[รีวิว + สปอย] หนังสือ : Hidden potential

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
5 min readApr 15, 2024

นี่คือหนังสือที่ดีที่สุดเท่าที่อัดม แกรนต์ เคยเขียนมา อ่านจบแล้วคุณจะกล้าฝันใหญ่ขึ้น

ทำไมถึงสำคัญ : ทุกคนล้วนมีศักยภาพแฝงอยู่ หนังสือเล่มนี้จะอธิบายว่าเราสามารถปลดล๊อกศักยภาพนั้นออกมาได้อย่างไร

รีวิว

  • เนื้อหาแบ่งออกเป็นสามส่วน

1. พาไปสำรวจ Character บางอย่างที่จะพาเราไปยังจุดที่ดีกว่านี้

2. การก่อนั่งร้านเพื่อรักษาแรงจูงใจ

3. การสร้างระบบเพื่อขยับขยายโอกาสของเรา

  • ท้ายเล่มมีทำสรุปเป็น action ให้เอาไปลองทำต่อ อ่านง่ายมาก
  • เล่มนี้รวมงานวิจัยหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง เอามาเรียบเรียงเป็นภาษาคนที่อ่านแล้วไม่ง่วง
  • โคตรดี แนะนำมากๆ เล่มนี้ แนะนำใครก็ได้เลย หนังสือที่ซื้อไปฝากใครก็ได้

Shopee : https://shope.ee/9KLLg4lKZ9

Link ส่งต่อ : Bit.ly/mosbook2024-008

สรุปคนรีบ

1. คนที่เติบโตได้มากที่สุด คือคนที่มุ่งมั่นจะทำให้ตัวเองและคนอื่นฉลาดขึ้น ถ้าโอกาสไม่มา ก็ต้องสร้างเอง

2. อย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ อ้าแขนรับความไม่สะดวกใจ

3. ใช้บ่อยๆ จะได้ไม่ลืม อย่ารอจนพร้อม ลองบ่อยๆ

4. เสาะหาความไม่สะดวกใจ จะทำให้คุณเรียนรู้เร็วที่สุด

5. ตั้งงบแห่งความผิดพลาด จะได้กล้าลอง

6. จงมองหาความรู้ใหม่ๆ

7. ขอคำแนะนำ ไม่ใช่คำติชม “คราวหน้าฉันจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร”

8. หาคำตอบว่าแหล่งข้อมูลใดเชื่อถือได้

9. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ไม่ใช่ สมบูรณ์แบบ

10. หาคนวัดความก้าวหน้า ในการจะได้คะแนนสูงๆ ในเรื่องที่มีความสำคัญ คุณอาจต้องยอมพอใจกับคะแนนต่ำในเรื่องอื่นๆ

11. การทำให้คนอื่นผิดหวัง ดีกว่าทำให้ตัวเองผิดหวัง

12. ตัวคุณใน 5 ปีก่อนจะภุมิใจในตัวคุณขนาดไหน

13. มองหาการสนับสนุนในเวลาที่ใช่

14. เล่นอย่างตั้งใจ (Gamification)

15. แข่งกับตัวเอง วัดความก้าวหน้าเป็นระยะ

16. อย่ายึดติดกับกิจวัตรที่ตายตัว

17. อย่าลืมพักผ่อนและฟื้นตัว อย่ารอจนหมดไฟ

18. เมื่อคุณติดแหง็ก จงถอยหลังเพื่อเดินหน้าต่อ

19. ค้นหาเข็มทิศ ไม่ต้องถึงขั้นแผนที่สมบูรณ์ มันไม่มีอยู่จริง

20. หาไกด์หลายคตนเข้าไว้

21. หางานเสริม งานอดิเรกช่วยเพิ่มความมั่นใจให้งานหลักได้

22. สอนในสิ่งที่คุณอยากเรียน

23. สร้างความมั่นใจโดยการเป็นโค้ชให้ผู้อื่น

24. แรงจูงใจมาจากความคาดหวังทั้งสูงและต่ำ

25. จงเป็นบรรพบุรุษที่ดี ต่อสู้เพื่อคนรุ่นหลัง

26. เปิดประตูให้ผู้ที่โดนดูถูกหรือโดนมองข้าม

27. อย่างทิ้งสมองไปเปล่าๆ ความฉลาดมีหลายแบบ

28. พัฒนาระบบการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ

29. จับคู่นักเรียนกับครูคนเดิมไว้หลายๆปี

30. ให้อิสระแก่นักเรียน ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก

31. เปลี่ยนกลุ่มคนให้เป็นทีม รับผิดชอบร่วมกัน และมีเป้าหมายร่วมกัน

32. เลือกผู้นำจากทักษะการเอื้อสังคม

33. เปลี่ยนการระดมสมอง เป็น เขียนไอเดียมาล่วงหน้า

34. แทนลำดับขั้นในองค์กร ให้เป็นแบบตาข่าย

35. ความสำเร็จในอดีต ไม่ได้ส่งผลอะไรต่ออนาคต

36. ประเมินความยากของคนด้วย ไม่ใช่แค่เขาอยู่สูงแค่ไหน

37. ประเมินสิ่งต่างๆด้วย วิถีการเปลี่ยนแปลง

สปอย

  • เราเชื่อกันมาตลอดว่าความเก่งมาจากพรสรรค์แต่กำเนิด
  • แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องของโอกาส และ แรงจูงใจมากกว่า
  • คนเก่งกว่า อาจจะแค่รู้ก่อน มีโอกาสได้คุ้นเคยกับสิ่งนั้นมาก่อนเฉยๆ ไม่ได้เริ่มต้นจากจุดเดียวกัน

