Google I/O 2017 ฉบับคู่มือนักพัฒนาเกมและ App (ตอนที่ 2)

Aun Taraseina
Aun Taraseina
Published in
4 min readJun 11, 2017
ตุ๊กตา Android ออกมาทักทายด้วยยอดผู้ใช้ถึง 2 พันล้านคน

มาเล่าเรืองต่อในตอนที่สองเลยนะครับ หากใครยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 สามารถอ่านได้จากตรงนี้ครับ

ผมจะพยายามแบ่งเนื้อหาใน ตอนที่ 1 เป็นเนื้อหาที่นักพัฒนาเกมและ app ทุกคนจำเป็นต้องทราบ อาจจะเป็นนักพัฒนา อาจจะเป็นนักศึกษา หรือ อาจจะเป็นเพียงคนที่ชอบติดตามข่าว IT ไม่ว่าจะเป็นเรือง ของทิศทางในปีนี้และปีต่อๆไปของ Google ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ของ Keynote เปิดตัว และ เรื่องของ Android Studio 3.0 ตัวล่าสุด ซึ่งเชื่อว่าเป็น IDE หากินของคนที่พัฒนาบน Android แทบจะทุกคน เนื้อหาตอนที่ 2 เป็นต้นไปจะเป็นเนื้อหาที่จะเจาะจง อาจจะเจาะจงสำหรับนักพัฒนาเท่านั้น เรามาเริ่มกันเลยดีกว่านะครับ หากสนใจบทความอื่นๆ เกียวกับการพัฒนาเกมสามารถติดตามได้จาก https://www.auntara.com/ นะครับ

Android Keynote

ในส่วนของ Android Keynote ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงรายงานความคืบหน้าของ platform Android ว่าไปถึงไหนแล้ว ซึ่งเป็นการเร่ิมต้นที่ดีของตอนที่ 2 ครับเพื่อให้เราเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบันของ Android ครับ ลองมาดูกันครับ

trailer เปิดตัวของ Android ในงาน Google IO

ปัจจุบัน Android มีถึง 2 พันล้าน Monthly Active User หรือ ผู้ใช้ที่เปิดใช้งาน มือถือหรือแทปเล็ต Android ถึง 2 พันล้านคนต่อเดือน นอกจากมือถือแล้ว เจ้าตัว Android ยังไปอยู่บน Android Wear, Android Auto, Android TV, Android Things และ Chrome Book

Dave Burke : Android ทุกที่ เต็มไปหมด

Android Wear : ซึ่งเพิงเปิดตัว Android Wear 2.0 ตอนต้นปี 2017 อีกทั้ง ยังมี partner ใหม่เช่น Armani, Movado และ New Balance ในส่วนของ Wear ผมคิดว่าเป็นได้ยากที่เราจะทำเกม target Wear เลยแต่ตัว Wear จะมีความบทบาทเพิ่มขึ้นถ้าเกมเราใช้ push notification ซึ่งสามารถส่งตรงเข้ากับ Wear เมื่อผู้เล่น connect Wear กับ Android

partner ต่างๆ ของ Android Wear

Android Auto : ในปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า และมีรถที่รองรับ Android Auto ถึง 300 รุ่น มี partner เช่น Volvo อันนี้คงไม่เกียวกับเราๆ นักพัฒนาเกมหรือapp สักเท่าไรครับ

Android TV : มี Active device เพิ่มขึ้น 1 ล้าน device ทุก 2 เดือน และมี App สำหรับ TV ถึง 3000 appใน Google Play ซึ่งเอาจริงๆก็ยังถือว่าน้อยอยู่มาก ในปีนี้จะเพิ่ม Google Assistant ให้กับ TV ด้วย ตัว TV เองทาง Google ก็พยายามจะดันสำหรับนักพัฒนาเกมอยู่พอสมควรเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากตัว Device ยังไม่ mass และตัวผู้ใช้เองก็มองว่า app เป็นตัวเสริม TV สะมากกว่า (คือไม่ต้องการจ่ายเงิน) ต้องการได้ฟรีมากกว่าเสียเงิน ถ้าจะเล่นเกมก็เล่นบน Console ดีกว่าผมยังมองว่าคนทำเกมคงยังจะลำบากถ้าจะข้ามไป platform นี้ ผมเองก็คุยกับนักพัฒนาต่างประเทศหลายคน ทุกคนมองเป็นโอกาสแต่ยังไม่มีใครที่ทำเงินได้ :(

