ตอนที่ 2:การสร้างกราฟด้วย Macro

Napatsawan Somsuk
Technologies For Everyone
2 min readApr 18, 2017
  1. จากตอนที่แล้ว เราจะได้ข้อมูลย้อนหลังมาในรูปแบบตารางหน้าตาเป็นแบบด้านล่างนี้

2. จากรูปภาพข้อหนึ่งจะเห็นได้ว่าตรงแท็บเครื่องมือด้านบนไม่มีแท็บ Developer ซึ่งฟังก์ชัน Macro ที่เราต้องการใช้นั้นอยู่ในแท็บนี้ การเปิดแท็บ Developer ทำได้ดังนี้

· File -> Options จะแสดงหน้าต่าง Excel Options ขึ้นมา

· Customize Ribbon -> เลือก Developer ใน Main Tabs ด้านขวามือ -> OK

· Developer -> Record Macro จะแสดงหน้าต่าง Record Macro ขึ้นมา

· หลังจากกดปุ่ม OK ก็จะเริ่มการ Record Macro

สังเกตได้ว่าจาก Record Macro จะเปลี่ยนเป็น Stop Recording แทน

· คลุมดำข้อมูลทั้งหมด -> Insert -> เลือกรูปแบบกราฟที่ต้องการ

· หลังจากที่เราเริ่มบันทึกตั้งแต่เริ่มสร้างกราฟจนเสร็จเราจึงกดปุ่ม Stop Recording

· วิธีการ Run Macro เพื่อตรวจสอบไฟล์ที่เราได้ทำการบันทึกไป เริ่มจากกดปุ่ม Macros หน้าต่าง Macro จะแสดงขึ้นมาโดยเลือกไฟล์ที่เราได้ทำการบันทึกไว้ และกดปุ่ม Run

· หลังจากกดปุ่ม Run แล้วก็จะแสดงกราฟที่เราได้ทำการบันทึกไว้

· ขั้นตอนการสร้างปุ่มเพื่อ Run Macro เริ่มจากกด Insert -> Button -> Double Click ตรงเซลล์ว่าง

· หน้าต่าง Assign Macro จะแสดงขึ้นมา หลังจากนั้นกดปุ่ม OK

· สุดท้ายจะได้ปุ่มในการ Run Macro จากนั้นเมื่อคลิ๊กปุ่มก็จะได้กราฟขึ้นมา

บทสรุป

เป็นไงบ้างล่ะ หลังจากที่เราได้ลองวิธีการสร้างกราฟด้วย Macro แล้วจะเห็นว่าเราสามารถทำการ Record การสร้างกราฟตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนได้กราฟออกมา ถ้าให้เปรียบเทียบการสร้างกราฟแบบกราฟเดียว สามารถใช้การสร้างกราฟแบบปกติผ่านโปรมแกรมได้เลย เพราะการทำกราฟแบบ Macro อาจมีความซับซ้อนเกินไป แต่ประโยชน์ที่แท้จริงของ Macro คือการRecord ขั้นตอนอะไรก็แล้วแต่ที่เราต้องการ เพื่อการ Repeat ขั้นตอนนั้น ๆ ซ้ำในภายหลัง เท่ากับการประหยัดเวลาที่ต้องย้อนกลับไปทำใหม่ตั้งแต่แรกเริ่มถ้าเราต้องการทำในสิ่งเดิม เหมาะกับการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ที่ต้องผ่านกระบวนการเดิม หรือกระบวนการเดียวกันซ้ำ ๆ

ส่วนในตอนต่อไปนั้นเราจะลองมาวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นย้อนหลังนี้ ว่าหุ้นตัวที่เราสนใจอยู่มีแนวโน้มไปในทิศทางไหน อยากรู้ไปต่อในตอนที่สองกันเลย

--

--