บทความอัพเดทการใส่ Title & Keyword บน Adobe Stock

Biruoh
Biruoh
Published in
4 min readJun 13, 2020

สวัสดีค่ะทุกๆ คนวันนี้เบียร์จะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใส่ชื่อภาพ(Title) และคีย์เวิร์ด(Keyword) บน Adobe Stock ให้ได้ทราบกันนะคะ บทความนี้อยากจะมาอัพเดทระบบวิธีคิดบน Adobe Stock ซึ่งอีกความหมายหนึ่งคือคอนเทนท์ของคุณอาจจะยังไม่ดีพอเท่าที่ควรจะเป็นยังไงเดี๋ยวเราลองมาดูกันค่ะ

ในความเป็นจริงแล้วคนที่ใส่คีย์เวิร์ดตำ่กว่า 50 คำมีโอกาสที่จะขายได้มากกว่าคนที่ ใส่คีย์เวิร์ดเต็มทั้งหมด 50 คำ นั่นเป็นผลส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ Adobe ได้พัฒนา ขึ้นมาเรียกว่า Adobe Sensei ซึ่ง Adobe Sensei คือ AI ที่ Adobe ได้คิดค้นและได้ทำ การพัฒนาขึ้นมาใช้กับระบบของ Adobe Stock แทบทุกอย่าง รวมไปถึงโปรแกรม อื่นๆ และตัวเว็บไซต์ด้วย ลองนึกถึง Machine Learning ที่ได้ช่วยทำงานประมวลผล หลายอย่างให้กับ Adobe และการประมวลผลรูปภาพของเราทุกคนเพื่อช่วยสร้าง คอนเทนท์ออกมา โดยอัตโมัติ

บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า Adobe ใช้ระบบจัดนำ้หนักให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ด เพื่อเป็นการประเมิณค่าระดับความสำคัญว่าคำไหนสำคัญมากสำคัญน้อยซึ่งจะต่าง จากเอเจนซี่เจ้าอื่นๆ โดยจะมีนำ้หนักอยู่ 3 แบบคือ

  1. ระดับความสำคัญเท่ากัน : การใส่คีย์เวิร์ด 1–50 คำ และคีย์เวิร์ดลำดับที่ 11–49
  2. ระดับที่มีประสิทธิภาพ : คีย์เวิร์ดลำดับที่ 1–10 (การใส่คีย์เวิร์ดไม่เกิน 49 คำ)
  3. ระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุด : คีย์เวิร์ดโบนัส

ถ้าหากว่าคุณใส่คีย์เวิร์ดเต็ม 50 คำนั้นจะทำให้คีย์เวิร์ดทุกคำมีค่าความสำคัญเท่ากัน หมด หรืออธิบายเพิ่มคือคีย์เวิร์ดคำที่ 1–10 และ 11–50 จะมีนำ้หนักความสำคัญ เท่ากันหมด (จะไม่มีการเรียงลำดับความสำคัญของ 1–10) และมีโอกาสเพียงบาง ครั้งที่จะปรากฎขึ้นเวลาที่ลูกค้าทำการค้นหา

ถ้าหากว่าคุณใส่คีย์เวิร์ดสูงสุดที่ 49 คำนั้นระบบของ Adobe Stock จะใส่นำ้หนัก ความสำคัญให้กับคีย์เวิร์ด 10 คำแรกอัตโนมัติ และคีย์เวิร์ด 10 คำแรกจะต้องใช้คำ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับภาพของคุณได้ ไม่ควรใส่คำที่ไม่ เกี่ยวข้องหรือคำทั่วๆ ไปตรงส่วนนี้

