เขียน SOP ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง 💯

BEARYOUGO
BEARYOUGO
Published in
2 min readMay 26, 2022

เขียนโดย พี่หมีแพต

แน่นอนว่าน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนไปเรียนต่อไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศ จำเป็นที่จะต้องเขียนเรียงความ หรือที่เรียกกันว่า Statement of Purpose

พี่หมีมี tips & tricks 6 แนวทางแห่งการเขียน SOP (Statement of Purpose) ให้ปัง ผู้ตรวจเห็นแล้วเป็นต้องอ่าน และคำแนะนำเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่น้อง ๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองได้เลยนะ รับรองว่าจะไม่เสียน้ำตาซักหยดด ><

📝 Statement of Purpose คืออะไร และจำเป็นแค่ไหน ?

เป็นการเขียนเรียงความแนะนำตัว เพื่อแสดงให้ทางมหาลัยเห็นถึงเป้าหมาย และเหตุผลในการเรียนต่อของน้อง ๆ นั่นเองงง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ เพราะผู้ตรวจจะใช้ในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในต่างประเทศ

💡เทคนิคการเขียน SOP ให้โดนใจผู้ตรวจ 💡

  1. ปรับความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับ SOP

ปกติแล้วในบทความทั่วไปมักจะบอกโครงสร้างของ SOP มาให้กับเราเลย

ตัวอย่างโครงสร้าง

  • Paragraph แรก: แนะนำตัว
  • Paragraph สอง: แรงจูงใจต่างๆ ตามมาด้วยหลักสูตรที่อยากศึกษา

อยากจะให้น้อง ๆ ลืมโครงสร้างเหล่านี้ไปได้เลยจ้าา เพราะว่า SOP ไม่มีโครงสร้างที่ตายตัวน้าาา การที่น้อง ๆ เขียนตามโครงสร้าง จะทำให้ SOP ของน้อง ๆ กลายเป็น 1 ใน 1000 ใบที่หน้าตาเหมือน ๆ กัน

ถ้า SOP ของน้อง ๆ เหมือนกับของคนอื่น ๆ ก็จะไม่สะดุดตาผู้ตรวจ พี่หมีแนะนำว่า น้อง ๆ ควรที่จะเลือกเขียนแบบไม่ยึดติดดีกว่า แต่ถ้าน้อง ๆ อยากจะใช้โครงสร้าง เพื่อให้เกิดการวางภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ก็สามารถนำมาปรับใช้ในบางส่วนได้ค่าา

2. หาจุดที่น่าสนใจของน้อง ๆ ให้เจอ

ออกแบบโครงสร้าง SOP ของตัวเองไปเล้ยยย โดยอิงตามประวัติของน้อง ๆ เพราะองค์ประกอบทุกอย่างเริ่มมาจาก passion หรือแรงบันดาลใจของตัวเราเอง

ตัวอย่างเช่น:

  • เราอยากเรียนอะไร: คณะรัฐศาสตร์
  • ทำไมจึงอยากเรียน:

เพราะฉันเกิดและเติบโตในต่างจังหวัดที่สวัสดิการความช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐเข้าไม่ถึง จึงอยากเรียนรัฐศาสตร์เพื่อเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ที่ผลักดันปัญหา และช่วยเหลือจังหวัดของตัวเอง

  • ทำไมต้องเป็นมหาวิทยาลัยนี้:

เพราะที่นี่มีวิชา Public Financial Management ซึ่งมีประโยชน์มากกับการปรับใช้กับคณะรัฐศาสตร์ คณะนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่เน้นเรื่องการเงิน ซึ่งฉันมองว่าเป็นจุดอ่อน จึงคิดว่า การเรียนที่มหาลัยนี้ หลักสูตรนี้ จะมีประโยชน์ในการปิด gap นั้น นอกจากนี้ยังเอามาช่วยในการพัฒนาชุมชนของบ้านเกิดของฉันด้วย ซึ่งมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น

  • มีประสบการณ์อะไรที่เกี่ยวข้องไหม -

ฉันมีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐในไทย ที่สามารถนำประสบการณ์การทำงานนี้มาแบ่งปันในคลาสได้ นอกจากนี้ ฉันยังเคยทำกิจกรรม CSR เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวชนบทที่จังหวัดบ้านเกิด และทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชน โดยผลการวิจัยพบว่า มีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่นสำคัญ เนื่องจาก จนท ปกครองท้องถิ่นขาดความรู้

  • จากการวิเคราะห์ตัวอย่างนี้

จุดเด่นคือ การที่เขามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เคยต้องประสบกับปัญหาในด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นแรงจูงใจให้อยากเรียนด้านรัฐศาสตร์ มีความแน่วแน่กับเป้าหมายที่กำหนดไว้ และพยายามพัฒนาทักษะของตัวเองผ่านโครงการ CSR ต่าง ๆ แอนนาเห็นว่า จุดอ่อนชุมชนตัวเอง คือ มีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น จึงเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้ต้องมาเรียนต่อที่นี่ หลักสูตรนี้เท่านั้น

3. ทำให้เขามองเห็นความจำเป็นของน้อง ๆ

ปกติเราจะอธิบายว่า เราอยากเรียนอะไร เพราะอะไร ซึ่งคำตอบก็จะเป็นแบบทั่ว ๆ ไป เช่น เราอยากเรียนด้านรัฐศาสตร์เพื่อที่จะนำความรู้มาใช้กับงานในอนาคต etc.

