Financial Planning : วางแผนการเงิน ยิ่งรู้ยิ่งอยู่รอด

Sorratouch Sungam
BASE Playhouse
Published in
3 min readNov 7, 2018

--

บทความในซีรีย์ต่อเนื่องจาก 21st-Century Skill : ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของ BASE Playhouse

ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้เด็ก ม.4!

คำ ๆ นี้อาจจะคุ้นหูใครหลาย ๆ คน รู้ไหมครับว่าเด็กมัธยมบางคนในสมัยนี้มีความรู้ความสามารถในการจัดการและการบริหารการเงินมากกว่าที่คิดแล้ว

ในศตวรรษที่ 21 นี้ ทักษะที่จะทำให้เราสามารถเอาตัวรอดในโลกนี้ได้ จะไม่ใช่เพียงแค่ความรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ทักษะนอกห้องเรียนต่างหากคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราเอาชนะโลกนี้ หนึ่งในทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งยวดคือทักษะในการบริหารจัดการเงินของตัวเองหรือ Financial Planning นั่นเอง

Financial Planning จัดเป็นหนึ่งในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skill) ในหมวด Foundational Literacies (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง 21st Century Skill ได้ ที่นี่) ซึ่งเป็นชุดทักษะที่สำคัญมากในยุคนี้

เมื่อพูดถึงการวางแผนการเงิน หรือ Financial Planning หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่ไกลตัว หรือเห็นตัวเลข สายตาก็จะเริ่มมึน ๆ สมองเริ่มเบลอ ๆ แต่แท้จริงแล้วการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก

ลองคิดดูสิครับ แค่เราเดินออกจากบ้าน เช็คกระเป๋าสตางค์ของตัวเองว่าวันนี้ฉันมีเงินพอใช้ชีวิตอยู่รอดทั้งวันไหม รู้ไหมครับว่าการทำแบบนี้ก็เป็นการวางแผนการเงินแล้ว

ผมจะลองยกตัวอย่างเรื่องการวางแผนการเงินที่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ให้ดูสัก 2 ตัวอย่างนะครับ

เหตุการณ์ที่ 1 : เด็กชาย เอ นัดกันไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์กับเพื่อนในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยเด็กชายเอได้รับเงินค่าขนมจากคุณพ่อคุณแม่วันละ 200 บาท ทุกวันเด็กชายเอใช้เงินสำหรับค่ารถไปกลับวันละ 50 บาท และซื้อขนมกินที่โรงเรียนวันละ 30 บาท เด็กชายเอจึงเหลือเงินเก็บหยอดกระปุกวันละ 120 บาท เด็กชายเอเก็บเงินอย่างนี้ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือนจนทำให้มีเงินเก็บประมาณ 7,200 บาท สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินไปกลับสิงคโปร์ได้ (ประมาณ 3,000 บาท) พร้อมทั้งมีเงินค่าเที่ยวอีกประมาณ 4,000 บาท

สรุปเหตุการณ์ที่ 1 : เด็กชายเอมีแผนว่าจะต้องไปเที่ยวกับเพื่อน จึงคิดจะเก็บเงินจากค่าขนมที่ได้รับทุกวัน และทำอย่างมีวินัย จนทำให้มีเงินมากพอไปเที่ยวกับเพื่อนได้โดยไม่ต้องรบกวนคุณพ่อคุณแม่

คิดดูสิครับ นี่คือการวางแผนการเงินของจริงเลยนะครับ สมมติว่าเราเป็นเด็กชายเอ เราคงภูมิใจในตัวเองน่าดูที่สามารถเก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศเองโดยไม่ขอเงินคุณพ่อคุณแม่เพิ่มได้

เหตุการณ์ที่ 2 : นายบี ได้รับมรดกจากตระกูลมาเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท นายบีดีใจมาก เลยใช้เงินอย่างสนุกสนาน ผ่านไป 2 ปี เงินมรดกที่ได้รับมาถูกใช้หมด บังเอิญตอนนี้นายบีตรวจพบเจอมะเร็งที่ปอดอีก

