วิธีการติดตั้ง Python ด้วย miniconda

Pisit Bee
Boobee
Published in
4 min readFeb 19, 2022

สำหรับผู้ที่เริ่มเข้ามาศึกษา ภาษา Python จะค่อนข้างมีความกังวลว่า Version ของภาษา Python เปลี่ยนไปเร็วเหลือเกิน ตั้งแต่ Version 3.5 ,3.6, 3.7, 3.8 จนปัจจุบัน อยู่ที่ version 3.9

Version ของ Python มีผลโดยตรงกับการเรียกใช้งาน Library โดยที่ Library ที่ใช้งานต้องตรงกับ Python version ที่เรียกใช้ด้วย ซึ่งทำให้ค่อนข้างจัดการ Version ของ Library ได้ค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงมีผู้พัฒนา Software ตัวหนึ่งขึ้นมาจัดการกับ Library version ของ Python โดยทำการสร้าง Environment ของเครื่องขึ้นมาใหม่ Python แต่ละตัวจะได้ไม่ซ้อนทับกัน (ถ้ามองง่ายๆ คือ เราสร้างเครื่องมาใหม่ แต่ลง Python คนละ version กันได้ มีหลายเครื่องแต่ละเครื่องก็มีคนละ Version กัน)

Software ที่ใช้ในการจัดการ Environment นี้ชื่อว่า Anaconda แต่ช้าก่อนเนื่องจาก Anaconda ปัจจุบันมีความสามารถหลากหลายโดยรวมเครื่องมือต่างๆ ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นสำหรับเรา มาใว้ในตัวของ Anaconda เอง ตามชื่อมันแหละเน๊าะ กินทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น เครื่องมือที่ใช้เขียน Python เครื่องมือใช้เขียนภาษา R ซึ่งบางโปรแกรมเราไม่ได้ใช้งานจึงทำให้กินพื้นที่เครื่องของเราโดยใช่เหตุ (ยิ่งเครื่องช้า ๆ อยู่) หน้าตาของโปรแกรม Anaconda เป็นดังรูป

Anaconda Software Package
Anaconda Software Package

ดังนั้นเมื่อ Anaconda เกินความจำเป็นไปมาก จึงมีผู้คิดใหม่ ทำให้มันเล็กลงซะแต่คง Concept เดิมตัดที่อะไรที่ไม่ได้ใช้ทิ้ง แนวคิดแบบ Minimal จึงเกิดเป็น miniconda ขึ้นมา โดยสามารถ Download ได้ที่ Website https://docs.conda.io/en/latest/miniconda.html

Miniconda Installer website.

วิธีการตรวจสอบการติดตั้ง Conda

ก่อนทำการติดตั้ง หากท่านใดสงสัยว่าตัวเองเคยลงไปแล้วหรือไม่ให้ทำการตรวจสอบดังนี้ครับ ให้ทำการเปิด Command prompt ขึ้นมาครับ โดยไปที่ start->run แล้วพิมพ์คำว่า cmd

เปิด command promt

จากนั้นพิมพ์คำว่า conda ลงไปครับ ถ้าหากยังไม่เคยลงจะขึ้นลักษณะนี้ครับ

แต่ ถ้าพิมพ์ Conda แล้วขึ้นลักษณะตามภาพด้านล่างสามารถใช้ Conda ได้เลยไม่จำเป็นต้องลงใหม่นะครับ

ขั้นตอนการติดตั้ง

ในขั้นตอนต่อไปนี้ ให้ผู้อ่านทำตามขั้นตอนตามลำดับ หากมีการผิดพลาดต้องทำการถอนการติดตั้ง และลงใหม่ครับ (ขู่ๆ)

  1. ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดโปรแกรมติดตั้งเมื่อเปิดขึ้นมาจะขึ้นดังรูป
ขั้นตอนที่ 1 หน้าต่างของโปรแกรม miniconda

จากภาพเป็น Miniconda3 โดยจะทำการติดตั้ง python version 3.9 ไปให้ด้วย ทำการคลิ๊ก Next ได้เลยครับ

2. กด I agree เพื่อ ยอมรับ License terms ก่อน อ่านก่อนก็ได้ครับ แต่ผมก็ไม่ค่อยได้อ่าน ดังภาพ

ขั้นตอนที่ 2 กดยอมรับเพื่อดำเนินการติดตั้ง

3. กดเลือกเป็น All Users ครับ และกด Next ได้เลย

ขั้นตอนที่ 3 ให้เลือก All users และกด Next ครับ

4. ขั้นตอนนี้สำคัญ ไม่เช่นนั้นจะหาตัวโปรแกรม miniconda ไม่ค่อยจะเจอ จากภาพจะเห็นว่าโปรแกรมตั้งค่าเริ่มอยู่ที่ C:\ProgramData\Miniconda3 แต่ ผมแนะนำลบ คำว่า ProgramData ทิ้งครับ ให้เหลือแต่ C:\Miniconda3

