Sprint Cheatsheet คู่มือทำสกรัม (Scrum) ฉบับรวบรัด
Published in
1 min readSep 7, 2020
สรุปขั้นตอนต่างๆ ในสปรินท์ ว่าต้องทำอะไรเมื่อไร
บทความนี้จะยกตัวอย่าง กรณีสปรินท์ระยะเวลา 2 สัปดาห์ กิจกรรมในสปรินท์สามารถปรับแต่งวันได้ตามความเหมาะสม แต่กิจกรรมจะต้องเรียงลำดับกันตามเดิม
Sprint Cheatsheet
[ก่อน] Sprint Grooming
- PO/PM สร้างและเพิ่มการ์ดงานใส่ที่ Next Sprint Backlog
Sprint Grooming
- PO/PM อธิบายการ์ดงานของ Next Sprint Backlog ให้ทุกคนในทีมเห็นว่าสปรินท์ถัดไปจะต้องทำอะไร
- คุยกันว่าการ์ดงานนั้นยังขาด resource อะไรที่จะต้องใช้สำหรับพัฒนา
[หลัง] Sprint Grooming, [ก่อน] Technical Design
- ตามหา resource ที่ต้องใช้ในการพัฒนาที่ยังขาดอยู่
- research solution ที่จะใช้พัฒนาการ์ดงาน เพื่อนำมาคุยตอน Technical Design
- เตรียม estimated point ของแต่ละการ์ด (ไว้ในใจ)
Technical Design
- แลกเปลี่ยน solution ในการพัฒนาการ์ดงานกับทีม
- คุยกับทีมและตกลง estimated point ใส่ไว้ที่การ์ดงาน
Sprint Planning
- เก็บตกรายละเอียดที่นึกได้เพิ่มเติมของแต่ละการ์ดงาน
- เปลี่ยนแปลง estimated point ของการ์ดงาน (ถ้ามี)
- จัดเรียงการ์ดงานตาม priority
- ใส่ชื่อ owner ของการ์ดงาน (ไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว เป็นแค่ contact point)
- คุยกับ PO/PM เพื่อเลือกการ์ดที่เกิน capacity ของทีมออกจาก Sprint Backlog
Sprint Refinement
- ดูว่ามีการ์ดงานใหม่เข้ามาแทรกหรือไม่ (ad-hoc)
- หากมีการ์ดงานใหม่เข้ามาระหว่างสปรินท์ จนการ์ดงานเกิน capacity ที่ทีมสามารถทำได้เสร็จสปรินท์ ควรสลับการ์ดงานไหนออกจาก sprint หรือไม่
- หากการ์ดงานในสปรินท์ถูกพัฒนาเสร็จเกือบหมดแล้ว ควรนำการ์ดใดมาทำเพิ่มหรือไม่
Sprint Review
- รีวิวความคืบหน้าของการ์ดในสปรินท์
- Demo ผลงานของสปรินท์
- สรุปผล sprint goal
Sprint Retrospective
- หาข้อดี/ข้อด้อย ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานของทีม
- หาวิธีปรับปรุงแก้ไขข้อด้อย (action item)
- เลือก action item ที่ high impact มาทำใน Next Sprint
- action item ที่เหลือเก็บใส่ product backlog
Daily Scrum
- อธิบายให้ทีมเข้าใจว่าเมื่อวานทำอะไรเสร็จไปแล้ว
- อธิบายให้ทีมเข้าใจว่าวันนี้จะทำงานส่วนใด
- อธิบายให้ทีมทราบว่าเกิดปัญหา หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่ (Issue, Change Request, Ad-hoc)
สามารถอ่านกระบวนการของสกรัมแบบละเอียดได้ที่