ความสุขสี่ประเภท จากสารสื่อประสาทสี่แบบ

BoNisa
BoBoat Yogi Life
Published in
2 min readSep 12, 2022

Dopamine สารสื่อประสาทแบบหนึ่ง ที่หลั่งออกมาจากการที่เราได้รับความสุขแบบแรกคือ ความสุขจาก “การบรรลุเป้าหมาย”

ความสุขจาก Dopamine ความสุขที่เจอได้ง่ายที่สุด

ความสุขแบบแรก เป็นความสุขที่เราพบเห็นได้ง่ายที่สุดในสมัยนี้ เรียกว่า ความสุขจาก “การบรรลุเป้าหมาย” เมื่อพยายามแล้ว ทำอะไรสำเร็จ สิ่งมีชีวิตจะรู้สึกว่าสนุก และมีความสุข คือรู้สึกว่า “ฉันทำได้” มันเป็นการแลกเปลี่ยนพลังงานในธรรมชาติ คือ เราลงทุนเวลา ลงแรง พยายามทำอะไรสักอย่าง แล้วแลกเปลี่ยนมากับ “ความรู้สึกสำเร็จ” “ความรู้สึกเอาชนะได้” เกิดความสุขขึ้นมา.. สารสื่อประสาทที่ทำให้สมองกระตุ้นขึ้น และมีความสุขชนิดนี้เรียกว่า “Dopamine (โดพามีน)”

Dopamine (โดพามีน) หลั่งออกมา เวลาเราทำได้ตามเป้าหมาย เช่น
— เรียนจบแล้ว
— สอบได้อันดับหนึ่งของห้อง
— ได้เล่นตำแหน่งแล้ว
— เก็บเงินล้านแรกได้แล้ว
— วิ่งมาราธอน 50 กิโลได้แล้ว!
— ฝึกโยคะ ขึ้น Handstand สำเร็จแล้ว!
— เล่นเกมส์นี้ชนะแล้ว

แต่จะเห็นว่า การมีความสุขแบบนี้นั้น “มีต้นทุน” และ เมื่อทำได้แล้ว มันมักไม่ท้าทายเท่าเดิม เราเลยมัก “ขออีก ของานที่ท้าทายขึ้น” ไม่งั้นจะรู้สึกไม่ฟินเท่าเดิม.. ต้องหาเป้าหมายใหม่ ต้องหาเควสท์มาเพิ่ม.. ใครเริ่มเป็นแบบนี้ แปลว่าน่าจะเป็นกลุ่ม Achiever ชอบทำงานให้สำเร็จ ชอบบี้เป้าหมาย ชอบความท้าทาย.. ถ้าเป็นมากให้ระวัง แปลว่าเริ่มเสพติดจนการเป็นรูปแบบของชีวิตไปแล้ว…

ในทางบุคลิกภาพ อาจจะมองว่าเป็นจุดแข็ง คือเราสร้างตัวตนขึ้นมา แต่ในทางการพัฒนาชีวิต หรือโยคะ จิตวิญญาน เราจะระวังกิจกรรมที่พาเราตอบสนองอย่างไม่รู้ตัว
เพราะมันเป็นสัญญานของการเสพติด และต้องขอเพิ่ม พร้อมกับเริ่มใช้พลังงานหมดไปกับกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์อย่างไม่รู้ตัว จนสุดท้ายเกิดอาการ Burn out หรือ หมดไฟ รู้สึกเหนื่อยแต่เหมือนไม่ค่อยได้ทำอะไร ทั้งๆ ที่อยากทำอะไรตั้งเยอะ

…มีใครเป็นแบบนี้ไหม?