เรื่องส่วนตัวของมอส : เรื่องนี้คือโคตรจริง ตอน ม.3 เทอม 2 ไปเรียนพิเศษคณิต ม.4 ล่วงหน้า พอเปิดเทอมมา ทำได้ดีกว่าเพื่อน คนรอบตัวเลยคาดหวังกับเรามากขึ้น จนเราเก่งขึ้นมาจริงๆเฉย

  • หากตัดสินใครจากสิ่งที่เขาทำได้ในวันแรก ศักยภาพที่แฝงอยู่ของคนคนนั้นคงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย
  • เราต้องสนใจจุดเริ่มต้นให้น้อยลง แล้วหันมาใส่ใจระยะทางที่เราไปได้แทน
  • การพยายามให้เกินความสามารถตัวเอง คือวิธีที่เราจะขยายศักยภาพของเราออกไปและทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างสุดกำลัง

ปัจจัยที่ถูกต้อง

  • นักเรียนที่ได้รับการสอนในระดับอนุบาล โดยครูที่มีประสบการณ์สูงกว่าจะมีรายได้มากกว่าเพื่อนคนอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
  • ครูที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะด้านการรู้คิด (ไม่ใช่แค่เรียนได้ตามหลักสูตร)

ไม่ว่าจะเป็น การกล้าตอบกล้าถาม การเข้ากันได้ดีกับเพื่อน ความมีวินัย ความมุ่งมันกล้าเผชิญกับปัญหายากๆ

  • คุณควรลดความสำคัญของคะแนนสอบคณิตศาสตร์และภาษาลง แล้วหันไปให้ความสำคัญกับมุมมองที่ครูผู้สอนมีต่อพฤติกรรมของเด็กๆ แทน

แสดงอุปนิสัย (Character) ออกมา

  • Character คือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตตามหลักการที่คุณยึดถือ
  • ทักษะด้านอุปนิสัย ช่วยให้คนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ลงมือทำทันที หากเป็นการทำเพื่อใครสักคนที่มีความหมาย

เด็กๆ จะปีนป่ายสิ่งที่คุณสร้างให้

หากผู้ใดมองไม่เห็นหนทางแล้ว ผู้นั้นก็จะเลิกฝันถึงจุดหมายปลายทาง

  • เพื่อจุดไฟให้ความตั้งใจ เราจำเป็นต้องแสดงเส้นทางให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนก่อน
  • พอเด็กๆเห็นหนทางที่จะชนะ หรือ จุดหมายปลายทาง พวกเขาก็มีกำลังใจเรียนรู้ต่อไป
  • คุณต้องยั่วยุเด็กๆ กระตุ้นให้พวกเขารู้สึกท้าทาย
  • ยิ่งเข้ากับทีมได้มากขึ้น เขาจะถือว่าการพัฒนาตัวเองเป็นความรับผิดชอบอย่างนึง เพื่อให้ทั้งทีมเก่งขึ้นกว่าเดิมในภาพรวม

มาตรวัดที่แท้จริง

  • อย่าไปแคร์เรื่องที่คุณปีนไปได้สูงเฉียดฟ้าแค่ไหน
  • แต่ต้องดูว่า คุณผ่านอะไรมาบ้างเพื่อให้ปีนไปได้ไกลขนาดนั้นต่างหาก

CH 1 : ทักษะแห่งอุปนิสัย

ไม้แก่ดัดได้ จะอายุเท่าไหร่ก็ปรับได้

  • อุปนิสัย ( Character ) คือความสามารถในการให้ความสำคัญกับค่านิยมที่เรายึดถือ มากกว่าสัญชาติญาณ
  • การเดินทางไกล จำเป็นต้องมีความกล้าที่จะค้นหาพื้นที่ ที่อาจจะไม่สะดวกใจ
  • กล้ายอมรับว่าผลลัพธ์ที่ได้ อาจไม่สมบูรณ์แบบตามที่หวัง

ทักษะสำคัญ : อ้าแขนรับความอึดอัดเกินทนจากการเรียนรู้

  • การทำตัวเป็นสิ่งมีชีวิตที่คุ้นชินกับความไม่สะดวกใจสามารถปลดล๊อกศักยภาพแฝงในการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ

1. กล้าที่จะละทิ้งวิธีเดิมๆที่ได้ผลมาตลอด

  • ความถนัดของคุณไม่ใช่สิ่งตายตัว และการเน้นแต่เรื่องที่คุณถนัดอาจปิดกั้นโอกาสในการขจัดจุดอ่อนที่คุณมี

2. กล้าที่จะเอาตัวเองลงสนามแม้จะยังไม่พร้อม

3. กล้าที่จะทำผิดพำลาดให้มากกว่าคนอื่น

การผัดวันประกันพรุ่ง

  • เป็นปัญหาเรื่องการจัดการความรู้สึก
  • คุณแค่กำลังหนีจากความรู้สึกไม่สนุกที่จะเกิดจากการทำงานนั้น

การเขียน

  • การเขียนทำให้คุณเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การพูดสดอาจเยิ้นเย้อหรืออกทะเลได้ง่าย
  • แต่บนหน้ากระดาษ การเขียนจะบีบให้คุณตัดส่วนเกินออก
  • การเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ ช่วยให้คุณตระหนักถึงช่องว่างในความรู้และหลักเหตุผลของตัวเอง ได้มองเห็นความคิดและจะได้พิจารณาในมุมอื่นๆ

