[รีวิว + สรุป] หนังสือ : Building a second brain พลังแห่งสมองที่สอง

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
4 min readMar 22, 2024

มีหนังสือไม่กี่เล่มหรอกนะ นี่อ่านแล้วทำให้เราลุกขึ้นมา Take action แบบทันที เล่มนี้คือหนึ่งในนั้น

บ่อยแค่ไหนที่คุณพยายามจดเรื่องสำคัญ แต่มันกลับหายไปจากความทรงจำอย่างง่ายดาย

รีวิว

  • พลังแห่งสมองที่สอง พูดถึงการลดภาระสมองของเรา ให้ภาระการจำไปอยู่ในสมองที่สอง จะได้ให้สมองชีวภาพของเราได้คิดและจินตนาการอย่างเต็มที่ไม่ต้องกังวลอะไร
  • ตัวหนังสือเสนอ Framework CODE ที่ใช้ในการเลือกเก็บข้อมูลและนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจ และคันไม้คันมือในการลองทำอย่างที่สุด !!
  • โดยเฉพาะพาร์ท O: Organize ที่เสนอวิธีจัดระเบียบข้อมูล Digital ในคอมเราด้วย Framework PARA ที่อ่านจบแล้วต้องหาเวลามาเรียงของใน Folder กันใหม่แทบจะทันทีเลย เพราะมันช่วยให้เราหาของเจอได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสในการหยิบของเก่ามาใช้ใหม่ได้จริง
  • ใครที่ทำงานกับข้อมูล เล่มนี้จะเป็นหนังสือที่คุณจะรักมันไปอีกนานแสนนาน

Link ย่อส่งต่อ : Bit.ly/mosbook2024-004

Shopee : https://shope.ee/8UlXlNtfS5

สรุป สำหรับคนรีบ

  • เพราะสมองเรามีขีดจำกัด เลยต้องแบ่งเบาภาระ การจำ ไปสู่สมองที่สอง (จดไว้สักที่) จะได้ไม่กังวล
  • ซึ่งเล่มนี้ใช้ Framework CODE ในการจดสิ่งที่ต่างๆ

1. Capture จับภาพ: บันทึกเฉพาะสิ่งที่น่าจดจำ อย่าจดทุกอย่าง จดเยอะไปแล้วไม่ได้ใช้ รก

a. แล้วรู้ได้ไงว่าสำคัญ ? list คำถามปลายเปิดของสิ่งที่เราอยากรู้ อยากทำ อยากเป็น ที่รอเราไปทำหรือหาคำตอบ เวลาเจออะไรใหม่ๆ ก็ถามตัวเองดูว่า มันช่วยแก้ปัญหาสิ่งที่เราสนใจช่วงนี้ได้ไหม

2. Organize จัดระเบียบ: จดเยอะหาไม่เจอ ให้ใช้เทคนิค PARA ในการจัดระเบียบ Folder

a. Projectอะไรที่กำลังทำอยู่ และมีจุดสิ้นสุดของงานอยู่ในนี้ ใช้เสร็จแล้วก็ย้ายออกจะได้ไม่รก

b. Area — อะไรที่ทำอยู่ แต่ไม่มีจุดสิ้นสุด อยู่ตรงนี้ เช่น เอกสารราชการ ไดอารี่ บันทึกการเงิน

c. Resource — อะไรที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเราในอนาคต

d. Archive อื่นๆหรือ ของที่ย้ายออกจาก 3 อันแรก แต่ไม่อยากลบทิ้งจริงๆ จะได้ย้ายออกมาไม่รก 3 อันแรก แต่ยังสบายใจที่ของยังไม่หายไปไหน

3. Distill กลั่นกรอง: จดของ ให้ตัวคุณเอาไปใช้ได้ง่ายๆ ตัดส่วนที่ชอบ > ตัวหนาสิ่งที่น่าสนใจ > ไฮไลต์สิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ตอนเรากลับมาหา จะได้ไม่เสียเวลา อย่าลืมว่า ข้อมูลจะทบๆไปเรื่อยๆ เรามีเวลาไม่กี่วิ ต่ออัน

4. Express ปล่อยของ: แบ่งปันความรู้ให้คนอื่น แชร์แล้วคุณไม่ได้โง่ลง มีแต่จะฉลาดขึ้นจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้คน

