[รีวิว + สปอย] หนังสือ : Smart Brevity ไม่กี่คำก็กินขาด คนฉลาดไม่พูดเยอะ

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
3 min readApr 8, 2024

วิธีการสื่อสารที่ทรงพลังที่สุด ในโลกที่ทุกคนมีเวลาจำกัด

ทำไมเล่มนี้น่าอ่าน :

“Smart Brevity” เป็นหนังสือที่สอนให้ผู้อ่านเข้าใจและประยุกต์ใช้หลักการสื่อสารอย่างกระชับและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคสมัยปัจจุบัน

รีวิว

  • Smart brevity สอนวิธีการสื่อสารที่ให้คนสมัยนี้ฟังอย่างกระชับ และชัดเจน
  • ซึ่งการพูดให้กระชับเป็นสิ่งที่สอนกันได้ และนั่นจะทำให้คุณแตกต่างและก้าวกระโดดทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว
  • หนังสือเล่มนี้เนื้อหาไม่เยอะ แต่เต็มไปด้วยตัวอย่าง ซึ่งดีมากกกกก
  • ตัวเล่มนี้เองก็เขียนได้กระชับ แต่ละบทมีบอกว่า อ่านกี่คำ กี่นาที มีการแบ่งโครงสร้างให้ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ

สรุปแบบคนรีบ

“Smart Brevity” เป็นหนังสือที่สอนให้ผู้อ่านสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบริบทต่างๆ เช่น ธุรกิจ วารสารศาสตร์ การศึกษา หรือชีวิตส่วนตัว หนังสือเล่มนี้ให้เหตุผลว่าความกะทัดรัดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ และสามารถช่วยให้ผู้คนถ่ายทอดความคิดของตนได้อย่างชัดเจน โน้มน้าวใจ และน่าจดจำ หนังสือเล่มนี้ให้เคล็ดลับและเทคนิคต่อไปนี้เพื่อให้บรรลุความกะทัดรัดอันชาญฉลาด:

  • ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและแม่นยำเพื่อหลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะ คำที่ซ้ำซากจำเจ และคำเติม
  • จัดโครงสร้างข้อความของคุณด้วยพาดหัวที่ชัดเจนและจับใจ คำนำที่กระชับและน่าสนใจ และบทสรุปที่สั้นและน่าพอใจ
  • ปรับน้ำเสียงและสไตล์ของคุณให้เหมาะกับผู้ชม วัตถุประสงค์ และสื่อ และใช้ภาพช่วย ตัวอย่าง และเรื่องราวที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนประเด็นของคุณ
  • แก้ไขและปรับข้อความของคุณให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่สูญเสียความหมายหรือผลกระทบ
  • ฝึกฝนและเชี่ยวชาญศิลปะการฟัง ถาม และตอบคำถาม ตลอดจนการให้และรับคำติชม

หนังสือเล่มนี้ยังประกอบด้วยแบบฝึกหัด รายการตรวจสอบ และตัวอย่างจากโดเมนและประเภทต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านนำไปใช้และพัฒนาทักษะความกะทัดรัดอันชาญฉลาด หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้อ่านกลายเป็นนักสื่อสารที่มีความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่ล้นหลาม

อ่านเต็มๆที่ : Bit.ly/mosbook2024-006

ซื้อหนังสือ : เคยเอามาขายที่งานหนังสือ บูธ Welearn ตอนนี้ไม่รู้จะไปซื้อที่ไหน

สปอย

  • คนเราสมาธิสั้นลงเยอะมาก ถ้าเจอบทความยาวๆ แค่ 17 มิลลิวินาทีแรก แล้วไม่ชอบก็เลื่อนผ่านแล้ว
  • เราแชร์เรื่องราวส่วนใหญ่โดยไม่อ่านด้วยซ้ำ
  • เรา Multitask ได้แย่ สติหลุดได้ง่าย และใช้เวลากว่า 20 นาทีกว่าจะกลับมาจดจ่อได้

ภาพรวม : เราเกลือกกลิ้งอยู่กับเสียงรบกวนและเรื่องไร้สาระอยู่ตลอดเวลาที่ตื่น ผู้คนมีเวลาน้อยลง ทางเลือกมากขึ้น สิ่งรบกวนนับไม่ถ้วน

  • ถ้าเขียนแบบเดิม สื่อสารแบบเดิม ใครจะอ่านที่คุณเขียน หรือฟังที่คุณพูด !!
  • เราเคยเขียนสั้นๆได้เก่ง (เพราะขี้เกียจเขียนเยอะ) จนครูสั่งเราให้ฝึกเขียน 500 คำ 1000 คำ โดยที่จริงๆแล้วเขียน 20 คำก็ได้ เราถูกสอนมาว่า ยิ่งเขียนยาวที่ฉลาด ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่

