เรื่องของใจ — ความรู้สึกทางใจ (1)

BoNisa
BoBoat Yogi Life
Published in
3 min readAug 3, 2022

บทที่ 1 อารมณ์พื้นฐานของใจ ‘ความกลัว’

วันนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของใจ ใจในที่นี้เดี๋ยวหลายคนจะงงว่ามันเป็นส่วนไหน เพราะคำมันรวมๆ เหมาไปหมด

เลยต้องบอกว่าใจที่จะเอามาพูดวันนี้คือเรื่องของ “อารมณ์ใจ”

ถ้าตรงกับศัพท์ทางพุทธ น่าจะเทียบกับคำว่า มนัส หรือ มน. (มะ-นะ) อย่างเช่นคำว่า มนสิการ.. คือการรู้มาตรงที่ “ความรู้สึกของใจ”

ต่างกับ มโน ที่.. คำว่า มโน จะเป็นการทำงานของกระแสประสาท กับระบบความคิด สร้างการรับรู้ทางภาพ และ ลำดับเหตุผลต่างๆ

ส่วน “มนัส” นี่จะรับรู้มาจากช่องทางการรับรู้เช่นทางตา ทางจมูก..ได้กลิ่น ทางลิ้น..รับรสชาด ทางกาย..รู้สึกสัมผัส และสุดท้ายทางใจ.. คือรับรู้อารมณ์ที่หลากหลายที่โคจรผ่านเข้ามาในชีวิตเรา ออกมาเป็นความรู้สึก..

ถ้าในทางโยคะศาสตร์ ตัวจักระ ที่เป็นจุดตัด ของอารมณ์ต่างๆ ของใจนี่ จะเรียกว่า “อนหัตตา” (Anahata) เอาไว้จะกล่าวถึงต่อไป

สมมุติถ้าเทียบเป็นอาหาร ตัวความคิด เปรียบเสมือนกับอาหารหลักที่เป็นพวกข้าว พวกขนมปัง.. ส่วนตัวอารมณ์ เปรียบได้กับ “รสชาด” ของอาหาร

จะอร่อย หรือ ไม่อร่อย อย่างไร ชีวิตเราขับเคลื่อนไปด้วยอารมณ์ใจ เยอะกว่าที่เรารู้ตัว

ดังนั้น เพื่อความเข้าใจง่าย โพสนี้จะพูดเป็นคำศัพท์ง่ายๆ ว่า จะพูดถึง “อารมณ์ของใจ”

ที่นำมาพูดถึง เพราะเห็นคนแชร์ภาพหนึ่ง มีคนทำ Infographic เรื่อง “ความฉลาดทางอารมณ์” แล้วมี Pie Chart เป็นกงล้อ Wheel of Emotions แบ่งแยกอารมณ์ชนิดต่างๆ เยอะพอสมควร.. 7 หมวดหลัก และ 40 กว่าประเภทย่อย ตามภาพด้านล่าง

Pie Chart นี้ดีมากๆ เพราะเรื่องของอารมณ์เวลาเรา “รู้สึก” อะไรบางอย่าง มันเกิดขึ้นภายใน.. มันยังไม่ประมวลออกมาทางสมอง

หลายๆ คนที่อยากจะสังเกต หรือนำมาสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ.. มันอธิบายบ่อถูก.. มันเป็นอิหยังว๊ะ เคยเป็นกันใช่มั้ย?

ทีนี้ถ้ามีของแบบนี้ เราจะเอามาเทียบได้ ว่า อ่อ ที่เรารู้สึกอยู่มันประมาณนี้ๆ อย่างน้อยก็เอามาจำแนกตัวเองได้ เล่าให้คนอื่นฟังถูก อันนี้ก็มีประโยชน์ส่วนหนึ่ง

และในบทบาทของครูสอนโยคะ

นอกจากครูจะได้มีโอกาสบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยพื้นฐานทางร่างกายแล้ว

อีกส่วนที่มักจะมีคนมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ คือ “ความเจ็บป่วยทางอารมณ์”

ไม่ว่าจะเป็น เศร้าบ้าง ซึมบ้าง เสียใจถูกทำร้ายบ้าง ไม่มีความหวังบ้าง หรื ออารมณ์ในฝ่ายความกลัว เช่น วิตกกังวลใจบ้าง ไม่มั่นใจบ้าง รู้สึกโดนปฎิเสธบ้าง