มาถึงตรงนี้ส่วนของโบนัส ก่อนหน้านี้ระบบ Adobe Stock ไม่สามารถค้นหาจากชื่อ ภาพ(Title)ได้ แต่ตอนนี้มีการปรับระบบใหม่ให้สามารถค้นหาได้จากชื่อภาพเข้าไป ด้วย ซึ่งถ้าหากคุณใส่คีย์เวิร์ดสำคัญลงไปในชื่อภาพด้วยแล้วจะยิ่งทำให้คีย์เวิร์ดมี นำ้หนักมากยิ่งขึ้นไปอีก และจะทำให้กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพและทรง พลังมากที่สุดอีกด้วย

เดี๋ยวเบียร์จะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันนะคะ “Young Asian brunette female teenager walking through a park listening to music” (วัยรุ่นหญิงสาวชาวเอเชีย ผมนำ้ตาลกำลังฟังเพลงในขณะที่เดินผ่านสวน) กับชื่อภาพประโยคนี้ต้องมาลองคิด ดูว่าคำไหนที่น่าจะเป็นคำที่มีประสิทธิภาพที่ลูกค้าจะใช้สำหรับในการค้นหาภาพเรา

ในความคิดของเบียร์นั้นจะเลือก : Asian, Brunette, Female, Teenager, Walking, Park เบียร์รู้สึกว่านี่จะเป็น 6 คำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะนำมาใช้กับคีย์เวิร์ด 10 คำแรก และยังอาจจะนำคำว่า Listening, Young หรือ Music มาใช้ แต่จะใช้ ในลำดับที่นำ้หนักเท่ากันคือคีย์เวิร์ดลำดับที่ 11–49 เพราะคำเหล่านี้เป็นคำทั่วไป

สำหรับคีย์เวิร์ด 4 คำที่เหลือนั้นเบียร์จะเลือกใช้คำที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับภาพได้ เช่น นอกบ้าน(outdoor), ในบ้าน(indoor), จำนวนคนในภาพ, อายุ, เพศ, เชื้อชาติ, สถานการณ์ เป็นต้น และ

สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ การใส่คีย์เวิร์ดและชื่อภาพของคุณต้องสื่อความหมายของภาพได้ถูกต้อง

ถ้าหากคุณใส่คำที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพลงไปในคีย์เวิร์ดและชื่อภาพจะ ส่งผลกระทบด้านลบต่องานของคุณที่จะทำให้งานของคุณถูกดันไปอยู่หน้าหลังๆ เป็นการลดการมองเห็นจากลูกค้าอีกด้วย

Adobe ได้กล่าวว่าไม่มีรูปไหนที่ต้องใส่คีย์เวิร์ดเต็ม 50 คำและช่วงที่เหมาะสมจะอยู่ ประมาณ 15–25 คำ

เบียร์คิดว่า 30 น่าจะเป็นตัวเลขที่กำลังดีเลยล่ะ โดยปกติถ้ามากกว่า 30 คำขึ้นไปแล้วจะทำให้มีคีย์เวิร์ดที่ไม่มีประสิทธิภาพรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้ภาพของเราแสดงขึ้นกับการค้นหาที่ไม่เกี่ยวข้องเวลาที่ลูกค้าทำการค้นหาภาพ

แน่นอนว่าก็ยังมีข้อยกเว้นที่คุณสามารถใส่คีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพได้มากกว่า 30 คำที่คุณคิดว่านั้นจะทำให้เป็นผลดีต่อภาพของคุณ อย่างเช่นถ้าหากว่าคุณต้องการใส่ คำว่า Vector หรือ Illustration เพื่อเป็นการบอกว่างานของคุณจัดอยู่ในประเภท ไหน นี่ก็จะทำให้คำค้นหากว้างหากนำคำเหล่านั้นไปใส่คีย์เวิร์ดในลำดับที่ 11–49 ประโยชน์ของคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพคือการทำให้ระบบค้นหาแม่นยำทำให้ค้นพบ ได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพทำให้ยอดขายสูงขึ้น ซึ่งนี่จะทำให้คอนเทนท์ของคุณ ถูกค้นพบได้สูงขึ้นอีกด้วย

