สรุปประเด็นสำคัญจากงาน Bitkub Meetup ครั้งที่ 4

Napisa Wisuttipun
Bitkub.com
Published in
5 min readJun 29, 2024

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และบริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด ร่วมจัดงานเสวนา Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “The Evolution of Digital Assets: อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของโลกสินทรัพย์ดิจิทัล” งานเสวนาที่นำผู้บริหารของทางเครือบิทคับ และผู้เชี่ยวชาญในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลมาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกในแต่ละยุคและการมาของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีวิทยากรในงานคือ

Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “The Evolution of Digital Assets: อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของโลกสินทรัพย์ดิจิทัล”

1.คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด
.
2.คุณอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด
.
3.คุณโอม ภาธร เต็งเกียรติ์ตระกูล ตัวแทนจาก Swirlds Labs (Hedera)
.
4.คุณพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ นักลงทุนและเจ้าของรายการ Money Matters
.
5.คุณ Naomi ผู้ดำเนินรายการ Trader KP และ Business Tomorrow
.
6.คุณแสตมป์ กันตณัฐ วุฒิธร หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์สินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด
.
ในงานนี้มีหัวการเสวนาเพื่อทำความเข้าใจแลเรียนรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนของโลกการเงิน สู่การเปลี่ยนผ่านมายังยุคสมัยใหม่ของโลกสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งหมด 4 หัวข้อดังนี้

.

รู้อดีต รู้อนาคต กับประวัติศาสตร์ทางการเงิน
โดย คุณอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด

คุณอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด

คุณอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ เริ่มต้นด้วยประโยค “If you want to know the future, look at the past” โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวคือ ถ้าอยากรู้อนาคต เราก็ต้องรู้อดีตด้วย เพราะเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้น มักจะกลับมาเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา

.

จากประวัติศาสตร์การเงินที่เริ่มตั้งแต่ Barter system เพื่อแลกเปลี่ยนที่ต้องมี coincidence of wants จากทั้งสองฝ่ายมีความต้องการที่ตรงกัน จนสู่ความแพร่หลายของการใช้งานสกุลเงินเฟียต (Fiat Currency) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง ก็จะเกิดเป็น Money cycle สามารถแบ่งวัฏจักรการออกเป็น 3 ช่วง คือ

.

ช่วงที่ 1 คือ Hard money เป็นช่วงที่ใช้เงินแบบที่สร้างยาก หรือเงินที่มีมูลค่าด้วยของมันเอง เช่น เหรียญทอง เหรียญเงิน
.
ช่วงที่ 2 คือ Claims on Hard Money เป็นช่วงที่ใช้เงินกระดาษ หรือธนบัตรต่าง
.
ช่วงที่ 3 คือ Fiat Money เป็นยุคที่ใช้เงินจากการพิมพ์เงินจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ
.
จะเห็นได้ว่า ถ้าเมื่อใดก็ตามที่วัฏจักรการเงินเดินทางมาสู่เงิน Fiat ก็มีโอกาสที่จะกลับไปหา Hard money ตัวอย่าง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สาธารณรัฐไวมาร์หรือประเทศเยอรมันนีในปัจจุบันได้พิมพ์เงินสกุล Rentenmark ขึ้นมาเพื่อยับยั้งสภาวะอภิมหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น นำมาใช้แทนเงิน Reichsmark ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ความไม่แน่นอนทำให้คนกลับไปมองหาเงินที่มีมูลค่าในตัวเอง คือ Hard money ที่เป็นทองคำ เพราะธนบัตรพวกนั้นไม่มีค่า ไม่สามารถใช้จ่ายซื้ออะไรได้อีกแล้ว

.

คุณอรรถกฤต นำเสนอตัวเลขชุดหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก คือ จากการศึกษาในปี 1700 ในขณะนั้นพบว่ามีสกุลเงินมากกว่า 750 สกุลเงิน แต่สกุลเงินเกือบทั้งหมดเสื่อมค่าไปหมด เหลือสกุลเงินที่ใช้ได้เพียง 20% ที่เหลือใช้อยู่เมื่อเปรียบเทียบกับทองคำ ทำให้เห็นได้ว่าเงินจำนวนมากได้หายไปและหมดมูลค่าไป

.

