🛑 IELTS Writing: รูปแบบ Grammar ที่ใช้ผิดบ่อยที่สุด (Part 1)🛑

Tan-ta Siriporn Na Rajasima
BEARYOUGO
Published in
2 min readJun 26, 2022

ถ้าพูดถึง IELTS พาร์ทเขียน นอกเหนือจากการเขียนตามหัวข้อที่ได้รับ และเขียนครบประเด็นที่ข้อสอบถามแล้ว เรายังต้องตรวจทานให้มั่นใจว่า grammar ที่เราใช้ในการเขียนนั้นถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษ

แต่เวลาน้อง ๆ หลายคนเตรียมตัวสอบ หรือไปติวตามสถาบันต่าง ๆ พี่หมีรู้นะว่าบางคนก็มักจะโฟกัสไปกับการใช้รูปแบบแกรมม่าที่หลากหลาย พยายามใช้รูปแบบประโยคที่ค่อนข้างจะ advanced เพื่อโชว์ออฟสกิลการเขียนภาษาอังกฤษของเรา เพราะคิดว่ามันจะช่วยเพิ่มคะแนนให้เราได้ แต่ก็หารู้ไม่ว่าแกรมม่าง่าย ๆ บางจุดของตัวเองเนี่ยยังไม่แข็งแรงพอเลย 🫢 แทนที่คะแนนจะพุ่งกระฉูดขึ้นฟ้า 🚀 แต่น่าจะพุ่งดิ่งลงหน้าผามากกว่านะในเคสนี้ 5555555555 💀💀

เอาเป็นว่าพี่หมีจะมาย้ำรูปแบบแกรมม่าที่นักเรียนใช้ผิดบ่อยสุด ๆ ให้ละกันนน มีอะไรบ้างงตามมาดูโลดดด 😝😝

➡️ If-clause (conditionals)

พี่หมีขอมอบมงให้กับ If-clause ในฐานะแกรมม่าที่ทำให้นักเรียนสับสนที่สุดไปเลยยย เราจะใช้ if-clause เวลาเราพูดประโยคเงื่อนไข เช่น ถ้า …. จะ….. แต่จุดที่น้อง ๆ หลายคนใช้ผิด คือการใช้ if เติมในประโยคเพียงต้องการพูดว่า “ถ้า” โดยไม่คำนึงถึงแกรมม่าที่จะต้องเปลี่ยนไปตามลำดับช่วงเวลาในภาษาอังกฤษเลย

น้อง ๆ อย่าลืมนะคะว่า if-clause นั้นมี 3 แบบเลยนะ ❗

ประกอบไปด้วย:

  1. If + present simple, future simple ใช้เมื่อเรา “พูดตอนนี้ กล่าวถึงอนาคต”
  2. If + past simple, S + would/should/might/could + V.infinitive ใช้เมื่อเรา “พูดตอนนี้ กล่าวถึงอะไรที่ไม่เป็นจริง (มโน)” 🥹
  3. If + past perfect, S + would have + V.3 ใช้เมื่อเรา “พูดตอนนี้ กล่าวถึงเรื่องที่ไม่เป็นจริงในอดีต”

เท่าที่พี่หมีสังเกต คนไทยส่วนมากจะติดใช้ if-clause ในรูปแบบที่ 1 ซึ่งก็คือ If + present simple, future simple กับสถานการณ์แทบจะทุกสถานการณ์เลย โดยเฉพาะสถานการณ์มโน เรื่องที่ไม่เกิดขึ้นจริง แทนที่จะใช้ if-clause แบบที่ 2 (If + past simple, S + would/should/might/could + V.infinitive) แทน

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยนะ ถ้าสมมติพี่หมีมีลุงที่อ้วนมาก 👴 แถมยังสุขภาพไม่ดีอีกเพราะไม่ชอบออกกำลังกาย พี่หมีเลยอยากจะเม้าให้เพื่อนฟังว่า “ถ้าลุงของฉันออกกำลังกาย เขาคงจะสุขภาพดีไปนานละ” 🤫 ย้ำนะว่านี่คือเหตุการณ์มโน เพราะลุงของพี่หมีตอนนี้นี่ห่างไกลจากคำว่าสุขภาพดีไปหลายขุม พี่หมีก็ต้องใช้ if-clause แบบที่ 2 ว่า If my uncle exercised, he would be healthy แบบนี้ ✅ แทนที่จะใช้ if-clause แบบแรกและพูดแบบผิด ๆ ว่า If my uncle exercises, he will be healthy ❌ นั่นเอง

➡️ การใช้คำนาม (nouns) สรรพนาม (pronouns) เป็นประธานและกริยาเอกพจน์/พหูพจน์ (singular/plural verbs) ที่ตามหลัง

อะ อันนี้เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ สกิลภาษาอังกฤษเด็กอนุบาลใช่มะ พูดถึงเรื่องคำนามเอกพจน์พหูพจน์เนี่ย เสียงอาจารย์ที่สอนตั้งแต่ประถมถึงมัธยมก็ดังก้องมาในหูเลยอะนะ 👩‍🏫 แต่ความจริงยังมีจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรายังใช้ผิดกันอยู่นะ

พี่หมีขอเน้น 2 จุดสำคัญเลย คือ:

1. สรรพนามบางตัวต้องใช้กริยาเอกพจน์ตามหลังเท่านั้น

สรรพนามในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น neither, each, everything, everyone, anybody, no one, nothing