Android Things : IoT ของ Android ใครสนใจก็สามารถดูความเคลือนไหวของชุมชนในไทยได้ Android Things Thailand ส่วนตัวผมเองไม่ค่อยสนใจเลยจะไม่ขอพูดถึงตรงนี้มากนะครับ

Chrome Book : พบกลุ่มนักเรียนต่ำกว่า อุดมศึกษา(K-12)ใน US ใช้มากถึง 60% และในปัจจุบัน ก็ support การรัน Android บน Chrome book ทำให้นักพัฒนาสามารถ target ทั้งมือถือ และ laptop ในตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นบทบาทของ Chrome book ว่ามีผลต่อรายได้หรือยอดโหลด Android เราเท่าไรนะครับ เพราะยังอยู่ในช่วงต้นของการปล่อยให้ใช้งาน สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง Chrome book ที่สนับสนุน Android App ได้จาก ลิงค์นี้ครับ

ปัจจุบันผู้ใช้ Android โหลด App รวมกันมากถึง 82 พันล้านครั้ง

โหลด 82 พันล้านครั้ง หรือเฉลียเป็น 11 app ต่อ คน จากทั้งหมดบนโลก

Android O

สำหรับ Android O ซึ่งเป็นรหัสเวอร์ชั่น Android ตัวใหม่ล่าสุด ก็ได้ปล่อยตัว Developer Preview สำหรับนักพัฒนาไปก่อนหน้านี้แล้ว สิ่งที่ Google เน้นย้ำมากสำหรับ Android O คือ Fluid Experience และ Vitals

ทั้งหมดทั้งมวล เพราะต้องการให้ประสบการณ์การใช้งาน Android ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน ในส่วนของนักพัฒนาเกมอย่างเราๆ สิ่งที่เราคงต้องสนใจเพิ่มเป็นพิเศษเพราะเกียวกับเราโดยตรงก็คือ Vital แต่ก่อนที่เราจะมาดูว่า Vital คืออะไรและมีอะไรเพิ่มเติม เรามาพูดเนื้อหาของ Fluid Experience ให้จบก่อนแล้วกันนะครับ

ตัวอย่าง Feature ใหม่ ของ Android

Fluid Experience : การมอบประสบการณ์ที่ไหลลืนและดึขึ้นแก่ผู้ใช้ Android โดยมี Feature เพิ่มเติม เช่น

  • Notification ใหม่ โดยทาง Google จะเรียกว่า Notification Dot ในส่วนของ Notification Dot จะมีความพิเศษก็คือ เมือ app เรามี active notification ตัวAndroid O จะแสดงจุดเล็กๆ บน app เรา ซึ่งผู้ใช้จะสามารถกด Long Press เพือเลือกว่าจะตอบสนองยังไงกับ notification ที่กำลัง active อยู่
  • Picture-in-Picture (หรือง่ายๆ สำหรับเราคือ Multi window) อาจจะไม่ได้ใช้ในเกมเท่าไร แต่คงจะดีสำหรับ app ในหมวด multimedia นะครับ
  • Auto Fill โดยใช้ข้อมูลจาก Account Chrome ของผู้ใช้ มือถือ Android
  • Auto Text สำหรับการเลือก Text ที่ฉลาดขึ้นโดยใช้ Machine Learning ว่า text ไหนควรเลือก ถ้าเลือกแล้วควรทำยังไงต่อ เช่นเบอร์โทรก็จะกดโทร หรือ ที่อยู่ก็จะเปิด Google Map
ซ้าย: Notification Dot แบบใหม่, ขวา: Picture in Picture

สามารถอ่านข้อมูลเกียวกับ feature ใหม่ และ API ใหม่ของ Android O ได้จาก ลิงค์นี้ครับ

Vitals ใหม่ของ Android O

Vitals : ถ้าแปลเป็นไทยก็คือสัญญาณซีวิตของเครือง สัญญาณซีวิตในที่นี้ก็หมายถึงพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของเครื่องผู้ใช้โดยมี 3 ส่วนหลักๆที่ทาง Google จะพยายามเน้น ซึ่งก็คือ

Google Play Protect
  1. Security Enhancement : นอกจาก ใช้ Machine learning ในการตรวจสอบ App ที่ upload ขึ้น Google Play แล้ว Google ยังทำการตรวจสอบการทำงานมากกว่า 50 พันล้าน app ต่อวัน (ก็คือ Google ตรวจสอบทุก app ที่ทำงานบนเครืองผู้ใช้) และหากพบ App ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ก็ disable และลบออก ซึ่งปกติก็ทำงาน ใน Background ของมือถือ Android ทุกเครืองอยู่แล้ว แต่เนืองจากผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงและรับทราบการทำงานส่วนนี้ได้ Google เลยจะพยายามนำเสนอการป้องกันนี้ให้ขัดเจนและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นโดย เพิ่ม App ที่ชื่อว่า Google Play Protect
  2. System Optimisation : ที่ผู้ใช้จะเห็นได้ชัดเจนสุดคือ
  • Boot Time ที่จะเร็วขึ้นกว่าเท่าตัว
  • Run Time : มีการปรับ Run Time โดยใช้ Concurrent Compacting garbage collection และ Code Locality ทาง Google ยกตัวอย่างของ Google Sheet ที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเท่าตัวโดยไม่มีการแก้ไขที่โค๊ดของ Google Sheet เลยแค่เปลี่ยน OS เท่านั้น
  • Background limit : เป็นการกำหนดความสามารถในการใช้ feature ต่างๆ ของ Android เวลา app ทำงานใน background เพื่อประหยัด battery นั้นเอง

3 . Vital Dashboard ใน Google Play : ส่วนของ Vital ใน Dashboard หลายคนคงได้เริ่มลองเล่นกันแล้วนะครับ ส่วนตัวผม ผมว่าเป็น feature ทีดีที่สุดของจาก Google IO ครั้งนี้เลยทีเดียว เพราะ Dashboard มีรายละเอียดจาก Vital เยอะกว่าเดิมมาก ทำให้นักพัฒนาสามารถไล่ดูปัญหาและแก้ไขได้ง่ายขึ้น

ส่วนหนึงที่รายละเอียดเยอะกว่าเดิมเยอะมากก็เพราะว่า ก่อนหน้านี้ นักพัฒนาจะเห็นรายงานปัญหาหรือ crash ก็ต่อเมือมีการส่ง crash log ของผู้ใช้เข้า dashboard Google Play ของนักพัฒนา ผู้ใช้จะต้องกด Submit เท่านั้น แต่ตอนนี้ทาง Google จะเปลี่ยนเป็นให้ส่งผล crash log เข้า dashboard ของนักพัฒนาโดยอัตโนมัติ โดย Android Vital ใน dashboard จะแสดงผลดั้งนี้

  • Crash log : จะแสดง crash rate ให้เห็นอัตราส่วนของจำนวนคนที่ crash ในเกมเรา และเปรียบเทียบว่าแต่ล่ะ version มีอัตราการ crash เทียบกันยังไงบ้าง
  • ANR(App Not Responding) หรือ App ไม่ตอบสนอง
  • Slow Rendering : จะแสดงจำนวนผู้ใช้ที่เล่นเกมเราที่มีการ render flame สูงกว่า 16 ms 50% ของการ render ทั้งหมด
  • Frozen Frames : จะแสดงจำนวนผู้ใช้ที่เล่นเกมเราที่มีการ render flame สูงกว่า 700 ms 0.1% ของการ render ทั้งหมด
  • Stuck Wake Locks : คือการที่ app เราทำงานเวลาอยู่ใน background แต่ทำงานนานเกิน
  • Excessive Wakeup : การที่ app เราปลุกเครื่องมากกว่า 10 ครั้ง ต่อชั่วโมง
Vitals ใหม่ใน Google Play Dashboard

ถึงตรงนี้ ขอจบตอน 2 ก่อนแล้วกันนะครับ ยังมีเนื้อหาอีกเยอะที่อยากจะมาเล่าให้ฟังครับ จะพยายามเร่งทะยอยเขียนนะครับ ไว้เจอกันในตอนต่อไปในหัวข้อของ Android GO กับ The Next Billion User นะครับ :)

--

--

Aun Taraseina
Aun Taraseina

Google Developer Expert on Marketing & Thai Game Software Industry Association Committee Member. Worked on awesome games such as Unblock Me.