แล้วการเงินในอนาคตจะเป็นอย่างไร คุณอรรถกฤตให้ความเห็นไว้ว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง จะเป็นอนาคตกลายมาเป็นวิวัฒนาการระดับต่อไปของการเงินโลก ด้วยคุณสมบัติที่เหมือนกับ Hard Money คือ มีความคงทน สามารถแตกตัวหรือทอนเงินได้ และสามารถพกพาได้สะดวก ทั้งยังคล้ายกับทองคำที่ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ ก็เลยมีแนวคิดที่ว่า หากเกิดการย้อนกลับไปที่ Hard Money อีกครั้ง การย้อนกลับครั้งนี้อาจจะไม่ได้กลับไปหาสินทรัพย์ที่มีมูลค่าแบบทองคำอีกต่อไป แต่จะเป็นการเดินทางไปหาสินทรัพย์ดิจิทัล

.

แนวโน้ม และโอกาสของสินทรัพย์ดิจิทัลในปี 2024
โดย คุณแสตมป์ กันตณัฐ วุฒิธร

คุณแสตมป์ กันตณัฐ วุฒิธร หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์สินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด

คุณสแตมป์ กันตณัฐ วุฒิธร ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของราคาบิทคอยน์หลังจากการทำ Halving ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วใน 3 ครั้งโดยมองว่าตลาดหลังจากการทำ Halving สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เรียกกว่า Bullish stage
ช่วงที่ 2 เรียกว่า Bearlish stage
ช่วงที่ 3 เรียกว่า Recovery stage

.

โดยคุณสแตมป์มองว่า Bullish stage จะเกิดขึ้นหลังจากที่ Bitcoin Halving ในทุก ๆ ครั้ง เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาประมาณ 13–18 เดือน ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดของตลาดคริปโต

.

หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่ Bearlish stage มีระยะเวลาของช่วงนี้ยาวนานประมาณ 12–13 เดือน ในครั้งแรกของช่วงจะเป็นการปรับตัวลงประมาณ 87% 84% และ78% ซึ่งเมื่อผ่านช่วงแสนโหดนี้ไปแล้ว ก็เตรียมเข้าสู่ช่วง Recovery stage

.

เมื่อดูการทำราคาของบิทคอยน์ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา หลังจากเกิด Halving ครั้งแรก มีการเติบโตมากถึง 11,151% และครั้งถัดมาอีกสองครั้ง มีลักษณะการเติบด้านราคาที่ลดลงในลักษณะลดลงแบบหารสี่

.

หลังจาก Bitcoin Halving มีอะไรน่าจับตามองบ้าง คุณสแตมป์ แบ่งสิ่งที่น่าจับตามองออกเป็น 2 ประเด็นคือ

.

(1)เรื่อง Bitcoin ETF: ในมุมมองเชิงนักลงทุน มองว่าการเกิด Bitcoin ETF เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เพราะการประกาศอนุมัติ Bitcoin ETF เมื่อ 10 มกราคมที่ผ่านมานี้ เป็นการเปิดหน้าต่างให้กับระดับนิติบุคคล องค์กร และสถาบัน ให้สามารถซื้อบิทคอยน์ได้ จากที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ มองว่าเงินจากสถาบันต่าง ๆ จะไหลเข้ามาในโลกคริปโตจำนวนมาก ยกตัวอย่าง Blackrock มีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ (AUM) ประมาณ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดคร่าว ๆ มูลเหล่านี้เท่ากับ GDP ของประเทศไทยประมาณ 20 เท่า ถ้าหากนิติบุคคลเหล่านั้นเขามาลงทุนในบิทคอยน์ เพดานของเงินที่ไหลเข้ามาในระบบจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ๆ จากที่แต่เดิมเงินในระบบมีเพียงเงินของบุคลลทั่วไปที่ไม่ได้มีปริมาณมหาศาล

.

(2)เรื่อง Smart Contract Platform และ Decentralized Application: ในโลก Web3 มีสิ่งหนึ่งเลยที่เป็นตัวขับเคลื่อนโลกคริปโต คือ Smart Contract Platform ที่ในปัจจุบัน มีการแยกย่อยออกไปเป็นหลายแบบ แต่สิ่งที่ต้องจับตาให้มากเลย คือ Ethereum Layer 1, Layer 2 (Rollup) Scalling Solution, Optimistic Rollups, และ ZK Rollups

.

รู้จักกับ Hedera ผู้ขับเคลื่อนวงการ Tokenization
โดย คุณโอม ภาธร เต็งเกียรติ์ตระกูล ตัวแทนจาก Swirlds Labs (Hedera)

คุณโอม ภาธร เต็งเกียรติ์ตระกูล ตัวแทนจาก Swirlds Labs (Hedera)

คุณโอม ภาธร เต็งเกียรติ์ตระกูล กล่าวถึง Hedera ว่าเป็น Layer 1 DLT ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในโลก ทาง Hedera มี use case ที่น่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น Hedera DeFi, Real-world asset (RWA), Supply Chain, Fintech และ CBDC

.

ทางบริษัทให้ความสำคัญกับการทำ Real-world asset (RWA) ค่อนข้างมาก เพราะทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ไม่ถูกจำกัดพื้นที่หรือประเทศในด้านการลงทุน รวมถึงการไม่มีเวลาหยุดทำการทำให้เข้าตลาดซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง

.

ตัวอย่าง use case ที่สำคัญของทาง Hedera คือการทำ RWA ในรูปแบบ Tokenization กองทุนตลาดเงินกับบริษัท Abrdn ร่วมกับทาง Archax ให้นักลงทุนรายย่อยเข้าไปซื้อกองทุน และ การทำ Dimond standard ที่นำเพชรที่มีสภาพคล่องต่ำ นำมาทำเป็นโทเคนให้เหรียญทุกเหรียญมีมูลค่าเท่า ๆ กัน เพื่อหาเพชรที่มีราคาใกล้เคียงกันเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักลงทุนรายย่อย

.

คุณโอม ภาธร ยังเสริมประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของ Hedera ที่ใช้พลังงานต่ำ เพราะทำงานบนระบบ Proof-of-Stake (PoS) มีการดำเนินการด้านคาร์บอนเครดิต ทำโทเคนในกลุ่ม Green Bond ที่รู้จักในด้านการระดมทุนขององค์กรที่ต้อการนำเงินไปใช้ในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ผ่านแพลตฟอร์ม Decentralized ต่าง ๆ

.

วัฒนาการของสินทรัพย์ดิจิทัลและการจัดสรร
โดย คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และ คุณพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ นักลงทุนและเจ้าของรายการ Money Matters ดำเนินการโดย คุณ Naomi ผู้ดำเนินรายการ Trader KP และ Business Tomorrow

คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด | คุณพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ นักลงทุนและเจ้าของรายการ Money Matters | คุณ Naomi ผู้ดำเนินรายการ Trader KP และ Business Tomorrow

ในการเสวนาช่วงนี้ แบ่งเป็นประเด็นสำคัญในการสนทนาทั้งหมด 5 ประเด็น

.

(1)ในมุมมองของแต่ละท่าน สินทรัพย์ดิจิทัลมีความแตกต่างอย่างไรกับสินทรัพย์แบบดั้งเดิมอย่างไร?

.

— คุณท็อป จิรายุส กล่าวว่า ในยุคแรกสินทรัพย์ต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของการเก็งกำไร แต่ในยุคของสินทรัพย์ดิจิทัล มองว่าไม่ใช่ทั้งเงินและไม่ใช่ทั้งสินทรัพย์ แต่เป็น Internet Protocol ตัวอย่าง บิทคอยน์เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์แรกที่สามารถเก็บมูลค่าได้โดยไม่ต้องมีตัวกลาง มีจำนวนจำกัด ซึ่งนำมาตีราคาด้วยวิธีการแบบเก่า ๆ ไม่ได้อีกแล้ว
.
— คุณพอล ภัทรพล มองว่าการลงทุนมียุคสมัยของมัน เช่น คนในรุ่นที่ผ่านมาสามารถเกร็งกำไรสร้างรายได้จากทองคำ จากหุ้น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ หรือวิกฤตต่าง ๆ ก็ทำให้การลงทุนแบบเดิมเปลี่ยนไป นำมาสู่ยุคของคริปโทที่กลายมาเป็นสินทรัพย์ใหม่ ๆ

.

(2)เรื่อง Evolution of the Digital Assets เราน่าจะได้เห็นวิวัฒนาการในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัลในเรื่องใดอีกบ้าง ด้วยเหตุผลใด? และมีเรื่องไหนน่าจับตามองเป็นพิเศษ?

.

— คุณพอล ภัทรพล กล่าวว่าในปัจจุบันสำหรับเรื่อง Tokenization ที่น่าจับตามองแล้ว ยังมีเรื่อง Real-world assets (RWA), Decentralized Physical Infrastructure Networks (DePIN) ที่น่าจับตามอง
.
— คุณท็อป จิรายุส มองว่า สินทรัพย์ดิจิทัลกำลังจะกลายมาเป็นการเงินกระแสหลัก เกิดแนวทางของการรวมตัวระหว่างเงินแบบดั้งเดิมเข้ากับคริปโต เช่น การทำ Real-world assets (RWA) หรือแม้แต่การได้รับการอนุมัติ Bitcoin ETF ที่ทำให้เงินจากกลุ่มสถาบันไหลเข้าสู่ตลาดคริปโตมากขึ้น

.

(3)ในปี 2024 เป็นปีแห่งประเทศมหาอำนาจที่อาจมีส่วนทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน?

.

— คุณพอล ภัทรพล กล่าวว่า Bitcoin ETF ทั้งในสหรัฐอเมริกาและฮ่องกง จะทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตเร็วขึ้น เพราะว่าแหล่งสถาบันที่เป็นเงินก้อนใหญ่ได้เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น
.
— คุณท็อป จิรายุส มองว่าการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้มีความสำคัญมาก ถ้าหากทรัมป์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโลกของคริปโตจะเปลี่ยนไป

.

(4)การที่บิตคอยน์ยังคงขึ้นแท่นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มี Market Cap อันดับ 1 ของโลก (ตามอ้างอิงจาก Coinmarketcap) คุณคิดว่าจะเกิดความเชื่อมั่นในวงกว้างขึ้นไหม? เช่น ในระดับกลุ่มนักลงทุนสถาบัน หรือการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ มากขึ้นหรือไม่? เช่น ประเทศที่ยังไม่เคยสนใจบิตคอยน์

— คุณท็อป จิรายุส มองว่า หลายประเทศสนใจบิทคอยน์มากขึ้น มีระดับของการยอมรับที่มากขึ้นและแตกต่างกันออกไป เช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์รับรองให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายและเป็น Reserve Currency อย่างที่เห็นได้ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกามีอัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้บางประเทศเกิดความไม่เชื่อมั่น ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ (de-dollarization) หันมาซื้อทองคำแทน
.
— คุณพอล ภัทรพล คิดว่า บิทคอยน์ยังคงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านของราคาและผลตอบแทน

.

(5)ขอเทคนิคการรับมือในช่วงสภาวะตลาดปัจจุบัน

.

— คุณนาโอมิ ให้คำแนะนำด้านการลงทุนว่า สิ่งสำคัญของการทุน คือ รู้จักตัวเองให้ดีก่อนการลงทุน, รู้จักความเสี่ยงของตัวเอง และรู้ตลาดว่าที่เข้าไปลงทุนคืออะไรต้องศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน พร้อมทั้งใช้สติใช้ความรู้ในทุกช่วงขณะของตลาด
.
— คุณท็อป จิรายุส ให้แนวการคิดเรื่องลงทุนว่าด้วย เราจะต้องมี Intellectual humility คือ การไม่นำความสำเร็จเก่ามาขัดกับโลกอนาคตที่กำลังจะมา ต้องหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ตลอด เพราะการลงทุน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องรู้จักการรับมือเมื่อลงทุน ต้องมีความรู้เรื่องทางการเงิน (financial literacy) ที่เหมือนกับคำกล่าวของ Warren Buffett ที่ว่า “The stock market is a no-called-strike game. You don’t have to swing at everything — you can wait for your pitch” การลงทุนต้องมีวินัยใช้ความอดทน อย่าไปเลียนแบบใคร ต้องมีความรู้ในการลงทุน
.
— คุณพอล ภัทรพล แนะนำว่าในการลงทุน จะต้องมี 3 พร้อม คือ พร้อมความรู้ พร้อมอารมณ์ และพร้อมการเงิน คือ ต้องมีความรู้เรื่องการลงทุน ยิ่งรู้มากยิ่งได้เปรียบ มีความพร้อมในกาควบคุมอารมณ์ในทุกช่วงขณะของการลงทุน และสุดท้ายพร้อมเงิน คือต้องไม่ใช้เงินร้อน ไม่กู้ยืม ต้องมีความอดทนในการถือยาว ๆ ได้

.

— — — — — — — — — — — — — — — — —

เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวสินทรัพย์ดิจิทัลได้ที่ bitkub Blog — Bitkub.com

-Bitkub Blog — CBDC คืออะไร?
-Bitkub Blog — รู้จักกับ HBAR
-Bitkub Blog — รู้จัก RealX โทเคนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
-Bitkub Blog — Layer 2 คืออะไร
Bitkub Blog — รู้จัก Bitcoin ETF

— — — — — — — — — — — — — — — — —

คำเตือน

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”

--

--