ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับคริปโทฯ มือใหม่ก็เข้าใจง่ายใน 3 นาที
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีโอกาสจะเข้ามาปฏิวัติชีวิตของเราในหลายด้าน และหนึ่งในนั้นคือสกุลเงินดิจิทัล ในบทความนี้ Bitkub Blog จะอธิบายพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ และมาดูกันว่าสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบกับคริปโทเคอร์เรนซีได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย!
ควอนตัมคอมพิวเตอร์คืออะไร?
การที่จะเข้าใจควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) ก่อนอื่นเรามาทบทวนหลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ก่อน โดยคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในรูปแบบของบิต (Bits) ที่สามารถแทนค่าด้วย 0 หรือ 1 ได้ แต่ในทางกลับกัน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่บนพื้นฐานของควอนตัมบิต (Quantum bits) หรือคิวบิต (Qubits)
Qubits มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Superposition ซึ่งช่วยใช้คิวบิตสามารถเป็นได้ทั้ง 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน ความสามารถนี้ทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลแบบขนานเป็นจำนวนมากได้ นำไปสู่พลังการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนั้นก็เพราะสถานะ Superposition ของคิวบิตที่ยังมีความไม่เสถียรสูง แถมยังมีผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้แค่เพียงหยิบมือ นับความเป็นความท้าทายที่ต้องเอาชนะให้ได้ก่อนที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง
ผลกระทบที่อาจเกิดกับคริปโทเคอร์เรนซี
ควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจมีผลกระทบกับคริปโทเคอร์เรนซีในแง่ความสามารถในการแก้สมการทางคณิตศาสตร์บางอย่างได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof-of-Work อาจได้รับผลกระทบ รวมถึง Bitcoin ด้วย
เนื่องจากควอนตัมคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการประมวลผลที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างมาก จึงมีความเป็นไปได้ที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจสามารถแก้สมการที่นักขุดต้องแก้เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการยืนยันธุรกรรม หากควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถแก้สมการได้อย่างรวดเร็วก็อาจส่งผลให้นักขุดหรือผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถแข่งขันด้วยไหว ยิ่งหากพลังประมวลผลของควอนตัมคอมพิวเตอร์มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งเครือข่ายรวมกันก็อาจนำไปสู่การควบคุมเครือข่ายหรือ 51% Attack ได้นั่นเอง
วิธีป้องกันความเสี่ยงจากควอนตัมคอมพิวเตอร์
นักพัฒนาและนักวิจัยในวงการคริปโทเคอร์เรนซีไม่ได้นั่งเฉย ๆ พวกเขายังคงมีการสำรวจและพัฒนาอัลกอริธึมการเข้ารหัสแบบที่สามารถทนทานต่อการโจมตีด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
หากภัยคุกคามจากควอนตัมคอมพิวเตอร์ใกล้ที่จะเป็นจริงมากขึ้น เราก็อาจเห็นคริปโทเคอร์เรนซีที่ทนทานต่อการโจมตีด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมาให้เห็น ซึ่งก็มีหลายโปรเจกต์กำลังถูกพัฒนาขึ้น เช่น Quantum Resistant Ledger (QRL) ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันก็อาจมีการพัฒนาอัลกอริธึมการเข้ารหัสแบบใหม่ให้สามารถต้านทานการโจมตีด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน
สรุป
ควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อไปของคอมพิวเตอร์ที่เร็วและทรงพลังขึ้นอย่างมาก จึงสามารถแก้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ยากมากได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจสามารถแก้สมการที่ใช้ในคริปโทเคอร์เรนซีได้ง่ายขึ้น จึงอาจทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์เข้ามาครอบครองเครือข่ายของคริปโตบางเครือข่ายได้ แต่นักพัฒนาคริปโตก็ไม่ได้หยุดนิ่ง และกำลังมีการวิจัยพัฒนาอัลกอริธึมการเข้ารหัสที่ทนทานต่อควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้
อ้างอิง Cointelegraph, Deloitte, QRL
_________________________________________
บทความ Bitkub Blog ที่คุณอาจสนใจ
ทำความเข้าใจ Bitcoin คืออะไร? ภายใน 3 นาที
รู้จัก Ethereum คริปโทที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ประวัติความเป็นมาของ Cryptography
_________________________________________
มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog
หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่”
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”