Cryptocurrency ในการจัดการพัยภิบัติ

Peace Art
Bitkub.com
Published in
2 min readOct 8, 2018

--

หากเราจะพูดถึงการจัดการภัยพิบัติด้วย Cryptocurrency นั้น เราก็ควรเข้าใจแนวคิดกับการทำงานของ Cryptocurrency เสียก่อน Cryptocurrency เป็นสกุลเงิน Digital ที่จับต้องไม่ได้ เช่น Bitcoin, Etherium, XRP, EOS, Bitcoin Cash, Zcash, Litecoin เป็นต้น ต่างจากสกุลเงินแบบดั้งเดิมที่จับต้องได้ เช่น เงินเหรียญหรือเงินกระดาษในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปอนด์สหราชณาจักร หรือ บาทไทย เป็นต้น

Cryptocurrency นั้นเป็นสกุลเงิน Digital ที่มีการกระจายศูนย์กลางการประมวลผล สามารถใช้ถ่ายโอนระหว่างบุคคลคนผ่านเล่มบัญชีสาธารณะที่อัพเดทโดยเครือข่าย ใช้หมายเลขบัญชีหรือ Key ที่เฉพาะเจ้าของเท่านั้นที่จะรู้ในการยืนยันธุรกรรม

เช่น นาย A ต้องการโอน Cryptocurrency เช่น Bitcoin หรือ Ethereum ให้กับ นาย B นาย A จะต้องส่งจำนวนที่ต้องการให้นาย B โดยใส่หมายเลข Key ของนาย A เพื่อเสร็จสิ้นธุรกรรม มูลค่าของ Bitcoin จะขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนของ Bitcoin กับเงินสกุลดั้งเดิม ณ ช่วงเวลาที่ทำรายการขณะนั้น

ธุรกรรมของ Cryptocurrency นั้นจะมีความปลอดภัยสูงแม้ในยามคับขัน เนื่องจากธุรกรรมที่อยู่บน Blockchain นั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ เนื่องจากเป็นผลการประมวลที่เป็นเอกฉันท์ของเครือข่าย ซึ่งสามารถทำงานต่อไปได้แม้ว่าเครือข่ายบางส่วนจะล่มก็ตาม

การจัดการภัยพิบัตินั้น คือ กระบวนการในการตอบสนองต่อความล้มเหลวหรือความล่าช้า ซึ่งอาจภัยพิบัติอาจเกิดจากธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์ที่เกิดกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือชีวิตและทรัพย์สินเฉพาะบุคคล สำหรับการจัดการและบรรเทาภัยพิบัติโดยใช้ Cryptocurrency ให้เราจินตนาการถึงข้อได้เปรียบหากทุกคนเป็นผู้ใช้ Cryptocurrency ที่ไม่เหลือเงินสดเลยในสถานการณ์ร้ายแรง

เช่น หากบ้านถูกน้ำท่วมใหญ่เนื่องจากฝนตกหนัก จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อมาซ่อมแซมความเสียหายหรือใช้ซื้อปัจจัยดำรงชีพ และเราไม่สามารถเข้าถึงเงินที่จับต้องได้ในยามฉุกเฉินได้ (เนื่องจากธนาคารและเงินสดอาจถูกน้ำท่วม หรือ มีการปล้นสะดมและเงินของบ้านที่ถูกน้ำท่วม) ในสถานการณ์นี้เราสามารถทดแทนการชำระเงินด้วย Cryptocurrency ได้ทั้งหมด

และสำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้โดยง่าย หรือแม้หลังจากที่ฟื้นกลับมาแข็งแรงแล้วแต่กลับมีเงินไม่พอจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากเรามี Cryptocurrency เป็นเงินสำรองก็จะสามารถช่วยบรรเทาและแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ได้

นอกจากนี้ หากหน่วยงานแจ้งเตือนภัยพิบัติและหน่วยงานฉุกเฉิน เช่น โรงพยาบาล มีฐานข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายของ Blockchain ในระดับชาติ ก็จะสามารถแจ้งเตือน ช่วยเหลือ ตรวจสอบยืนยันที่อยู่ ประวัติทางการแพทย์ของผู้ประสบภัย และ/หรือเรียกใช้ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับบสนุนการบรรเทาทุกข์และจำกัดความเสียหายได้อย่างทันท่วงที

โดยสรุป แนวคิดเงิน Digital เป็นหนึ่งในหลายนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากศักยภาพของมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยีนั้นทำให้มนุษย์มีความพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต กล่าวได้ว่า การใช้ประโยชน์จาก Cryptocurrency จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในวงกว้าง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและทางเทคโนโลยี Cryptocurrency สามารถใช้เติมเต็มช่องว่างของความท้าทายทางสังคมในการจัดการกับภัยพิบัติในระดับมนุษย์ได้

--

--