เรื่องอารมณ์นี่เป็นเรื่องแปลก.. พออารมณ์ที่ให้ความทุกข์ใจเกิดขึ้นแล้ว

มันจะเหนี่ยวนำ ให้ระบบการทำงานของร่างกาย ระบบเคมีต่างๆ ผลิตสารต่างๆ ออกมาต่อสู้

จนเริ่มป่วย.. มีปัญหาทางสุขภาพตามมาด้วย เช่น

เอ ไม่รู้เป็นโรคอะไร มันเบิร์นเอาท์

เอ ไม่รู้เป็นอะไร มันเศร้า อยากอยู่แต่บนเตียงคนเดียว

ฯลฯ

เราเจอแบบนี้มาบ้าง และพบว่าการศึกษาแบบปัจจุบันไม่ได้เข้ามาสนใจในเรื่องพวกนี้มาก

ทั้งๆ ที่ตอนนี้เราเป็นสังคมที่เต็มไปด้วย “ผู้ป่วยเรื่องทางอารมณ์”

และการศึกษาที่เน้นไปที่ความคิด ความจำ ที่เป็นหน้าที่ของส่วนสมอง มันไม่มีแรงพอไปเคลื่อนไหวใจ

แต่ในศาสตร์อย่างในโยคะ หรือ อย่างในพุทธที่มีการ “ฝึกสติ” และ “รู้สึกตัว” กลับเป็นการเข้ามาศึกษา “ใจ” ได้อย่างตรงไปตรงมากว่า

โพสนี้ครูเลยคิดว่าใช้โอกาสนี้ ในการพูดถึงเรื่อง “การศึกษาอารมณ์ใจ”

Part1 : การดูแลใจของคนอื่น

ส่วนแรกที่อยากพูดถึงก่อน คือเรื่องของการบอก “คนที่อยู่ใกล้ๆ” คนที่ มีความทุกข์ทางอารมณ์อยู่ ให้เข้าใจก่อน

เอ เพื่อนเรา พี่น้องเรา สามีภรรยาเรา คนรู้จักเรา.. คือเราสังเกตเห็นแล้วว่าเขามีความทุกข์อะไรบางอย่าง..

แต่มันอยู่ภายใน..

เราจะทำอย่างไรดี?

เรื่องส่วนตัวเขา เขาจะอยากให้ยุ่งได้แค่ไหน?

ก่อนอื่น ใครที่เป็นมาก ป่วยทางอารมณ์หนักถึงขึ้นไม่อยากมีชีวิต นอนไม่หลับ กินไม่ได้.. เจอมรสุมชีวิตมาเยอะ.. ก็ต้องไปพบแพทย์ก่อน การปรับด้วยเคมี ก็จะช่วยบรรเทาเบื้องต้นได้เร็ว คือฟื้นที่ร่างกาย และระบบฮอร์โมน ต่างๆ ก่อน

แต่ถ้ามีโอกาส ได้มาฝึกโยคะด้วยร่างกาย ด้วยลมหายใจ ก็จะเหมือนมีกำลังเสริม

จากประสบการณ์ แค่ร่างกายได้เคลื่อนไหว เหงื่อได้ออก ลมหายใจได้ทำงาน.. อารมณ์ที่เป็นทุกข์มันอยู่ไม่ค่อยได้

คือมีอีกสองระบบที่จะช่วยฟื้นตัวอารมณ์ที่มันพังอยู่ให้ค่อยๆ กลับมาดีขึ้นได้

พังส่วนนึง ปรับที่อีกส่วนนึง มันเหนี่ยวนำกันได้

หรือ ใครที่มีเพื่อน มีครอบครัวที่รู้สึกปลอดภัย ใส่ใจพร้อมรับฟัง ถือว่าโชคดีมาก

เพราะ ตัวใจ สื่อสารด้วย ความรู้สึกของ “ความเข้าใจ” “การรับฟังด้วยใจ” จะตรงทางที่สุด

อย่างวันที่เขียนโพสนี้ มีน้องที่รู้จักกันมาถามว่า

มีคนใกล้ตัวเครียด รู้สึกเป็นซึมเศร้า (แต่คนถามเขาตอนนี้โอเคดี) อยากช่วยจะทำอย่างไรดี

เขานึกย้อนไป ตอนเริ่มฝึกโยคะด้วยกัน แต่จำไม่ได้ว่าร่างกายและจิตใจมันเริ่มเปลี่ยน เริ่มพลิกฟื้นขึ้นมาตอนไหน..

.

ทีนี้ คำแนะนำของคนที่อยากดูแลคนรอบตัวที่ รู้สึกไม่โอเค อยู่คือ

อย่าไปคิดถึงเรื่อง “วิธีการต่างๆ” .. วิธีที่ได้ผลกับเรา อาจจะไม่เหมาะกับเขา เราจะคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่าง “ผู้จัดการ” ไม่ได้..

แต่สิ่งที่อยากให้นึกถึงก่อนเลยคือ “เราพร้อมจะเป็นโลกที่ให้เขาอาศัยอยู่มากแค่ไหน”

ครูขออธิบายก็คือ

คนส่วนมาก เวลาที่ทุกข์ใจ ไม่สบายใจ ก็ไม่ต่างกับคนที่ไม่สบายกาย คือ.. ยังไม่ต้องการความจริง

เธอไม่ต้องมานั่งบอกความจริงให้ฉันฟังว่า ฉันทำอะไรพลาดมา หรือ สอนว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้..

เพราะเขายังไม่พร้อมสำหรับการศึกษาความจริง..

แต่สิ่งที่เขาต้องการ ถึงแม้ปฎิเสธก็ตาม คือ

“พื้นที่ที่รู้สึกปลอดภัย”

เมื่อใจของเขา ไม่พร้อมเป็นที่อยู่อาศัย.. เขาต้องการคนหรือสถานที่ ที่ให้ความรู้สึก สบายใจพอ ปลอดภัยพอ ที่จะได้นั่งพัก และได้หายใจ..

.

หลังจากนั้น การรับฟัง.. จะเริ่มเกิดขึ้น

ไม่ว่าเขาจะพูดหรือไม่พูด แต่เราสามารถฟังได้.. ฟังด้วยความรู้สึกของเรา

แค่รับรู้ ว่าสีหน้าเขาประมาณนี้ ความทุกข์แบบนี้

ฟังด้วยใจที่กว้างเท่ามหาสมุทร คือสบาย สบาย

รับทราบความทุกข์ แต่ไม่จำเป็นต้องปนเปื้อนความรู้สึกนั้นๆ มา

แค่ได้รู้สึกว่า มีคนอยู่แถวๆ นี้

แค่พอได้รู้สึกว่า ยังมีคนรัก มีคนใส่ใจ

แค่ได้รู้สึกว่า มีโลกที่ปลอดภัย

แค่ได้รู้สึกว่า มีคนพร้อมจะฟัง

ถึงไม่ได้ฟังด้วยคำพูด

แต่เท่านี้ก็เพียงพอ ส่วนหนึ่ง

.

และถ้าได้ฟังเรื่องราวที่เขาเปิดใจเล่าออกมาได้

ให้ฟังจากหัวใจจริงๆ ฟังด้วยความรู้สึก

สังเกตไปที่สีหน้าแววตาเขาว่าเริ่มแสดงมีแววตา มีพลังงานขึ้นมาหรือยัง

ถ้าเขาสดชื่นขึ้น มีสัญญานชีวิตชีวาขึ้น

แปลว่า ข้างในเขาเริ่มเคลื่อนไหวใจ เดี๋ยวมันจะเริ่มหาทางออกเองได้ในที่สุด

แบบนี้ คือการฟังด้วยใจ

ไม่ใช่ การหาวิธีช่วยเหลือ หรือจัดการความทุกข์ หรือบอกความจริง

.

เหมือนต้นไม้ ถ้าป่วย หรือเป็นต้นอ่อน..

เขายังไม่สามารถเจอแดด เจอลม ตามธรรมชาติได้

ผู้ฟัง เปรียบเสมือนกับ โรงเรือน เป็นโลกใบเล็กๆ ที่รอให้พร้อม

หลังจากพร้อมแล้ว เขาจะออกไปหาแสงได้เอง

จบ Part1 : การดูแลใจของคนอื่น เราไปต่อกันที่ Part 2 : การศึกษาอารมณ์ใจ ในโพสต่อไปครับ

นมัสเต,

BoBoat Yogi (Youtube/ Facebook/ Medium)

29 July 2022

ใครสนใจเรื่องสุขภาพทั้งทางกาย อารมณ์ ความคิด จิต และ โยคะ สามารถติดตามพวกเราเพิ่มเติมได้ที่ Link ด้านล่างนี้
Youtube: https://www.youtube.com/c/BoBoatYogi
Facebook: https://www.facebook.com/boboatyogi
Workshop โยคะและลมหายใจบำบัด: https://bit.ly/3QEThtG

--

--