คนทำงานใช้เวลา 50–60% ไปกับการสื่อสาร แต่ไม่มีเครื่องมือและการอบรมที่ดีให้เขา

  • แล้วเราจะดึงความสนใจของผู้คน ที่อยู่ท่ามกลางความวุ่นวายนี้ได้อย่างไร ? ก็ต้องปรับตัวตามผู้บริโภคหน่ะสิ

Part 1 : Smart Brevity คืออะไร

ประเด็นสำคัญ : คุณไม่สามารถทำให้ผู้คนเชื่อในกลยุทธ์หรือไอเดียใดๆได้ หากพวกเขาไม่เข้าใจหรือใส่ใจกับสิ่งทึ่คุณพูด

  • Smart Brevity คือการสื่อสารที่สั้น ถึงอารมณ์ได้ใจความ ตรงประเด็น มีประโยชน์ ช่วยประหยัดเวลา โดยไม่ละเลยข้อเท็จจริงหรือ รายละเอียดสำคัญ
  • ทุกถ้อยคำและประโยค ต้องมีความหมาย

สิ่งที่สำคัญที่สุด : คุณจะค้นพบความมั่นใจครั้งใหม่อย่างรวดเร็วจากถ้อยคำที่เฉียบคมและชัดเจนของคุณ ทั้งยังค้นพบว่าผู้คนรับฟังและจดจำประเด็นที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องการจะสื่อ เมื่อคุณเก่งเรื่องนี้

ทำไมต้องเขียนแบบนี้ ? : ผู้อ่านสำคัญที่สุด เขาอยากรู้ว่า “มีอะไรใหม่ ๆไหม” “ทำไมมันถึงสำคัญ” และ “คุ้มค่ากับเวลาและสมาธิเขา” ก่อนจะลงลึก อ่านต่อ

  • การเขียนแบบนี้ จะทำให้คุณมีโครงสร้าง เอากลับมาใช้ซ้ำ ไม่ต้องคิดใหม่ตลอดด้วย

ก่อนเขียน : ใครควรอ่าน และอ่านไปทำไม นึกให้ชัดเจนก่อน

แก่นโครงสร้าง 4 ประการ

1. “จั่วหัว” อย่างมีพลัง อย่าเกิน 6 คำ

2. “ประโยคเปิด” ที่แข็งแกร่ง คำจะจำสิ่งนี้ได้มากที่สุด จงบอกสิ่งที่ผู้อ่านยังไม่รู้

3. “ทำไมมันจึงสำคัญ” คนจะได้รู้ว่าทำไมต้องอ่านต่อ

4. “ลงลึก” ใส่ไว้ช่วงท้ายของบทความ

  • อย่าใส่สิ่งรบกวนลงไป ถ้ามันไม่ได้ช่วยสื่อความ เช่น Video เล่นอัตโนมัติ ป๊อปอัพโฆษณา คำฟุ่มเฟือย

หยุดผลาญเวลาผู้คน

  • เรามักนึกถึงสิ่งที่เราอยากพูด มากกว่าสิ่งที่คนอยากฟัง นึกหน้าคนฟังให้ชัดๆ คนที่มีตัวตนจริงๆ
  • ไม่ควรมีถ้อยคำที่ไม่จำเป็นในประโยค และไม่ควรมีประโยคที่ไม่จำเป็น

วิธีที่ง่ายที่สุดในการบอกสิ่งที่ต้องการ

  • พูดมันออกไปตรงๆ เอาให้กระชับ ตรงประเด็น
  • อย่าใช้ศัพท์หรูๆที่อีกฝ่ายไม่เข้าใจ

เคล็ดลับ

1. จดจ่อกับคนที่เป็นเป้าหมายของคุณแค่คนเดียว

2. ระบุสิ่งที่คุณต้องการให้เขาจดจำเพียงสิ่งเดียว : ถ้าคุณยังไม่รู้ แล้วคนฟังจะรู้ไหม

3. เขียนภาษาคนให้คนอ่าน : เข้าใจง่าย ชัดเจน ตรงไปตรงมาเหมือนกำลังคุยกัน

4. ลงมือเขียน : ยิ่งน้อยยิ่งดี

Part 2 : วิธีการ

ทำให้คุ้มค่าความสนใจ

  • คนส่วนใหญ่กวาดตาอ่านเนื้อหาส่วนใหญ่แบบผ่านๆ ทุกครั้ง อ่านได้ราวๆ 26 วินาที แล้วที่เหลือข้าม
  • ให้เราเข้าเรื่องอย่างตรงประเด็น รวมถึงกำจัดข้อมูลส่วนเกินและไร้ประโยชน์