ฟัง vs อ่าน

  • บ่อยครั้ง การฟังสนุกกว่า แต่การอ่านช่วยพัฒนาการทำความเข้าใจและดึงความจำมาใช้ได้ดีกว่า
  • การฟังช่วยส่งเสริมความคิดริเริ่ม ส่วนการอ่านจะกระตุ้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้ดีกว่า
  • ถ้าจะฝึก EQ ให้ฝึกด้วยการฟัง เราแยกอารมณ์จากน้ำเสียง ได้ดีกว่าการ อ่าน(มองเห็น)สีหน้า

ถ้าคุณเริ่มต้นวันนี้ คุณจะก้าวหน้าเลย แต่ถ้าคุณรอให้พร้อมแล้วค่อยเริ่ม วันนั้นอาจจะไม่มาถึง

จงอึดอัดโดยเจตนา

  • เมื่อคนเราเห็นว่าความไม่สะดวกใจคือสัญลักษณ์ของการเติบโต เราก็จะมีแรงจูงใจให้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซนได้
  • อ้าแขนรับความเจ็บปวดจากการฟังคำใหม่ๆ ไม่รู้เรื่องและความอับอายจากการพูดภาษาใหม่ ด้วยสำเนียงเพี้ยนๆ

หากอยากยิงโดนเป้าหมาย คุณต้องเตรียมใจยิงพลาด หลายๆครั้ง

  • คุณไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าจะมีศัพท์เต็มหัวแล้วค่อยเริ่มสื อสาร คลังข้อมูลในสมองคุณจะขยายใหญ่ขึ้นอีก ในระหว่างที่คุณสื่อสาร

ผิดพลาดให้มากขึ้น

  • กล้าพอที่จะผิดพลาดให้มากขึ้น

คุณควรตั้งใจทำพลาดให้มากขึ้นอีก

  • หากคุณเคยทำผิด แล้วรู้เฉลยที่ถูกต้องทีหลัง คุณจะมีแนวโน้มผิดพลาดน้อยลงหลังจากนั้น
  • เมื่อเราได้รับการกระตุ้นให้ทำผิดพลาด เราจะลงเอยด้วยการทำพลาดน้อยลง และเป็นแรงจูงใจให้เราเรียนรู้ต่อไป
  • ถ้าคุณเรียนภาษา ลองพูดผิดให้ได้วันละ 200 ครั้ง
  • ต่อให้พูดผิด คนก็ไม่ได้ว่าอะไรคุณหรอก นอกจากชื่นชมในความพยายาม และนั้นจะเป็นแรงจูงใจให้พยายามต่อไป
  • เมื่อได้รับคำชม จะรู้สึกว่า การได้พยายามนั้น จะกลายเป็นเหมือนรางวัล

เราจะพร้อมก็ต่อเมื่อได้ลงมือทำแล้วเท่านั้นแหล่ะ

มนุษย์ฟองน้ำ

  • การพัฒนาตัวเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่คุณหามาได้ แต่ขึ้นอยู่กับคุณข้อมูลที่คุณรับเข้าไป
  • “ความสามารถในการดูดซับ” คือ ความสามารถในการตระหนักรู้ ประเมินค่า นำเข้า และประยุกต์ใช้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรม 2 ประการ

1. วิธีที่คุณใช้หาข้อมูล คุณเป็นฝ่ายรุกเข้าหาข้อมูลใหม่ๆไหม

2. เป้าหมายที่คุณพยายามบรรลุเมื่อคัดกรองข้อมูล เช่น หล่อเลี้ยงการเติบโต

  • ฟองน้ำ จะเป็นฝ่ายเริ่มขยับขยายและปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ

Feedback

  • เป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำตัวเป็นนักวิจารณ์หรือกองเชียร์ สิ่งที่ยากคือการทำตัวเป็นโค้ช
  • นักวิจารณ์จะมองเห็นจุดอ่อนของคุณ แล้วจู่โจมด้านที่บอบบางที่สุด
  • กองเชียร์จะมองเห็นจุดแข็งของคุณแล้วยกย่องด้านที่เลิศเลอที่สุด
  • ส่วนโค้ชจะมองเห็นศักยภาพ แล้วช่วยให้คุณพัฒนาตัวเองได้ดีกว่าเดิม
  • อย่าให้ หรือ รับ Feedback อะไรที่มันกำกวม เอาไปใช้ต่อไม่ได้

“มีอะไรที่ผมปรับปรุงได้อีกไหม” ขอเป็นคำแนะนำดีกว่าคำชม

  • แทนที่จะมัวจมอยู่กับสิ่งที่คุณทำผิดไป คำแนะนำชี้ทางให้คุณมุ่งไปยังวิธีที่ถูกต้องแทน
  • ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ทุกคำแนะนำจะมีประโยชน์ เลือกว่าอะไรควรดูดซับ อะไรควรกรองทิ้ง
  • ดีสุดคือมาจากคนที่ น่าเชื่อถือ ใส่ใจเรา และ คุ้นเคยกับเราดี

1. คุ้นเคย + ใส่ใจ อาจจะผิด

2. ใส่ใจ + น่าเชื่อถือ อาจะไม่ตรงกับเรา

3. น่าเชื่อถือ + คุ้นเคยกับเรา อาจจะไม่ได้กำลังพยายามช่วยเรา

  • การตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ จะทำให้คนให้ Feedback อยากให้อีก แล้วเราก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ

หาจุดกลมกล่อม ระหว่างรอยตำหนิและความสมบูรณ์แบบ

  • ยิ่งคุณเติบโต คุณก็จะยิ่งตระหนักว่ารอยตำหนิแบบไหนคือสิ่งที่ยอมรับได้

เมื่อไหร่ควรจะหยุดอยู่แค่ระดับดีพอ

อย่าเป็นพวก Perfectionism

  • เด็กๆ ต้องเผชิญกับความกดดันจากพ่อแม่ที่คาดหวังให้ลูกสมบูรณ์พร้อม
  • พวกเขาจึงเรียนรู้ที่จะตัดสินคุณค่าของตัวเองจากการพยายามลดความผิดพลาด
  • ผู้นิยมความสมบูรณ์แบบเก่งเรื่องการแก้ปัญหาที่ตัวเองคุ้นชิบ และตรงไปตรงมา
  • แต่โลกความจริงมันซับซ้อนกว่านั้นมาก

