การใช้ Big Data ในชีวิตประจำวัน

Eakasit Pacharawongsakda
Big Data Engineering
1 min readApr 16, 2018
Source: https://www.pexels.com/photo/photo-of-a-woman-standing-inside-bus-808700/

ในแต่ละวันทำงาน “มานี” จะตื่นขึ้นมาตั้งแต่ 6:00 น. และเตรียมตัวออกเดินทางตอนเวลา 7 โมงเช้าเพื่อให้ไปทำงานให้ทันก่อน 8:00 น.ในระหว่างขับรถพบว่ามีการจราจรติดมากทำให้อาจจะไปถึงที่ทำงานล่าช้ากว่าปกติ เธอจึงได้โทรศัพท์ไปแจ้งหัวหน้างานในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากมานีไม่ได้ใช้ Bluetooth หรือ hand-free ทำให้ระหว่างการสนทนานั้นเธอจึงต้องใช้มือข้างหนึ่งจับพวงมาลัยและมืออีกข้างจับเครื่องโทรศัพท์ไว้ที่หู ด้วยความประมาทเช่นนี้ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยรถยนต์ของเธอวิ่งไปชนท้ายรถคันหน้า หลังจากนั้นเธอจึงต้องโทรตามประกันเพื่อมาจัดการเรื่องนี้ กว่าจะจัดการเรื่องประกันเสร็จสิ้นก็ปาเข้าไปเกือบ 9:30 น. และกว่าจะถึงที่ทำงานก็เกือบ 10 โมงเช้าและเธอคิดว่าปีนี้จะต้องเสียค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นอีกเยอะแน่ๆ เลย

ถัดจากนั้นมานีก็ทำงานมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเลิกงานตอน 5 โมงครึ่ง หลังเลิกงานก็ขับรถกลับบ้าน ก่อนจะเข้าหมู่บ้านก็แวะเข้า supermarket เพื่อซื้อของเข้าบ้านเสียก่อน แต่วันนี้มีคนมาซื้อของมากมายทำให้ต้องต่อคิวคิดเงินที่ cashier เป็นเวลาค่อนข้างนาน แล้วเธอก็ขับรถถึงบ้านแต่พลันนึกขึ้นมาได้ว่าลืมซื้อไข่ไก่ไปเสียได้ หลังจากรับประทานอาหารกลางวันและอาบน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เตรียมตัวเข้านอนแบบเหงาๆ ในตอน 21:00 น.

จากข้อความข้างต้นอาจจะคล้ายกับชีวิตประจำวันของใครบางคน ถ้าเราใช้เทคโนโลยี Big Data Analytics มาช่วยจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร

  1. ซอฟต์แวร์ Waze ที่เป็นระบบนำทางบนโทรศัพท์มือถือ (https://www.waze.com)

ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยใช้ Google Map บนโทรศัพท์มือถือ วันนี้ขอแนะนำ App ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน ชื่อว่า Waze โดยจะมีหน้าตาที่น่ารักกว่า Google Map และมีฟีเจอร์ที่สำคัญ คือ การคาดการณ์ว่าถ้าต้องการไปถึงอีกที่หนึ่งในเวลาที่กำหนดไว้ควรจะออกเดินทางเมื่อไรดี ตัวอย่างหน้าจอของ Waze ดูได้จาก

และ concept การทำงานดูได้จาก

จากคลิปทั้งสองจะเห็นได้ว่า Waze ใช้การส่งข้อมูลผ่านไปยังเครือข่ายและเครื่อง server เพื่อให้ประมวลผลว่ามีความเร็วมากน้อยแค่ไหน และสามารถบอกเพื่อนใน social network ได้ว่าใช้เวลาเท่าไร เพื่อนๆ จะได้กะเวลาได้ถูกต้อง ยิ่งมีคนใช้ App นี้มากขึ้นก็จะมีความแม่นยำมากขึ้นตามไปด้วย

2. WayMo รถยนต์ที่ขับเองได้ของ Google (Google Self Driving Car)

คงจะดีถ้าเราขึ้นรถแล้วมีคนขับรถให้เราจะได้พักผ่อนหรือทำงานอย่างอื่นๆ ต่อไปได้ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้เทคโนโลยีด้าน Big Data ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก หลายๆ บริษัทพัฒนารถยนต์ที่สามารถขับเองได้โดยที่ไม่ต้องมีคนขับ เราเรียกรถประเภทนี้ว่า Self-driving car ตัวอย่างเช่น WayMo ของ Google หรือ รถของ Tesla ในคลิปด้านล่างแสดงตัวอย่างรถยนต์ของ Google

จากคลิปจะเห็นได้ว่าเราแค่เข้าไปนั่งเฉยๆ รถยนต์ก็จะขับไปได้เอง โดยที่ด้านบนของตัวรถจะมีกล้องติดไว้เพื่อเก็บภาพต่างๆ แล้วนำไปประมวลผลด้วยเทคโนโลยีทางด้าน Image Processing และ AI

3. ถาดวางไข่อัจฉริยะ

คงจะดีถ้าเราไปที่ supermarket แล้วรู้ว่าของที่อยู่ในตู้เย็นที่บ้านเหลืออยู่เท่าไร จะได้ซื้อสินค้าได้โดยไม่พลาด คลิปนี้แสดงถาดวางไข่อัจฉริยะที่สามารถบอกได้ว่าไข่ตรงไหนที่วางไว้นานแล้วและควรนำไปใช้ก่อน โดยจะมีไฟกระพริบเกิดขึ้น และสามารถ sync ข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือผ่านทาง App เพื่อจะได้ทราบว่าตอนนี้เหลือไข่อยู่กี่ฟองและถ้าเหลือน้อยมากก็จะมีการแจ้งเตือน (notification) ไปยัง App บนมือถืออีกด้วย

4. Amazon Go: Supermarket ที่ไม่ต้องเข้าคิวชำระเงิน

เบื่อไหมครับที่ต้องต่อคิวเพื่อชำระเงินซื้อสินค้าใน supermarket เพื่อแก้ไขปัญหานี้บริษัท Amazon (ที่มีชื่อเสียงในการขายหนังสือผ่านทาง online) ได้พัฒนาร้าน supermarket ที่เราสามารถหยิบสินค้าแล้วเดินออกไปได้เลย หลังจากนั้นระบบจะตัดเงินจาก account ของ Amazon.com เอง ดูตัวอย่าง concept ได้จากคลิปด้านล่างครับ ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีที่ใช้ก็จะมี Image Processing, Deep Learning และ Machine Learning

นอกจากนี้คลิปถัดไปจะแสดง concept ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับร้านค้าต่างๆ ในอนาคต

สุดท้ายนี้จะเห็นว่าเทคโนโลยีทางด้าน Big Data สามารถช่วยให้ชีวิตประจำวันของเราง่ายขึ้นครับ

--

--

Eakasit Pacharawongsakda
Big Data Engineering

Certified RapidMiner Analyst & Ambassador, Lecturer in Big Data Engineering Program, DPU