แนวคิดที่ควรจำ : ผู้คนจะให้ความเคารพคุณ ถ้าคุณเคารพเวลาและสติปัญญาของพวกเขา ผู้คนจะรำคาญถ้าคุณผลาญเวลาของพวกเขา

  • ปัจจัยขับไล่ : ตัวหนังสือเยอะเกินไป คำศัพท์เฉพาะเยอะเกินไป ตัวเลือกเยอะเกินไป วีดีโอยาวๆ

หัวเรื่อง พาดหัว และ บรรทัดแรก สำคัญที่สุด

  • สมองออกแบบมาให้ตัดสินใจว่า จะอ่านหรือจะข้าม
  • ทุกถ้อยคำคือการต่อสู้เพื่อให้ได้เวลา และความสนใจมากขึ้น
  • หัวเรื่อง อย่ายาวเกิน 6 คำ เดี๋ยวเลยขอบมือถือ
  • ใส่ชื่อคนดังในหัวเรื่อง ได้ผล!

คุณต้องระบุ 1 สิ่งที่อยากให้ผู้คนรู้ และ ป่าวประกาศมัน

  • นี่มันเรื่องอะไรวะเนี่ย แล้วมันคุ้มค่าเวลาของฉันไหม
  • คิดซะว่า ต้องตะโกนบอกคนที่กำลังออกจากลิฟ คุณจะบอกอะไรแค่อย่างเดียว เพื่อให้เขาไม่ลืม
  • นั่นแหล่ะ ประโยคเปิดของคุณ

ทำไมมันจึงสำคัญ

  • อย่าปล่อยให้คนอ่านคิดเอง จงบอกให้ชัดเจน เด่นๆ
  • ทำตัวหนาๆ ราวกับป้ายบอกทาง ให้มาอ่านในเรื่องที่คุณอยากให้อ่าน
  • ถ้าพาดหัว ดึงความสนใจได้ คนจะคิดว่า บทความนี้มีค่ามากพอให้เสียเวลาอ่าน
  • มันคือการบอกว่า “ฉันมีเรื่องสำคัญจะพูด และจะพูดในแบบที่น่าสนใจให้คุ้มกับเวลาคุณ”
  • To check: คุณจะอ่านมันไหม ถ้าคุณไม่ใช่คนเขียน

Axiom หรือคำที่เราใช้เรียกหัวข้อต่างๆ

  • เช่น “ทำไมมันจึงสำคัญ” “ภาพรวม” “ตัวเลขสำคัญ” “ประเด็นสำคัญ” “แล้วยังไงต่อ”
  • แล้วตามด้วยคำอธิบาย เช่น มันจะทำให้อะไรเปลี่ยนไปบ้าง มันส่งสัญญาณถึงอะไร

ลงลึก

  • พาร์ทนี้เป็นการให้อำนาจผู้อ่านได้ เลือกว่าจะอ่านเนื้อหาที่เยอะๆไหม รวมถึง link ไปอ่านตัวเต็ม
  • ซึ่งนี่แสดงให้เห็นราวกับว่า “ฉันหาข้อมูลมาเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้ไม่ต้องทำเอง” ทำให้เราเขียนกระชับได้โดยไม่ได้ตกหล่นเนื้อหาอะไรไป

จบการบรรยายด้วย : ถ้ามีเพียงสิ่งเดียวที่คุณจะจดจำได้จากการพูดครั้งนี้…

  • ระบุสิ่งที่คนฟังต้องจำออกมาเป็นข้อๆ เรียงตามความสำคัญ อย่าเยอะ
  • อย่าให้พวกเขาเลือกว่าจะจดจำอะไร คุณต้องเป็นคนเลือก

ใช้คำให้ถูกต้อง

  • คำสั้นๆ ย่อมดีกว่าเสมอ
  • ใช้คำทรงพลัง
  • กำจัดศัพท์สวยหรู หรือที่คนไม่รู้จักกัน
  • เลี่ยงคำคลุมเครือ
  • ใช้รูปประโยคที่บ่งบอกว่าประธานเป็นผู้กระทำ

อิโมจิ 😁

  • มันสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก เจตนา และรายละเอียดได้อย่างดี
  • แต่ถ้าใช้เยอะไปคุณจะดูเป็นคนบ้องตื้น
  • แต่มันทำให้คุณโดดเด่นได้ถ้าใช้อย่างเหมาะสม
  • จำไว้ว่าคุณอยู่ในสงครามแย่งชิงความสนใจ

