Public Speaking : เด็กยุคใหม่ ทำไมต้องพูดเก่ง

Chompoo Chimes
BASE Playhouse
Published in
3 min readSep 20, 2018

--

บทความในซีรีย์ต่อเนื่องจาก 21st-Century Skill : ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของ BASE Playhouse

“ไหน ลองออกมาพูดให้ฟังหน่อย”

ได้ยินปุ๊ป หัวใจกระตุกปั๊ป อยู่ ๆ ก็ปากสั่น ร้อนวูบวาบไปทั้งตัว จนต้องเอามือทาบอก นี่เราโดนของอะไรเข้าซะแล้ว?

Public Speaking vs ความกลัวของมนุษย์

การพูดในที่สาธารณะ หรือ Public Speaking นั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและน่ากลัวได้ในเวลาเดียวกัน แยกกันไม่ออกราวกับว่ามีแสงสว่างบนเวทีอันเจิดจรัสฉันใด ย่อมมีด้านหลังเวทีอันมืดสนิทฉันนั้น

ไม่ว่าจะน้องใหม่เพิ่งเริ่มขึ้นเวที หรือรุ่นพี่สุดเก๋าที่จับไมค์มานับร้อยครั้ง เอาเข้าจริงล้วนเคยผ่านประสบการณ์ใจเต้นตึก ๆ กันแทบทุกคน

บางคนถึงขั้นกลัวมาก และกลัวกันถ้วนหน้าเสียด้วย กลัวจนเขามีชื่อเรียกให้กับความกลัวนี้ว่า Glossophobia หรือความกลัวการพูดในที่สาธารณะ และเจ้าความกลัวนี้ก็ทะยานฮิตติดชาร์ตขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของสิ่งที่มนุษย์กลัวมากที่สุด

สูงกว่าการกลัวความตายเสียอีก...!

แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่

เพราะถ้าให้หัวใจเต้นตุ้บตั้บขนาดนั้น แถมไปเจออะไรก็ไม่รู้

เป็นใครก็ต้องมีกลัวกันบ้างล่ะ

Public Speaking vs โอกาส

เพราะการพูดในที่สาธารณะดูน่ากลัว ยาก ทำให้คนที่สามารถขึ้นพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ได้ส่องประกายระยิบระยับเป็นดาวเด่นขึ้นมาทันที

“condenser microphone with black background” by Matt Botsford on Unsplash

นอกจากนี้ ยังมีข้อดีของการพูดในที่สาธารณะได้ อีกมากมาย

ทั้งการ เพิ่มการเชื่อใจของคนดูที่เพิ่มมากขึ้น ตัดคู่แข่งลง ทำให้เราเข้าถึงคนในวงกว้างมากขึ้น และถูกมองว่าเป็นผู้นำ

ที่สำคัญ... หากอยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน อย่างน้อย ๆ จากการสำรวจบอกว่า 70% ต้องใช้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพูดในที่สาธารณะ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ก็เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมนี่น้า

จะให้เลี่ยงการพูดก็ยาก เพราะเราพูดกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร

เริ่มจากตอนไหนดีล่ะ?

Public Speaking กับ ประชาธิปไตย

“เกี่ยวกันได้ด้วยเหรอ?”

จริง ๆ แล้วจากการบันทึกตามประวัติศาสตร์ การพูดในที่สาธารณะนี้เริ่มมาตั้งแต่ 2,500 ปีมาแล้วในกรีซนั่นเอง โดยเรียกกันแบบคูล ๆ ว่า “Rhetoric” ซึ่งอริสโตเติล ได้ให้คำจัดกัดความแปลเป็นไทยออกมาได้ว่า

สิ่งที่ทำไปโดยมีจุดประสงค์เพื่อการโน้มน้าว

เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีสื่อ เช่น มือถือ โทรทัศน์ อย่างทุกวันนี้และผู้คนในเมืองเอเธนส์ก็เริ่มมีสิทธิ์มีเสียงกันบ้างแล้วตามระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากจุดเดียวกันนี่เอง

เพราะฉะนั้นอยากสื่อสารอะไรกับใครเยอะ ๆ ไม่ว่าจะบอกกล่าว จะโน้มน้าว หรือจะชื่นชมใคร ก็ต้องขึ้นไปยืนอย่างโดดเด่นและพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ

http://www.emersonkent.com/famous_speeches_in_history.htm

เรียกได้ว่าที่ไหนที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ที่นั่นจะมีการโน้มน้าวใจและการพูดในที่สาธารณะเกิดขึ้น

Rhetoric เองก็มีไว้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนมีกระบวนการคิดที่เฉียบคม มีเหตุผลมากขึ้น ให้สมกับเป็นพลเมืองที่ดีเช่นกัน

จะโน้มน้าวใคร แล้วไม่มี logicไม่ make sense เขาก็ไม่เดินตามนะเออ

ผู้นำที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่านที่เราคุ้นชื่อกันดี ตั้งแต่ Abraham Lincoln, Martin Luther King มายังพี่ Mark Zuckerberg หรือ Steve Job ของเรา ต่างก็ใช้ทักษะ Public Speaking หรือการพูดในที่สาธารณะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ถ่ายทอดความคิดไปยังผู้คน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมด้วยเช่นกัน