3 ข้อผิดพลาดของเหล่า เพอร์เฟกชั่นนิสต์

1. พวกเขาหมกมุ่นกับรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

2. พวกเขาหลีกเลี่ยง สถาณการณ์ที่ไม่คุ้นเคยและงานยากๆ ที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลว ผลคือ พวกเขาขัดเกลาได้เฉพาะทักษะแคบๆที่มีอยู่แล้วแทนที่จะลงมือพัฒนาทักษะใหม่ๆ

3. พวกเขาตำหนิตัวเองเมื่อผิดพลาด จนยากที่จะได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น

  • จุดประสงค์ของการไตร่ตรองความผิดพลาดไม่ใช่เพื่อกล่าวโทษตัวเองในอดีต แต่เพื่อให้ตัวเองในอนาคตได้เรียนรู้

วาบิซาบิ ศิลปะแห่งการเชิดชูความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ

  • ไม่ใช่การตั้งใจทำให้ออกมาแย่ แต่เป็นการยอมรับว่า รอยตำหนิคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
  • และตระหนักว่ารอยตำหนิไม่ได้ลดคุณค่าของความงามของสิ่งนั้นลงเลย

อย่าทำดีที่สุด ให้ทำให้ถึงเป้าหมาย

  • บอกให้ใครสักคนทำดีที่สุด นั่นคือทำไปเรื่อยๆไร้จุดหมายแต่ไม่มีวันพึงพอใจ
  • การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทาย มันจะพุ่งเป้าความสนใจคุณไปยังการกระทำที่สำคัญที่สุด และบอกให้คุณรู้จักพอเมื่อถึงเวลา

เราดีพอแล้วหรือยัง

อย่าไปเทียบกับคนอื่น ที่เขามีเป้าหมาย และ ทรัพยากรต่างจากเรา

  • วันนี้นายทำได้ดีกว่าเดิมหรือเปล่า และ วันนี้นายช่วยให้ใครสักคนทำได้ดี กว่าเดิมหรือยัง
  • ความคาดหวังมักเพิ่มขึ้นตามความสำเร็จที่เราทำได้ และเราจะสังเกตเห็นพัฒนาการตัวเองได้น้อยลง
  • ถ้าใครสักคนรู้จักคุณเมื่อ 5 ปีก่อนแล้วมาเจอคุณอีกทีวันนี้ เขาจะรู้วุ่คณมาไกล และคงภูมิใจไม่น้อยเลย

อนุญาติให้ตัวเองเรียนรู้จากความผิดหวัง

  • เราเติบโตขึ้นเพราะเราอ้าแขนรับข้อบกพร่อง ไม่ใช่โทษตัวเอง
  • คนอื่นไม่ตัดสินฝีมือคุณจากการลงมือทำแค่ครั้งเดียว
  • ผู้คนตัดสินศักยภาพของคุณจากจังหวะที่ดีที่สุด ไม่ใช่แย่ที่สุด
  • แล้วทำไมคุณไม่ตัดสินตัวเองแบบนั้นบ้างหล่ะ
  • ความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณเอาชนะอุปสรรคได้มากแค่ไหน ไม่ใช่ว่าคุณเข้าใกล้ความสมบูรณ์แบบได้มากแค่ไหน

การเปลี่ยนทิศทาง (Pivoting)

  • ทำให้เสร็จดีกว่าทำให้สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ผลิตซ้ำและปรับปรุงผลิตภันฑ์ได้อย่างฉับไว
  • วิธีที่ดีที่สุดในการประเมิณค่า Feedback ของคนอื่นคือ หาจุดร่วม ถ้าหลายคนบอกเหมือนกัน มันน่าจะมีมูล
  • ขอให้คนอื่นประเมิณออกมาเป็นตัวเลข และขอคำแนะนำเพื่อให้ได้คะแนนดีขึ้น

เห็นเป็นตัวเลข มันจะสร้างแรงจูงใจให้เราพัฒนาขึ้นได้ง่าย

เป้าหมายภายใน vs ภายนอก

  • การให้คุณค่ากับเป้าหมายภายนอก อย่าง ชื่อเสียงและรูปลักษณ์ มากกว่าเป้าหมายภายใน เช่น การเติบโตและความสัมพันธ์ มีแนวโน้มที่จะทำให้สุขภาพกายและใจแย่ลง
  • จำไว้ว่าการทำให้คนอื่นผิดหวังย่อมดีกว่าทำให้ตัวเองผิดหวัง
  • เราเอาใจทุกคนไม่ได้ และไม่ควรด้วย
  • ความปรารถนาจะทำให้ตัวเองพอใจและท้าทายตัวเองต่างหากที่เป็นแรงขับเคลื่อน

CH 2 : โครงสร้างบันดาลใจ

  • การติดขัดทำให้เราหมดกำลังใจ แล้วทำยังไงให้ไปต่อได้เมื่อล้มเหลว หดหู่ และกังขา

4 คุณสมบัติของนั่งร้าน

  • ทำให้รู้สึกว่าขอความช่วยเหลือจากภายนอกได้ ไม่ต้องแบกทุกอย่างคนเดียว
  • เอาไว้ใช้กับความท้าทาย ณ ขณะนั้น
  • การสร้างนั่งร้านมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ
  • การสร้างนั่งร้าน เป็นเรื่องชั่วคราว และ แตกต่างออกไปในแต่ละช่วงเวลา

