ตอนที่ 3: ไม่รู้จะลงทุนหุ้นตัวไหน ลองใช้ Beta ช่วยเลือกสิ

Napatsawan Somsuk
Technologies For Everyone
3 min readMay 6, 2017

หลังจากที่เราเคยนำข้อมูลย้อนหลังหุ้นมาสร้างเป็นกราฟด้วยมาโครในตอนก่อนหน้านี้แล้ว ตอนนี้เราจะลองนำข้อมูลหุ้นย้อนหลังที่ได้มานั้นมาวิเคราะห์ดูบ้าง

สงสัยใช่มั้ยว่า Beta คืออะไร

มันเป็นแบบนี้นะ ค่าเบต้า (Beta) หรือชื่อเต็มยศ Bata Coefficient คือตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นตัวหนึ่งและการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลังทรัพย์ เจ้าเบต้าเนี่ยเป็นเครื่องมือชี้วัดความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นกับดัชนีตลาดหลังทรัพย์ หรือจะเรียกได้ว่าค่าเบต้าของหุ้นก็คือค่าความผันผวนของราคาหุ้นเมื่อเทียบกับตลาดนั่นเอง

หุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นที่มีค่าเบต้าสูง ดังนั้นถ้าลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้ามาก หรือพูดได้ว่าลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็จะมากขึ้นตามความเสี่ยงไปด้วยไงล่ะ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความเสี่ยง เราต้องหาจังหวะลงทุนที่เหมาะสมด้วย การถือหุ้นที่มีค่าเบต้าสูงย่อมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด (ในช่วงขาขึั้นนะ) แต่ถ้าในช่วงขาลงหุ้นที่มีค่าเบต้าสูงอาจทำให้เจ็บหนักได้เหมือนกัน ก็เหมือนกับการที่เราจะหาแฟนสักคนหนึ่ง ถ้าเราไปจีบคนที่หน้าตาดีก็มีความเสี่ยงสูงที่จะจีบไม่ติด ถ้าจีบติดขึ้นมาละก็ผลตอบแทนที่ได้ก็มากมายเลยทีเดียว แต่ถ้าจีบไม่ติดก็อกหักแรงเจ็บหนักกันไป แล้วถ้าไม่อยากจะเจ็บตัวอกหักแรกละก็การประเมินหน้าตาตัวเองว่าควรจีบคนหน้าตาดีขนาดไหนก็อาจจะเป็นตัวช่วยที่ดีนะ ฉะนั้นการดูค่าเบต้าเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงสามารถช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนได้เหมาะสมกับตัวเอง เช่น นักลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงควรลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำ เป็นต้น

คำนวณค่า Beta ด้วย Excel ง่ายมาก ๆ

เห็นความสำคัญของค่าเบต้าแล้วใช่มั้ยล่ะ งั้นคราวนี้เราจะลองมาคำนวณค่าเบต้าโดยใช้ Microsoft Excel กัน การคำนวณค่าเบต้าใน Excel นั้น ง่ายมาก ๆ โดยเจ้า Excel นั้นสามารถคำนวณเบต้าได้สามวิธีด้วยกัน

แต่เดี๋ยว.. เรามาเตรียมข้อมูลหุ้นย้อนหลังที่สนใจเอามาหาเบต้ากันก่อนดีกว่า

  1. เข้าไปเอาราคาหุ้นย้อนหลังจากเว็บนี้เลย https://finance.yahoo.com/

ทีนี้ลองค้นหาหุ้นที่เราสนใจจะหาค้าเบต้านะ ในที่นี้เราใช้หุ้นของ Apple Inc. (AAPL)

เลือกตรงแถบ Historical Data เพราะการหาค่าเบต้าต้องใช้ข้อมูลหุ้นย้อนหลังในการหา ตรง Time Period จะเลือกกี่ปีก็ได้แต่อย่างน้อย ๆ ก็เอาย้อนหลังสักสามปี ตรง Frequency ในที่นี้เลือกใช้ Monthly คลิก Download Data เลย ก็จะได้ไฟล์ข้อมูลย้อนหลังหุ้นที่เราสนใจแล้ว

แต่มันยังไม่จบเพียงเท่านี้น่ะสิ ในการหาค่าเบต้านั้นนอกจากจะต้องหาราคาหุ้นย้อนหลังที่เราสนใจจะนำมาหาแล้ว ยังต้องหาราตาหุ้นย้อนหลังของดัชนีตลาดหลังทรัพย์เพื่อมาเปรียบเทียบหาค่าเบต้าอีกด้วย

เมื่อมันเป็นแบบนี้เราจึงต้องไป Download Data ของดัชนีตลาดหลังทรัพย์มาด้วยวิธีการเดียวกันจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งในที่นี้เราเลือกใช้ดัชนี S&P500 จัดทำโดย Standard & Poors ที่คัดเลือกหุ้นใหญ่ 500 บริษัทของสหรัฐมาทำเป็นดัชนี ซึ่งนักลงทุนมักใช้ดัชนี S&P500 เป็นเกณฑ์หลักในการวัดดัชนีด้วยการถ่วงน้ำหนัก เพราะเป็นแบบวัดค่าที่มีมาตรฐานมากที่สุด

หุ้นของ Apple Inc.
หุ้นของ S&P 500

2. โดยส่วนที่เราจะใช้ในการคำนวณเบต้าคือส่วนของคอลัมน์ที่จั่วหัวไว้ว่า Close ไม่ใช่คอลัมน์ Adjusted close นะ ก็คือใช้คอลัมน์ที่คลุมดำอยู่ตามรูปด่านล่าง

โดยเราจะนำคอลัมน์ Close ของหุ้น Apple และดัชนีที่เราใช้เทียบคือ S&P500 มาไว้รวมกันในชีทเดียว แต่ก่อนที่เราจะย้ายสองคอลัมน์นี้มาอยู่ในชีทเดียวกันให้เราทำการเรียกข้อมูลจากเก่าสุดไปใหม่สุดโดยการคลุบดำข้อมูลทั้งหมด -> คลิ๊กขวาเลือก Sort -> คลิ๊ก Sort Oldest to Newest

เมื่อ Sort Oldest to Newest แล้วก็ได้วันเดือนปีเรียงกันแบบนี้

จากนั้นเราจะทำการคำนวณ Monthly returns ของแต่ละหุ้น เช่น นำราคาหุ้นของเดือนเจ็ด ลบกับราคาหุ้นของเดือนหกแล้วหารด้วยราคาหุ้นของเดือนหก ตามรูปด่านข้าง แล้วกด Enter

เมื่อเรากด Enter แล้ว ให้เราลากคลุมดำจากด้านข้างก่อน คือคอลัมน์ E แล้วค่อนลากลงไปด้านล่างจนสุดตาราง ก็จะได้ Monthly returns ของแต่ละหุ้นออกมา เพื่อนำไปใช้ในการหาค่าเบต้าต่อไป

มาเริ่มหาค่าเบต้ากันเลย

จากนี้เรามาเริ่มการหาค่าเบต้าด้วยวิธีแรกกัน โดยวิธีแรกที่ว่านั้นคือการวิธีการ Regressions หรือเรียกเป็นไทยคือสมการถดถอยนั้นเอง ตอนนี้แถบที่เราต้องการจะใช้คือ แถบที่มีชื่อว่า Data Anlysis ซึ่งอยู่ในแถบ Data อีกที เริ่มแรกเปิด Excel ขึ้นมาเรายังจะไม่มีแถบนี้ ให้เราไปที่ File -> Options แล้วหน้า Excel Options จะปรากฎขึ้นมา ให้เราเลือกไปที่ Add-ins ตรงแถบด้านซ้าย แล้วตรงช่อง Manage ล่างสุดให้เลือกเป็น Excel-Add-ins แล้วกดปุ่ม Go

เมื่อกดปุ่ม Go แล้ว หน้า Add-ins จะโผล่ขึ้นมาให้เราเลือก Analysis ToolPak แล้วกด OK

และเมื่อกด OK แล้ว แถบ Data Analysis ของเราก็จะพร้อมใช้งาน

จากนี้ก็ได้เวลาเริ่มการหาค่าเบต้าโดยวิธีการ Regression สักที

เริ่มจากคลิกแถบ Data Analysis แล้วเลือก Regression แล้วกด OK

จากนั้นให้กดปุ่มลูกศรตรงช่อง Input Y Range แล้วลากคลุบดำคอลัมน์ Monthly returns ยาวลงไปจนสุดซึ่งก็คือคอลัมน์ Stock return ของ Apple นั่นเอง ส่วนในช่อง Input X Range นั้นก็ทำเช่นเดียวกับช่อง Y เพียงแต่เปลี่ยนเป็นคอลัมน์ Monthly returns คอลัมน์ที่สองซึ่งเป็น Maket return ของดัชนี S&P500 แล้วกด Enter

แล้วรูปด้านล่างก็คือผลลัพท์ที่ได้จากวิธีการหาค่าเบต้าคือการทำ Regression วิธีแรกของเรา ตรงส่วนที่คลุมดำคือค่าเบต้าอยู่ในคอลัมน์ Coefficients แถว X Variable

ค่า Beta ที่ได้จากวิธี Regression

วิธีที่สองเป็นวิธีการหาเบต้าโดยใช้ Slope function สูตรคือ “=Slope(Y axis, X axis)” วิธีนี้ก็สามารถหาค่าเบต้าได้เช่นกัน โดยค่า Y axis คือค่า Stock return ของ Apple และ X axis คือค่า Maket return ซึ่งในที่นี้ก็คือดัชนี S&P500

ส่วนวิธีสุดท้ายเป็นการใช้สูตรการห้าเบต้าโดยตรง ซึ่งสูตรคือ “ =Covariance.P(Y axis, X axis)/Var.p( X axis)” Y axis คือค่า Stock return ของ Apple และ X axis คือค่า Maket return ซึ่งในที่นี้ก็คือดัชนี S&P500 เหมือนเดิม

เมื่อเราหาทั้งสามวิธีเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เอาคำตอบมาเทียบว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าตรงกันก็แสดงว่าค่าเบต้าที่หามาได้นั้นถูกต้องแล้วดังรูปด่านล่าง

แล้วเราจะใช้ค่า Beta ในการวิเคราะห์หุ้นที่เราสนใจอย่างไร

หลังจากที่เราได้ค่าเบต้ามาเสร็จสรรพแล้วแต่เราไม่รู้วิธีตีความมันก็ไม่มีประโยชน์ คือแบบนี้นะ ค่าเบต้าเท่ากับ 1 คือค่าความผันผวนของตลาด เช่น ถ้าหากค่าเบต้าของหุ้นเท่ากับ 2 ตามทฤษฎีแล้วหากตลาดปรับตัวลง 10% หุ้นดังกว่าจะตกลง 20% (ก็คือหุ้นตัวนั้นมีความผันผวนมากกว่าตลาดเป็นสองเท่า) แล้วถ้าหากค่าเบต้าหุ้นเท่าหับ 0.5 แล้วตลาดปรับตัวลง 10% หุ้นดังกล่างจะตกลงเพียง 5% (เพราะว่ามีความผันผวนน้อยกว่าตลาดครึ่งหนึ่ง) ทีนี้ลองมาดูความหมายค่าเบต้ากัน

β < 0 ความหมายคือ ราคาหุ้นเคลื่อนไหวทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด ก็คือหุ้นตัวนั้นจะขึ้น-ลงแบบผกผันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อธิบายง่าย ๆ ว่า ตลาดลงหุ้นจะขึ้น ตลาดขึ้นหุ้นจะลง ถ้าชอบอะไรที่ตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่หุ้นกลุ่มนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก

β = 0 ความหมายคือ ตัวแปรทั้งสองไม่มีสหสัมพันธ์กัน ราคาหุ้นไม่คำนึงถึงการเคลื่อนไหวของตลาด เป็น Risk free asset เช่น พันธบัตรรัฐบาล

0 < β < 1 ความหมายคือ ราคาหุ้นเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับตลาดแต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าตลาด หุ้นตัวนั้นจะขึ้นหรือลงช้ากว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ข้อดีคือปลอดภัยไม่ค่อยมีความเสี่ยงเพราะราตาเป็นไปตามสภาพของผลประกอบการธุรกิจแบบช้า ๆ

β = 1 ความหมายคือ ราคาหุ้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับตลาดในความผันผวนที่เท่ากันเป็นหุ้นตัวแทนของตลาด การเปลี่ยนแปลงของราคาเท่ากับการเคลื่อนไหวของตลาด ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ขึ้นหุ้นตัวนี้ก็จะขึ้น ถ้าดัชนีตลาดหลังทรัพย์ลงหุ้นตัวนี้ก็จะลง

β > 1ความหมายคือ หุ้นตัวนั้นจะขึ้นหรือลงเร็วกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์แปลว่ามีความว่องไวทำให้เกิดความเสี่ยงสูงและก็สร้างผลตอบแทนที่มากไปด้วย

บทสรุป

ค่าเบต้าใช้ข้อมูลหุ้นย้อนหลังมาคำนวณ ทำให้ค่าที่ได้นั้นเป็นเพียงแค่การทำนานอนาคตเท่านั้น แล้วแน่นอนว่าอนาคตก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและค่าเบต้าหุ้นก็ไม่มีความแน่นอนเช่นกัน แล้วค่าเบต้าเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ทั้งหมดนักลงทุนควรดูข้อมูลอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจลุงทุนด้วย

--

--