รูปภาพด้านล่างจะเป็นภาพในพอร์ตของคนที่มียอดขายดีติดอันดับบน Adobe Stock และเป็นภาพที่สามารถยกเอามาเป็นตัวอย่างได้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลด้านบน

  • คีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับรูปภาพ 30 คำ
  • คีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพ 4 คำในชื่อภาพอยู่ในคีย์เวิร์ด 10 คำแรก
  • คีย์เวิร์ดระดับทั่วไป 1 คำในชื่อภาพอยู่ในคีย์เวิร์ดลำดับที่ 11
Adobe Stock

สิ่งที่จะพูดต่อมาก็คือ ต่อให้เรามีข้อมูลหลักที่สำคัญอย่าง Metadata ที่มีประสิทธิภาพ นี้แล้วแต่งานของคุณยังไม่ดีพอ คีย์เวิร์ดและชื่อภาพที่มีประสิทธิภาพก็ไม่สามารถ ช่วยคุณได้ คุณควรมุ่มมั่นและตั้งเป้าให้กับการสร้างคอนเทนท์ที่มีคุณภาพไม่ใช่การ พยายามทำให้ได้ปริมาณเยอะๆ แต่ให้เลือกส่งงานที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดเท่านั้น คุณควรให้ความสำคัญกับส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน

ลองศึกษาดูงานของคนที่ติดอันดับขายดีเพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจ และลองมาดูกันว่าคุณจะพัฒนาไปได้มากแค่ไหนด้วยการมุ่งมั่นและโฟกัสให้ถูกที่

การรวมคำของคีย์เวิร์ด

คีย์เวิร์ดเหล่านี้จะมีคำที่มากกว่า 2 หรือ 3 คำรวมอยู่ในคีย์เวิร์ดเดียวกัน เช่น ชื่อ สถานที่หรือชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ลองยก “สนามบินสุวรรณภูมิ” มาเป็นตัวอย่าง ถ้าหากว่าภาพของคุณเกี่ยวข้องกับสถานที่นี้โดยตรงคุณควรใส่คีย์เวิร์ดว่า “Suvarnabhumi Airport” ลงในช่องเดียวกันและใส่คำว่า “Airport” แยกออกมา อีกคำ ถ้าหากไม่ใส่คำแยกออกมาจะไม่มีการค้นหามาที่ภาพเราเมื่อลูกค้าค้นหาคำว่า Airport เฉยๆ เพราะว่าการใส่ “Suvarnabhumi Airport” จะไม่มีการแยกคำออก จากคีย์เวิร์ดนี้ ซึ่งทางที่ดีควรใส่คำเพิ่มลงไปอีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาให้สูงขึ้น

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกับเอเจนซี่หลายที่และเขาแจ้งว่า คุณควรใส่คีย์เวิร์ดที่มีการรวมคำเฉพาะเวลาที่คำมากกว่า 2 คำรวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่ ชื่อใหม่ หรือชื่อสถานที่เท่านั้น ตัวอย่างเช่น Arctic Fox, Golden Bridge, Statue of Liberty, Polar Bear เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดความแม่นยำและเกิดประโยชน์มากที่สุด และคำว่า “No People” และ “Nobody” ก็เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้เช่นเดียวกันหาก คอนเทนท์ของคุณไม่มีคนอยู่ในภาพ

ภาษา

Adobe Stock กล่าวว่าเขารับงานที่ส่งมาในภาษาเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใส่รวมมาก กว่า 1 ภาษาได้ ถ้าหากว่าคนส่งในรูปแบบภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็จะมีปัญหา บางอย่างอยู่ ซึ่งปกติแล้วคุณสามารถส่งงานโดยใช้ภาษาอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่นถ้า หากคอนเทนท์ของ คุณจะมีประสิทธิภาพเฉพาะแค่ในพื้นที่ประเทศของคุณเท่านั้น และลูกค้าค้นหาในภาษานั้น

มีเพียงภาษาอังกฤษภาษาเดียวที่จะถูกแปลออกมาด้วยภาษาที่ Adobe Stock รองรับ ได้แก่ เยอรมัน, ฝรั่งเศส, สเปน เป็นต้น และถ้าคำที่มีเครื่องหมาย “-“ ตัวเลขและ เครื่องหมายวรรคตอน จะไม่มีการแปล ตัวอย่างเช่น Time-lapse เขาได้ แนะนำให้ ใส่เป็นคำเดียวไปว่า “Timelapse” ซึ่งจะทำให้ Adobe Sensei สามารถ แปลคำนี้ได้

ยังมีเงื่อนไขข้อยกเว้นสำหรับสัตว์และดอกไม้ หลายคนค้นหาชื่อดอกไม้ด้วยชื่อดั้งเดิม ในภาษาละติน หรือชื่อสปีชี่ส์ดั้งเดิมประเภทของสัตว์ เช่น Hominoidea สำหรับ Ape ซึ่งตรงนี้เป็นข้อยกเว้นที่สามารถใส่เป็นภาษาที่สองเพิ่มมาได้แต่จะไม่ได้รับการแปล

Adobe Sensei

เราได้พูดถึงเรื่องนี้ไปก่อนหน้านี้แล้วและ Adobe Stock ทุ่มโฟกัสที่เทคโนโลยีนี้ค่อน ข้างหนักเลยทีเดียว มันอาจจะเป็นไปได้ที่จะช่วยในการรีวิวงานทำให้ระยะเวลารอ การตรวจงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในอนาคตแต่พวกเขาก็ยังไม่ได้บอกรายละเอียดที่ชัด เจนออกมา แต่เขากล่าวว่าการพัฒนาครั้งใหญ่ของ Adobe Stock น่าจะมาเร็วๆ นี้

สิ่งที่เจ้า AI ตัวนี้ทำก็คือเมื่อคุณอัพโหลดไฟล์งานของคุณขึ้นไปมันจะทำการสแกน งานของคุณเพื่อเช็คพื้นที่ว่างสำหรับใส่ข้อความหรือ Copy Space มันจะดูออกได้ โดยอัตโนมัติและเพิ่มภาพของคุณลงในหมวดหมู่ (Category) เมื่อลูกค้าค้นหาภาพ ที่มีพื้นที่ว่างใส่ข้อความงานในหมวดหมู่นี้ก็จะถูกคัดกรองออกมา อีกนัยหนึ่งคือคุณ ไม่จำเป็นต้องใส่คีย์เวิร์ด Copyspace แต่คุณยังสามารถใส่ลงในคีย์เวิร์ดในช่วงของ นำ้หนักความสำคัญเท่ากันถ้าหากคุณต้องการ

สำหรับคำบางคำสามารถเขียนได้หลายแบบในความหมายที่ต่างกันตามบริบท ตัวอย่างเช่น Run, Running, Runner คุณสามารถเลือกใช้ Run เพียงคำเดียวใส่ลง ในคีย์เวิร์ดได้และที่เหลือ Sensei จะเพิ่ม Running ให้เองอัตโนมัติหากลูกค้าค้นหา คำว่า Running ก็จะค้นพบคอนเทนท์ของเราด้วย เหตุผลก็เพราะเพื่อเป็นการลด การใส่คำคล้ายกัน