การจดแบบ CODE นอกจากช่วยจำแล้ว มันยังทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงใหม่ๆของข้อมูล เอากลับมา Reuse และต่อยอดได้ง่าย

สปอย

  • สมองคนเราไม่ได้สร้างมาให้จำทุกอย่าง และถ้าคุณพยายามจะจำอะไรสักอย่างให้ไม่ลืม คุณจะเริ่มวิตกกังวล สุดท้ายคุณก็จะลืมอยู่ดี
  • ทางเลือกที่ดีกว่า คือการโยกข้อมูลที่ต้องจำไปอยู่ที่ สมองที่สอง โดยไม่ต้องเก็บทุกรายละเอียดเอาไว้ในหัว

สมองที่สองคืออะไร ?

  • มันคือ Digital Notebook, Application, Calendar หรืออะไรที่เรา จดและค้นหาได้ง่าย เพื่อขยายความสามารถในการจดจำ
  • ภาวะข้อมูลล้น จะส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และทำให้คุณกังวลอยู่ตลอดเวลา
  • โดยเฉลี่ยเราใช้เวลา 76 ชั่วโมงต่อปี ไปกับการค้นหาบันทึก หรือ ไฟล์ ซึ่งหลายครั้งหาไม่เจอด้วย
  • ทุกนาทีที่เราเสียไปกับการหาของ เท่ากับเรามีเวลาน้องลงในการลงมือทำจริงๆ

คุณเก็บความรู้เอาไว้ที่ไหน ?

  • ความรู้ไปอยู่ตรงไหน ? ตอนที่คุณสร้างหรือค้นพบอะไรใหม่ๆ เวลาที่คุณเจอสิ่งที่น่าสนใจ หรือ สิ่งที่คุณต้องทำ
  • ความรู้ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการ ที่จดเอาไว้เพื่อเอาไปสอบแล้วก็ไม่ต้องใช้อีกหลังจากนั้น
  • ความรู้ในโลกการทำงานคือสิ่งที่ คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาไปใช้ตอนไหน หรือจะได้ใช้ไหม ต้องใช้อะไร
  • แต่เมื่อถือเวลาที่ต้องใช้ แล้วมีกับไม่มี จะสร้างความแตกต่างกันมหาศาลมาก
  • เป็นไปไม่ได้ที่จะจำทุกเรื่อง ที่น่าจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นเราเลยต้องจดเอาไว้ในสมองที่สอง เผื่อจะได้ใช้ แต่ต้องไม่เป็นภาระสมอง

ปัญหาของการจด คือ การหาที่จดเอาไว้ให้เจออย่างรวดเร็ว

  • การจด ช่วยให้คุณไม่ต้องจำเนื้อหา แต่เปลี่ยนเป็นจำว่าจดอะไรไว้ที่ไหนแทน
  • ซึ่งก็ยังยากอยู่ดี ดั้งนั้น วิธีการจด จึงเข้ามามีบทบาท

สมองที่สองทำงานอย่างไร

1. พัฒนาความคิดของเราให้เป็นรูปธรรม

  • เราจำเป็นต้อง ‘ขนถ่าย’ มันออกมาจากหัวและทำให้เป็นรูปธรรม
  • ความคิดซับซ้อน จะต้องถูกแบ่งๆเป็นส่วนๆและจดเป็นคำพูด ที่อ่านได้ เรียบเรียงให้เข้าใจได้

2. เผยรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างความคิดต่างๆ

  • การทำงานสร้างสรรค์คือการเชื่อมโยงแนวคิดหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะแนวคิดที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย
  • คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เขาแค่เห็นความเชื่องโยงนี้ได้ดีกว่าคนทั่วไป

3. บ่มเพาะความคิดเมื่อเวลาผ่านไป

  • สมองเราไม่ได้หยิบไอเดียที่ดีที่สุดมาใช้ แต่หยิบไอเดียที่นึกได้ตอนนั้น
  • เวลาประชุม ก็เลยได้แต่ไอเดียที่นึกได้ตอนนั้น และพลาดโอกาสหยิบไอเดียดีๆมาใช้
  • อันนี้เรียกว่า อคติจากความใหม่

