6 วิธีเร่งความเร็วการเรียน : เรียนรู้อย่างไรให้เป็น Agile Learner

Peesamac
BASE Playhouse
Published in
2 min readNov 30, 2019

--

ช่วงนี้ได้ยินคำว่า Agile บ่อย
บางบริษัท นำอันนี้ไปเป็นกลยุทธ์หลักในการทำงานในปีที่ผ่านมา รวมถึงอนาคตอันใกล้ เพราะว่า แนวคิดแบบ Agility ที่เน้นความรวดเร็ว ว่องไว ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ มันเหมาะกับธุรกิจในปัจจุบันมากกว่า เพราะลูกค้า เดาใจยาก คู่แข่งเกิดเร็วมากขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เกิดมาให้ใช้ทุกวัน การใช้แนวคิดแบบ Agile จะทำให้เราปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์มากขึ้น

“แล้วเราใช้แนวคิด Agile กับการเรียนรู้ได้มั้ย???”

Expert หลายๆ ท่านเรียนแนวคิดนี้ว่า Agile Learning เป็นการคัดสรรคั้นสดความรู้ที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้นออกมา และยังรวมถึงการ Unlearn ลบความรู้เดิมๆ ที่ไม่มีคุณค่าทิ้งไปอีกด้วย เป็นวิธีที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับยุคแบบ Agile ซะจริงๆ เราลองไปดูกันดีกว่า ว่าวิธีการเรียนรู้ 6 แบบ

1. อ่านเวลาเล็กๆ น้อยๆ แต่อ่านตลอดเวลา

ซึ่งที่สำคัญมากๆ ของ Agile Learning คือ ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา แต่เข้าใจว่าวิถีปกติในชีวิตของเรามันยุ่งวุ่นวายมากซะจริง ผมเชื่อมาเสมอว่า ไม่มีใครหรอกไม่มีเวลา (ผมมักจะอ้างคำนี้บ้าง ทั้งๆ ที่รู้ตัวว่า) มีแต่คนจัดสรรเวลาไม่ดีเท่านั้น ช่วงหลังๆ ผมเลยจะหา Gap หรือช่องว่างระหว่างเวลา ตอนที่กำลังขึ้น BTS บ้าง กำลังเดินไปออฟฟิตบ้าง เอาเวลาเหล่านี้มาดูซีรีย์ หรือทำสิ่งที่อยากทำ มันอาจจะดูไม่ค่อยอยู่กับปัจจุบันซะหน่อย แบบบางทีก็เพลินมากเกินไป แต่ถ้าเอา Gap หรือช่องว่างเหล่านั้นมาใช้กับการเรียนรู้แล้ว เราจะได้อ่านบทความที่เราอยากอ่าน และฟัง Podcast อัพเดทข่าวหรือรายการที่เราอย่างฟัง ไม่แน่เราอาจจะอ่านหนังสือจบอาทิตย์ละเล่มแบบที่บิล เกตส์ ทำก็ได้ ลองดู

เวลาสั้นๆ รวมกันแล้วอาจจะเป็นหลายชั่วโมงก็ได้นะ ถ้าเราทำมันตลอดเวลา

2. เรียนรู้แบบตั้งใจเรียนรู้

มีประเภทของการเรียนรู้ 3 แบบได้แก่
1. Accidental แบบบังเอิญ : เช่น เดินไปตามถนน แล้วเห็นป้ายร้านค้าใหม่ -> เราได้ความรู้ว่ามีร้านนี้เปิดขึ้นมาแล้ว
2. Conscious แบบทั่วไป : เป็นการเรียนแบบทั่วไป ไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจน เช่น เราไถ Feed เฟสบุ๊ค หรือ อ่านข่าวตามอินเตอร์เน็ทไปเรื่อยๆ ไม่ก็ดูทีวีข่าวภาคค่ำ
3. Deliberated แบบตั้งใจเป็นพิเศษ​ : แบบนี้เป็นสาย Active แบบที่ตั้งใจจริงๆ ว่าจะหาความรู้ใหม่ๆ เข้าสมอง เราจะโฟกัสและสนใจกับสิ่งๆ นั้นเป็นพิเศษ​ ที่สำคัญ มันต้องเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการทำงาน หรือความฝันของแต่ละคนด้วย ที่จะสร้างช่วยให้การเรียนรู้แบบนี้ให้สำเร็จขึ้นได้

3. เรียนแบบสั้นๆ แต่บ่อยๆ

ตามหลักของข้อ 1 เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้แบบบ่อยๆ โดยสถิติบอกว่าคนในองค์กรทั่วไปเฉลี่ยนแล้วใช้เวลาเรียนสิ่งใหม่ๆ แค่เพียง 5 นาที (ลองถามตัวเองดูนะครับว่าเรารู้สิ่งใหม่ที่เกี่ยวกับงาน กี่นาทีต่อวัน) Expert แนะนำว่าเราควรแบ่งเวลาสัก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง มาเรียนรู้

Josh Bersin และ Marc Zao-Sanders เขียนใน HBR ว่า นอกจาก To-do list ที่เราใช้จดสิ่งที่ต้องทำในงานและชีวิตประจำวันแล้ว เราควรมี To-learn list เอาไว้จดคอนเซ็ป ความคิด สิ่งที่เราอยากจะฝึกฝน ไว้ด้วย พอมีช่วงเวลาเบาๆ ในแต่ละวันจะได้หยิบขึ้นมาเติมความรู้สิ่งนั้น

