การส่งงานภาพข่าว Illustrative Editorial บน Adobe Stock

Biruoh
Biruoh
Published in
4 min readJun 12, 2020

ในช่วงปลายปีที่แล้ว Adobe Stock ได้เปิดให้ Contributors สามารถส่งงานในหมวดหมู่ภาพข่าวได้ ซึ่งจะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภท ถ้าใครเคยส่งงานกับ ShutterStock มาก่อนก็จะทราบว่ามีความคล้ายกัน คือ

  1. Illustrative Editorial Content — มีเงื่อนไขว่า Contributor ที่จะสามารถส่งงานได้ต้องมียอดโหลดมากว่า 100 หรือระดับ Silver ขึ้นไป
  2. Documentary Editorial Content — ประเภทนี้จะไม่รับงานจาก Contributor บุคคลทั่วไป

อย่างไรก็ตาม Illustrative Editorial ที่ Adobe Stock จะมีความแตกต่างจากเอเจนซี่เจ้าอื่นๆ เพราะที่ Adobe Stock มีเงื่อนไขให้ส่งเฉพาะงานที่เขากำหนดไว้เท่านั้น เหตุผลหลักของ Adobe Stock ที่รับพิจารณางานในหมวด Illustrative Editorial ก็เพื่อนำไปใช้ประกอบบทความของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และประกอบหัวข้อข่าวโดยจะโฟกัสไปที่แนวคิดของภาพที่แสดงให้เห็นแบรนด์จริง(Real Brands) และผลิตภัณฑ์จริง(Real Products)

ซึ่งที่ Adobe Stock จุดโฟกัสหลักของ Illustrative Editorial คือ “แบรนด์” และ “ผลิตภัณฑ์”

ถ้าหากคุณสงสัยว่าแล้วเวลาส่งงานที่ไม่แสดงให้เห็นแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และบริษัท เวลาตรวจงานจะผ่านมั้ย? ตรงนี้ไม่ได้มีเงื่อนไขบอกชัดเจนว่าได้หรือไม่ได้และไม่ได้ระบุเจาะจงชัดเจน แต่เขาได้กล่าวใน Livestream ว่าเขาไม่ได้สนใจงานอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ด้านบน(Brands & Products) ถ้าคุณต้องการอยากจะลองส่งภาพถ่ายสถานที่หรืออะไรอย่างอื่นที่เขาไม่ได้ระบุไว้เพื่อดูผลก็ได้ แต่ขอแนะนำว่าไม่ควรทำแบบนั้นจะดีกว่า เพราะถ้ามาลองคิดดูว่าหากงานของคุณถูกปฏิเสธ(Reject) หลายๆ ครั้ง Adobe Stock จะไม่อนุญาตให้คุณส่งงานในหมวด Illustrative Editorial อีกต่อไป

ถ้าหากคุณอยู่ระดับ Silver หรือมียอดดาวน์โหลดเกิน 100 โหลดเรียบร้อยแล้ว เมื่อคุณอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปคุณจะเห็นกล่องตัวเลือกที่หน้าต่างกรอกข้อมูลว่า “This is Illustrative Editorial content” เหมือนในรูปด้านล่าง

จะยกตัวอย่างงาน Illustrative Editorial ให้ดูตามภาพโลโก้สายการบินไทยด้านล่าง รูปนี้สามารถนำไปใช้เกี่ยวกับปัญหาล่าสุดของสายการบินที่กำลังเกิดขึ้นและแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ

Unsplash: PatrickE

โลโก้ธนาคารกสิกรด้านข้างตึกสำนักงานสามารถนำไปใช้ในบทความที่ถูกพูดถึงเรื่องความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเกี่ยวกับเรทดอกเบี้ย

ส่วน Grab Bike สามารถนำไปใช้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับตอนนี้ที่ Grab มีคู่แข่งเป็น SCB ในส่วนของบริการจัดส่งอาหาร(Food Delivery)

เดี๋ยวจะบอกใบ้ให้อีกอย่างนึงสำหรับสิ่งที่คุณสามารถไปถ่ายภาพส่งได้

Sony มีบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทยและภาพนี้จะสามารถนำไปกล่าวอ้างถึงสถานที่ตั้งได้ เวลาที่มีการพูดถึงแพลนในอนาคตของ Sony สาขาประเทศไทย

พยายามตามข่าวสารและคาดเดาว่าแบรนด์ดังไหนที่จะกลายเป็นคอนเทนท์ที่ต้องการในอนาคตเร็วๆ นี้ และถ้าหากคุณต้องการให้คอนเทนท์ของคุณสามารถขายได้เรื่อยๆ ให้ลืมบริษัทเล็กๆ ไปได้เลยเพราะว่าอาจจะไม่มีการนำไปพูดถึงกันในสำนักข่าวต่างประเทศ