คำตอบเหล่านี้มักจะถูกตีเป็น Unsuccessful Candidate เพราะผู้ตรวจมองว่า ผู้สมัครก็สามารถไปเรียนคณะนี้ที่มหาลัยอื่นได้เหมือนกัน น้อง ๆ ควรที่จะต้องโน้มน้าวว่าหลักสูตรนี้แหละที่น้อง ๆ อยากจะเรียนจริง ๆ จะเป็นคณะ/มหาลัยอื่นไปไม่ได้นะ! ตามตัวอย่างด้านบนที่อยากเข้ามหาลัยนี้ เพราะมีวิชา Public Financial Management

4. น้อง ๆ จะ contribute อะไรให้เขาได้บ้าง?

จุดนี้เป็นสิ่งที่น้อง ๆ หลายคนมองข้ามไป ในการเขียน SOP ของน้อง ๆ หลายคนเขียนว่า เราอยากจะได้อะไรจากเขาบ้าง จนลืมไปว่า แล้วเราล่ะ ให้อะไรกับเขาได้บ้าง? (คมกริบบบ ฮ่าฮ่าา)

ตัวอย่างเช่น -

ตัวเรามีประสบการณ์การทำงานในภาครัฐในประเทศไทย ถ้าเราได้รับ offer แล้ว เราก็จะมาแชร์มุมมองตรงนี้ให้เพื่อน ๆ ในห้องเรียน ลองคิดดูว่า แม้เกรดจะไม่ได้สูง โปรไฟล์ก็ธรรมดา แต่ถ้าเรามีมุมมองที่แปลกใหม่ มีหรอเขาจะไม่รับ :D

5. พยายามทำให้เขาจดจำ

จินตนาการว่า น้อง ๆ กำลังอยู่ในงานจัดแสดงสินค้า น้อง ๆ จะทำยังไงให้คนหันมาสนใจ และซื้อ ก็เหมือนกับการเขียนเรียงความนี่แหละทุกคนนนน เขียน introduction ยังไงให้ผู้ตรวจอยากอ่านต่อ และเขียน conclusion ยังไงให้โดดเด่น ถึงขั้นเป็น 1 ในผู้สมัคร 1000 คนที่เขาจำได้ขึ้นใจ

6. เล่าเรื่องให้ดูน่าสนใจ

เทคนิคการเขียน SOP ให้ผู้ตรวจจำน้อง ๆ ได้ น้อง ๆ ควรที่จะเล่าเรื่องให้น่าติดตามโดยใช้สิ่งที่พี่หมีได้แนะนำไปก่อนหน้านี้ นำมาปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง เรียงลำดับไทม์ไลน์ให้ดี จัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง ชัดเจน แจ๋วแว๋ว แค่นี้ผู้ตรวจก็ลืม SOP ของน้อง ๆ ไม่ลงแล้ว 😊

สุดท้ายนี้ พี่หมีแพตขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ที่กำลังจะเริ่มเขียน SOP ด้วยน้าาา ส่วนน้อง ๆ ที่กำลังจะเตรียมตัวเรียนต่อ พลาดบทความดี ๆ แบบนี้ไม่ได้เลยน้าาา

น้อง ๆ คนไหนอยากเขียน SOP ให้ดีขึ้น ทาง BEARYOUGO มีคอร์ส และมี 1:1 Session เพื่อช่วยพัฒนาเรื่องนี้โดยเฉพาะด้วยน้าาา ถ้ามีอะไรทักมาปรึกษาพี่หมีได้เล้ยยยย

“ Get the most out of your experience :D”

ใครที่สนใจไปเรียนต่อ หรือไปใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษ สามารถติดตาม BEARYOUGO ทั้งทางมีเดียม หรือ Facebook เพื่อตามอ่านข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศอังกฤษ เรื่องของการไปเรียนต่อ การใช้ชีวิต การทำงาน หรือเคล็ดลับน่ารู้จากพี่ ๆ ศิษย์เก่าที่จะช่วยให้น้อง ๆ ใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษได้อย่างเต็มที่ แฮปปี้ ได้นะคะ

Publication บน Medium: BEARYOUGO
Facebook: BEARYOUGO

--

--