แปรสภาพกิจวัตรอันน่าเบื่อหน่าย

  • การจะฝึกอะไรให้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องใช้เวลาและการฝึกฝน ซึ่งการทำให้ได้ต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องง่าย
  • ทำยังไงให้เราฝึกฝนต่อไปได้ และไม่เหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ จนหมดไฟไปซะก่อน
  • เราต้องเปลี่ยน “ควรจะ” เป็น “อยากจะ” ให้ได้

การเล่นอย่างตั้งใจ

  • คือการนำความแปลกใหม่และความหลากหลายมาสู่การฝึกฝน เช่น รูปแบบของเกม การสวมบทบาท การด้นสด
  • เช่น ลองท้าทายตัวเองว่าจะเล่นเพลงที่ไม่เคยเห็นโน้ตมาก่อนได้ถูกต้องมากแค่ไหน หรือ จะชู้ตบาสลงกี่แต้มในหนึ่งนาที

อย่านับที่จำนวนชั่วโมง แต่ให้ติดตามพัฒนาการของตัวเอง คะแนนไม่ใช่สัญลักษณ์ของชัยชนะ แต่เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าต่างหาก

  • เราสามารถชนะคู่แข่งได้โดยไม่ได้เก่งขึ้นเลย แต่การเล่นอย่างตั้งใจคือการแข่งกับตัวเองในอดีต ซึ่งจะต้องเก่งขึ้นเท่านั้น
  • การทำให้เป็นเกม มีเป้าหมายคือ กระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีนเพื่อให้ลืมความน่าเบื่อ หรือ หันเหจากความเหนื่อยล้า
  • การฝึกหลากหลาย ดีต่อการเรียนรู้มากกว่า นอกจากจะไม่เบื่อแล้ว ยังเหมือนชีวิตจริงมากกว่าด้วย

เด็กกับมาร์ชแมลโลว์ และการตีความผิด

  • เคยมีงานวิจัยที่ เอาเด็ก 4 ขวบมานั่งหน้ามาร์ชแมลโลว์หนึ่งอันแล้วบอกว่า ถ้าหนูรออีกแปปก่อนพี่กลับมา หนูจะได้มาร์ชแมลโลว์สองอัน
  • แล้วคนก็สรุปงานว่า เด็กที่อดทนรอได้ จะโตไปได้ดีกว่า เด็กที่อดทนรอไม่ได้
  • ซึ่งจริงๆ สาเหตุที่เด็กคนนั้นได้ดีกว่า ไม่ได้มาจากการฝึกอดทนรอ แต่ มาจาก เด็กที่อดทนรอได้เติบโตมาดีอยู่แล้ว เลยมีโอกาสโตไปได้ดีกว่า
  • แถมเด็กที่อดทนรอได้ ไม่ใช่อดทนจริงๆ แต่ พวกเขาเบี่ยงเบนความสนใจไปทำอย่าอื่นให้ไม่ต้องอดทนตั้งแต่แรก
  • การนั่งอดทนจ้องขนมแล้วบอกให้รอ มันทำได้ยาก และเสี่ยงล้มเหลวเกินไป สู้หลับตา หรือ มองไปทางอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจะง่ายกว่า

พักบ้างก็ได้

  • การพักควรเป็นส่วนหนึ่งของการฝึก เพราะมันจะทำให้คุณไปได้ไกลกว่า
  • การพักช่วยให้เราไม่ล้าจนหมดไฟ ทำให้เรามีไอเดียใหม่ๆ และมีเวลาย่อยสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
  • การฝึกซ้อมที่มีค่า คือการฝึกซ้อมที่มีความก้าวหน้า เราเน้นคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ

ใส่เกียร์ถอยเพื่อเดินหน้า

  • เมื่อคุณติดแหง็ก ปกติแล้วสาเหตุเป็นเพราะคุณกำลังมุ่งหน้าไปผิดทาง

อย่าฝืนทำเหมือนเดิม ให้ถอยออกมาแล้วหาทางใหม่

  • แต่มันจะไม่ได้ดีขึ้นทันที ช่วงแรกๆยังไม่คุ้นชินกับทางใหม่ ประสิทธิภาพจะห่วยกว่าก็ไม่แปลก
  • เหมือนสมัยชิป Apple M1 ยังทำอะไรไม่ได้เยอะ เทียบกับ Intel แต่ระยะยาวแล้ว ไปได้ไกลกว่า
  • เมื่อคุณสกิลสูงแล้ว การจะเก่งขึ้นไปอีกเป็นเรื่องยากมาก ปัญหาจะเยอะ แต่ขอให้แก้ไปทีละขั้น
  • ความยากของตรงนี้คือ คุณอาจจะต้องทิ้งความคุ้นเคยเดิมๆ ไปฝึกของใหม่

แผนที่อันผิดพลาด

  • แต่ชีวิตก็คือการลองผิดลองถูก ต่อให้เปลี่ยนวิธีแล้ว ก็อาจไม่ได้ดีกว่าเดิมก็ได้
  • ข่าวร้ายที่ ไม่มีใครรู้หรอกว่าที่ถูกต้องจริงๆ คืออะไร อย่าไปคาดหวังแผนที่อันสมบูรณ์แบบ
  • ข่าวดีคือ ไม่ต้องมีแผนที่อันสมบูรณ์ ขอแค่เข็มทิศคร่าวๆ ก็พอแล้ว

อย่าเชื่อคนเก่งทุกอย่าง

  • คนเก่งสุดๆ หรือ คนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้เป็นคนที่แนะนำได้ดีที่สุด เพราะ..