ขั้นตอนที่ 4 ให้ลบ ProgramData ทิ้งให้เหลือแต่ C:\Miniconda3

5. ขั้นตอนนี้ก็สำคัญอีกเช่นกัน ให้ทำการ Add miniconda3 to system PATH ด้วยครั้ง ให้เหมือนดังรูป ให้ขึ้นสีแดงๆ ครับ จากนั้นกด Install ครับ ตรงนี้เน้นย้ำให้ขึ้นสีแดงๆ นะครับ

คลิ๊กเลือก Add miniconda3 to system path

6. รอการติดตั้งจนเสร็จครับ

รูปแสดงการติดตั้งสมบูรณ์

ให้ผู้อ่านทำการเปิด Command prompt ขึ้นมาครับ โดยไปที่ start->run แล้วพิมพ์คำว่า cmd

เมื่อพิมพ์แล้วจะพบว่า มีตัวอักษรมากมายปรากฏขึ้นมาดังภาพ แสดงว่าเราทำการติดตั้ง Conda เสร็จสมบูรณ์แล้วครับ ยินดีด้วย

ทำการทดสอบและสร้าง Environment ใหม่ขึ้นมา

ขั้นตอนถัดไปจะทำการสร้าง Environment ใหม่ขึ้นมาเพื่อที่จะไม่ให้ Version ของ Python ปะปนกัน อย่าลืมว่าเราทำการติดตั้ง miniconda พร้อมกับ Python 3.9 นะครับ แต่ในที่นี้เราจะสร้าง Environment ขึ้นมาใหม่ โดยจะใช้ชื่อว่า Pystat และใช้งานกับ Python 3.7 แทน

  1. ให้ทำการเปิด Command prompt ขึ้นมา ถ้ายังนึกไม่ออกว่าเปิดอย่างไร ไปที่ start->run แล้วพิมพ์คำว่า CMD ครับ หรือย้อนไปดูหัวข้อก่อนหน้า เราจะได้หน้าจอดำๆ มา 1 หน้าต่าง
  2. พิมพ์คำสั่งดังนี้
conda create -n Pystat python=3.7

จะแสดงได้ดังรูป

3. conda จะทำการตรวจสอบและให้เราทำพิมพ์ y เพื่อยืนยันในการสร้าง Environment ใหม่ขึ้นมา แสดงดังรูปด้านล่าง

4. เมื่อเราทำการพิมพ์ y เพื่อยืนยันการสร้าง Environment สคริปจะเริ่มทำการติดตั้ง Package ที่จำเป็นและติดตั้ง Python ตาม Version ที่เราต้องการลงใน Environment ใหม่ของเรา รอสักครู่….

5. เมื่อ Conda ทำงานเสร็จจะแสดงวิธีการเลือก Environment ใหม่ของเราขึ้นมา โดยหากเราต้องการเปลี่ยนไปใช้ Environment ใหม่ ให้ทำการพิมพ์คำสั่ง activate ตามด้วยชื่อ Environment ดังภาพ

หมายเหตุ มาถึงขั้นตอนนี้ ตอนนี้เรามี Environment 2 ตัว นั่นคือ base และ Pystat ที่เราเพิ่งสร้างขึ้น ตัว base จะใช้ python3.9 ส่วนตัว Pystat จะใช้ python3.7 โดยเราสามารถเลือก สลับไปสลับมาได้โดยผ่านคำสั่ง activate ตามด้วยชื่อ base หรือ Pystat

6. เมื่อเราทำการพิมพ์คำสั่ง activate Pystat เพื่อเลือกใช้งาน Environment Pystat ขึ้นมาจะมี วงเล็บปรากฏอยู่หน้าส่วนของ Path ที่เราใช้งานอยู่ดังรูป

นั่นแสดงให้เราทราบว่าตอนนี้เราทำงานอยู่บน Environment ชื่อว่า Pystat เวลาทำการติดตั้ง Package ต่างๆ หรือ Library ต่างๆ ให้ทำการตรวจสอบตรงนี้เสมอว่า เราทำการติดตั้ง Package ลงไปยัง Environment ที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะ แต่ละ Environment จะไม่ได้ใช้ Package ตัวเดียวกัน

ยินดีด้วยคุณสร้าง Environment สำเร็จแล้ว

ส่วนสุดท้ายในการติดตั้ง Python

การลง Library ใน Python เป็นส่วนสำคัญโดยจะมี 2 วิธีในการติดตั้ง Library นั่นคือการใช้คำสั่ง conda และ pip (โดยส่วนตัว ผมแนะนำให้ใช้ pip จะดีกว่า)

วิธีการลงให้ทำการเปิด Command promt ขึ้นมา ทำการ Activate Environment ที่ต้องการ (สำหรับผู้ที่ทำตามขึ้นตอนข้างต้นมาแล้ว Envirionment จะอยู่ที่ Pystat อยู่แล้วครับ)

จากนั้นทำการพิมพ์คำสั่ง

pip install pandaspip install seaborn

ซึ่งจะทำการติดตั้ง Library ชื่อว่า pandas และ seaborn ตามลำดับครับ ซึ่งจะได้ดังภาพด้านล่าง

เป็นอันเสร็จสิ้น วิธีการติดตั้ง Library อย่าง ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง pip ครับ แล้วพบกันใหม่ โอกาสหน้า สวัสดีครับ

--

--