Public Speaking & 21st Century Skills

จากยุคทองของกรีกมาจนถึงยุคแห่ง A.I. (Artificial Intelligence) และความต้องการที่เปลี่ยนของตลาด ทักษะ Public Speaking หรือการพูดในที่สาธารณะยังคงความร้อนแรงเหมือนเดิม

เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ผสานกันทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งยังไม่มีหุ่นยนต์หรือ A.I. ใดๆมาทดแทนได้ จึงถูกยกเป็นหนึ่งใน “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ที่เด็ก ๆ ควรมี จัดอยู่ในหมวด Competencies หรือ กลุ่มทักษะที่ใช้ในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เราเจอ

รวมไปถึงถ่ายทอดความคิดดี ๆ ออกไปในวงที่กว้างมากขึ้น

เพราะอันที่จริงเราทุกคนต่างมีสิ่งดี ๆ ในตัวที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับโลกใบนี้ได้แม้เพียงคนละเล็กคนละน้อยก็ตาม

ถ้าหากทุกคนกล้าแชร์ไอเดียของตัวเอง จากความคิดดี ๆ ที่ถูกจุดประกาย คำบอกเล่าที่ถูกถ่ายทอดผ่านการพูดบนเวทีผ่านผู้คนหลากหลาย ผ่านความเข้าใจ ลงไปสู่การลงมือทำ

คำพูดก็สามารถเปลี่ยนโลกได้

แล้วถ้าอยากเก่ง Public Speaking ต้องทำอย่างไร?

ข่าวดีสำหรับทุกคนก็คือ Public Speaking หรือการพูดในที่สาธารณะ เป็นทักษะ (Skills) และทักษะก็สามารถฝึกฝนได้

ใช่! ไม่ต้องมีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิด ของแบบนี้มันฝึกกันได้!

Steve Jobs ก็ไม่ได้พูดได้ดีตั้งแต่แรก Mark Zuckerberg นี่ได้ข่าวว่าเฮียแกก็ไม่ค่อยได้พูดกับใคร และยังมีคนอีกมากมายที่ไม่ได้เป็นคน “พูดเก่ง” แต่พวกเขาเรียนรู้ที่จะ “พูดเป็น” เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องตกใจกลัวไปถ้าครั้งหน้าโดนเรียกออกไปพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ขอแค่รู้หลักก็พอ

ซึ่งนักปราชญ์ในตำนาน อย่างท่าน อริสโตเติล ก็ได้ให้จุดสำคัญมาไว้ถึงสามหลักด้วยกัน ที่นักพูดควรเข้าใจให้ดี นั่นคือ

1.จุดมุ่งหมายของการโน้มน้าวใจ
2. ภาษาที่ใช้
3. การจัดเรียงอย่างเหมาะสมในแต่ละส่วนของบทพูด

Aristotle

คอนเซปต์จากปรมาจารย์มาประมาณนี้ แต่จะให้ดีต้องลงมือทำ

เพราะการทำอะไรซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ

อยากเป็นนักพูดเก่งๆ ก็ต้องขึ้นเวทีกันเยอะหน่อยนะ

โอกาสดี ๆ สำหรับเด็กรุ่นใหม่

น้อง ๆ ม.ปลาย คนไหนที่กำลังมองหาสนามฝึกการพูดในที่สาธารณะหรืออยากทำความเข้าใจ ฝึกทักษะเพิ่มเติม BASE Playhouse ก็มีคอร์ส Public Speaking ที่สอนจบไปแล้วหลายรุ่น และกำลังมองหานักพูดดาวเด่นคนถัดไปอยู่นะ

มาถึงตรงนี้ถ้าใครอยากเป็นนักพูดคนต่อไป ไปดูรายละเอียดกันได้ ที่นี่เลย!

Reference

Gallo, C. (2014). New Survey: 70% Say Presentation Skills Are Critical for Career Success. Retrieved from
https://www.forbes.com/sites/carminegallo/2014/09/25/new-survey-70-percent-say-presentation-skills-critical-for-career-success/#1eb7305b8890

Public Speaking Project. (n.d.) Origin of Public Speaking. Retrieved from
http://www.publicspeakingproject.org/PDFS/chapter2.pdf

Psychology Today. 2013. 5 Tips Reduce the Fear Public Speaking. Retrieved from
https://www.psychologytoday.com/us/blog/communication-success/201311/5-tips-reduce-the-fear-public-speaking

Forbes. (2012). Five Reasons Why the Gear of Public Speaking is Good for You. Retrieved from
https://www.forbes.com/sites/work-in-progress/2012/10/09/five-reasons-why-the-fear-of-public-speaking-is-great-for-you/#818fd313b823

--

--

Chompoo Chimes
BASE Playhouse

Learning Designer, BASE Playhouse l Creative Psychologist, Glow Story l Business Analyst, Samsung l WorkInPsych Podcast Cohost l Freelance Writer l Speaker