รวมคอร์สเรียน “จิตวิทยา” จาก THAIMOOC

Panthipa Suksirisorn
Be PSY You
Published in
5 min readAug 10, 2019

การเรียนจิตวิทยาในประเทศไทยที่ผ่านมาจะมีหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา อยู่ในสาขาวิชาหรือคณะต่างๆในมหาวิทยาลัย และตำราเรียนจากอาจารย์และห้องสมุด

จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology, ญี่ปุ่น: 心理学 [しんりがく] Shinrigaku)คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

“ศาสตร์แห่งการศึกษาพฤติกรรมและกลไกทางจิตใจของมนุษย์”

ซึ่งตอนนี้ในประเทศไทยมีหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศไทย ได้แก่

ภาพจาก OUP ELT Global Blog
  • จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการปรับตัวของมนุษย์โดยพยายามค้น หาสาเหตุว่าคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือมีความผิดปกติทางจิตใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรนักจิตวิทยาคลีนิคใช้หลัก การและความรู้ทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ และบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ปัญหาทางสุขภาพจิตโรคประสาท การติดยาเสพติด ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ตลอดจนปัญหาการปรับตัวอื่นๆ เพื่อค้นหาวิธีการปรับตัวและการแสดงออกที่ดีและเหมาะสมกว่า
  • จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับการช่วยให้คนรู้จัก และเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งทุกด้าน ช่วยให้คนรู้จักโลกและสิ่งแวดล้อมของตนช่วยให้คนรู้จักการพัฒนา และสามารถนำศักยภาพหรือความสามารถที่ตนมีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น รู้จักเลือก และตัดสินใจอย่างฉลาดเพื่อแก้ปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
  • จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) เป็นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์กับธรรมชาติทางนิเวศวิทยา-การดำเนินชีวิตอย่างสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
  • จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาอิทธิพลของสังคม อิทธิพลของกลุ่มที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด ความรู้สึก อารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่มีต่อสังคม
  • จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology) ศึกษาพัฒนาการทุกช่วงวัยในด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย อารมณ์ ความคิด สังคม บุคลิกภาพ วิธีการเลี้ยงเด็ก วิธีการดูแลผู้สูงอายุ และวิธีการจัดการของบุคคลที่อยู่ในช่วงรอยต่อแห่งวัย
  • จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (I/O : Industrial and Organizational Psychology) : ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เกี่ยวกับการทำงานในอุตสาหกรรมและองค์การต่างๆ สามารถนำไปต่อยอดในการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล และการบริหารจัดการเพื่อดูแลและพัฒนาเพื่อนมนุษย์ที่ทำงานด้วยกันได้
ภาพจาก Iowa State University

แต่ปัจจุบันนี้ได้มีช่องทางการเรียนรู้เพิ่มเติมที่เราสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ในศาสตร์ด้าน “จิตวิทยา” ได้จาก Online Platform หรือ E-Learning ได้

บทความครั้งนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อรวบรวม คอร์สเรียนออนไลน์ด้านจิตวิทยาจาก THAIMOOC เอาไว้ ให้คนที่สนใจศึกษาจิตวิทยามากขึ้นได้มีช่องทางการเรียนรู้ด้วยตนเองได้เช่นกัน (ขอใส่รหัสวิชาให้ในนี้เลยแล้วกัน..อิอิ)

เราได้แบ่งวิชาเรียนออกเป็น ทั้งหมด 3 หมวดคือ

หมวด 1 : จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)
เนื้อหาเกี่ยวกับจิตวิทยาน่ารู้ สำหรับคนทั่วไปสามารถเรียนได้แม้ไม่มีพื้นฐาน

หมวด 2 : จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology)
เนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของบุคคล

หมวด 3 : จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology)
เนื้อหาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำงานและการทำธุรกิจ

หมวด 1 : จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu027+2019_T1/about?fbclid=IwAR2NGCZmLlDDuM25euUWeAQja_oxCfKwoRoS4iagI7E8XZZlYFUHRyX-iY4

PSY 101 : การสร้างความรู้สึกดีให้ตนเอง (Creation of Good Feeling for Oneself)

คอร์สเรียนนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์และการสร้างความรู้สึกที่ดีให้ตนเอง หลักการและเทคนิคการสร้างความรู้สึกที่ดีให้ตนเอง ซึ่งได้แก่ การคิดในทางบวก การสร้างความเข้มแข็งในตนเอง และการพิจารณาชีวิตตามความเป็นจริง รวมถึงกลวิธีในการเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้อาศัยอยู่ได้ตามบริบทสังคมและวัฒนธรรม

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu004+2017_T1/about

PSY 102 ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข (Science and Art for Happiness Creation)

เรียนรู้เกี่ยวกับการรู้จักตัวเอง การเข้าใจตนเองและผู้อื่น ความหมายความสำคัญและสาระที่แท้ของชีวิตและการศึกษา ความหมายความสำคัญแนวคิดและแนวทางของจิตตปัญญาศึกษา สาระและความสำคัญแห่งความสุข นิยามของความสุข ประเภทหรือระดับของความสุข การประเมินความสุข และการสร้างความสุขด้วยตัวเอง ความเชื่อมโยงของสาระแห่งชีวิต การศึกษา จิตตปัญญาศึกษาและการสร้างความสุข เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือการมีชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยการเข้าถึงความรู้ ความจริงและความดีงามของธรรมชาติและสรรพสิ่ง

PSY 103 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Human and His Environment)

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาการเรียนรู้ของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน การเรียนรู้ของชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน บทบาทของฝ่ายต่างๆในการสนับสนุนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน การบริหารจัดการกระบวนการกลุ่มในชุมชน

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CRRU-MOOC+crru017+2019_T1/about

PSY 104 ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)

ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม ความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้ในบริบทต่างๆในแต่ละสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu007+T3_2018/about

PSY 111 จิตวิทยากับชีวิตประจำวัน (Psychology and Daily Life)

เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายความหมาย และจุดมุ่งหมายของจิตวิทยา กลุ่มแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา จิตวิทยากับการเข้าใจตนเอง ได้แก่ นิสัยและการพัฒนาตนเอง บุคลิกภาพ ตัวตน แรงจูงใจ อารมณ์ สุขภาพและการผ่อนคลาย บทบาททางเพศและพฤติกรรมทางเพศ และการควบคุมตนเอง จิตวิทยากับการเข้าใจผู้อื่น ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์และมิตรภาพ ความรักและชีวิตคู่ และความสัมพันธ์ในครอบครัว และจิตวิทยากับสังคม ได้แก่ อิทธิพลทางสังคม และ การทำงานกลุ่ม

https://thaimooc.org/courses/course-v1:SU-MOOC+su003+2017_T1/about

PSY 120 เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ (Technique and Method of instruction)

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัย และการนำ เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ไปใช้

PSY 130 การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (UNIVERSAL DESIGN)

การศึกษาหลักการและแนวคิดในการออกแบบสภาพแวดล้อมสรรสร้างเพื่อตอบสนองการใช้งาน ความต้องการ และลักษณะทางพฤติกรรมของมนุษย์ ผ่านการวิเคราะห์การออกแบบในแขนงต่างๆ โดยคำนึงถึงความสะดวก ความปลอดภัยและความเสมอภาคการใช้งานของคน ทุกกลุ่มวัย เพศและสภาพทางกายภาพได้

หมวด 2 : จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology)

PSY 201 จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว (Personality Psychology and Adjustment)

จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัวเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคล ซึ่งมีความสำคัญในแง่การทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งในมิติของการเข้าใจตนเอง นำไปสู่การพัฒนาตนเองทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน อีกทั้งนำไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นเพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมอีกด้วย

https://thaimooc.org/courses/course-v1:STOU-MOOC+stou011+2017_T2/about

PSY 211 การสร้างวินัยในตนเอง . . . สำหรับเด็กปฐมวัย (Promoting Early Childhood Children’ Self-Discipline)