4. ลับมุมมองอันเป็นเอกลักษณ์ให้เฉียบคม

  • ไอเดียที่ถูกจดลงไป จะมีเวลาให้เราได้ตีความ ไม่ใช่แค่ข้อมูลเฉยๆ

Application จดโน้ตที่มีอยู่ในตลาด

  • จริงๆมีเยอะ ใช้อันไหนก็ได้ เช่น OneNote, Keep, Notes, Notion หรือแม้แต่กระดาษ
  • ขอแค่จด Multimedia ได้ ไม่ต้องเป็นทางการมากเปิดใช้ง่าย เป็นปลายเปิดจดหลายๆรูปแบบได้
  • ไม่ต้องเน้นแม่นยำ เน้น สืบค้น แบ่งปัน สำรองข้อมูล แก้ไข เชื่อมโยง sync ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ได้

อย่าไปยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ ไม่มีแอปไหนดีครบหรอกนะ

เริ่มต้นสร้างสมองที่สองเพื่อ..

1. จดจำ กันไม่ให้ลืม

2. เชื่อมโยง ความคิดเข้าด้วยกัน

3. สร้างสรรค์ สิ่งใหม่

เทคนิคการจดบันทึกแบบ CODE

1. Capture เลือกเก็บข้อมูลที่โดนใจ

  • เราไม่สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างได้ ถ้าฝืนทำก็จะหมดแรงเพราะข้อมูลล้น
  • ให้เก็บเฉพาะข้อมูลที่เราเห็นว่ามีค่าสำหรับคุณจริงๆเท่านั้น แล้วปล่อยส่วนที่เหลือออกไป
  • การเก็บข้อมูลที่สำคัญจนเป็นนิสัย จะส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ให้เราไม่กังวลว่าจะลืม และทำให้เราเลือกที่จะบริโภคข้อมูลและปล่อยวางสิ่งที่เหลือ

2. Organize จัดระเบียบเน้นใช้งาน

  • ให้จัดข้อมูล เพื่อใช้งาน ไม่ใช่เก็บเพื่อเก็บ
  • ดูตาม Project ที่เรากำลังทำอยู่

“สิ่งนี้จะช่วยให้เราขับเคลื่อนโครงการที่ทำอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไร”

3. Distill กลั่นกรองหาแก่นสำคัญ

  • ตอนกลับมาอ่านสิ่งที่จด คุณไม่ได้มีเวลาขนาดนั้นหรอก
  • ทุกครั้งที่จดบันทึก ให้ถามตัวเองว่า “ฉันจะทำให้สิ่งนี้มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับตัวฉันเองในอนาคตได้อย่างไร”
  • อย่ามองตัวเองเป็นแค่คนจด แต่เป็นคนส่งมอบ บันทึกนี้

4. Express นำเสนอผลงานของคุณ

  • ความรู้จะมีไว้ทำไมมันไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อใคร หรือช่วยผลิตสร้างสิ่งใดขึ้นมาเลย
  • เหมือนศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ทุกอย่างที่มี แต่กลับไม่เคยชสนใครออกเดต

ไม่มีความจำเป็นต้องรอจนพร้อมแล้วค่อยเริ่ม

Capture — เลือกเก็บเฉพาะสิ่งสำคัญ

ทุกอย่างที่ไม่ได้บันทึกจะสูญหาย

  • สวนจะสวยงามได้ก็ต่อเมื่อมีเมล็ดพันธุ์ที่ดี เราจึงต้องเริ่มต้นด้วยการนำแนวคิดที่น่าสนใจที่สุด มาเพาะลงในสวน
  • ต้นไหนตาย หรือ ไม่เหมาะกับยุคแล้ว ก็ต้องเอาออก

คนส่วนใหญ่ ตัดใจลบไฟล์ทิ้งไม่ลง ซึ่งนั่นไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น

  • สินทรัพย์ความรู้ คืออะไรก็ตามที่สามารถเก็บไปใช้ในอนาคตเพื่อแก้ปัญหา ประหยัดเวลา อธิบายแนวคิด หรือมอบบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีต
  • การเขียนสิ่งต่างๆออกมา ก็ถือเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยประดิษฐ์ขึ้น

ต้องเก็บอะไรบ้าง ?

