มาทำความรู้จักกับ Laravel กันเถอะ

RY4NG3K
Artisan Digital
Published in
2 min readFeb 23, 2018

Laravel คือ PHP Framework รูปแบบ MVC ซึ่งพัฒนาโดยทีม Taylor Otwell ที่ทำให้เราสามารถเขียนโค้ดให้ดูสะอาดตา อ่าน และทำความเข้าใจได้ง่าย เป็นเฟรมเวิร์คที่ใช้งานได้ฟรีโดยสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

PHP Framework คือ ?

PHP Framework คือ การทำโค้ดของภาษา PHP มีจัดโครงสร้างให้ดูมีระเบียบเรียบร้อย เพิ่มความปลอดภัยของระบบ และอีกทั้งให้ความสะดวกในการพัฒนาระบบอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

โครงสร้าง Laravel PHP Framework

ซึ่งจัดวางไว้เป็นสัดส่วนและมีอีกหลาย Framework ที่จัดวางโครงสร้างแตกต่างกัน มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันไป

แต่ผมเลือก “Laravel” เป็นที่นิยมในขณะนี้

หากดูจากกราฟสถิติ และยอดการดาวน์โหลดในปี 2018 แล้ว จะเห็นว่านักพัฒนาส่วนมากจะเลือกใช้ Laravel PHP Framework ในการพัฒนาระบบ หรือเว็บแอปพลิเคชัน

อ้างอิงจาก: https://www.dunebook.com

ภาพรวมของ “Laravel

  • มีคำสั่งต่าง ๆ ใช้ในการสร้างไฟล์เพื่อพัฒนาระบบ หรือเว็บแอปพลิเคชัน เช่น “ php artisan make:auth ” เพื่อสร้างหน้าเข้าสู่ระบบและสมัครสมาชิก และคำสั่งอีกมากมาย ตามลิงก์นี้
คำสั่งสร้างหน้าเข้าสู่ระบบ และหน้าสมัครสมาชิก
  • สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ composer ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลง Library PHP ต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต คล้ายคลึงกับ npm และ yarn ที่เป็นตัวโหลด Library Javascript
ลง library php ผ่านตัว composer

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี: นักพัฒนาระบบ หรือเว็บแอปพลิเคชันจะไม่พยายามเขียนโค้ดทั้งหมด จึงหา Framework เพื่อช่วยในการพัฒนาซึ่ง Laravel เป็น Framework ที่เหมาะสำหรับนักพัฒนา เพราะมีคนเขียน class php ไว้เผยแพร่ฟรี และสามารถโหลดมาใช้ได้อย่างง่ายดาย

ข้อเสีย: หากมีการเปลี่ยนเวอร์ชั่นบางทีก็จะเปลี่ยนไฟล์บางไฟล์ และทำให้ไม่ตรงกับเวอร์ชั่นเดิม จึงทำให้การเปลี่ยนเวอร์ชั่นเป็นไปได้ยาก

อย่างไรก็ตาม... ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนเวอร์ชั่น อีกอย่างก็ยังคนนิยมกันมากขึ้นหากติดปัญหาอะไร ก็สามารถถามนักพัฒนาท่านอื่นได้

Laravel เป็นโครงสร้างของเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ภาษา PHP จัดวางได้ดี และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักพัฒนา เหมาะสำหรับนักพัฒนากลุ่มใหญ่ และยังง่ายต่อการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอีกด้วย

หากนักพัฒนาใช้การสร้างไฟล์ PHP และโครงสร้างเพื่อพัฒนา โดยมีโครงสร้างไม่แน่นอน อาจทำให้พัฒนาได้เพียงแค่บุคคลเดียว หรือต้องใช้นักพัฒนาที่มีความสามารถเท่ากันหรือมากกว่า

จึงมีการพัฒนา Laravel PHP Framework ขึ้นมาเพราะมีการจัดวางโครงสร้างไว้ให้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดาย

--

--