เข้าใจถึงความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง รวมไปถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างวินัยในตนเองให้กับเด็ก แนวทางการส่งเสริมวินัยในตนเองให้แก่เด็กตั้งแต่เล็ก หลักการและเทคนิควิธีสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็ก ไปจนถึงบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูต่อการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็ก

https://thaimooc.org/courses/course-v1:SU-MOOC+su001+2017SU_T1/about

PSY 212 การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Movement Activities for Young Children)

แนวคิดเบื้องต้นในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย แนวทางการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ลักษณะกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และการประเมินผลกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

https://thaimooc.org/courses/course-v1:WU-MOOC+wu004+2017_T2/about

PSY 221 จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Developmental Psychology in Adolescent)

ผูู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการวัยรุ่นครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตอารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถวิเคราะห์กระบวนการเกิดและแนวทางการเผชิญภาวะวิกฤตและพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการวัยรุ่น มุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 ผ่านปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการวัยรุ่น ตลอดจนการพัฒนาต้นทุนชีวิตและแหล่งช่วยเหลือที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น

https://thaimooc.org/courses/course-v1:NU-MOOC+nu036+2019_T1/about

PSY 230 เตรียมเกษียณสำหรับวัยทำงาน (Active ageing pre-retirement)

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยและการเปลี่ยนแปลงตามวัยเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เตรียมเกษียณสำหรับวัยทำงานตามแนวคิดพฤฒพลังด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ และพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเรื้อรัง การจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยทั้งการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ และที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกในวัยเกษียณ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านสังคมก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:WU-MOOC+wu003+2017_T2/about

PSY 231 จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ (Developmental Psychology in Elderly)

วัยสูงอายุเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต บุคคลวัยนี้มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าบุคคลทุกวัย ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตในแบบฉบับและบริบทของตน ได้พบกับประสบการณ์ที่มีความสุข ความประทับใจ และความทุกข์ รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  • ผู้สูงอายุบางรายเป็นเสมือนที่พึ่งทางใจของทุกคนในครอบครัว
  • บางรายมีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่คนรุ่นหลังด้วยความสุขและภาคภูมิใจ
  • บางรายดำเนินชีวิตด้วยความยากลำบาก

[แถม เนื้อหาจาก Youtube : สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย]

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง

ในช่วงท้ายของวัยจะเป็นช่วงชีวิตที่ต้องพบกับการสูญเสียบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลผู้เป็นที่รัก ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดีจะเป็นผู้ที่สามารถใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุข ขณะที่ผู้สูงอายุบางรายไม่สามารถผ่านเหตุการณ์หรือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและการดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่

การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของบุคคลวัยสูงอายุ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านจิตใจและอารมณ์ ความต้องการของบุคคลวัยสูงอายุ ปัญหาหรือภาวะวิกฤติที่พบได้บ่อย แนวทางแก้ไขปัญหาหรือภาวะวิกฤติ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะของบุคคลวัยสูงอายุ การเรียนรู้อยู่ร่วมกันกับบุคคลวัยสูงอายุ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:STOU-MOOC+stou012+2017_T2/about

PSY 232 การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (Health Promotion for Older People)

ความหมายของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ความต้องการด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ การจัดอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ การประยุกต์หลักการจัดการอาหารสำหรับผู้สูงอายุ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนและสังคม

https://thaimooc.org/courses/course-v1:MU-MOOC+mu014+2017_T1/about

PSY 233 การเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregivers techniques)

เทคนิคการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการเตรียมผู้ที่ต้องการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีทั้งความรู้และทักษะ อย่างถูกต้องเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเตรียมตัวสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ครอบคลุมถึงการดูแลด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และแนะนำครอบครัว คนรอบข้าง ให้ดูแลผู้สูงอายุ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:STOU-MOOC+stou021+2019_T1/about

PSY 234 การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Holistic Approach on Ageing Care)

ความเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ด้านร่างกาย: ได้แก่ อวัยวะต่างๆ รวมทั้งสายตา, ด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ
การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุ ทั้งตัวผู้สูงอายุเอง บุคคลแวดล้อมผู้สูงอายุ โดยรู้บทบาท/ความยอมรับ ระหว่างกันและกัน การดูแลสุขภาพ
ความพร้อมด้านสุขภาพทางการเงิน สิทธิประโยชน์ กฎหมาย หลักประกันสุขภาพ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ
ด้านสถาปัตยกรรมในครัวเรือน, การมองเห็น ป้าย ฉลาก แสงสว่าง การถนอมสายตา ในยุคอินเทอร์เน็ต รวมทั้งสถาปัตยกรรมสาธารณะ/ ชุมชน สิ่งแวดล้อม: ที่พักอาศัยในบ้าน สถานที่พัก สาธารณะ การจัดการทางการเงินเพื่อการเป็นผู้สูงอายุ ที่มีประสิทธิภาพ
การสร้างเสริมอาชีพเพื่อการเพิ่มรายได้ กิจกรรมสันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ งานอดิเรก การเดินทาง การทำบุญ การสังคม การรวมกลุ่ม การสร้างคุณค่าตนเองแก่ครอบครัวและสังคม รวมทั้งเรียนรู้ในการเลือกใช้นวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุได้

https://mooc.psu.ac.th/courses/psumooc006/ หรือ https://thaimooc.org/courses/course-v1:PSU+psu006+2019_T2/info

PSY 241 สุขภาวะกายและจิต (Healthy Body and Mind)

รายวิชานี้มีหัวข้อเกี่ยวกับสุขภาวะแบบองค์รวม การดูแลสุขภาพกายและจิต การพัฒนาบุคลิกภาพ การสร้างเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์ และสุนทรียารมณ์

หมวด 3 : จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology)

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu029+2019_T2/about

PSY 311 จิตวิทยาประยุกต์ในการทำงาน เพื่อความสำเร็จ ความสุข และความมั่งคั่ง (Applied Psychology to Work through Success Happiness and Wealth)

หัวข้อเกี่ยวกับความหลากหลายในที่ทำงาน การยศาสตร์ (Ergonomics) และการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน สภาพแวดล้อมที่ทำงานกับสุขภาพจิต และการจัดการทางการเงินสำหรับคนทำงาน ตลอดจนการพัฒนาตนเองในการทำงาน

https://thaimooc.org/courses/course-v1:SWU-MOOC+swu013+2019_T1/about

PSY 312 จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน (Cross-cultural psychology at work)

ความหมาย ความสำคัญ และอิทธิผลของวัฒนธรรมของชาติต่อการทำงานร่วมกันของบุคคลในที่ทำงาน ความเชื่อในชาติพันธ์นิยม ความฉลาดทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคคล การสื่อสารและความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงานและการบริหารจัดการความขัดแย้ง วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำและการบริหารทรัพยากรมนุษย์

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu031+2019_T2/info

PSY 313 เทคนิคการจัดการความเครียด (Stress Management Techniques)

รายวิชาที่อธิบายถึงความเครียด และเทคนิคการจัดการความเครียดแบบต่าง ๆ ได้ การประเมินและวิเคราะห์ความเครียด นำเสนอเทคนิคการจัดการความเครียด ได้แก่ เทคนิคการฝึกการหายใจ เทคนิคการฝึกเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เทคนิคการนวดด้วยตนเอง เทคนิคการฝึกการเจริญสติ เทคนิคการฝึกการผ่อนคลายในตนเอง เทคนิคการฝึกทักษะการสื่อสาร และเทคนิคการจัดการความเครียดโดยด้วยวิธีอื่น ตลอดจนการประยุกต์ใช้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการพัฒนากิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี

https://thaimooc.org/courses/course-v1:STOU-MOOC+stou002+2017_T2/info

PSY 321 พฤติกรรมองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Organizational Behavior and Human Resource Management)

ประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมบุคคล กลุ่ม และทีมงานในองค์การ กระบวนการของกลุ่ม กระบวนการทางสังคม และกระบวนการองค์การ หน้าที่การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทุนมนุษย์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และระบบการจัดการข้อมูลเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu013+2019_T2/about

PSY322 การออกแบบการเรียนรู้สำหรับองค์กรภาคธุรกิจ (Course Design for Business)

การออกแบบการเรียนรู้สำหรับองค์กรภาคธุรกิจ เป็นการศึกษาถึงการปรับชีวิตที่ต่อเนื่องจากห้องเรียนซึ่งเป็นการให้การศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานการเริ่มชีวิต เมื่อเดินข้ามเข้าสู่ตลาดแรงงานในซีกโลกธุรกิจ เป็นการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อปรับสภาพ นำการศึกษาพื้นฐานมาเป็นความสามารถและศักยภาพในการสร้างความสำเร็จในงานเพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิต

การเรียนรู้ในวิชานี้เป็นวิธีปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจประกอบด้วย 5 ขั้นตอน

1. ANALYSIS: การหาความต้องการในการฝึกอบรม

2. DESIGN: การวิเคราะห์และนำผลการวิเคราะห์มาออกแบบหลักสูตรในการอบรม

3. DEVELOPMENT: การพัฒนาหลักสูตรให้ได้ตามขั้นตอนและครบองค์ประกอบ

4. IMPLEMENTATION: การจัดการฝึกอบรมตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์

5. EVALUATION: การออกแบบแบบฟอร์มการวัดผลในรูปแบบต่างๆ

พร้อมทั้งให้ตัวอย่างจริงในการออกแบบหลักสูตรขององค์กรธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:CMU-MOOC+cmu017+2019_T2/about

PSY 323 : เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Presentation Technique)

หลักการ และเทคนิคเกี่ยวกับการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับความหมายและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ รูปแบบของการนำเสนอ การเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอ สื่อและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ ทักษะและบุคลิกภาพของผู้นำเสนอ เทคนิคการตอบคำถาม ข้อพึงระวัง และลักษณะการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ

https://thaimooc.org/courses/course-v1:MJU-MOOC+mju001+2019_T1/info

PSY 331 การประยุกต์ใช้ไอโอทีสำหรับธุรกิจ (Internet of Things Adoption in Business)

เนื้อหาของวิชาอธิบายถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของ Internet of Things ความสำคัญ องค์ประกอบ การแบ่งกลุ่มหลัก รวมไปถึงสถาปัตยกรรม และออกแบบสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นระบบโครงข่ายไร้สาย RFID GPS อุปกรณ์และมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตและโปรโตคอล ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ (ecosystem) และห่วงโซ่คุณค่า (value chain) รูปแบบการพัฒนาระบบงานโดยใช้หลักการ Internet of Thingsการประยุกต์ใช้และตัวอย่างในภาคธุรกิจ

การจะเป็นนักจิตวิทยาที่ดีก็จำเป็นที่จะต้องควรรู้เรื่องทักษะที่สำคัญของการเป็นนักจิตวิทยา ด้วยการมี 4 ทักษะด้วยกัน คือ

  • การเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
  • การเป็นผู้ฟังที่ดี (Active Listening)
  • การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความรู้ด้านจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง (Psychological savvy)
  • การเป็นคนที่ใจกว้าง ปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ (Kindness)

นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ให้เราได้อัพเดตแนวโน้มและเรื่องราวในวงการของจิตวิทยาได้อีกจาก https://www.washpsa.org/ เป็นต้น

--

--