วิเคราะห์สถานะของบริการ Smart contract security auditในประเทศไทยในปี 2022

Noratip Dhanasarnsilp
beakon one
Published in
2 min readMar 4, 2022

ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาความนิยมของ Cryptocurrency ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากโดยในปี 2020 Chainalysis ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลเกี่ยวกับ Cryptocurrency transaction ได้จัดลำดับ 25 ประเทศที่ทำกำไรจากการซื้อขาย Bitcoin สูงที่สุด โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 โดยมีกำไรจากการซื้อขายถึง 280 ล้านเหรียญสหรัฐ

ภาพจาก Chainalysis

โดยผลสำรวจเกี่ยวกับความสนใจในการลงทุนใน Bitcoin พบว่าคนไทยถึง 68% ให้ความสนใจ และ 42% จะลงทุนภายใน 1 ปี

ข้อมูลจากบริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ กราฟฟิกจาก กรุงเทพธุรกิจ

ด้วยความนิยมนี้ทำให้ Cryptocurrency ต่างๆ และ บริการทางการเงินแบบ Decentralized Finance (DeFi) เป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงโดยสามารถรับความเสี่ยงที่สูงได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับการลงทุนผ่าน DeFi นั้นคือบริการทางการเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาธนาคารในการเป็นศูนย์กลางในการระดมทุน นักลงทุนสามารถร่วมลงทุนในโครงการต่างๆ ได้โดยตรง โดยเจ้าของโครงการสามารถเปิดรับเงินลงทุนบน Platform ของตนเอง ซึ่ง Platform ของโครงการนั้นจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ

  1. หนังสือชี้ชวน (Whitepaper) ซึ่งแสดงรายละเอียดต่างๆของโครงการซึ่งรวมถึงข้อมูลสำคัญเช่น แผนการลงทุน สัดส่วนรายได้ จำนวนเหรียญของโครงการ การ กระจายเหรียญ และ ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้ เป็นต้น
  2. Smart Contract ซึ่งเป็น Code ที่เขียนอยู่บน blockchain ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่นักลงทุนนำมาฝากเอาไว้ โดย Smart Contract นี้จะเป็นกลไกหลักในการควบคุมให้การบริหารจัดการนั้นเป็นไปตาม Whitepaper ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้

ด้วยความสะดวกนี้ทำให้โครงการ DeFi เกิดขึ้น และเสนอผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่สูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะได้เห็น Platform ที่มี Total Lock Value (TVL) หรือสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่อยู่ในหลักร้อยล้าน ถึง พันล้านบาทเกิดขึ้นมากมาย

แต่เมื่อมีสินทรัพท์อยู่จำนวนมากย่อมทำให้ Platform DeFi นั้นถูกเพ่งเล็งจาก Hacker หรือ ผู้ที่ไม่ประสงค์ดี โดย Smart Contract มีความเสี่ยงที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ

  1. ความเสี่ยงในตัว Code ของ Smart Contract เนื่องจาก Code ที่เขียนขึ้นมานั้นจะถูกเปิดเผยอยู่บน blockchain ทำให้ใครก็สามารถอ่าน code นั้นได้ และ หาก code ดังกล่าวมีความผิดพลาด (vulnerability) ไม่ว่าจะในระดับของ business logic หรือ ระดับ security ก็จะทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีสามารถทำการส่งคำสั่งเข้ามาใน smart contract เพื่อโจมตี (exploit) ความผิดพลาดนั้นได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านการเงิน โดยอาจจะถึงขั้นทำให้สูญเสียทรัพย์สินที่มีการลงทุนอยู่บน platform ได้
  2. ความเสี่ยงจากเจ้าของโครงการ (Project owner) เนื่องจาก project owner ในบางโครงการยังคงเก็บสิทธิสูงสุดในการบริหารจัดการ Smart Contract เอาไว้ ทำให้เจ้าของโครงการใช้สิทธ์ดังกล่าวทำการดึงทรัพย์สินที่เก็บไว้ออกไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือ ที่เรียกว่าเหตุการณ์ Rug Pull