สรุปเหตุการณ์ที่ 2 : ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบนายบี เราคงคิดอยู่ในใจว่า “รู้งี้นะ…” กว่าเราจะรู้ตัวว่าต้องแบ่งเงินไว้ หรือไม่ควรใช้เงินจนหมดโดยที่ไม่เก็บเลยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ มันก็สายไปเสียแล้ว

นี่คือเหตุการณ์จริงที่เราอาจจะพบเห็นได้ตามข่าวต่าง ๆ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีการจัดระเบียบเงินที่ได้รับมาไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตเราด้วย

จะเห็นได้ว่าการวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมาก ในขณะที่ก็เป็นสิ่งที่ดูไกลและซับซ้อนเช่นกัน แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ เพื่อให้เราเข้าใจความใกล้ตัวอันซับซ้อนนี้ได้

ผมจะให้ตัวอย่างง่ายๆ ของการสำรวจตัวเองว่าเราเป็นคนที่มีการวางแผนการเงินหรือเปล่า โดยการลองถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ครับ

  1. คุณได้วางแผนเก็บออมเงินอย่างมีระบบหรือเปล่า
  2. คุณได้มีการจดรายรับรายจ่ายเป็นประจำหรือไม่
  3. คุณมีการสร้างหนี้หรือเปล่า
  4. ถ้ามีการสร้างหนี้ คุณได้มีการวางแผนการจ่ายหนี้หรือยัง
  5. คุณได้มีการสร้างแผนการออมเงินเพื่อใช้จ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ในระยะยาวหรือไม่
  6. คุณได้มีการวางแผนรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเงินของคุณหรือยัง

ส่วนใครที่อยากจะลองตั้งแต่วันนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ผมมีเทคนิคง่ายๆในการเก็บเงินและการวางแผนการเงินให้ลองนำไปใช้กันได้ดังนี้ครับ

  1. เก็บเงินโดยเก็บแบงค์ 50 ไว้ ไม่นำไปใช้
  2. เก็บเศษเหรียญ จะเป็นเหรียญ 5 หรือเหรียญ 10 ก็ได้
  3. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  4. วางแผนจัดการความเสี่ยงด้านต่างๆ
  5. วางแผนการใช้เงินล่วงหน้า เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย
  6. ศึกษาเรื่องการลงทุน หาความรู้เรื่องการลงทุน

คอร์ส Financial Planning ของเรานั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องเหล่านี้ น้อง ๆ ที่เข้ามาเรียนจะได้ทราบถึงความสำคัญในการวางแผนการเงิน ตัวอย่างต่าง ๆ ในการวางแผนการเงิน ที่สำคัญเรายังพัฒนากิจกรรมสนุก ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ได้รับความรู้พร้อมประสบการณ์ที่ได้เจอจริงอีกด้วย คอร์สนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้รู้จริง เจ็บจริง และสนุกจริง เพราะคอร์สของเรานั้นได้เน้นกิจกรรมและเกมส์ต่าง ๆ มากกว่าครึ่ง จึงทำให้การเข้าใจในเรื่องการวางแผนการเงิน ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

ผมเชื่ออย่างแรงกล้าว่าน้อง ๆ ที่ได้มีโอกาสได้เข้ามาในคอร์สนี้จะได้ความรู้ ประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติสำหรับการวางแผนการเงิน และการเก็บเงินที่นำกลับไปใช้ได้จริง เรียกว่าเป็น Ready to Eat, Ready to do เลยทีเดียว

การวางแผนการเงิน ไม่ใช่เรื่องสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น เด็กมัธยมเองก็ควรจะมีติดตัวเอาไว้เช่นกัน เป็นการติดอาวุธให้กับน้อง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ สามารถใช้ชีวิตในอนาคตได้อย่างมั่นคงและมีความสุข BASE Playhouse ได้เปิดคอร์ส Financial Planning ที่เปลี่ยนเรื่องการเงินที่ยุ่งยาก ให้มีแต่ความสนุกและได้ความรู้ความเข้าใจด้านการเงินกลับไป รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

“การเงินไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องลำบากก็เข้าใจมันได้”

สรฐัช สุงาม RFC, CFP®

--

--

Sorratouch Sungam
BASE Playhouse

RFC, CFP®, Vice President Possible Wealth Advisory Services, BASE Playhouse Speaker : Financial Planning