  • สิ่งที่เราควรเก็บ คือสิ่งที่เรามีโอกาสได้ใช้ในอนาคต
  • เราอาจจะตั้งคำถามปลายเปิด ที่ยังไม่มีคำตอบ ซึ่งเป็นคำถามที่สำคัญกับชีวิตคุณในช่วงนั้น
  • ซึ่งอาจจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาได้ มาเช็คทุกเดือน / ปีก็ได้นะ
  • แล้วก่อนจะเก็บ ก็ลองตอบตัวเองว่า ของชิ้นนี้ช่วยตอบปัญหาข้อไหนได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ทิ้งไป แปลว่าไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจ

ตัวอย่าง ปัญหาโปรด 12 ข้อ

1. ทำอย่างไรฉันจึงจะเลิกจมจ่อมกับอดีตแล้วหันมาอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น

2. ฉันจะสร้างกลยุทธ์การลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะกลางและระยะยาวได้อย่าง

3. จะเป็นอย่างไรถ้าเราหยุดบริโภคแบบไร้สติแล้วหันไปสร้างสรรค์อย่างมีสติ

4. ทำอย่างไรฉันจึงจะเข้านอนได้เร็วขึ้นแทนที่จะนั่งดูรายการทีวีหลังจากลูกหลับไปหมดแล้ว

5. ทำอย่างไรกิจการของฉันจึงจะมีความยั่งยืนทางนิเวศวิทยามากขึ้นพร้อมกับ ที่ยังคงทำกำไรได้อยู่

6. ฉันจะฝ่าฟันความกลัวที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นได้อย่างไร

7. โรงเรียนของฉันจะช่วยจัดหาทรัพยากรเพิ่มเติมให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างไร

8. ทำอย่างไรฉันจึงจะเริ่มอ่านหนังสือทั้งหลายที่ซื้อมาแล้ว แทนที่จะซื้อเพิ่ม

9. ทำอย่างไรฉันจึงจะเร่งมือและผ่อนคลายได้ในเวลาเดียวกัน

10. เราจะทำให้ระบบสาธารณสุข ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากขึ้นได้อย่างไร

11. ฉันต้องทำอย่างไรจึงจะกินอาหารเพื่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น

12. ทำอย่างไรฉันจึงจะตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

  • ลองคิดคำถามของคุณเองขึ้นมา จะเป็นเรื่องงาน เงิน สุขภาพ ความสัมพันธ์ อยากรู้เฉยๆ ก็ได้ กี่ข้อได้
  • ใช้คำถามปลายเปิดนี้ ช่วยตัดสิน ว่าควรเก็บอะไรบ้าง

เกณฑ์การเก็บ : ไม่มากไม่น้อยเกินไป

  • ถ้าคุณเจอบทความโคตรดี อย่าเก็บทั้ง link หรือ Bookmark เอาไว้ เพราะสุดท้ายคุณจะไม่ได้กลับมาอ่าน เพราะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าข้างในอะไร อย่าว่าแต่ดีไม่ดีเลย
  • อ่านจนจบเลยดีไหม ? ถ้าแค่นั้น จะเสียเวลาเพราะสุดท้ายก็จะลืม
  • คุณค่าของบทความ ไม่ได้เท่ากันทั้งหมด ให้เลือกเก็บแค่ บางข้อความเท่านั้น

1. สิ่งนั้นสร้างแรงบรรดาลใจให้เราได้ไหม ?

2. สิ่งนั้นมีประโยชน์ไหม

3. สิ่งนั้นเกี่ยวกับเราไหม

4. สิ่งนั้นเป็นเรื่องน่าประหลาดใจไหม ?

  • ตัดมาบางส่วน แล้วเก็บแหล่งที่มาเอาไว้ด้วยจะดีมาก
  • วินาทีที่คุณเจอของดี สมองไม่มีเวลาคิดให้รอบคอบหรอก คุณควรเก็บมันเอาไว้ก่อนจะได้ไม่ลืม พักเอาไว้สักที่ก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยตีความ จัดระเบียบ
  • เมื่อมีสมองที่สอง เราก็ไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อทุกไอเดียในทันที เราจะได้ซึมซับข้อมูลใหม่อย่างช้าๆและรวมเข้ากับความคิดเราโดยไม่มีอะไรมากดดัน
  • สิ่งสำคัญคือ ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องเก็บเยอะ