1. พวกเขามาไกลเกินกว่าจะจำได้ว่า คนที่เพิ่งเริ่มเดินรู้สึกอย่างไร

  • ยิ่งคุณทำสิ่งใดได้ดีขึ้น ความสามารถในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ หรือ เรียนรู้สิ่งนั้น ก็มักจะแย่ลง
  • พวกเขาจะทำให้คุณรู้สึกเหมือน ไม่มีวันไปถึง

2. คุณไม่ได้มีจุดแข็งจุดอ่อน หรือ สถาณการณ์เหมือนกับเขา ณ ตอนนั้น

ไม่ให้เชื่อคนเก่ง แล้วให้เชื่อใคร ?

  • เชื่อคนเก่งหลายคนไง ลองถามหลายๆคน รับมุมมองส่วนที่เราเอาไปใช้จริงได้ จะได้เห็นภาพได้ครบถ้วน
  • ขอคำแนะนำจากหลายๆคน แล้วสุดท้าย เราเนี่ยแหล่ะ รู้สถานการณ์และข้อจำกัดของตัวเองดีที่สุด
  • ที่สุดแล้วเราอาจจะคิดทางออกใหม่ ที่ไม่มีใครเคยคิดออกมาก่อนเลยก็ได้

ความก้าวหน้า มักมองไม่เห็น

  • การถูกบั่นทอนจิตใจ คือ อุปสรรคที่พบเห็นได้บ่อยเมื่อเราต้องถอยกลับ เพื่อเปลี่ยนวิธี
  • คุณจะยังไม่เห็นความก้าวหน้าในช่วงแรก จนอยากเปลี่ยนทางอีกรอบ
  • ขุมพลังที่แข็งแกร่งที่สุดในการสร้างแรงจูงใจประจำวันก็คือ พลังแห่งความรู้สึกก้าวหน้า
  • ไม่ต้องเป็นงานเดิมก็ได้ ถ้าคุณเป็นนักบัญชี ลองทำเครื่องปั้นดินเผาดู มันจะทำให้ความมั่นใจในงานหลักดีขึ้น
  • ความสำเร็จแค่เล็กๆน้อยๆ ก็ช่วยได้เยอะแล้ว
  • ชัยชนะครั้งใหญ่ มาจากการสะสมชั่ยชนะเล็กๆ

กลุ่ม 13 เหรียญทอง

  • กลุ่มคนผิวดำกลุ่มแรกในกองทัพเรือสหรัฐ ที่จบด้วยคะแนนสูงสุดในกองทัพ ท่ามกลางข้อกังขา เวลาจำกัด และคำดูถูกมากมาย
  • พวกเขาผ่านมันมาได้ เพราะคอนเซป “ห่วงติดรองเท้า” ที่ดึงพวกเขาขึ้นมาจากการท้อแท้ ซึ่งรวมหลายๆ Effect เอาไว้
  • Growth mindset : การเชื่อว่าเราสามารถพัฒนาตัวเองได้ (ต้องมีคนรอบข้างสนับสนุนด้วย ไม่งั้นไร้ประโยชน์)

Tutor Effect: เพิ่มความรู้จากการสอน

  • การอ่านหนังสือกับเพื่อนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก
  • โดยเฉพาะ การสอนกันและกัน ยิ่งใช้เวลาสอนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้เรียนรู้มากแค่นั้น
  • คนเราจะเรียนรู้เรื่องนึงได้ดีที่สุด ก็คือตอนลงมือสอนเรื่องนั้น

เราจะเข้าใจได้ดีขึ้นเมื่ออธิบายให้คนอื่นฟัง

  • อันที่จริง แค่บอกว่าคุณต้องไปสอนอะไรสักอย่าง ก็เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคุณแล้ว
  • คนที่ทำไม่เป็น ก็ยังสามารถเรียนรู้ผ่านการสอนได้ ผ่านการเตรียมตัวสอน
  • นี่เป็นสาเหตุที่ ลูกคนโต มักจะฉลาดกว่า เพราะได้มีโอกาสสอนน้องๆ

Coach Effect: เพิ่มความมั่นใจจากการแนะนำคนอื่น

  • เราจะรู้สึกมั่นใจที่จะเอาชนะความยากลำบากมากขึ้น หลังจากได้ชี้แนะคนอื่น
  • มีแรงจูงใจมากขึ้นหลังจากได้เป็นฝ่ายแนะนำ
  • การเป็นโค้ชให้ผู้อื่นช่วย ยกระดับความคาดหวังที่มีต่อตัวเอง เพราะมีนคือการย้ำเตือนถึงเครื่องมือที่เรามีอยู่กับตัวเองแล้ว

รับผิดชอบกันและกัน

  • ถ้าอยู่คนเดียว จะเรายอมแพ้ง่าย เพราะก็มีแค่เราเป็นคนแพ้
  • แต่อยู่เป็นกลุ่มแล้วยอมแพ้ เราจะทำให้คนอื่นผิดหวังไปด้วย
  • การทำอะไรเป็นกลุ่ม ช่วงดึงสติเวลาเราท้อ ต่างคนต่างดึงกันขึ้นมา ความคาดหวังของทุกคนก็ยิ่งมากขึ้น
  • เด็กๆมักอดทนรอได้นานกว่า หากรู้ว่าตัวเองไม่อดทน เด็กคนอื่นจะอดกินคุกกี้ไปด้วย
  • การมีพาร์ตเนอร์สามารถป้องกันไม่ให้คุณรู้สึกกังขาในความสามารถของตัวเอง

