ตอน 1 : มารู้จัก Cloud Computing และ Cloud Services ของ Microsoft — Azure

Watchanan Chantapakul
Technologies For Everyone
3 min readFeb 27, 2017

Cloud Computing คืออะไร?

Cloud computing นั้นจะเกี่ยวข้องกับ cloud services ยกตัวอย่างเช่น servers, storage, database, software, analytics และอื่น ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต

สิ่งที่น่าสนใจคือมีการใช้คำว่า cloud เข้ามาประกอบกับคำว่า computing ซึ่ง cloud เป็นการสื่อถึงการใช้งานผ่าน internet นั่นเอง

บริษัทที่ให้บริการ computing services ผ่านระบบ cloud นั้นเราจะเรียกกันว่า cloud provider ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งให้ใช้งานฟรีซึ่งเอาไว้ให้ผู้ใช้งานรายใหม่ทดลองบริการต่าง ๆ และแบบเสียค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่แล้วจะคิดเงินตามการใช้งานของผู้ใช้

จริง ๆ แล้ว cloud computing ถูกใช้งานมานานแล้ว เพียงแต่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยด้วยคำนี้สักเท่าไหร่ แต่ cloud computing ทำงานอยู่เบื้องต้นบริการต่าง ๆ ที่เราใช้บนอินเตอร์เน็ตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอีเมล ฟังเพลงออนไลน์ หรือบริการฝากรูป เป็นต้น แน่นอนว่าเราสามารถใช้ cloud computing กับการทำงานได้อย่างหลากหลายมาก เบื้องต้นก็อย่างเช่น ใช้ทำ hosting สำหรับเว็บไซต์, ใช้เก็บข้อมูล, ใช้เป็น back-end ให้กับ mobile application เป็นต้น

จุดเด่นของการใช้งาน Cloud Computing

ราคาเริ่มต้นที่ถูกมาก เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการโดยอิงตามการใช้งาน (usage) หากมีการใช้งานมากขึ้นก็คิดราคาเพิ่ม อย่างในกรณีที่เราจะใช้ทำเป็น server ก็ประหยัดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่า infrastructure การวาง server ค่าไฟฟ้า ค่า hardware ค่าดูแลลรักษาต่าง ๆ เราไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เพราะ cloud provider ได้จัดการให้เราหมดแล้ว

ในแง่ของความเร็วนั้นการใช้งาน cloud service นั้นได้เปรียบมาก ในกรณีที่เราต้องการขยายการใช้งาน service ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เราสามารถทำได้ค่อนข้างจะทันท่วงที เพราะสามารถควบคุมได้ผ่านเว็บไซต์ของ cloud providers

ในเรื่องของ reliability หรือความน่าเชื่อถือนั้นค่อนข้างมั่นใจได้ เพราะสามารถทำการ backup ข้อมูลต่าง ๆ ของเราไว้ได้อย่างมีระบบ และทำการ recovery ในในกรณีที่เกิดปัญหารุนแรง

Cloud services แบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-service)
  2. PaaS (Platform-as-a-service)
  3. SaaS (Software-as-a-service)

ซึ่งเราจะมองทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็น cloud computing ซ้อนกันเป็น stack ขึ้นไปดังรูปด้านล่างนี้ครับ

Infrastructure-as-a-service (IaaS) นั้นอยู่ล่างสุดของ cloud computing stack ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ IT infrastructure ไม่ว่าจะเป็น servers, virtual machines (VMs) storage, networks, operating systems นั้นล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ IaaS

Platform-as-a-service (PaaS) จะอยู่บน IaaS อีกทีนึง โดยเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ การทดสอบระบบ รวมไปถึงการจัดการ software application ดังนั้น developers ทั้งหลายหากต้องการที่จะสร้าง application ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น web หรือ mobile apps ก็สามารถมามองที่ PaaS ได้เลย เนื่องจาก infrastructure จะถูกจัดการให้หมดโดย cloud providers อยู่แล้ว (เพราะ PaaS ซ้อนอยู่บน IaaS ตามรูป stack)

Software-as-a-service (SaaS) เป็นส่วนของการ delivering software application ผ่านอินเตอร์เน็ตตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การ maintenance apps ของเรา หรือการทำ software upgrades หรือการทำ patching ต่าง ๆ สามารถใช้งาน SaaS ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง stack ชั้นล่าง เพราะ PaaS และ IaaS นั้น cloud services จะจัดการให้ทั้งหมด ซึ่งสะดวกมาก ๆ

สำหรับ cloud services ที่ผมจะพูดถึงในบทความจะเป็น Microsoft Azure ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับ cloud computing (การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) โดยมีบริษัท Microsoft เป็น cloud provider

คำว่า Azure นั้น อ่านออกเสียงว่า /AZH-uhr/ หรือก็คือ /อะ-ชัว/ (หากใครนึกไม่ออก ให้เข้าไปฟัง pronunciation)

Azure นั้นเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 (หรือ 7 ปีที่แล้ว) โดยเริ่มแรกใช้ชื่อ Windows Azure และเปลี่ยนมาเป็น Microsoft Azure ในปีค.ศ. 2014

ซึ่ง Azure นั้นถือว่าเป็น cloud deployments แบบ public หรือเรียกสั้น ๆ ว่า public cloud โดย Azure นั้นจะมีการจัดการ infrastructures ทุกอย่างตั้งแต่ hardware ไปจนถึง software โดย cloud service provider ทั้งหมด ในที่นี้ก็คือ Microsoft นั่นเอง โดยการใช้บริการก็จะเป็นการเข้าถึงผ่าน web browser และเข้าไปใช้งานหรือตั้งค่า services ต่าง ๆ โดยใช้ account ที่สมัครไว้

Microsoft Azure เปิดให้ใช้งาน products ที่เกี่ยวข้องกับ cloud services มากมายอาทิเช่น Azure Active Directory, Azure Backup และ Azure Content Delivery Network เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีบริการที่หลากหลายมากมาย ทำให้ในปัจจุบันสามารถนำ cloud services มาปรับใช้กับการทำงานได้อย่างสะดวก

ยกตัวอย่างบริษัทที่มีการใช้งาน Azure ในการให้บริการลูกค้าด้วยระบบ cloud เช่น Rolls-Royce, NBC Universal (ใช้ส่ง notification ไปยัง mobile apps) เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าไปดู case study อีกจำนวนมากได้ว่ามีบริษัทใดที่ใช้งาน Azure ได้ที่ Customer and Partner Success Stories for Microsoft Azure

แต่ cloud services บนโลกนี้ไม่ได้มีเพียง Microsoft Azure เท่านั้น หากแต่ยังมีบริการอีกหลายเจ้า เช่น Amazon Web Services (AWS) ที่ Amazon เป็นผู้ให้บริการนั่นเอง สำหรับในบล็อกนี้จะแนะนำเพียงการใช้งานเฉพาะของ Microsoft Azure เท่านั้น

ทาง Microsoft นั้นก็ได้อ้างว่า “Azure is better” อยู่ในเว็บเพจของทาง Microsoft หากคุณสนใจที่จะอ่านเพิ่มเติมสามารถไปยัง Azure vs AWS ได้

เนื่องจาก products ของ Azure นั้นมีมากมายเกินว่าจะนำมาอธิบายทั้งหมดได้ภายในไม่กี่หน้ากระดาษ ผมจึงขอยกตัวอย่างมาเพียงหนึ่ง product ให้เห็นกันก่อนซึ่งก็คือ SQL Database ของ Azure มาแนะนำให้รู้จักกันคร่าว ๆ ก่อน

SQL Database

SQL Database นั้นเป็น cloud database หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเก็บฐานข้อมูลไว้บน cloud ซึ่งจะช่วยให้การสร้าง application ของผู้พัฒนาโปรแกรมมีความง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้าง SQL server

สิ่งที่ SQL Database provide ให้

  • Scale Performance: ความสามารถในการสเกลเพื่อให้ทำงานได้ตามการเติบโตของ app โดยอิงจากขนาดการใช้งาน โดยไม่มี app downtime
  • Security: app data ของคุณจะมีความปลอดภัย
  • และอื่น ๆ

สำหรับการใช้งาน SQL Database ของ Azure

… โปรดติดตามตอนต่อไป ~

--

--