SEO Check Lists การให้คะแนน สำหรับ Keywords

Chalermchai Prompunya
Artisan Digital
Published in
3 min readDec 23, 2017

SEO นั้นหลายคนคงมีแนวทางในการทำ SEO ที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ความถนัดหรือความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ตามประสบการณ์

บทความนี้ผมคัดลอกมาจากเว็บไซต์ของ ipattt ที่แปลตาราง SEO check lists เอาไว้ (มีบางช่วงที่เว็บไซต์เข้าไม่ได้ เลยเขียนขึ้นมาใหม่) ผมเองใช้แนวทางนี้ในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง และแนะนำให้กับลูกค้าที่อยากทำ SEO เอง ไม่อยากจ้างคนอื่นทำ ก็ใช้แนวทางนี้จนติดหน้าแรกด้วยเหมือนกัน (คีย์เวิร์ดไม่แข็งมาก) มาดูการให้คะแนนสำหรับ Keywords กันเลยครับ

Keywords

Keywords ใน <title> tag

จุดสำคัญที่สุดจุดหนึ่งที่จะใส่ Keywords ของเราคือ Keywords ใน <title> tag เพราะ Keyword จะถูกโชว์ใน search results ในฐานะ page title ตัว title tag ควรจะสั้นๆ (6 or 7 คำสูงสุด) และ Keyword ควรจะอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นประโยค

+ 3 แต้ม

Keywords ใน URL

Keywords ใน URLs ช่วยได้ เช่น http://domainname.com/seo-services.html จะเห็นว่า “SEO services” เป็น keyword phrase ที่เราพยายามจะเน้น แต่ถ้าเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ของเราไม่มี Keyword คำนี้อยู่ การใส่ Keywords ใน URL ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก

+ 3 คะแนน

ความหนาแน่นของ Keyword

ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่ดีควรจะ check ให้อยู่ราวๆ 3–7 % สำหรับ Keyword หลัก, 1–2% สำหรับคีย์เวิร์ดรอง แต่ถ้าความหนาแน่น ของ Keyword นั้นมากกว่า 10% จะดูเยอะเกินและเหมือนกับยัดคีย์เวิร์ดซึ่งจะส่งผลไม่ดี

+ 3 คะแนน

Keywords ใน anchor text

Keywords ใน anchor text เป็นอีกที่สิ่งสำคัญมาก เพราะว่าถ้าเรามี keyword เป็นคำ anchor text ที่ลิงก์เข้ามาจากเว็บไซต์อื่น ๆ ก็จะเปรียบเทียบได้กับการได้รับการ vote จาก เว็บไซต์นั้น ๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะทั้งเว็บไซต์ตามปกติ แต่จะเกี่ยวกับ keyword ด้วย

+ 3 คะแนน

Keywords in headings (<H1>, <H2>, etc)

Keywords ในหัวข้อ เป็นอีกจุดหนึ่งที่ให้น้ำหนัก Keyword ด้วยอย่างมาก แต่ก็ให้แน่ใจด้วยว่าในหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ของเราก็มี text ที่เป็น Keyword นี้ด้วยเช่นกัน

+ 3 คะแนน

Keywords ในจุดเริ่มต้นของเนื้อหา

ถึงแม้คะแนนจะไม่มากเท่า anchor text, title tag หรือ headings อย่างไรก็ตามให้นึกไว้เสมอว่า จุดเริ่มต้นของเนื้อหาในเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องหมายถึง ย่อหน้าแรกเสมอไปนะครับ เช่นถ้าเราใช้ตาราง ข้อความหลักน่าจะอยู่ที่ column ที่สอง row สองมากกว่า

+ 2 คะแนน

Keywords ภายใน <alt> tags

Spiders จะไม่รู้จักรูป images แต่มันสามารถอ่าน textual descriptions ใน <alt> tag ได้ เพราะฉนั้นถ้าเรามีรูป ให้ใส่ keyword บางตัวใน <alt> tag เข้าไปด้วย

+ 2 คะแนน

Keywords ใน metatags

การให้ความสำคัญในส่วนของ meta ได้ลดลง ( แต่ก็ยังต้องใส่อยู่ ) การใส่ keyword ใน meta ก็ยังดีกว่าไม่ใส่เลยนะครับ

+ 1 คะแนน

Keyword proximity

Keyword proximity เป็นตัววัดความใกล้กันของตัว text ใน keywords ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดถ้า keyword ตัวนึงอยู่ต่อกับอีกตัวนึงพอดี (เช่น dog food) ที่ไม่มีคำอื่นใดไปแทรกกลาง ตัวอย่างเช่นถ้าเรามีคำว่า dog ในย่อหน้าแรกและ food ในย่อหน้าที่สาม Google ก็จะนับ keyword ให้เหมือนกันแต่ก็จะไม่ได้ให้น้ำหนักมากเท่า dog food ที่ไม่มีอะไรแทรกกลางเลย Keyword proximity จะเหมาะกับ keyword ที่มีคำมากกว่าสองคำอยู่ด้วยกันครับ

+ 1 คะแนน

Keyword phrases

ในบาง Keyword เราสามารถที่จะ optimize ตัว keyword ที่ประกอบด้วยคำหลายคำได้ เช่น SEO services จะเป็น keyword phrases ที่น่าจะเป็นที่นิยมในการค้นหา เพราะผู้เซิร์ทหลายคนน่าจะพิมพ์ทั้งสองคำนี้ลงไปตรง ๆ แต่ในบางโอกาส การแยก keyword เป็น 2 หรือ 3 คำ เช่น SEO และ services ก็อาจจะทำให้เจอได้ในบางครั้งเช่นกัน เพียงแต่จะมีน้ำหนักที่น้อยกว่าบ้าง

+ 1 คะแนน

Secondary keywords

การ Optimizing สำหรับ keywords ที่รองลงไป (บางทีเป็น sub categories ของ keyword หลัก) ก็เป็นความคิดที่ดี เพราะแน่นอนว่าทุก ๆ คนพยายามที่จะ optimizing keywords ที่ดัง ๆ และค่อนข้าง General ทำให้ keyword ที่รองลงมาอาจไม่ค่อยได้ถูกโฟกัส นั่นหมายความว่าถ้ามีคน search ก็กลับจะดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น boutique hotel pattaya นั้นมีคนค้นหาน้อยกว่า boutique hotel เป็น พัน ๆ เท่าแน่นอน แต่ถ้าเราทำธุรกิจนี้ในพัทยา ถึงแม้เราจะมีคนค้าหาเจอน้อยกว่าแต่คนที่เจอก็เป็น targeted traffic แน่นอน

+ 1 คะแนน

Keyword stemming

สำหรับภาษาอังกฤษ การใส่คำที่มีความหมายในทางเดียวกัน เช่น dog, dogs, doggy และอื่น ๆ จะถูกคิดว่ามีความสัมพันธ์กันถ้าเรามีคำว่า dog อยู่ในหน้าเว็บไซต์ของเรา เว็บไซต์อาจจะถูกค้าหาเจอเพราะคำว่า dogs หรือ doggy ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสำหรับภาษาไทยนั้นการใส่ keyword ที่คล้าย ๆ กันไปด้วยก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพราะ search engine ยังไม่รู้จักพื้นฐานของคำดีพอ

+ 1 คะแนน

Synonyms

สำหรับภาษาอังกฤษ การ Optimizing คำที่มีความหมายเดียวกัน (synonyms) ของ target keywords ก็จะให้ผลดีด้วยเพราะ search engine นั้นมีความฉลาดพอที่จะรู้เรื่องนี้แล้ว แต่สำหรับภาษาไทยนั้น search engine ยังไม่รู้จักคำเหมือนนะครับ

+ 1 คะแนน

Keyword Mistypes

การสะกดผิดเป็นเรื่องที่เป็นกันบ่อย หรือแม้แต่การตั้งใจเขียนให้มีความหมายคล้ายกันแต่เขียนให้ส้นลง เช่น Christmas กับ Xmas ซึ่งเราก็อยากจะ optimize ทั้งคู่ซึ่งแน่นอนว่าเราก็จะได้ Traffic ที่เพิ่มขึ้น แต่การแกล้งพิมพ์ผิดหรือพิมพ์เพี้ยนในเว็บไซต์นั้นอาจจะทำให้เว็บไม่ค่อยน่าประทับใจ ทางที่ดีใส่แค่ใน meta ดีกว่า

0 คะแนน

Keyword dilution

ถ้าเราพยายามที่จะ optimizing keywords หลายคำเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จะทำให้ performance ของ keywords รวมทั้งตัวหลัก ๆนั้นเจอน้อยลงไปด้วย เช่นเดียวกับการมี text อยู่เท่านั้น

- 2 คะแนน

Keyword stuffing

การตั้งใจใส่ keywords ที่เยอะเกินไปจนผิดธรรมชาติ (มากกว่า 10% ของคำทั้งหมดในหน้า) เรียกว่า stuffing และจะทำให้เว็บของคุณเสี่ยงต่อการถูกแบนโดย search engine ทำให้ค้นหาไม่เจอเว็บไซต์ของเรา

- 3 คะแนน

--

--