ตัวอย่างเหตุการณ์ Rug Pull ของโครงการ DeFi ในไทย

#WikiBit
#WikiBit

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียทรัพย์สินที่ลงทุน นักลงทุนจะต้องทำการตรวจสอบโครงการที่จะลงทุนให้ดี โดยต้องพิจารณาทั้งในระดับของ whitepaper, Smart contract ว่ามีความปลอดภัย หรือไม่มีความเสี่ยงด้าน business logic หรือไม่ รวมถึงต้องตรวจสอบประวัติของเจ้าของโครงการถึงประวัติในการของโครงการอื่นๆที่ผ่านมาด้วย

แต่การตรวจสอบ Whitepaper และ Smart Contract นั้นมีความซับซ้อน และ ต้องใช้ความเข้าใจด้านทางด้านเทคนิคเป็นอย่างมากทำให้เกิดบริการ การตรวจสอบ smart contract เกิดขึ้นโดย ผู้ให้บริการตรวจสอบ Project Defi ในระดับโลกนั้นมีตัวอย่างเช่น Certik (https://www.certik.com/) เป็นต้น

https://www.certik.com/

ผู้ให้บริการตรวจสอบนั้นจะทำการตรวจสอบ Smart Contract ทั้งในส่วนของ Business Logic และ Security ว่ามีจุดอ่อน หรือ ช่องโหว่หรือไม่เพื่อให้เจ้าของโครงการได้ทำการแก้ไข รวมถึงออกรายงานผลการตรวจสอบเพื่อให้นักลงทุนสามารถ download ไปอ่านได้ ประกอบการตัดสินใจลงทุน

บริการประเภทนี้นั้นเริ่มต้นในต่างประเทศมาแล้วเป็นระยะหนึ่ง แต่ในประเทศไทยนั้นกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยมีบริษัทที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย และ ตรวจสอบ Smart Contract อยู่ไม่มาก โดยส่วนใหญ่เป็นการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Cyber Security ของระบบที่เปลี่ยนมาศึกษา และ ให้ความสนใจในด้าน blockchain ซึ่งก็สามารถให้บริการตรวจสอบและให้คำแนะนำด้วยคุณภาพที่ไม่แตกต่างจากผู้ให้บริการในระดับโลก

ดังนั้นสถานการณ์ของบริการ Smart Contract security audit ในประเทศไทยจึงถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีผู้ให้บริการจำนวนไม่มาก การแข่งขันยังไม่สูง แต่มีผู้ที่ต้องการให้ตรวจสอบโครงการอยู่จำนวนมากทั้งในไทย และ โครงการที่ต่างประเทศด้วย

แม้จะเป็นโอกาสที่ดีในการเติบโตของผู้ให้บริการ แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการเติบโตอยู่นั้นคือจำนวนของผู้เชี่ยวชาญด้าน smart contract ที่ยังมีอยู่ไม่มากนัก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเข้าใจทั้งด้านการพัฒนา และ ด้านของ security ด้วยนั้นยิ่งน้อยลงอีก ทำให้ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งก่อนที่บริษัทในไทยจะสามารถ scale ความสามารถในการให้บริการให้รองรับ demand ที่มีมากขึ้นได้อย่างเพียงพอ

แต่ด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงาน ที่เป็น remote work มากขึ้นทำให้มีความเป็นไปได้ที่ บริษัทในไทยจะดึงเอาผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น เวียดนามเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อทำให้บริษัทมีความสามารถที่ scale up ได้เท่าทันกับความต้องการในตลาดต่อไป

โดยสรุปสถานการณ์ของบริการ Smart Contact security audit ในไทยในปี 2022 ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีการเติบโตค่อนข้างสูง และมีบริษัทที่ให้บริการน้อยราย ดังนั้นหากใครสามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ในช่วงนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน

--

--

beakon one
beakon one

Published in beakon one

beakon one is a special consultant helping you to discover knowledge and inspiring articles relevantly to blockchain, security, and technology.

Noratip Dhanasarnsilp
Noratip Dhanasarnsilp

Written by Noratip Dhanasarnsilp

Risk Management Professional and Crypto Currency Enthusiast