Organize — จัดระเบียบแบบเน้นใช้งาน

  • ทำให้เรียบง่ายเข้าไว้ จะได้หาเจอ
  • การจัดแบบแยกตามโครงการ คือวิธีที่ธรรมชาติที่สุดที่ช่วยให้บริหารข้อมูลโดยไม่ต้องพยายามมาก

PARA method

  • มีคำถามข้อเดียวที่คุณต้องถามก่อนเก็บ

“ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการไหนมากที่สุด”

  • อย่ากังวลเรื่องความสมบูรณ์แบบมากเกินไป มันย้ายทีหลังได้

1. Project — ภารกิจระยะสั้นที่มีจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว

2. Area — ความรับผิดชอบระยะยาวที่คุณต้องค่อยๆ จัดการไป ไม่มีจุดสิ้นสุดชัดเจน เช่น บันทึกการเงิน การพัฒณา product

3. Resource — สิ่งที่น่าจะมีประโยชน์ต่อเราในอนาคต

4. Archive — เนื้อหาที่ไม่ใช้แล้วจากสามอันข้างบน แต่เผื่อสักวันจะได้ใช้

เปรียบเทียบ อันไหน Project อันไหน Area

  • ลดนำหนัก 5 กิโลกรัม / สุขภาพ
  • ตีพิมพ์หนังสือ / งานเขียน
  • ประหยัดเงิน 3 เดือน / การเงิน
  • สร้างแอปจำลอง / ออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ทำแบบฟอร์มสัญญา / กฏหมาย

วินาทีแรกที่ได้ข้อมูลมา

  • เรายังไม่รู้วัตถุประสงค์ของมันจริงๆหรอก ว่าสุดท้ายจะเอาไปใช้อะไร
  • ให้แยกขั้นตอนการเลือกเก็บข้อมูล กับ การจัดระเบียบข้อมูล ออกจากกัน
  • เก็บก่อน จัดทีหลัง อย่าจัดทันที ให้เอาข้อมูลไปอยู่ในพื้นที่พักคอย ก่อน แล้วค่อยหาเวลาจัด

จัดระเบียบข้อมูลเหมือนจัดห้องครัว

  • อย่าจัดตามแหล่งที่มา ให้จัดตามแหล่งที่ไป
  • คิดดูว่าจะลำบากแค่ไหน ถ้าจัด ผลไม้สด ผลไม้แห้ง น้ำผลไม้ ผลไม้แช่แข็งอยู่ในที่เดียวกัน เพียงเพราะมันทำมาจากผลไม้

คำแนะนำสำหรับคนที่ทำมาก่อน

  • สมองต้องการพื้นที่โล่งๆ จึงจะทำงานสร้างสรรค์ได้
  • สิ่งสำคัญจริงๆ อยู่ที่การได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และได้เผยแพร่อออกไป
  • การการงานถึก เน้นอยู่ดึกเข้าสู้ ไม่ใช่หนทางแห่งความสำเร็จ แต่เป็นหนทางแห่งการหมดไฟ
  • หาทางที่มีแรงต้านน้อยที่สุดและเดินหน้าทีละก้าวเล็กๆ
  • ถามตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่ง่ายที่สุด เล็กน้อยที่สุด ที่ฉันจะทำได้เพื่อก้าวไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง”
  • ถ้าจะเริ่มทำ PARA เริ่มจาก Project อย่างเดียวก่อนก็ได้ เอาของใหม่ก่อน แล้วทุกครั้งที่ทำโครงการเสร็จ ค่อยย้ายไปที่ Archive แล้ว นานๆที่กลับเข้ามาดูว่า มีอะไรเอาไปใช้ใหม่ได้บ้าง
  • จัด Folder ทำงานให้โล่งเข้าไว้

Distill — กลั่นกลองหาแก่นสำคัญ

เพื่อให้เกิดความรู้ จงเติมบางสิ่งเข้าไปทุกวัน

เพื่อให้เกิดปัญญา จงขจัดบางสิ่งออกไปทุกวัน

ถ้าคุณไม่สามารถหาข้อมูลหนึ่งๆ เจอในเวลาอันรวดเร็วในรูปแบบที่สะดวกและพร้อมใช้งานแล้ว คุณก็อย่าไปมีข้อมูลนั้นเลยเสียดีกว่า ทรัพยากรที่เราขาดแคลนมากที่สุดคือเวลา เราต้องให้ความสำคัญกับการค้นหาไอเดียให้เจอ