ถ้าหากว่าคุณไม่ได้ฝัง Metadata ลงในไฟล์เวลาที่คุณอัพโหลด Sensei จะพยายาม ใส่คำอธิบายชื่อภาพและคีย์เวิร์ดให้ประมาณ 25 คำแรกโดยอัตโนมัติ โดยอ้างอิง ข้อมูลพื้นฐานให้ตรงกับภาพมากที่สุดและเป็นคำที่ลูกค้ามักใช้ในการค้นหาในช่วงนี้ แต่ข้อมูลอาจจะไม่ได้ถูกต้อเสมอไปคุณตองหมั่นตรวจสอบให้แน่ใจก่อนแล้วยังมีอีก ฟังก์ชันหนึ่งอยู่ด้านล้างของช่องใส่คีย์เวิร์ดที่ที่คุณสามารถใช้คำสั่งให้ใส่คีย์เวิร์ดให้ ใหม่ อัตโนมัติตรง Refresh auto-keyword ถึงแม้ว่าคุณจะฝังคีย์เวิร์ดไว้อยู่แล้วก็ตาม

ชื่อภาพ (Title)

Adobe Stock ต้องการให้เราอธิบายภาพให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้องอธิบายให้ ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเห็นในภาพนั้น พวกเขาต้องการให้คุณใช้ คำที่เป็นเหตุการณ์ ปัจจุบัน มีความสัมพันธ์ตรงประเด็น มีความถูกต้องแม่นยำ และคำจำกัดความ มาปรับใช้ในตอนที่คุณคิดตั้งชื่อภาพ โดยแนะนำความยาวเหมาะสมที่ 70 ตัวอักษร

พวกเขาได้เอ่ยถึงเรื่องการใช้คีย์เวิร์ดทั่วไปในการตั้งชื่อภาพที่ควรนำมาใช้ให้น้อยลง ได้แก่คำว่า Happy ที่ใช้อธิบายเวลาที่คุณเห็นภาพเด็กผู้หญิงกำลังยิ้ม ควรอธิบาย ให้มีความเฉพาะเจาะจงและรายละเอียดให้มากเท่าที่ตะทำได้ พยายามอย่าใช้เครื่อง หมายวรรคตอน เช่น . และ ,

ถ้าคุณไม่เก่งภาษาอังกฤษให้คุณสร้างชื่อภาพเป็นภาษาไทยขึ้นมาก่อนเพื่อให้รู้ว่าคุณต้องการอธิบายเป็นประโยคว่าอะไรที่แน่นอนหลังจากนั้นค่อยนำมาแปล วิธีนี้ง่ายกว่า การที่จะต้องมาคิดเป็นภาษาอังกฤษเลย

กระแสความนิยม (Trend)

เวลาที่คุณฝัง Metadata ลงในคอนเทนท์โดยจะยกตัวอย่างไปที่เทรนด์ของ Covid-19 พยายามใส่ให้มีความพอดีและใส่คีย์เวิร์ดที่สามารถเข้ากันได้กับคอนเทนท์ที่นอก เหนือจากกระแส Covid-19 ลงไปด้วย ถ้าคุณใส่คีย์เวิร์ดที่โฟกัสไปที่เทรนด์มากเกินไป จะทำให้คอนเทนท์ของคุณขายได้แค่ในระยะสั้นๆ (แค่ช่วงเทรนด์นั้น) พอถึงช่วงเวลา อื่นคอนเทนท์ของคุณก็จะ ตกลงจากหน้าค้นหาไปอย่างหนัก

เรื่องอื่นๆ

ยังไม่มีอัพเดทเกี่ยวกับเรื่องแอพของ Adobe Stock ว่าจะมีหรือเปล่าและ Adobe Illustrator สำหรับ iPad คาดว่าน่าจะออกมาในช่วงปลายปีนี้

สำหรับใครต้องการกลับไปแก้ไข Title & Keyword บน Adobe Stock นั้นเบียร์มีคลิปสอนตามด้านล่างนะคะ แต่ในความเห็นส่วนตัวให้ลองพิจารณาเลือกแก้งานที่มีคุณภาพ แล้วโฟกัสที่การสร้างคอนเทนท์ใหม่ๆ จะดีกว่าค่ะ

สามารถติดตามบทความรวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ Facebook Fanpage : Biruoh ได้อีกช่องทางนะคะ https://www.facebook.com/biruoh

--

--