สอนคนเพิ่งเริ่มหัด Coding อย่างไรดีนะ ?

Pitchaya Senya
Artisan Digital
Published in
2 min readDec 14, 2017

สวัสดีครับ นี่เป็นบล็อกแรกในชีวิตเลยก็ว่าได้ (คิดหัวข้อไม่ออกสักที ฮ่า ๆ) ก็เลยจะมาเล่าสักหน่อยหลังจากเริ่มหัด Code มาได้ปีนิด ๆ ตอนเพิ่งเรียนรู้ใหม่ ๆ เราชอบอะไร เราไม่ชอบอะไร เราอยากให้คนสอนเข้าใจเรายังไง ก็เลยมาเล่า ก่อนที่จะจำความรู้สึกชอบ หรือ ไม่ชอบไม่ได้ (ประมาณว่า อย่าโตมาเป็นผู้ใหญ่ แบบที่ตัวเองไม่ชอบ แต่สุดท้ายจำไม่ได้ ก็เป็นอยู่ดี ฮ่า ๆ)

บทความนี้เหมาะกับ Developer ที่กำลังสอนมือใหม่หัด Code หรือ อาจารย์ที่กำลังมีคลาสสอน นักศึกษา Code กันอยู่ครับ

ข้อที่ 1.

ข้อแรกนี่ง่าย ๆ เลยครับ

อย่าหัวร้อน

กับคนที่พึ่งเริ่ม แหมม ก็เพิ่งเริ่มนี่เนอะ เราไม่ได้เป็นคนหัวไว เรียนรู้เร็ว อัจฉริยะเหมือนคุณนี่ครับ พอทำไม่ได้ จับจุดไม่ได้ คนสอนก็เริ่มอุณภูมิในหัวเพิ่มเรื่อย ๆ จนประทุจุดเดือดออกมา

เฮ้ออ (เสียงถอนหายใจออกจากคนสอนนี่เป็นอะไรที่ฟังแล้วท้อสุด ๆ อารมณ์ประมาณว่ากุคงโง่แหละ ที่เข้าใจช้า)

คนเรียนก็ท้อสิครับ อย่าทำให้คนสนใจหัดเรียนรู้ต้องเจออะไรแบบนี้เลยครับ เดียวถ้าเค้าท้อก็หาว่าเค้าไม่อดทนอีกเนอะ

แต่ผู้เขียนโชคดีมากก ที่เจอพี่ ๆ ที่น่ารัก และใจเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็งในแก้ว YETI ซะอีก (แต่คนรอบตัวเจอบ่อย ๆ คนเขียนก็เจอนะ แต่ไม่ใช่กับการโค้ด) ดังนั้นไม่ว่าจะสายงานไหน ดนตรี กีฬา การจะเป็นครูต้องเป็นคนใจเย็น ๆ นะคร้าบบ

ข้อที่ 2.

“ทฤษฎีน้อยหน่อย ลงมือ Code ดีกว่า”

เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ “ทฤษฎี A ปฏิบัติ F” (ไม่เคยไม่เป็นไรครับ คนเขียนคิดเองเมื่อกี้ ฮ่า ๆ ๆ )

เมื่อคุณจะสอนคนหัด Code ละก็ อธิบายแค่พอสังเขป แล้วลองลงมือ Code ไปพร้อม ๆ กันเลยครับ ให้เค้าได้เห็นภาพ เห็นว่าที่พูดมาเมื่อกี้นะ จริง ๆ แล้วมันทำยังไงรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ทีนี้แหละครับ เราจะได้รู้ว่าที่เค้าบอก เข้าใจครับ ๆ ตอนเราอธิบาย เค้าเข้าใจจริงไหม ถ้าทำไม่ได้ เราจะได้สอนเค้าทันทีเลยครับ ว่าควร Code ยังไงนะแบบนี้ แบบนั้น (ถ้าเค้าทำไม่ได้ อย่าทำ ข้อแรก ใส่ละครับ)

ข้อที่ 3.