ทำไมน่ะเหรอ? เอ้า❗ ลองคิดซะว่าเวลาเราใช้สรรพนามพวกนี้ เราอยากจะเหมารวมสิ่งที่เราพูดเป็นกลุ่มก้อน ไม่ได้อยากจะไปนับมัน เหมือน everyone ก็เหมารวมทุกคนเป็นก้อนเดียว each ก็พูดถึงแค่คน/สิ่งเดียว nothing ก็พูดถึงความ “ไม่มีอะไร” ก็เลยไม่มีอะไรให้นับไงงง 555555 เพราะฉะนั้นเลยใช้กับกริยาเอกพจน์เนอะ

ตัวอย่างประโยค:

Nothing is cheap enough for me to afford. แปลว่า ไม่มีสิ่งไหน/ ไม่มีอะไรถูกพอที่ฉันจะ (มีเงินพอที่จะ) ซื้อได้เลย เป็นต้น

2. สรรพนามที่ตามหลังด้วยกริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้

สรรพนามในกลุ่มนี้มีไม่เยอะ ที่เจอ ๆ บ่อยก็มี all, most, some, any แต่การจะรู้ว่าควรใช้กริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นต้องดูที่คำนามที่ต่อท้ายสรรพนามนั้น ว่าเป็นนามนับได้หรือนับไม่ได้ ถ้าเป็นนามนับได้ก็ให้ใช้ singular verb ถ้านามนับไม่ได้ก็ให้ใช้ plural verb

💛 ตัวอย่างประโยคที่มีนามนับได้ (countable nouns) ตามหลังสรรพนาม:

  • Most of my friends are Chinese. เพื่อนของฉันส่วนมากเป็นคนจีน
  • All the cups in the kitchen are new. แก้วน้ำทั้งหมดในครัวเป็นแก้วใหม่ 🍵

💛 ตัวอย่างประโยคที่มีนามนับไม่ได้ (uncountable nouns) ตามหลังสรรพนาม:

  • Some information is not reliable. ข้อมูลบางอย่างเชื่อถือไม่ได้
  • All sugar is bad for your health. น้ำตาลทุกชนิดไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ 🍬

➡️ การใช้ few/ a few

Few กับ a few ใช้ไม่เหมือนกันนะทุกคนนนน เราใช้ a few (มี a นำหน้า)ในประโยคเพื่อบ่งบอกถึงจำนวนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีจำนวนน้อย แต่ก็มีบ้าง… ใช่แล้วววว เราใช้ a few ในกรณีคล้ายกันกับที่เราใช้คำว่า some นั่นแหละค่ะน้อง ๆ ส่วนคำว่า few นั้นจะหมายถึงจำนวนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีจำนวนไม่มาก

อ่านมาถึงตรงนี้น้อง ๆ อาจจะเกิดคำถามว่า เอ๊ะ แล้วจำนวนน้อยกับจำนวนไม่มากของพี่หมีนี่มันไม่ได้เหมือนกันเหรอ 55555 คำตอบคือไม่เหมือนค่ะ 🤪🤪 ถ้าใครงง พี่หมีอยากให้ลองลบคำจำกัดความที่พี่หมีพูดข้างต้นไป แล้วลองมาดูฟีลลิ่งการใช้สองคำนี้ดีกว่า เวลาใช้ a few แล้วแปลประโยคออกมา ความหมายมันจะให้ความรู้สึกไปในทางบอกเล่าเฉย ๆ หรือในทางที่เป็นบวกมากกว่าการใช้คำว่า few ในประโยค ที่ความหมายมักจะสื่อออกมาในเชิง denied หรือปฏิเสธเล็กน้อย

ตัวอย่างเช่น:

  • A few dogs barked at me. หมาบางตัวเห่าใส่ฉัน 🐕🐕🐕🐕

(ความรู้สึกของ “บางตัว” ตรงนี้ จะเป็นในกรณีที่ผู้พูดอยากให้ผู้ฟังรู้ว่ามีหมาอยู่กลุ่มหนึ่งเห่าใส่ฉันนะ > บอกเล่าเฉย ๆ ไง)

  • Few dogs barked at me. หมาบางตัวเห่าใส่ฉัน 🐕🐕

(ผู้พูดต้องการจะสื่อว่า มีหมา “แค่” บางตัวเท่านั้นนะที่เห่าใส่ฉันน่ะ > ออกแนวปฏิเสธเล็กน้อยว่า ไม่ได้มีหมาเยอะขนาดนั้นนะที่เห่าใส่ฉัน มีแค่บางตัวเท่าน้านนน)

อ้ะะะ เป็นยังไงกันบ้างกับข้อผิดพลาดของแกรมม่าทั้งหมดของวันนี้ที่พี่หมีเอามาย้ำให้ทุกคนฟัง หวังว่าจะเข้าใจมากขึ้นกันแล้วน้าาา 🫶🫶 วันนี้เอาไปแค่น้ำจิ้ม เดี๋ยวครั้งหน้าพี่หมีจะมาต่อเรื่องแกรมม่าที่มักจะใช้ผิด part 2!!!! รับรองว่ามีประโยชน์เวลาน้อง ๆ ทบทวนสอบแน่นอนนนน See youuuu~ 💘

“ Get the most out of your experience :D”

ใครที่สนใจไปเรียนต่อหรือไปใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษ สามารถติดตาม BEARYOUGO ทั้งทางมีเดียม หรือ Facebook เพื่อตามอ่านข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศอังกฤษ เรื่องของการไปเรียนต่อ การใช้ชีวิต การทำงาน หรือเคล็ดลับน่ารู้จากพี่ ๆ ศิษย์เก่าที่จะช่วยให้น้อง ๆ ใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษได้อย่างเต็มที่ แฮปปี้ ได้นะคะ
Publication บน Medium : BEARYOUGO
Facebook : BEARYOUGO นะคะ

--

--