หนังสือการเรียนรู้เทพๆ อย่าง How We Learn: The Surprising Truth About When, Where, and Why It Happens เปรียบเทียบการเรียนรู้เหมือนกับการรดน้ำหญ้าในสนาม ว่าถ้าเราใช้เวลา 90 นาทีรดน้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เทียบกับการรดน้ำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที การแบ่งระยะแบบหลังทำให้หญ้าเขียวได้ตลอดเวลามากกว่า ความทรงจำก็เช่นกัน ยิ่งเราย่อยความรู้เป็นก้อนเล็กๆ เคี้ยวพอดีคำ เราจะจำมันได้อย่างยั่งยืนมากกว่า

4. เรียนรู้จากมาสเตอร์โยดา

เป็นสิ่งที่เราน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่า ทางลัดที่จะทำให้การเรียนดีขึ้นคือ การเรียนจากประสบการณ์ของคนอื่นที่เก่งกว่า เพราะ…

  • เขา Action แบบ A -> ได้ Result แบบ A
  • ถ้าเป้าหมายของเรา อยากได้ Result แบบ A > เราก็ทำ Action แบบ A ตาม

โทนี่ ร็อบบินส์ โค้ชด้านการสร้างแรงบันดาลใจชื่อดัง เรียกวิธีการเรียนรู้แบบนี้ว่า Modelling หรือการทำตามต้นแบบ ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ภายใต้ Action A ของต้นแบบขอเรา เขาอาจจะผ่านการล้มเหลว และเรียนรู้มหาศาล ถือว่าเป็นการร่นระยะเวลาทางลัด แถมยังสนุกมากขึ้น หากเราไปเรียนรู้กับต้นแบบของเราตรงๆ

5. เป็นเป็ดที่เชี่ยวชาญ

มีสำนวนนึงที่พูดว่า jack of all trades, master of none แปลไทยสวยๆ ว่า คนที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง หรือแปลไทยง่ายๆ ว่า เป็นเป็ดนั่นเอง เมื่อก่อนภาคธุรกิจคงไม่ได้ให้คุณค่ากับคนแบบเป็ดนัก เพราะเราทำงานแบบแยกแผนก เรื่องนี้โยนให้แผนกนี้ทำ เรื่องนี้แผนกนี้เก่ง คนที่ยิ่ง Expert หรือเชี่ยวชาญด้านใดด้านนึงมักจะได้รับการชื่นชม แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่ เพราะโลกยุคใหม่คนต้อง Connect กันตลอดเวลาเพื่อรับความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นคนแบบ Expert Generalists หรือเป็ดที่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง รู้กว้างด้วย และรู้ลึกบางเรื่องด้วยเช่นกัน จะสามารถทำให้ทำงานได้ดีกว่า เรียนรู้ได้ดีกว่า เชื่อมโยงความรู้และข้ามศาสตร์ได้ดีกว่า บางที่จะใช้คำว่ามีความรู้แบบ T-shape หรือรูปตัวที มากกว่าจะเป็น I-shape หรือรูปตัวไอที่เก่งลึกๆ ไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างเดียว

6. ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการฝึก

มีความคิดนึงที่มักจะพูดกันบ่อยๆ “คนที่มันเก่ง มันเก่งมาตั้งแต่เกิดแล้ว” มันเป็นประโยคที่มีความเชื่อฝังลึกอย่างมาก และทำให้คนไม่กล้าที่จะเรียนรู้ ที่ไหนได้ นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์มาแล้วว่า นอกจากยีนบางตัวที่ทำให้คนสูง (และเก่งบาสมากกว่าคนไม่สูง เพราะบาสเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสูง) สิ่งที่แตกต่างระหว่างคนที่เก่ง กับคนที่ไม่เก่งในด้านใดด้านหนึ่ง คือการพยายามฝึกเป็นระยะเวลานาน เขียนเป็นสูตรง่ายๆ ก็คือ

คนไม่เก่ง x ความพยายามฝึก x เวลา = คนเก่ง

จะเห็นได้ว่าแนวคิดหลักๆ 6 ข้อ ในการเป็น Agile Learning เป็นการ
ตั้งใจจะเรียนรู้ — เอามันไว้ในชีวิตประจำวัน — แบ่งเวลาไม่ต้องเยอะแต่ต้องบ่อย — เรียนรู้จากคนสำเร็จแล้ว — ฝึกมันจนเก่ง

เอามันไปใช้ในชีวิตประจำวัน จะดีมากถ้ามันกลายเป็น 1 ใน Habit ของเราได้ก็จะดีมาก แค่นี้เราก็กลายเป็น Agile Learner ได้แล้ว!!!

คำถามที่ควรตอบ

  1. ถ้าเป็น HR ในองค์กร

คำถาม : ทำอย่างไรให้คนได้เรียนสิ่งที่เขาอยากเรียน ในเวลาที่เขาอยากเรียนหรือต้องการความรู้ ใช้เวลาไม่เยอะในแต่ละวัน ได้เรียนกับกูรูจริงๆ สามารถฝึกและไปใช้ได้จริงได้ง่ายๆ

2. ถ้าเป็นคนทั่วไปที่ตั้งใจจะเป็น Life-long learner หรือนักเรียนรู้ตลอดชีวิต

คำถาม : ทำอย่างไรให้เราสามารถเติมความรู้ได้ตลอดเวลา แบบไม่รู้สึกว่ามันเป็นภาระกับชีวิต ทำให้มันง่าย และสนุก จนอยากจะหยิบ To-learn list ขึ้นมาเรียนรู้เรื่องต่อไปๆ เรื่อย ๆ

อ้างอิงมาจาก : Don’t Learn More, Learn Smarter. A Quick Guide to Agile Learning.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://corporate.baseplayhouse.co/

--

--

Peesamac
BASE Playhouse

Co-founder, Learning Designer and Thinking at BASE Playhouse. Empowering Young Generation with Future Skill and Tecnology.