รัฐร่วมมือเอกชนเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ

Jib Zesto
Beachhead
Published in
1 min readFeb 16, 2018

ภาครัฐและเอกชนร่วมมือเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม เพื่อลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และลดการสร้างขยะ ซึ่งการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดี่ม ไม่ได้เป็นข้อบังคับแต่ต้น แต่ผู้ผลิตเลือกใช้พลาสติกหุ้มขวดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าเป็นขวดน้ำดื่มที่ยังไม่ได้ผ่านการเปิดมาก่อน

ในแต่ละปีประเทศไทยมีการผลิตขวดพลาสติกเพื่อบรรจุน้ำดื่มประมาณ 4,400 ล้านขวดต่อปี โดยมีขวดพลาสติกถึง 60% ที่มีพลาสติกหุ้มฝาขวด หรือ 2,600 ล้านขวดต่อปี แสดงว่าเกิดขยะที่มาจากพลาสติกหุ้มฝาขวดถึง 2,600 ล้านชิ้นต่อปี คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 520 ตันต่อปี และหากนำมาเรียงต่อกันจะสามารถพันรอบโลกได้ 6.5 รอบ นอกจากนี้พลาสติกหุ้มฝาขวดมีขนาดเล็กจึงยากต่อการรวบรวมนำมารีไซเคิลและไม่คุ้มทุน และถ้าหากไม่นำไปกำจัดอย่างถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาอุดตันตามท่อระบายน้ำ บางส่วนอาจไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง และลงไปสู่ทะเล จนทำให้สัตว์น้ำเผลอกินเข้าไปได้

เริ่มแรกได้ร่วมมือกับผู้ผลิตน้ำดื่มรายใหญ่ 5 รายในการเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด โดยเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป แต่หากผู้ผลิตรายใดมีความพร้อมก่อนสามารถยกเลิกก่อนได้ ประกอบด้วย น้ำดื่มสิงห์, น้ำดื่มคริสตัล, น้ำดื่มช้าง, น้ำดื่มเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ และ น้ำดื่มคาราบาว การร่วมมือครั้งนี้จะกลายเป็นต้นแบบให้ผู้ผลิตน้ำดื่มรายย่อยอื่นๆ ในการยกเลิกฝาหุ้มพลาสติกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นอกจากพลาสติกหุ้นฝาขวดแล้ว หากใครที่ซื้อน้ำดื่มและต้องการความมั่นใจว่าขวดน้ำดื่มยังไม่มีการเปิดก่อนถึงมือของท่าน มีอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้สังเกตจากวงแหวนเล็กๆ ด้านล่างฝาขวดน้ำดื่ม หากยังไม่เปิดขวดวงแหวนนั้นจะไม่ขาดออกจากกัน และจะเห็นรอยเชื่อมต่อกันเป็นช่วงๆ

อ้างอิง กรมควบคุมมลพิษ

--

--