ความคาดหวังที่คนรอบข้างมีต่อเรา มักจะกลายเป็น คำทำนายที่เป็นจริงด้วยตัวเอง

  • ในที่ทำงานเมื่อผู้นำทีมมีความคาดหวังสูง ลูกน้องก็มักจะทำงานหนักขึ้น เรียนรู้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพไปโดยปริยาย
  • ⬆️ คนรู้เรื่องนั้นๆ เชื่อมั่นในตัวเรา : ฉันจะไม่ทำให้พวกนั้นผิดหวัง
  • ⬆️ คนอ่อน กังขาในตัวเรา : ฉันจะพิสูจน์ให้พวกนั้นเห็น ( Underdog effect )
  • ⬇️ คนรู้เรื่องนั้นๆ กังขาในตัวเรา : ฉันเก่งไม่พอหรอก
  • ⬇️ คนอ่อน เชื่อมั่นในตัวเรา : พวกนั้นก็ชมไปเรื่อย

CH 3 : ระบบสร้างโอกาส

  • เด็กบ้านรวย top 1% มีโอกาสสร้างนวัตกรรมมากกว่าครอบครัวปานกลางถึงสิบเท่า
  • ต่อให้เด็กบ้านรวยคะแนนแย่กว่า ก็ยังมีโอกาสสร้างนวัตกรรมได้มากกว่า
  • สิ่งสำคัญคือ โอกาสในชีวิต เด็กบ้านรวยคิดอะไรได้ ก็จะลงมือทำได้ทันที แถมยังมีไกด์เป็นคนเก่งๆ ทรัพยากรดีๆ
  • แค่ที่อยู่บ้านก็ชนะขาดแล้ว ลองคิดว่า คุณโตมาใน ซิลิคอนวัลเลย์ กับ หมู่เกาะอันห่างกัน
  • ไอดอลก็มีผล เด็กผู้หญิงหาไอดอลเรื่องนวัตกรรมได้ยากกว่าเด็กผู้ชาย
  • เราจะทำยังไงให้ อัจฉริยะบ้านไม่รวย ไม่ถูกลืม ? โลกเราจะไปได้ไกลอีกแค่ไหน ถ้าคนกลุ่มนี้เฉิดฉาย

การศึกษา Finland

  • Finland มีวัฒนธรรมที่ เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนทุกคน แทนที่จะหาหัวกะทิ
  • ลงทุนกับนักเรียนทุกคนไม่ว่าจะมีความสามารถแค่ไหนก็ตาม
  • วัฒนธรรมประกอบด้วย :

1. แบบปฏิบัติ — กิจวัตรประจำวันที่สะท้อนและส่งเสริมค่านิยม

2. ค่านิยม — สิ่งใดควรได้รับการชื่นชม หรือ ลงโทษ

3. ความเชื่อขั้นพื้นฐาน — ตัวหล่อหลอมค่านิยม

  • ฟินแลนด์เชื่อว่า สติปัญญามีอยู่หลากหลายรูปแบบ และ เด็กทุกคนก็มีศักยภาพที่จะเก่งในแบบของตัวเอง
  • ซึ่งก่อให้เกิดความเสมอภาค ไม่ได้อวยแต่เด็กเก่ง

ปฏิรูปครู

  • จริงๆ ฟินแลนด์ปี 1960 คือ ห่วยสุดๆ จนกระทั่ง ปี 1970 เริ่มปฏิรูปครู จ้างคนจบป. โท จากมหาลัยชั้นนำ เอาครูที่มุ่งมั่นและมีแรงจูงใจสูง
  • ครูมีสิทธิใช้วิจารณญานของตัวเองอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ
  • เขาปลูกฝังครูว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และการศึกษาควรได้รับการออกแบบมาเพื่อนักเรียน แต่ละคน

โรงเรียนที่ดี

  • ควรให้ครูคนเดิม สอนเด็กหลายๆปี เพราะครูจะได้ใกล้ชิดและเข้าใจนักเรียน เข้าใจจุดแข็งจุดอ่อน และ ปรับแต่งวิธีการสอน และ การสนับสนุนทางอารมณ์แก่เด็กๆได้
  • ฟินแลนด์ให้ครูคนเดิมสอน 6 ปีรวด
  • เมื่อเด็กไม่เข้าใจเรื่อง ปริภูมิในวิชาเลข ครูจะไม่มองว่าเขาโง่ เพราะครูเคยเห็นคนนี้ทำคะแนนได้ดีในวิชาพีชคณิต

กันไว้ดีกว่าแก้

  • ครูใหญ่ฟินแลนด์ ยังสอนนักเรียนอยู่ ไม่ได้ทำแค่งานบริหาร จริงๆผู้บริหารทุกองค์กรควรใช้เวลา 5–10% ทำงานที่คนอื่นๆทำ
  • การช่วยติวเด็กเล็ก ตั้งแต่ปัญหาเกิดช่วงแรกๆ ถูกกว่า การแก้ตอนหลัง
  • ครูและนักเรียนในฟินแลนด์มีชั่วโมงพักที่มากกว่า จำกัดภาระครูและมอบอำนาจจัดให้การ เพื่อป้องกันการหมดไฟ