  • บันทึกของเราเป็นของที่ต้องนำออกมาใช้ ไม่ใช่ของสะสม ตอนที่จะเอาออกมาใช้ อาจจะมีเวลาแค่ไม่กี่วินาทีในการหา อ่าน และทำความเข้าใจ
  • มีโอกาสแค่ไหนที่คุณจะเอาสิ่งที่คุณจดเมื่อนานมาแล้ว ไปใช้งานได้ในทันที ?
  • ความสามารถในการถูกค้นพบ — ข้อต่อที่หายไปในการทำให้บันทึกมีประโยชน์
  • ถ้าของหายาก ไม่คุ้มที่จะกลับไปอ่าน คุณก็จะไม่อ่าน ยิ่งเก็บเยอะยิ่งหายาก
  • จงกลั่นสารของคุณให้เหลือเพียงประเด็นหลัก

Progressive Summarization — การทำสรุปแบบก้าวหน้า

  • ถ้าคุณเจอ บทความใน link ที่น่าสนใจ อย่าเก็บแค่ link ให้คุณ

1. บันทึกส่วนที่น่าสนใจ — เลือกเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดของบทความ

2. ทำข้อความตัวหน้า — ใจความสำคัญ

3. ทำข้อความ ไฮไลต์ — จุดที่น่าสุดใจเป็นพิเศษ

4. บทสรุปผู้บริหาร — สำหรับบางเนื้อหาทาที่คุ้มค่าเวลาในการลงมือสรุป

  • การเก็บแต่ประโยคที่เราสนใจ มีความเสี่ยง กังวล และอาจจะสงสัยในบริบท แต่การทำสรุปแบบก้าวหน้าจะยังเก็บทั้งย่อหน้า และอ่านได้ไวๆ ผ่านตัวหน้า ไฮไลต์ ไม่มีอะไรถูกลืมหรือถูกลบ รวมถึงแปะแหล่งที่มาได้ด้วย

3 ข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อย

1. เน้นมาเกินไป เมื่อทุกอย่างสำคัญ จึงไม่มีอะไรสำคัญ ถ้าจะเก็บทุกอย่าง อย่าเก็บอะไรเลยดีกว่า ไม่เสียเวลา ข้อความแต่ละชั้นไม่ควรเกิน 20% ของชั้นก่อนหน้า บทความที่เลือกมา > 20% ตัวหน้า > 20% ไฮไลต์

2. เน้นโดยไม่มีจุดประสงค์ คุณควรเน้นเมื่อจะลงมือทำอะไรสักอย่าง รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ไม่งั้นคุณจะเสียเวลาเปล่า บันทึกแต่ละชิ้นอาจไม่มีวันได้ใช้ประโยชนต์เลย ต้องทำเมื่อคุ้มค่า

  • เมื่อคุณบันทึกอะไรสักอย่าง ควรทำให้มันมีโอกาสถูกค้นเจอมากขึ้นอีกสักนิด

3. ทำให้การเน้นเป็นเรื่องยาก — จงพึ่งสัญชาตญาณ

  • ความสามารถในการสื่อสารให้สั้น กระชับโดยไม่ทิ้งรายละเอียดสำคัญไป ก็คือปัจจัยที่ช่วยให้บทสนทนา น่าตื่นเต้น

Express — นำเสนอผลงานของคุณ

  • อุปสรรคที่สำคัญที่สุด คือความกลัวว่า ผลงานหรือข้อมูลของเราจะไม่ดีพอ
  • เคล็ดลับคือ อย่ารอจนกว่าจะพร้อมแล้วค่อยแบ่งปัน
  • คุณต้องนำเสนอไอเดียตั้งแต่เนิ่นๆ และทำบ่อยๆ เพื่อทดสอบว่าสิ่งใดใช้ได้ผล รวมถึงรับ Feedback จากผู้อื่น

วิธีปกป้องทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของคุณ

  • สมาธิ นับเป็นทรัพยากรที่หายากและล้ำค่ามากที่สุด
  • ใน 24 ชั่วโมงแต่ละวันของคุณ จะมีเวลาที่คุณจดจ่อได้มากแค่ไหนกัน
  • หาเวลาก้อนใหญ่เป็นชั่วโมง ยิ่งหายากเลย