Part 3 : ภาคปฏิบัติ — ตัวอย่างเยอะมาก

  • ใช้โครงสร้างรูปแบบคงเส้นคงวา เป็นเอกลักษณ์ ด้วยเนื้อหาใหม่ “บอกสิ่งที่ฉันยังไม่รู้มาสิ”
  • จำกัดปริมาณเนื้อหาให้น้อยเข้าไว้ เอาเฉพาะสิ่งที่สำคัญ
  • อย่าให้คนอ่านต้องคิด ว่าอันไหนสำคัญ เราต้องเลือกให้
  • คนปกติอ่านได้ราว 265 คำต่อนาที ให้เปิดตัวด้วยหนึ่งสิ่งสำคัญ
  • ถ้าส่งจดหมายข่าวช่วงเช้า คนจะมีโอกาสเปิดอ่านมากกว่า
  • สไลด์หนึ่งหน้า อย่ามีเกิน 20 คำ

Email

  • ทำให้มันสั้น ตรงไปตรงมา และดูเร่งด่วน
  • แจ้งข่าวที่ต้องการ ตั้งแต่ประโยคแรกเสมอ

บอกผู้รับว่า “ทำไมมันถึงสำคัญ”

  • ใช้ Bullet ช่วยให้คนที่อ่านคร่าวๆ จับประเด็นได้
  • เน้นคำ ตัวเลข หรือชื่อที่ต้องการเพิ่มความโดดเด่น
  • ภาพประกอบที่สะอาดตา และเข้าใจง่ายช่วยขับประเด็นสำคัญให้โดดเด่น

การประชุม

  • คนส่วนใหญ่เหม่อลอยระหว่างประชุม
  • ก่อนเริ่ม : เช็คก่อนว่าต้องจัดประชุมจริงไหม กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เตือนคนเข้าร่วมล่วงหน้าวันนึง
  • ระบุเรื่องที่ต้องตัดสินใจ การกระทำ หรืองานที่ต้องมอบหมายออกมาให้ชัดเจน
  • ระหว่างประชุม : ตั้งเวลาแหว่งๆไว้ เช่น 20–25 นาที หรือ 50 นาที แล้วเปิดด้วยพาดหัวหรือวัตถุประสงค์ของการประชุม บอกทุกคนว่า ทำไมมันถึงสำคัญ ชี้แจงว่าต้องตัดสินใจเรื่องอะไรบ้าง กำหนดทิศทางให้ทุกคนจดจ่ออยู่กับเรื่องสำคัญ กระตุ้นให้คนเงียบๆได้พูด แล้วใช้เวลา 2นาทีสุดท้ายในการสรุป
  • หลังการประชุม : ส่งสรุปประชุมเป็นบุลเล็ต และมันมีจะคนที่นึกอะไรออกหลังห้องประชุมอีก
  • สิ่งที่คนมักทำพลาด : คุยเล่นจนคนคิดว่าประชุมไม่สำคัญ หรือ เชิญคนเยอะเกินไป
  • สิ่งที่ควรทำ : มาประชุมให้ตรงเวลา ขอบคุณทุกคนทีเข้าประชุมตรงเวลา ระบุให้ชัดเจนใครต้องทำอะไร

การบรรยาย

  • คุณไม่จำเป็นต้องพูดมาก เพื่อสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่
  • ทำให้ประเด็นหลัก จำได้ง่าย และฝั่งแน่นเป็นพอ
  • โครงสร้างลับ

1. อธิบายสถาณการณ์ปัจจุบัน

2. เปรียบเทียบมันกับแนวคิดในอดุคติของคุณ ซึ่งก็คือ ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ

3. พูดถึงสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจำเป็น พูดซ้ำๆ เพื่อเล่าความแตกต่าง

4. กระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ

5. จบด้วยการพรรณนาให้เห็นภาพในอุดมคติที่ชัดเจนว่า ถ้าทำตามแนวคิดของคุณแล้วจะเป็นอย่างไร

  • จงแสดงความเป็นมนุษย์ ผู้ฟังควรจดจ่อที่คุณ ไม่ใช่สไลด์ และจงฝึกกวาดตามองผู้ฟัง
  • ระบุแนวคิดหลัก ให้ชัดเจน ถ้าคุณไม่รู้ คนฟังไม่รู้หรอก พูดให้เป็นประโยคสั้นๆ
  • บอกเขาไปชัดเลยว่า อยากให้เขารู้หรือจำอะไรได้ ทำไมมันถึงสำคัญ อะไรคือหลักฐาน ชีวิตจะเปลี่ยนไปอย่างไร

การนำเสนอ

  • ทุกอย่างที่คุณนำเสนอต้องสอดคล้องและส่งเสริมประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด

1. เขียนผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาให้ชัดเจน จงคิดก่อนทำสไลด์

2. จงมองว่าสไลด์คือ ป้ายโฆษณา ใช้ตัวหนังสือให้น้อย และ เข้าใจใน 3 วินาที

3. สื่อกลางที่ดีที่สุดคือ คำพูดและรูปภาพ

4. คนจะประมวลผลได้ดีสุดเมื่อมีแค่ แนวคิดเดียว

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing