มรดกในโลกยุคดิจิทัล

Minyarinn Chaotrakul
Bitkub.com
Published in
1 min readDec 12, 2019

--

Heritage with digital

มรดกคืออะไร?

มรดกคือ “ทรัพย์สินของผู้ตายที่ตกทอดแก่ทายาท” โดยสามารถแบ่งแยกย่อยได้ 3 ประเภท
- ทรัพย์สิน เช่น บ้าน,รถ,ที่ดิน รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ
- สิทธิ เช่น สิทธิเจ้าหนี้, สิทธิที่ได้สิทธิ์ต่างๆ ตามกฏหมายของเจ้าของมรดกก่อนเสียชีวิต
- ความรับผิดชอบต่างๆ เช่น หนี้ที่ผู้ชายต้องชำระ, หนี้กู้ยืมต่างๆ (แล้วแต่เงื่อนไข)

ภาษีมรดก

ตามกฏหมายแล้วมีการกำหนดให้เฉพาะผู้ที่ได้รับมรดกที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 100 ล้านบาทจากเจ้าของมรดกเข้ามาในคราวเดียว โดยสรรพากรมีกำหนดให้เสียภาษีในส่วนของยอดเงินที่เกินกว่าส่วน 100 ล้านบาทมาเท่านั้น (สูงสุด 10% ของยอดที่เกิน)
โดยสินทรัพย์ที่จะมีการจัดเก็บภาษีมีดังนี้

  1. อสังหาริมทรัพย์
  2. หลักทรัพย์
  3. เงินฝาก
  4. ยานพาหนะ
  5. สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฏีกา

**สิ่งที่น่าสนใจคือรายการสินทรัพย์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายการข้างต้น ผู้รับมรดกไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติม อาทิ เงินสด, ของเก่าของสะสม, พระเครื่อง, เครื่องประดับ , สกุลเงินดิจิตัล เป็นต้น

มรดกในโลกยุคดิจิตัล

ด้วยสภาพสังคมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในปัจจุบันช่องว่างในการเข้าถึงกันของผู้คนในสังคมลดน้อยลงจนแทบจะเรียกได้ว่าไร้พรหมแดน จากการที่สื่อออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้รับได้หลากหลายและแทบไม่จำกัดเพศ วัย ช่วงเวลา ส่งผลให้ Social media หรือ Platform ต่างๆ มีมูลค่าขึ้นมาอย่างมหาศาล หรือแม้แต่บัญชีผู้ใช้ในสื่อออนไลน์ต่างๆ ของผู้เสียชีวิตบางราย ที่หลายๆ ครั้งที่มีคนออกมาแสดงเจตจำนงค์อยากได้เข้าถึงบัญชีผู้ใช้นั้นๆ ด้วยจุดประสงค์ต่างกัน ทั้งการติดตามและย้อนดูชีวิตและการปฏิสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างของเจ้าของบัญชี หรือสิทธิ์การเข้าถึงในบัญชีกับบริการอื่นๆ ของเจ้าของเดิม
จะเห็นไว้ว่าแม้จะเป็นสิ่งที่ “ไม่ได้มีตัวตนที่จับต้องได้ในโลกจริงๆ” แต่ก็เป็นที่ยอมรับถึงอิทธิพลและมูลค่ามหาศาลของมัน

เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มเจ้าดังที่มีมาตรการจัดการมรดกบัญชีผู้ใช้

  • Facebook เปิดให้เจ้าของบัญชีสามารถจัดการตั้งค่าได้ล่วงหน้า ว่าหากเสียชีวิตจะให้เก็บบัญชีไว้(memorialised) หรือจะให้ลบถาวร โดยหากเจ้าของบัญชีได้เสียชีวิตลงแต่ได้เลือกการตั้งค่าเป็นการคงบัญชีไว้ จะมีคำว่า “Remembering” (ระลึกถึง) แสดงไว้ถัดจากชื่อเจ้าของในหน้าโปรไฟล์ รวมถึงคอมเม้นหรือรูปภาพในบัญชีจะยังอยู่คงเดิม รวมไปถึงมีนโยบาย memorialised บัญชีไว้เสมอหากทางเจ้าของบัญชีไม่ได้ตั้งค่าไว้ และทางระบบของ Facebook ทราบว่าเจ้าของบัญชีเสียชีวิต
  • Instagram หากเจ้าของบัญชีเสียชีวิต และญาติหรือครอบครัวได้มีการยื่นหลักฐานว่ามีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของบัญชีซึ่งได้เสียชีวิตจริงๆ จะสามารถเลือกได้ว่าอยากให้มีการเก็บบัญชีไว้เป็นบันทึกความทรงจำหรือนำออกจากระบบได้
  • LinkedIn เมื่อทราบว่าเจ้าของบัญชีเสียชีวิตระบบจะทำการลบข้อมูลของผู้ใช้ออกทันทีและไม่สามารถกู้คืนได้
  • Twitter จะอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกหรือสมาชิกในครอบครัวของเจ้าของบัญชีที่เสียชีวิตไปในการยื่นเรื่องดำเนินการเท่านั้น โดยแพลตฟอร์มมีเพียงนโยบายที่จะปิดบัญชีและลบข้อมูลให้เท่านั้น
  • PayPal หากเจ้าของบัญชีเสียชีวิต ทางองค์กรมีมาตรการที่จะรับพิจารณาหลักฐานการยื่นขอจัดการบัญชีจากผู้ที่มีเอกสารจัดการมรดกเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าถึงบัญชีแทนเจ้าของเดิมได้

มรดกในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคที่การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตัลกำลังมาแรงระดับเทรนด์แห่งทศวรรษนี้กำลังถูกจับตามองจากกลุ่มนักลงทุน รวมถึงผู้คนที่อยากกระจายความเสี่ยงเริ่มหันมาลงทุนและเก็บสินทรัพย์ของตนเองในรูปของเงินดิจิทัลมากขึ้น

ทั้งจากความเป็นส่วนตัว ผลตอบแทนที่มูลค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงมากในแต่ละปีหากลงทุนในโปรเจคที่ดี การซื้อขายที่ไร้พรหมแดน รวมไปถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายและโอนเงินค่อนข้างต่ำมาก
รวมไปถึงการเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เข้าข่ายภาษีมรดกที่ทางสรรพกากรเรียกเก็บอีกด้วย ส่งผลให้เงินดิจิทัลเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับใครที่อยากเก็บสินทรัพย์ในรูปมรดกให้กับผู้รับในอนาคต ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนการลงทุน นอกจากนี้หากท่านใดกำลังมองหาสกุลเงินดิจิทัลเหรียญแรกมาไว้ในครอบครอง ท่านสามารถเริ่มต้นทดลองเทรดได้ที่กระดานเทรด Bitkub.com ของเรา ซึ่งกระดานเทรดของเรานั้นได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง พร้อมทีมงาน support มืออาชีพที่พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

Column infinity whealth https://www.innwhy.com/heritage-2018/
เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/publish/27614.0.html

ITAX https://www.itax.in.th/pedia

Thai Publica https://thaipublica.org/2018/08/toppol10/

--

--