สนามเด็กเล่น

  • บทเรียนที่สำคัญที่สุดในการสอนเด็ก คือ การสอนให้รู้ว่าการเรียนคือเรื่องสนุก
  • เด็กที่เริ่มอ่านตอน 5 ขวบ หรือ 7 ขวบ สุดท้ายตอนโต เก่งไม่ต่างกัน อย่าฝืนบังคับเด็กเรียนมากเกินไป
  • ถ้าอยากให้เด็กๆ อ่านหนังสือ คุณก็ต้องอ่านหนังสือให้เขาเห็นบ่อยๆ
  • คู่แข่งหนังสือคือ TV, Games , Social media เมื่อเทียบกับปี 2000 แล้ว สมัยนี้คนมีเวลาอ่านน้อยลง
  • หน้าที่ของครู ไม่ใช่การทำให้เขาอ่าน แต่เป็นการจุดประกายให้นักเรียนได้รู้ซึ้งถึงความตื่นเต้นของการอ่าน
  • ฟินแลนด์ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศมากไปกว่าการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ทีมที่ดี

  • ทีมที่ดีที่สุด ไม่ได้มาจากทีมที่มีคนฉลาดเยอะที่สุด แต่เป็นทีมที่มี “Team player” มากที่สุด หรือ คนที่เก่งด้านการประสานงาน
  • มันเกี่ยวกับการหาคำตอบว่า กลุ่มของเราต้องการอะไร แล้วหาวิธีให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม

มีคนแย่ๆ แค่คนเดียว ทีมก็พังได้

  • สิ่งสำคัญสุดคือ ให้ทุกคนตระหนักว่า พวกเขาต้องการกันและกัน เพื่อทำภารกิจให้ลุล่วง อย่าคิดว่าทำเองคนเดียวรอด

หัวหน้า กับ Bubble effect

  • เรามักได้หัวหน้าที่ พูดมากที่สุด ไม่ใช่หัวหน้าที่มีทักษะผู้นำสูงสุด
  • คนที่สมควรได้รับตำแหน่งหัวหน้าจริงๆ คือคนที่มีทักษะการเอื้อสังคม ซึ่งจะยก ภารกิจเหนือตัวเอง

ยิ่งตำแหน่งสูง ยิ่งมีแต่คนกล้าแสดงออก

  • หัวหน้าที่เก่งที่สุด จะไม่ใช่คนที่พูดมากที่สุด แต่เป็นคนที่รับฟังมากที่สุด

อย่าระดมสมอง

  • ถ้าคุณกำลังจะเข้าห้องประชุมแล้วระดมสมอง หาไอเดียไปพร้อมกัน
  • ให้เปลี่ยนเป็น ให้ทุกคนเขียนไอเดียส่งมากันก่อนแบบปิดชื่อ แล้วค่อยมาช่วยกันเลือกในห้องประชุม
  • การมานั่งคิดพร้อมกัน ไอเดียมันไม่ออก มีความเกรงใจ กลัวเสียหน้า กลัวข้ามหน้าคนอื่น เวลาจำกัด และอีกมากมาย
  • อย่าให้คนเสียงดัง มา กลบไอเดียดีๆ

โครงสร้างแบบขั้นบันได และ ตาข่าย

  • องค์กรแบบขั้นบันได เราฝากทุกอย่างไว้กับหัวหน้า ถ้าไอเดียเราหัวหน้าไม่ชอบ คือจบ
  • องค์กรแบบตาข่าย ถ้าหัวหน้าเราไม่ชอบ ก็ไปเล่าให้หัวหน้าแผนกอื่นฟัง จนมีคนเข้าใจและซื้อไอเดียเรา
  • เน้นให้ เข้าถึงคนที่ตำแหน่งสูงกว่าได้หลากหลาย และง่าย

ความสำเร็จ

  • บางครั้ง ความสำเร็จก็ไม่ได้วัดจากจุดที่คนคนนั้นยืนอยู่ แต่วัดจากอุปสรรคที่คนคนนั้นได้มาระหว่างมุ่งสู่ความสำเร็จ
  • มอสทำงานหนักจนเก็บเงินสิบล้านแรกได้ใน 8 ปี ขณะที่ ไอ้หมอนั่น ได้ยี่สิบล้านแรกจากการขอเงินแม่เมื่อวาน
  • บริบท มันต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากได้คนไปทำงานอะไร อย่าวัดแค่ว่ามี 20 ล้าน แล้วจะทำงานเก่งกว่า
  • นักแสดงตลกที่แสดงต่อหน้าคนเมาในผับก็ดูฮากว่าเวลาเล่นให้พนักงานธนาคารดูตอนเช้าตรู่
  • นักการเงินที่ฟันกำไรเป็นกอบเป็นกำในช่วยตลาดขาขึ้น อาจจะไม่ได้เก่งกว่า คนที่กำไรเบาๆ ตอนตลาดขาลง
  • อย่าตัดสินคนแค่ผิวๆ

บริษัทมองหาอะไร

  • บริษัทปกติออกแบบมาเพื่อตรวจจับความเก่ง
  • ซึ่งแปลว่า คนที่กำลังจะเก่ง จะไม่ค่อยได้รับความสนใจ
  • เอาเข้าจริง ประสบการณ์มากน้อย มีผลต่องานใหม่น้อยมาก ยกเว้นว่าจะเป็นงานเฉพาะทางที่คล้ายกันมากทั้งงานเก่าและใหม่
  • สิ่งสำคัญคือ คนๆนั้นสามารถเรียนรู้วิธีทำงานใหม่ๆได้ดีแค่ไหนต่างหาก
  • บางทีเราก็เปลี่ยน พนักงานขายตัวทอป ไปเป็น หัวหน้าสุดห่วยแตก

ประเมินคนจากความสามารถในการพัฒนา

  • เด็กสองคน เกรดเฉลี่ยเท่ากัน คนนึง กำลังขึ้น อีกคน กำลังลง
  • คนที่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น มีแนวโน้มไปได้ไกลกว่า
  • แต่อย่าไปคาดหวังว่า มันจะขึ้นๆๆ ด้วยอัตราเดิมจะ มีจุดอิ่มตัวของมัน

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing