เมื่อสิ่งของคุยกันเอง
จากหนังสือแนว Internet of things
เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างเต็มตัว เมื่อการปฏิวัติทางเทคโนโลยีได้ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ลดขนาดจนสามารถเข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน และคงจะเป็นการยากที่ใครจะปฏิเสธมันในเมื่อโลกเพิ่มแรงเหวี่ยงของตัวเองอีกเท่าตัว
ทุกวันนี้ Smart เป็นคำนำหน้าของอะไรก็แล้วแต่ที่เอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปใส่ อาจไม่เป็นทุกที่(ประเทศอื่น) แต่อย่างน้อยเฉพาะในประเทศไทย ก็เป็นอย่างนั้น smart meter, smart farm, smart home, smart class room ฯลฯ จริงๆแล้ว smart เหล่านี้คืออะไร มาจากไหน แต่ที่แน่ๆคงไม่ได้มาจากตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เหล่านั้น
Iot หรือ Internet of things ดูจะเป็นภาพตัวแทนของความ Smart ของทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเพราะ Iot เป็นการวบรวมเอาอุปกรณ์ที่จับต้องได้ให้สามารถสร้างการเชื่อมต่อ และสร้างข้อมูลกลับทั้งขาไป-มา ทั้งส่ง-รับโดยที่ผู้ใช้งานอยู่ที่ไหนเวลาใดก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต
“คุณสั่งปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ด้วยมือถือ คุณตรวจสอบกล้องวงจรปิด เช็คประตูบ้านว่าปิดดีหรือยัง กระทั่งอาหารสัตว์เลี้ยงได้เติมไว้เพียงพอหรือไม่ ในขณะที่ตู้เย็นสั่งซื้อส้ม และโยเกิร์ตจากสโตร์โดยอัตโนมัติให้มาส่งตามจำนวนที่กินไป คุณเปิดดูไฟล์งานการสั่งสินค้า และประสิทธิ์ภาพในโรงงานของคุณขณะที่เดินทางอยู่บนรถที่เพิ่งออกจาบ้านไม่นาน ขณะที่วนรถเข้าที่จอดเครื่องชงกาแฟในห้องทำงานของคุณเริ่มทำงานพร้อมที่คุณจะหยิบได้ทันทีที่ถึงห้อง ก่อนคุณจะทำงานทั้งวันแล้วเดินทางกลับมาที่บ้านโดยมีเครื่องปรับอากาศทำงานพร้อมต้อนรับคุณในไม่กี่นาทีก่อนหน้า”
จากตัวอย่างที่กล่าวมา ดูจะเป็นวิถีชีวิตที่สะดวกสบายมีเครื่องมือคอยช่วยจัดการ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็มีสองด้านเสมอ การตั้งข้อสังเกตและแนวโน้มของหนังสือแนวนี้ชี้ไปสู่ความ “เกิน” พอดีที่ควรระวัง เมื่อนำเอาอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาใช้
ในมุมหนึ่งมันตอบโจทย์ในกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมันถูกนำมาใช้กับวิถีชีวิตของ “คน” ต้องมั่นใจว่ามันจะไม่กลายมาเป็นภาระมากกว่าเดิม เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานเฉพาะตัว จะมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่เป็นภาระต้องคอยดูแล จะติดตั้ง Smart doorหรือไม่หากพื้นที่นั้นยังมีไฟฟ้าที่ยังไม่เสถียร จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ยังคงทำงานถูกต้องอยู่หากต้องการข้อมูลที่ถูกต้องจริงๆ และด้วยปริมาณที่เยอะขึ้นขยะอิเล็คทรอนิกส์เหล่านั้นไปอยู่ไหน ถูกกำจัดอย่างไร และมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่ก่อเกิดมลพิษใกล้บ้านของคุณ
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลสัญญาณการเปิด-ปิดไฟ “มีความปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว” เพราะอาจไม่มีใครสนใจเรื่องคุณเปิด-ปิดไฟ แต่อาจมีคนแปลข้อความได้จากสัญญาณว่าข้อมูลปิด-เปิดไฟของคุณได้ว่า “คุณไม่อยู่บ้าน” หากมีเทคโนโลยีเจาะสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ ก็เข้าถึงอุปกรณ์ในบ้านได้ไม่ยาก
ถึงตรงนี้คำว่า Smart จาก Iot จริงๆแล้วมันอยู่ตรงไหน?
ในหนังสือกล่าวถึงรวมๆว่าปัจจุบัน Iot ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น มีการต่อยอดพัฒนาอยู่เสมอและจะไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก ซึ่งประเด็นก็ไม่ได้อยู่ที่แค่การเขียนถึงเทคโนโลยีที่น่าสนใจทำได้เหมือนเวทมนต์ แต่ยังคงเป็นประเด็นการใช้งานของ “คน” ที่ต้องคิดและพิจารณาให้ดีถึงการใช้งานที่เหมาะสม
โลกเราเปลี่ยนไปแล้ว เราดินเข้าห้างสรรพสินค้า ตั้งแต่ก้าวแรกที่เราเข้าไป เราถูกกล้องตรวจจับ ระบบรู้ว่าเราเป็นผู้ชายแต่งกายแบบไหนจากimage Processing เราเดินไปที่ชั้นสินค้าใด ยืนดูสินค้าอะไร(Eye dectecting) หยิบสินค้าตัวไหนเป็นเวลานานเท่าไหร่ ก่อนจะวางหรือใส่ตะกร้าฯลฯ เหล่านี้คือ “ข้อมูล” ที่ Iot สร้างขึ้น และไม่ต้องคาดเดาก็รู้ว่าห้างสรรพสินค้านั้น “ขาย” ข้อมูลเหล่านี้ให้เจ้าของสินค้า
สุดท้ายไม่ว่าเราจะเลือกใช้อะไร มันขึ้นกับว่าเรา “กำลังจะทำอะไร และทำเพื่ออะไร”
ปัญหาของเราอาจจบลงที่การวางระบบการทำงานใหม่ ออกแบบใหม่ พูดคุยใหม่ ขุดหาปัญหารอบใหม่ว่าแท้จริงแล้ว “ปัญหาอยู่ตรงไหนกันแน่” จนถึงจุดนั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็น Iot คุณก็ Smart แล้วล่ะ…