Adobe Stock

พวกเขาต้องการรูปถ่าย เวกเตอร์ และภาพประกอบ ที่แสดงให้เห็นแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ คุณสามารถเซ็ตอัพสตูดิโอเพื่อถ่ายภาพแบรนด์และผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วยเทคนิคและแนวคิดต่างๆ ที่คุณต้องการ แต่ตอนนี้ยังไม่เปิดรับงานวิดีโอนะคะ

สำหรับ Illustrative Editorial ที่ Adobe Stock จะไม่รับงานที่มีรูปบุคคลอยู่ในภาพด้วย

หรือภาพจากงานอีเว้นท์ที่มีการกำหนดเงื่อนไขเข้มงวดว่าห้ามถ่ายภาพ เช่น งานประชุมสัมนา, งานแข่งขันกีฬา และอื่นๆ เขาต้องการงานที่ดูเป็นธรรมชาติและจะไม่รับงานที่มีการ Crop เอา copyright หรือเครื่องหมายการค้าออก ได้แก่ แสตมป์, งานอาร์ตหรือภาพถ่ายของคนอื่น และภาพที่ประกอบไปด้วยเนื้อหารุนแรงและเป็นส่วนตัว

ในระหว่าง Livestream ได้มีคำถามขึ้นมาว่า เมื่อลองค้นหาบน Adobe Stock โดยใช้ฟิลเตอร์ Editorial ทำไมถึงพบว่าหลายๆ ภาพ Editorial มีรูปบุคคลอยู่ด้วย และถ้าลองคลิกดูที่ข้อมูลรูปภาพนั้นคุณจะเห็นว่า Contributors เหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับสำนักข่าวใหญ่เช่น Reuters เพราะ Adobe Stock มีสัญญาร่วมกับหลายๆ สำงานข่าวอยู่นั่นเอง นี่คือเหตุผลที่ Adobe Stock ไม่รับภาพข่าวที่มีภาพบุคคลจาก Contributors บุคคลทั่วไป

ลองดูรูปภาพตัวอย่างด้านล่างที่เป็นมาตรฐานของภาพข่าวที่ถูกถ่ายด้วยเอเจนซี่สำนักงานข่าวที่ Adobe Stock ทำสัญญาภาพข่าวอยู่ด้วย คุณอาจจะสังเกตได้ว่าเอเจนซี่สำนักงานข่าวเหล่านี้ยังได้ส่งภาพที่ยังขาดอยู่ใน Catalog แบรนด์และผลิตภัณฑ์ซึ่ง Contributor บุคคลทั่วไปต้องเป็นผู้ส่งงานในส่วนนี้ นี่เป็นจุดที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งสำคัญว่าAdobe Stock ต้องการงานในหมวดนี้มากแค่ไหน

Adobe Stock

อย่างไรก็ตาม Adobe Stock ได้เปิดรับงานสถานที่ที่มีชื่อเสียงหรือยอดนิยม(เช่น พระบรมมหาราชวัง หรือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) แต่นี่ก็ยังไม่ใช่คอนเทนท์ที่เขาสนใจเท่าไหร่นอกจากสถานที่นั้นเป็นบริษัทหรือองค์กรที่มีโลโก้หรือป้ายสำนักงานใหญ่อยู่ด้วย ถ้าคุณอยู่ที่กรุงเทพจงใช้พื้นที่นี้ให้เป็นประโยชน์ ลองเริ่มจากการเริ่มถ่ายป้ายชื่อร้านต่างๆและโลโก้ด้วยมุมและองค์ประกอบดีๆ

พยายามลองมองหาแบรนด์ที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ ในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Apple ที่นิยมกันแต่โลโก้เกือบทุกประเทศทั่วโลกก็ดูเหมือนๆ กันหมด ถ้าหากคุณลองถ่ายภาพหน้าร้านจริงที่มีโลโก้ปรากฎอยู่ด้วย จะเป็นการแสดงให้เห็นว่านี่คือ Apple ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ซึ่งภาพนี้สามารถนำไปใช้ประกอบกับบทความเกี่ยวกับ Apple Store ที่แรกของเมืองไทยได้

Adobe Stock ได้ยกตัวอย่างของภาพถ่ายที่มีบุคคลในภาพและเป็นข้อยกเว้น ถ้า

บุคคลเหล่านั้นเป็น Silhouette และคุณไม่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้

หรือเห็นแค่เพียงด้านหลัง ภาพเหล่านี้ก็สามารถยอมรับให้สามารถส่งเป็น Illustrative Editorial ได้ เบียร์คิดว่าคุณต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเวลาที่เลือกงานส่ง ภาพที่ถ่ายติดมือหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องไม่สามารถระบุตัวตนได้(ต้องไม่มีแผลเป็น, รอยต่างๆ, รอยสัก) ก็สามารถส่งได้

เพื่อช่วยทุกๆ คนเบียร์ได้ทำ Research บน Adobe Stock และพบรูปของธนาคารกสิกรเพียง 13 การค้นหาเท่านั้น ในนี้มี 8 รูปที่เป็นโลโก้และอีก 2 รูปเป็นรูปถ่ายระยะใกล้ของโลโก้ นี่ถือว่าเป็นโอกาสใหญ่ที่คุณสามารถส่งคอนเทนท์นี้ไปโดยเร็วเลย สำหรับคำแนะนำอื่นๆ ที่ดูท่าน่าจะไปได้ดีก็ตามนี้นะคะ

  • โลโก้และป้ายของห้างสรรพสินค้า
  • ป้ายของบริษัทโรงงาน
  • โลโก้และป้ายของระบบขนส่งมวลชน
  • โลโก้และป้ายของกลุ่มบริษัททัวร์
  • แบรนด์ดังในไทย — Cha Tra Mue, PTT, CP Group, Thai-Denmark Dairy, Thai Premier League Clubs

ลองหาไอเดียอื่นๆ เพื่อถ่ายโดยลองดูที่ Catalog และลอง Research เพื่อให้ได้รู้จักแบรนด์ต่างๆ และจงจำไว้ให้ดีๆ ว่า Adobe Stock มี Catalog ในหมวด Illustrative Editorial ที่ยังไม่ใหญ่มากนัก และ Adobe Stock ได้มีการบอกใน Livesteam ว่า

ตลาดตรงนี้มีความนิยมมากกกกกกก(Popular)

ถ้าคุณมีโอกาสให้ลองถ่ายแบรนด์และผลิตภัณฑ์รอบๆ ตัวคุณและส่งขายให้ไวที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

สิ่งที่ถือเป็นเรื่องปกติของงานภาพข่าวของทุกเอเจนซี่ก็คือการหลีกเลี่ยงการแก้ไขและการ Crop ภาพ ซึ่งปกติอนุญาตให้ Crop ได้แบบไม่แน่นเกินไป สามารถปรับแต่งได้นิดหน่อยเพื่อให้ภาพดูดีขึ้นได้

ถ้าคุณทำงานภาพประกอบหรือเวกเตอร์นั้น เบียร์ได้นำตัวอย่างของงาน Illustrative Editorial มาให้ดูตามด้านล่างนี้

ลองมาดูตัวอย่างภาพ Screenshot จากทางเว็บไซต์ของ Adobe กันที่ได้ระบุความต้องการว่างานต้องมีมาตรฐานคุณภาพทางเทคนิคระดับสูง ถ้าคุณมีงานหรือ Portfolio เกี่ยวกับ Illustrative Editorial ที่คิดว่ามีคุณภาพสูงแต่ยอดดาวน์โหลดยังไม่ถึง 100 หรือยังไม่ถึงระดับ Silver นั้น แต่ต้องการส่งงานในหมวด Illustrative Editorial คุณสามารถติดต่อเพื่อยื่น Portfolio ในการพิจารณาขอส่งงานแบบ Illustrative Editorial โดยสามารถคลิกที่ลิ้งค์ Contact us ถ้างานของคุณนั้นดีพอตามที่ Adobe Stock ต้องการคุณก็จะได้รับโอกาสในการส่งงาน Illustrative Editorial ค่ะ

Adobe Stock

การใส่ Title จะไม่เหมือนเอเจนซี่เจ้าอื่นๆ Adobe Stock ไม่มีรูปแบบตายตัวสำหรับ Illustrative Editorial แต่เขาต้องการให้อธิบายตรงตัวกับสิ่งที่เห็นในภาพและในวันที่กับสถานที่ลงไปด้วย

Adobe Stock

การใส่ Keyword สำหรับ Illustrative Editorial ก็ใช้หลักการเดียวกันกับคอนเทนท์อื่นๆ ที่เบียร์เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ให้โฟกัสที่ 10 คำแรกที่เป็น Keyword สำคัญที่สุด โดยให้ใส่ชื่อของแบรนด์ที่ Keyword คำที่ 1 แล้วอย่าลืมใช่ชื่อแบรนด์ลงใน Title เพื่อเป็นการเพิ่มความสำคัญต่อการค้นหาด้วย คุณไม่จำเป็นต้องใส่หลาย Keyword ใส่ประมาณ 15–30 ก็เพียงพอแล้วและมีประสิทธิภาพมากกว่าในการค้นหาภาพ สามารถใส่ชื่อสถานที่ลงใน Keyword ได้ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับภาพ แต่ถ้าเป็นเพียงภาพระยะใกล้ เช่นภาพโลโก้ของ ปตท. แบบนี้สามารถใช้เป็นที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าหากเราใส่สถานที่เพิ่มลงไปด้วยอาจจะส่งผลลบให้กับภาพของเรามากกว่าจะเป็นการช่วยก็ได้

Adobe Stock

เบียร์คิดว่าได้ให้ข้อมูลข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับ Illustrative Editorial ไปพอสมควรแล้ว ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือสงสัยตรงส่วนไหนสามารถคอมเม้นท์ไว้ได้เลยค่ะ เดี๋ยวจะช่วยหาคำตอบมาให้นะคะ

สามารถติดตามบทความรวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ Facebook Fanpage : Biruoh ได้อีกช่องทางนะคะ https://www.facebook.com/biruoh

--

--