“ ไปถามอาจารย์กูสิ (google)”

สำหรับข้อนี่ใช้ไม่ได้กับทุกคนนะครับ ยิ่งกับคนเพิ่งหัดแล้ว ยิ่งแล้วใหญ่ เนื่องจากมันจะเกิดปัญหาตั้งแต่ เปิด google เลยแหละครับว่า ……. “กุควร search ว่าอะไรดีวะ”

นั้นแหละครับไปไม่เป็นกันเลยทีเดียว แล้วถ้า search แล้วละ โค้ดบรรทัดไหน จะเอามาปรับใช้กับปัญหาที่เกิดละ ใส่ตรงไหน บรรทัดไหน แค่คิดก็คิดไม่ออกแล้วละครับ แล้วที่กู search เนี่ย มันตรงกับปัญหาที่เราเจอหรือเปล่านะ

ดังนั้นแล้ว อาจารย์กู เหมาะกับคนที่อยู่กลาง ๆ หรือเข้าใจอะไรขึ้นมาระดับนึงแล้วล่ะครับ พอจะดูออกบ้างว่า ควร search keyword อะไร อันนี้จะใช้ได้ไหม

อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะกำลังคิดว่า โหหหห นี่ต้องป้อนเข้าปากทุกอย่างเลยใช่ไหม ถึงจะทำได้ ตอนกูเรียน กูยังพึ่งพาตัวเองมากกว่านี้เลย เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง บลา ๆ

“คนเราไม่ได้เก่งเหมือนกันหมดนะครับ”

ถ้าคิดอย่างนี่อาจารย์หลายท่านคงไล่ไปหาเอาเองที่ google หมดละครับ อย่างน้อย ๆแนะนำ เทคนิค หรือ keyword ในการค้นหาก็ได้ครับ ถ้าเค้าเรียนรู้จากอาจารย์กูไม่ได้จริง ๆ เดียวเค้าก็กลับมาถามอีกทีอยู่ดีครับ

ข้อสุดท้ายยยยยยย

อันนี้ออกจะทางเทคนิคนิดหน่อยนะครับ นั้นก็คือ ว่าเขียน โค้ดตัวอย่างให้ผู้เรียนดูนะครับ พยายามอย่าประกาศชื่อตัวแปร เหมือนกัน หรือ คล้าย ๆ กับชุดคำสั่งนะครับ เดี๋ยวคนเรียนจะเกิดอาการหัวหมุนนนน เวลามาอ่านโค้ดอีกรอบ

ยกตัวอย่าง โค้ด HTML ง่าย ๆ แบบนี้

แล้วในไฟล์ name.php หน้าตาแบบนี้

มือใหม่ก็จะเกิดคำถามว่า ไอ่ $_POST[‘name’] เนี่ย คำว่า name มันหมายถึง name ไหนในไฟล์ HTML วะเนี่ยยยย อันไหนคือตัวแปร อันไหนคือรูปแบบโค้ด HTML อยู่แล้ว แนะนำว่าให้ประกาศแบบไม่เหมือนกันเลยสักตัวนะครับ เพื่อลดอาการ งง เมื่อเค้าเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เค้าจะเริ่มรู้เองครับว่าอันไหนตั้งได้ตามใจฉัน อันไหนเป็นคำสั่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้

ดังนั้น ลองเปลี่ยนเป็นแบบนี้ดูครับ

ตั้งให้เป็นคำ อ่านตลก ๆ หรือ ฮาร์ดคอร์ เลยก็ได้ครับ เอาที่แยกออกจากกัน ส่วนเรื่อง การตั้งตัวแปรที่ดี เอาไว้ทีหลังครับ

“การจะเขียน โค้ดที่ดีได้ ต้องเขียนให้เป็นก่อนครับ”

จบเพียงเท่านี้สำหรับบล็อกแรกครับ เหมือนเป็นการเขียนอะไรสักอย่างจริง ๆ จัง ๆ ครั้งแรกในชีวิตเหมือนกันครับ ยังไงจะปรับปรุงคำพูด และ วิธีการเขียนให้ดียิ่งขึ้นในบล็อกต่อ ๆ ไปครับ แล้วเจอกันใหม่น๊าาาา สวัสดีคร้าบบบบบ~~~~~~~~

--

--