พลังแห่งการคิดเล็ก

  • เป็นไปได้ยากที่จะหา 4 ชั่วโมงติดกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่ง
  • จงแบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ และหาระบบมาคอยจัดการ ให้เราดูแลงานได้ครบทุกชิ้น
  • ทำงานเหมือนต่อ เลโก้ งานแต่ละชิ้น อาจจะเอาไปประกอบกับของเก่า ทำให้เสร็จไวขึ้น อย่าเริ่มจากศูนย์
  • พอทำเสร็จแล้ว ชิ้นนี้อาจะเก็บไปต่อยอดงานใหม่ ในอนาคตได้ด้วย จะได้ไม่เสียแรงเปล่า

คิดให้เล็ก และ ทำให้นำไปใช้ซ้ำได้

วิธีค้นให้เจองานเก่าและนำกลับมาใช้ใหม่

1. Search ค้นหา — ควรเป็นวิธีแรกที่คุณใช้ ฝึกใช้เทคโนโลยีการค้นหาใหม่ๆ

2. ไล่ดูทีละชิ้น — ถ้าคุณจัดแบบ PARA ไว้แล้ว คุณน่าจะเพิ่มโอกาส การเจอของได้ง่ายขึ้น

3. ติด Tag — เพื่อสร้างความเชื่อมโยงเอาไว้ทั่ว สมองที่สองของคุณ แต่ ไม่ต้องทำทุกชิ้นก็ได้นะ เพราะมันกินเวลามาก

4. อาศัยโชค — เพิ่มโชคด้วยการใส่รูปภาพ เล่าไอเดียให้คนอื่นฟังบ่อยๆ

เนื้อแท้ของความคิดสร้างสรรค์ คือการทำงานร่วมกัน

  • คุณควรจะแบ่งปัน และรับ Feedback กลับเข้ามาเพื่อปรับปรุงสิ่งที่คุณกำลังสร้าง
  • การยืมสายตาคนอื่นมามองให้เห็นสิ่งที่คนนอกเท่านั้นจึงจะเห็น คือการก้าวออกไปนอกมุมมองส่วนตัว แล้วสังเหตุให้พบจุดบกพร่อง

จุดเปลี่ยนคือการลงมือทำ

  • ขั้นตอนทั้งหมดของ CODE ออกแบบมาเพื่อเป้าหมายเดียวคือ ช่วยให้คุณใช้เครื่องมือดิจิทัลทำงานแทน
  • แล้วสมองที่หนึ่งซึ่งไม่สมบูรณ์แบบแต่คิดสร้างสรรค์ได้ไม่สิ้นสุดของคุณจะได้ทำสิ่งที่ถนัดที่สุด คือใช้จินตนาการ ประดิษฐ์คิดค้น สร้างนวัตกรรม สร้างสรรสิ่งต่างๆ
  • การสร้างสมองที่สอง จริงๆคือการสร้างมาตราฐาน

กระบวนการสร้างสรรค์ แตกออกและรวมเข้า

  • ช่วงแตกออก : Capture + Organize รวมของให้เยอะที่สุด สำรวจทุกความเป็นไปได้ ในกรอบเวลาหนึ่งๆ
  • ช่วงรวมเข้า : Distill + Express หยุดรับข้อมูลใหม่ โฟกัสไปที่การตัดออกให้เหลือแค่สิ่งที่ดีที่สุด ไม่วอกแวก

หมู่เกาะแห่งไอเดีย

  • เวลาเริ่มงานใหม่ อย่าเริ่มจากศูนย์ ให้ไปเอาของเก่า มาขึ้นโครง

สะพานเฮมิงเวย์

  • เก็บพลังงานเมื่อวานมาใช้ผลักดันวันนี้
  • ให้หยุดพักงานตอนที่ รู้ว่าต้องทำอะไรต่อชัดเจน แทนที่จะทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดพลังและคิดอะไรไม่ออก
  • ครั้งต่อไปที่มาทำจะได้เริ่มได้เลย
  • เผื่อเวลาสองสามนาทีสุดท้าย จดว่า ขั้นต่อไปทำอะไร สถาณะปัจจุบันทำถึงไหน อะไรที่กลัวลืม

ลดขอบข่ายงาน

  • อย่ารอฉลองตอนส่งมอบงานชิ้นใหญ่
  • ให้แบ่งเส้นชัยย่อยๆ ให้ทุกวันได้มีโอกาสทำงานเสร็จ แบ่งเฟส แบ่งเวอร์ชั่น
  • จริงๆ คุณอาจไม่ต้องทำทุกอย่างก็ได้ เมื่อแบ่งของเป็นชิ้นเล็กๆ จะเห็นว่าอะไรสำคัญ อะไรไว้ทำทีหลังได้ อะไรไม่ต้องทำก็ได้
  • ถามตัวเองว่า “ฉันจะทำงานนี้ออกมาให้เล็กที่สุดได้แค่ไหน เพื่อที่จะเอาไปขอ Feedback ที่มีประโชน์จากคนอื่น”
  • ชะลอการตัดสินใจเรื่องยากที่สุดออกไปก่อน บันทึกเรื่องที่คุณได้เรียนรู้หรือค้นพบไว้ด้วย

นิสัยที่จำเป็นของนักจัดระเบียบข้อมูล

  • นิสัยช่วยลดภาระด้านการรู้คิด คุณจึงหันไปทุ่มเทสมาธิกับงานอื่นๆได้
  • นิสัยช่วยลดความเครียดลงไปได้มหาศาลเพราะไม่ต้องคอยกังวลว่าเรามาถูกทางหรือเปล่า
  • นิสัยการจัดระเบียบทางดิจิทัล เหมือนร้านอาหาร ที่ทุกคนต้องดูแลพื้นที่ของตัวเองให้สะอาดเสมอ ไม่รอจนร้านผิดแล้วค่อยทำความสะอาดทีเดียว
  • ให้การจัดระเบียบเป็นหนึ่งในขั้นตอนซ้ำๆโดยอัตโนมัติ

3 นิสัยที่สำคัญต่อสมอง

1. ทำ Checklist — จะได้ไม่ต้องจำว่าต้องทำอะไรบ้างระหว่างวัน ทั้งก่อนเริ่มโรงการและหลังจบโครงการ

  • ขีดฆ่าหลังทำเสร็จ ถ้าล้มเหลว มันเกิดอะไรขึ้น ผมต้องเรียนรู้
  • ถ้าไม่มีความเคลื่อนไหว ให้เพิ่มสถาณะปัจจุบัน และคำอธิบายเอาไว้ จากนั้น ย้ายมันไปที่อื่น จะได้ไม่รก

2. ทบทวนรายสัปดาห์และรายเดือน — ทวนทวนสิ่งที่คุณทำ ให้สั้นกระชับและสื่อถึงเนื้อหาข้างใน

3. ช่างสังเกต — ใช้สมองเพื่อสร้างโชค

เมื่อศักยภาพไม่ถูกจำกัดด้วยคอขวดทางชีววิทยา คุณก็มีอิสระ

  • ความรู้มีไว้แบ่งปัน เราจะรู้อะไรสักอย่างไปทำไม ถ้าความรู้นั้นไม่ได้ช่วยสร้างผลเชิงบวกแก่ใครแม้แต่ตัวเราเอง
  • ความรู้เป็นทรัพยากรชนิดเดียวที่ แบ่งปันแล้ว คุณค่าไมได้ลดลง แถมจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นเมื่อกระจายออกไป (มีโอกาสได้และเปลี่ยนได้รับกลับมาด้วย)

วิธีปฏิบัติ 12 ขั้นตอนหลังอ่านจบ

1. ตัดสินใจว่าคุณอยากเก็บอะไร

2. เลือกแอปจดโน้ตที่ถูกใจ

3. เลือกเครื่องมือเก็บข้อมูล

4. เริ่มต้นด้วย PARA

5. ตั้งปัญหาโปรด 12 ข้อไว้เป็นแรงบันดาลใจ

6. เก็บข้อความไฮไลต์ใน e-book อัตโนมัติ

7. ฝึกทำ สรุปแบบก้าวหน้า

8. ทดลองกับ Project อันเดียวก่อน

9. ผลักดันผลงานจับต้องได้สักชิ้นให้คืบหน้า

10. จัดวันทบทวนรายสัปดาห์

11. ประเมินประสิทธิภาพในการจัดบันทึกของคุณ

12. เข้าร่วมชุมชนนักจัดการความรู้ส่วนบุคคล

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing