

แต่เวลาทำงานให้ Client ก็จะมี request มาให้ออกแบบให้เป็นแบบนั้นแบบนี้บ้าง เช่น ขอให้ดู สัดส่วนหน้าตาเสื้อผ้าหน้าผมดูเป็นคน แล้วแต่รูปแบบงานนั้น ๆ ความ formal ต้องการสื่อสารกับใคร audience เป็นกลุ่มไหน ก็จะทำให้ตามต้องการในส่วนที่ทำได้

ทีนี้พอมาทำหนังสือเล่มนี้ มันจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับคนค่อนข้างเยอะ รวมถึงบางเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรู้สึก จึงคิดว่า จะลองวาดคนในแบบสไตล์ของเราที่มีเสื้อผ้ามีทรงผม ท่าทางชัดเจนดูดีมั้ย จะได้ดู real ไปเลย แต่พอให้ บก.และเพื่อน ๆ ช่วยกันวิจารณ์ ทุกคนก็บอกว่า ให้วาดแบบหัวกลม ๆ ที่วาดอยู่นั่นแหละ เพราะมีความเป็นตัวเรามากที่สุด วาดมาบ่อยแล้ว และใครเห็นก็ชื่นชอบ

ตัวกลม เป็น style ที่วาดมานานและถนัดมือ เพราะวาดง่ายมาก ๆ

บังเอิญมาก ๆ ที่ในช่วงล็อคดาวน์ที่ไปอยู่ชายทะเล Dr.BJ Fogg ผู้เป็นอาจารย์และเจ้านายเก่าสมัยอยู่สแตนฟอร์ด ที่เป็นนักเขียนระดับ Bestseller ของ New York times ด้วย ได้ติดต่อมาว่า เขากำลังจะทำ media เพิ่มเติม ที่ต่อยอดจากหนังสือเล่มใหม่ของเขา เขาชอบรูปที่เราวาด จึงอยากให้เราวาดรูปประกอบ content ให้หน่อย เอาแบบตัวกลม ๆ หัวกลม ๆ ที่เราวาดประจำนั่นแหละ

ดังนั้นระหว่างที่ทำหนังสือของตัวเองไปด้วย ก็ต้องแบ่งเวลามาทำงานวาดชิ้นนี้ด้วย

ซึ่งกลับกลายเป็นข้อดี เหมือนเป็นการได้ polish สไตล์ของตัวกลม ๆ ให้ solid ขึ้น ให้เนี้ยบขึ้น และหลังจากนั้นพอลองมาวาดในหนังสือตัวเองมันก็จะมีความสม่ำเสมอมากขึ้นจับองศาความมนของหัวของรูปร่าง ระยะแขนขาลำตัวได้เป๊ะขึ้น ถือว่าโชคดีมาก ๆ

ภาพประกอบในแต่ละบท จะมีความพิเศษที่ต่างกันออกไป highlight ของเล่มนี้ที่อยากจะเล่าถึงคือนอกจากวาดรูปคนประกอบเรื่องราวแล้ว ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นไดอะแกรมขนาดใหญ่ ที่เราพยายาม mapping timeline วิวัฒนาการของ Design Thinking + Visual Thinking และแนวคิดการพัฒนาคน ที่มันเกิดขึ้นแบบคู่ขนานกันตั้งแต่ ยุค คศ.1950 จนถึงปัจจุบัน ตอนนั้นก็พยายามออกแบบอยู่หลายทีจนได้แบบที่คิดว่านิ่งที่สุด เพราะไม่อยากจะอัดแน่นทุกเหตุการณ์ แต่เลือกเฉพาะจุดที่เราเห็นว่าสำคัญและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อ รอดูได้ในหนังสือ

พอเนื้อหาได้แล้ว องค์ประกอบพอได้แล้ว (ทำในกระดาษ) ก็ยังแค่แปะตู้เอาไว้ดูก่อนระยะหนึ่ง ระหว่างรอจนเนื้อหาหนังสือเริ่มเยอะมากขึ้น และกว่าจะกลับมาลงมือวาดจริง ก็เป็นตอนที่วาดรูปประกอบอื่น ๆ ไปเยอะแล้ว จึงค่อยมาลุยวาดไดอะแกรมนี้ด้วยมือล้วน ๆ เรียกว่าเก็บของยากไว้หลัง ๆ (ไม่เหมือนเก็บของที่ชอบกินไว้ทีหลัง)

นอกจากนี้ถ้าเป็นเครื่องมือ Visual ที่เราทำขึ้น ก็จะใช้ลักษณะการวาดที่เป็นตัวกลมเช่นกัน แต่ถ้าเป็นเครื่องมือของนักออกแบบคนอื่นที่เรานำมายกตัวอย่าง ก็จะเปลี่ยนลักษณะการวาดให้มีรายละเอียดมากขึ้นอย่างชัดเจนเพื่อให้ดูแตกต่างกันกับของเรา

และเนื่องจากมีเนื้อหาที่เล่าถึงความคิด อารมณ์ พฤติกรรม อาการทางร่างกาย ดังนั้นจึงต้องวาดรูปที่สื่อถึงเหตุการณ์ และแสดงอารมณ์ได้ ในแต่ละอารมณ์ที่คิดว่าอาจจะมีความคลุมเครือ ก็ใช้วาดหลาย ๆ แบบ รวมถึง Visual metaphor ที่ใช้วาดภาพอธิบายเรื่อง CBT ก็เช่นกัน

ทดสอบรูปทั้ง 5 แบบ ว่าแบบไหนจะสื่อได้เข้าใจที่สุด

ใช้วิธีวาดแล้วส่งไปถามเพื่อน ให้ช่วยกัน comment กันมาว่า เข้าใจสิ่งที่จะสื่อหรือไม่ และในบทที่ 3 ที่เป็น case study จึงเพิ่มเสื้อผ้าทรงผมให้กับตัวละคร เพื่อสะท้อนถึงคาแรคเตอร์ที่ต้องการจะสื่อ แต่ก็ยังเป็นตัวกลมเหมือนเดิม

ใส่เสื้อผ้าหน้าผมให้ตัวกลม กลายเป็นตัวละครในบท case study

(To be continued มีต่อตอนที่ 5)

หนังสือ VisauLIFEzation แก้ปัญหาชีวิต ด้วยการคิดเป็นภาพ

พบกับ

หนังสือ “VisuaLIFEzation แก้ปัญหาชีวิตด้วยการคิดเป็นภาพ”
Pre-order ได้ที่ www.visualifezation.com ถึง 27 กันยายนนี้:

พร้อมสิทธิพิเศษเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ สำหรับผู้สั่งจองรอบแรกจนกว่าจะหมดเขต

--

--

Prowpannarai
artipania

I design to help people learn & change behavior. a Learning Experience Design Director at Artipania, Stanford /D.School/UCL/Arch Chula alum. www.artipania.com