ด้านสว่างของ Dopamine นั้นก็มีไม่ว่าจะเป็น

  • การช่วยส่งเสริมการพัฒนาตัวเอง
  • การช่วยพัฒนาการเรียนรู้
  • การช่วยให้ชีวิตก้าวหน้า ได้พัฒนาสกิลใหม่ๆ
  • การพัฒนาถูกทาง แล้วจะได้ “กำลังใจ” ทำงานได้ลุล่วง

พลังงานที่เกี่ยวข้องนั้น ได้แก่
— กำลังใจ แรงฮึกเหิม
— แรงบันดาลใจ
— ต้องการทำให้ได้ ต้องการทำให้สำเร็จ

จะเห็นว่า โดพามีน ที่เกิดออกมาจากการที่เรามี “ความต้องการ” และ ผลักดันตัวเอง “ให้ทำให้ได้” ตามความต้องการนั้น โดยมีอุปสรรค หรือความไม่พอใจเป็นเครื่องชาเลนจ์

เมื่อมนุษย์ อาศัย “กำลังใจ” ในการขับเคลื่อนฝ่าอุปสรรคต่างๆ .. อาศัยความคิดว่า “ต้องทำได้” “ต้องพยายามอีก” “ต้องไปต่ออีกนิด” .. ตรงนี้เป็นพลังงานที่มาจากกำลังใจเรียกว่า “ความเพียร” หรือ Effort ก็เพราะตัวความพยายามนี่เลยขับเคลื่อนมนุษย์ให้ก้าวหน้าได้ เพื่อให้ผลิตสิ่งของต่างๆได้มาก หาวิธีต่างๆ ในการทำให้ดีทำให้สำเร็จ .. หรือที่ในยุคนี้เรียกว่า Productivity

เกิดเป็นพลังงานที่เรียกว่า Passion หรือความชอบในการทำงาน.. อย่างคนฝึกโยคะ จะมีคำหนึ่งเรียกว่า Joy ตัวนี้คือความสุขแบบความสนุก มันมีพลังงานที่เบิกบาน สดชื่น รักที่จะฝึก ชอบที่จะไปต่อ เพราะรู้ว่าเมื่อมาอยู่บนผืนเสื่อ เราได้ “ต่อสู้กับ ขี้.. ต่างๆ ในตัวเอง” เมื่อพลังงานขับเคลื่อนไป ทั้งการหายใจ ทั้งการขยับร่างกาย ตัวปราณรวมๆ นี้ไหลเวียนไปจุดต่างๆ ที่เดิมพลังงานเขานิ่งๆ อยู่.. จนรู้สึกสนุกสนาน รู้สึกเอาชนะใจตัวเองได้..

ตรงนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่า “Joyy” คือคนที่เอาชนะใจตัวเองได้จะได้รับรางวัลจากธรรมชาติ เขาจะผลิต Joyy มาให้.. ตัวพลังงานด้านหลังก็คือ Passion กับความพยายาม กับความมุ่งมั่นจดจ่อ.. ฉันทะ (ความชอบ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (การมีใจจดจ่อ) วิมังสา (การกลับมาทบทวนตรวจสอบ) ..เคยได้ยินไหม ตรงนี้คือตัวนามธรรมด้านหลังที่เป็นพลังงานขับเคลื่อนชีวิตให้ก้าวหน้าไปได้..

จำง่ายๆคำเดียวคือ “ฮึบ”

ใครทำอะไรไม่สำเร็จซักที เริ่มเบื่อแล้ว บอกตัวเองให้ไปต่อว่า.. “ฮึบ”

พลังงานตัวนี้มีกำลัง ถ้าเอามาใช้กับชีวิต ใครสุขภาพไม่ดี พอเอามาขับเคลื่อนร่างกาย ให้ “ฮึบๆๆ” ทำไปๆ แล้ว สุขภาพจะกลับมาดีได้ เพราะพลังงานเบื้องหลังมันกลายเป็นพลังงานที่สุกใส สว่างไสว เหมือนพระอาทิตย์ หรือมี Joy

จักระที่เกี่ยวข้อง คือ มณีปุระ หรือ Solar Plexus ซึ่งมีธาตุของไฟ หรือ สุริยะภายในชีวิต

ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องคือ บริเวณท้องแถวลิ้นปี.. ที่เราฝึกหายใจแฝ่บท้องๆ ส่งลมขึ้นอกกันนี่แหละ ฝึกบ่อยๆ ไม่ต้องคิดเอาก็ได้ มันกระตุ้นตัวสารสื่อประสาทออกมา คือ โดพามีน ทำให้เรารู้สึกมีกำลัง รู้สึก “ทำได้” รู้สึกเบิกบาน

ดังนั้น ใครรู้สึกห่อเหี่ยว ชีวิตเฉาๆ .. ถ้ายังไม่ถึงขั้นซึมเศร้า.. ต้องทำยังไง? .. ต้องฮึบ ต้องสู้ เอาชนะของง่ายๆ คือร่างกายตัวเอง เอาตัวเองมาเข้ากระบวนการอย่างโยคะ ที่มีความพอดีของทั้งร่างกายและลมหายใจให้ได้.. ชีวิตจะฟื้นขึ้นมาเอง

เทียบกับต้นไม้ โดพามีน เหมือนตอนต้นไม้แหวกตัวเองออกมาจากเมล็ดให้ได้ นอกจากปัจจัยภายนอก เขาต้องเอาตัวรอด ไม่งั้นจะเป็นเมล็ดตาย แต่ถ้าแหวกออกมาได้.. ฮึบบ ก็จะเป็นต้นอ่อน

ด้านมืดของโดพามีน

ด้านมืดตัวแรก จริงๆ ไม่ได้เกิดจากโดพามีน แต่เกิดจากการใช้พลังงานของความพยายาม ความมุ่งมั่นมากเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ร่างกายจะ Burn out คือไฟของความปรารถนามันเผา โดนแพชชั่นกลืนกลินส่วนอื่นๆ ของชีวิตไป

อย่างตอนที่ผมทำสตาร์ทอัพ เอาเงินลงทุนมาใช่มั้ย Startup หรือ SME นี่ย่อมาจาก Superman Can Do Everything.. คนเดียวทำงานมากกว่าน้องทั้งทีม ใครเป็นผู้ประกอบการคงเข้าใจอารมณ์นี้ มันเป็นพลังงานของความรับผิดชอบ.. ต้องพาทั้งองค์กรนี้ไปให้ได้.. สุดท้ายทำงานไปวันนึง 12 ชั่วโมงบ้าง 16 ชั่วโมงบ้าง.. ต่อเนื่องไปๆ รู้ตัวอีกทีร่างกายพัง.. ลืมอะไร?ลืมทุกอย่างเลยยกเว้นทำงาน.. ลืมกลับบ้านไปเจอพ่อเม่ ลืมใส่ใจภรรยา ลืมหมาปล่อยไว้จนแก่ตายอยู่ที่บ้าน.. สุดท้ายจะได้เรียนรู้แบบหนักๆ หน่อย ตอนหลายๆ อย่างในชีวิตอื่นๆ เริ่มพังทลาย.. อันนี้ไปคุยกันในหัวข้อ “วิชาชีวิต” แต่ผลที่ให้ในระยะสั้นคือ เราจะ Burn out จนไฟที่ลุกโหมตอนแรกค่อยๆ มอดไป

ด้านมืดตัวที่สอง คือตัวโดพามีนเองนี่ เป็นสารเสพติด คือเวลาที่ “เราทำได้” หรือเราได้รับอย่างที่เราต้องการ “เราทำเควสต์สำเร็จ” “เราบี้ To Do List ได้ครบ” “เราทำธุรกิจได้ตามเป้า” หรือแม้แต่ “เรา zero inbox ได้” เรากดเข้าแอพโซเชียลเพื่อทำให้ตุ่มแดงๆ หายไป.. ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมพวกนี้ สมองจะได้รางวัล โดยการหลั่งโดพามีนออกมานิดๆ หน่อยๆ เพราะเราใช้พลังงานในการทำอะไรได้เสร็จ.. จนสุดท้าย เมื่อกิจกรรมพวกนี้เมื่อเยอะไปหมด แต่ไม่ได้มีประโยชน์กับชีวิตมากนัก.. เรากลายเป็นเหยื่อของสารเสพติดแทน คือกดเข้าไปในโซเชียลอย่างไม่รู้ตัว เพราะกายเป็นความคุ้นชิน..

เคยเห็นคนติดสารเสพติดไหม หรือคนติดเกมส์ ติดการพนัน.. หรือแม้แต่การช้อปปิ้ง เราโดนกิจกรรมที่ทำให้เอาชนะ หลอกให้มีโดพามีน จากนั้นคนออกแบบระบบก็ออกแบบให้ค่อยๆ ชาเล้นจ์ขึ้นๆ เพราะเขารู้ว่าต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิมในการทำให้ “ความฟิน” ออกมาได้.. สุดท้ายก็จะกลายเป็นเหยื่อของสินค้าหรือบริการนั้นๆ คือเราต้องการอีก “ขออีก ขออีก”

อาการเสพติด จากความสุขแบบโดนกระตุ้น อย่างโดพามี.. เหมือนกับเล่นกับไฟ พ่อครัวที่เก่ง จะต้องรู้วิธีเล่นกับไฟ.. จึงจะทำอาหารได้อร่อย บางอย่างต้องใช้ไฟแรง บางอย่างไฟเบา บางอย่างต้องทอด บางอย่างต้องนึ่ง เป็นต้น ถ้าจัดการได้ดี ชีวิตก็จะพัฒนาไปได้ โดยรู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา.. ตัวที่คอยปรับหาความพอดีคือ “ตัวสติ” ฝึกได้หลายรูปแบบ การหายใจแบบมีสติก็เป็นกระบวนการที่เรียบง่ายและได้ผลดีเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม “โดพามีน” เป็นความสุขแบบมาเร็วไปเร็ว เป็นความสุขที่ต้องเข้าใจว่า ต้องมีการทำให้สำเร็จ ได้ปลอดปล่อยพลังงาน.. แต่เราจะทำได้สำเร็จหรือไม่ บางครั้งเป็นเรื่องไม่แน่นอน ถ้าจัดการกับงานอย่างออกกำลังกาย โยคะ แบบนี้เรารู้ว่าเราทำได้.. แต่งานในชีวิตประจำวัน บางอย่างก็ไม่เป็นอย่างหวัง การลงทุนก็มักไม่ได้อย่างหวัง.. ความล้มเหลวจึงเป็นด้านมืดอีกด้าน ของคนที่แสวงหาความสำเร็จอย่างเดียว เควสท์ที่ทำไม่สำเร็จ งานที่แก้ปัญหาไม่ได้ จะค่อยๆ พอกพูนความหงุดหงิด.. สุดท้าย เราจะต้องเรียนรู้ว่า ยังมีความสุขในแบบอื่นๆ อีกนี่น่า

ชีวิตยังมีมิติอื่นๆ คือสิ่งที่จะพูดถัดไป

ครูโบ๊ต BoBoat YogiLife
8 Sep 22

ใครสนใจเรื่องสุขภาพทั้งทางกาย อารมณ์ ความคิด จิต และ โยคะ สามารถติดตามพวกเราเพิ่มเติมได้ที่ Link ด้านล่างนี้
Youtube: https://www.youtube.com/c/BoBoatYogi
Facebook: https://www.facebook.com/boboatyogi
Workshop โยคะและลมหายใจบำบัด: https://bit.ly/3QEThtG

อ้างอิง
หนังสือ : สู่จุดสูงสุดของชีวิต ด้วยพีรามิดสามสุข
Dopamine neurons create Pavlovian conditioned stimuli with circuit-defined motivational properties
https://www.nature.com/articles/s41593-018-0191-4

--

--