[รีวิว + สรุป] หนังสือ : Guns, Germs, and Steel | ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
7 min readJun 7, 2024

“ทำไมความเจริญรุ่งเรืองถึงกระจายไม่เท่าเทียมกันในโลก?”

รีวิว

  • หนังสือเล่มนี้เน้นการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบและวิทยาศาสตร์ ทำให้เราเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบต่างๆ ที่ทำให้โลกในปัจจุบันเป็นอย่างที่เป็น
  • คนเขียนถามคำถามที่เราไม่เคยคิดจะถามมาก่อน แล้วเมื่อรู้คำถามแล้วก็ไม่อยากวางหนังสืออีกเลย โดยหนังสือเล่มนี้พยายามจะสรุปประวัติศาสตร์ที่เป็นของที่คนในช่วง 13,000 ปีที่ผ่านมา
  • เห็นเล่าหนาๆ คนเขียนใจดีแบ่งเป็น 20 บทให้ ซึ่งบทนึงราวๆ 30 หน้า กำลังสนุก

อ่านแบบยาวๆได้ที่ Bit.ly/mosbook2024-012

สรุป

Part One: From Eden to Cajamarca

1. Up to the Starting Line

  • อธิบายถึงการเริ่มต้นของมนุษยชาติและการกระจายของมนุษย์จากแอฟริกาไปยังส่วนต่างๆ ของโลก

2. A Natural Experiment of History

  • เปรียบเทียบการพัฒนาของชาวมาวรี (Maori) และชาวโมริโอริ (Moriori) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสภาพแวดล้อมในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

3. Collision at Cajamarca

  • เล่าถึงการพบกันระหว่างชาวสเปนและอินคาที่ Cajamarca ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีและโรคในความสำเร็จของผู้พิชิตยุโรป

Part Two: The Rise and Spread of Food Production

4. Farmer Power

  • อธิบายว่าการเกษตรนำไปสู่การสร้างสังคมที่มีความซับซ้อนและอำนาจมากขึ้นได้อย่างไร

5. History’s Haves and Have-Nots

  • วิเคราะห์ว่าทำไมบางภูมิภาคจึงมีการเกษตรที่พัฒนาและผลิตผลมากกว่าภูมิภาคอื่น

6. To Farm or Not to Farm

  • สำรวจเหตุผลที่บางกลุ่มคนเลือกทำการเกษตรและบางกลุ่มไม่เลือกทำ

7. How to Make an Almond

  • อธิบายกระบวนการทำให้พืชป่าเปลี่ยนไปเป็นพืชเกษตรที่สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้

8. Apples or Indians

  • เปรียบเทียบการเพาะปลูกพืชในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น เมโสอเมริกาและตะวันออกกลาง

9. Zebras, Unhappy Marriages, and the Anna Karenina Principle

  • วิเคราะห์ว่าทำไมสัตว์บางชนิดสามารถเลี้ยงในบ้านได้และสัตว์บางชนิดไม่สามารถเลี้ยงได้

Part Three: From Food to Guns, Germs, and Steel

10. Spacious Skies and Tilted Axes

  • อธิบายว่าการกระจายของการเกษตรไปในทิศทางตะวันออก-ตะวันตกง่ายกว่าไปในทิศทางเหนือ-ใต้เนื่องจากภูมิอากาศและช่วงเวลาของฤดูกาล

11. Lethal Gift of Livestock

  • อธิบายว่าโรคระบาดที่มาจากสัตว์เลี้ยงมีบทบาทสำคัญในการล่มสลายของสังคมต่างๆ

12. Blueprints and Borrowed Letters

  • วิเคราะห์การพัฒนาและการกระจายของการเขียนและภาษาในสังคมต่างๆ

13. Necessity’s Mother

  • อธิบายถึงบทบาทของนวัตกรรมและการประดิษฐ์ในประวัติศาสตร์มนุษย์

14. From Egalitarianism to Kleptocracy

  • อธิบายว่าทำไมและอย่างไรสังคมมนุษย์เปลี่ยนจากสังคมที่เท่าเทียมไปสู่สังคมที่มีการควบคุมและการกดขี่

Part Four: Around the World in Five Chapters

15. Yali’s People

  • สำรวจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของประชากรในปาปัวนิวกินี

16. How China Became Chinese

  • วิเคราะห์ว่าทำไมและอย่างไรจีนจึงกลายเป็นสังคมที่รวมศูนย์และมีวัฒนธรรมเดียวกัน

17. Speedboat to Polynesia

  • อธิบายการกระจายของประชากรและวัฒนธรรมในแปซิฟิก

18. Hemispheres Colliding

  • วิเคราะห์ผลกระทบจากการพบกันของโลกใหม่และโลกเก่าหลังจากการค้นพบอเมริกา

19. How Africa Became Black

  • สำรวจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของประชากรในแอฟริกา
  1. “Who are the Japanese?”
  • สำรวจถึงประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดของประชากรญี่ปุ่น

เหตุใดประวัติศาสตร์โลกจึงเปรียบเสมือนหอมหัวใหญ่ ,

  • หนังสือส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์โลกมักมุ่งเน้นที่ยุโรป-เอเชีย กับแอฟริกาเหนือที่มีลายลักษณ์อักษรแล้วเป็นหลัก ช่วง 3000 ปี ก่อนคศ
  • ซึ่งการพูดถึงแค่ วงแคบๆ แบบนั้นมีข้อด้อยด้วยกัน 3 อย่างคือ

1) ทุกวันนี้เราให้ความสนใจประเทศอื่นๆแล้ว และ ประเทศอื่นๆก็ไม่ได้ด้อยพัฒนาแล้ว

2) ประวัติศาสตร์วงแคบ ไม่อาจให้คำตอบที่ลึกซึ้ง และเป็นการไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่าสังคมอื่นๆ เหมือนกันไปหมด จนกระทั่ง 3000 ปีก่อนคศ

3) ประวัติศาสตร์ที่เน้นยูเรเชีย มองข้ามคำถามสำคัญไปข้อนึงคือ เหตุใดสังคมเหล่านั้นจึงมีอำนาจต่างจากสังคมอื่นๆ

  • ทำไมลัทธิขงจื๊อจึงไม่พัฒนาในยุโรป แล้วทำไม ยิว-คริสเตียน ไม่พัฒนาขึ้นในจีน
  • ประวัตศาสตร์โลกจึงเหมือนหัวหอมใหญ่ที่ถูกบอกเล่าเพียงแค่เปลือกนอกที่มีแต่โลกสมัยใหม่ ห่อหุ้มอยู่ และหนังสือเล่มนี้จะลอกกลีบหัวหอมนั้นออกมา

คำถามของยาลี วิถีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก

  • เรารู้แล้วว่าประวัติศาสตร์ของคนแต่ละกลุ่มในส่วนต่างๆของโลก ดำเนินไปในวิถีที่แตกต่างกันมาในช่วง 13,000 ปี นับตั้งแต่สิ้นยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย
  • ปี 1972 เราได้เจอกับ ยาลี บนเกาะนิวกีนี เมื่อ 2 ศตวรรษก่อน ชาวนิวกินียังคงใช้ชีวิตแบบยุคหินจนกระทั่งการมาของนักล่าอนานิคมผิวขาว พวกเรารู้ดีว่าอย่างน้อยชาวนิวกินีทั่วไปก็ฉลาดพอๆ กับชาวยุโรป แต่นั่นเป็นสิ่งที่คาใจ ยาลี มากว่า

ทำไมพวกคนขาวอย่างคุณจึงพัฒนาสินค้าได้มากมายแล้วส่งมานิวกินี ในขณะที่พวกเราคนผิวดำมีสินค้าของตัวเองไม่กี่อย่างเท่านั้น

  • ทำไมอำนาจและความมั่นคงถึงกระจายตัวเป็นในรูปแบบปัจจุบัน ทำไมไม่เป็นแบบอื่น
  • ก่อน 11,000 ปีก่อนคศ มนุษย์ใช้ชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาของป่าเหมือนๆ กัน จนกระทั่ง ถึงปี 11,000 ก่อน คศ จนถึง คศ 1,500 นั่นเองที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทั้ง ทางเทคโนโลยีและการเมือง
  • ภาษาที่เคยมีมากมายก็เริ่มเหลือภาษายอดนิยมไม่กี่ภาษา
  • มีเหตุผลง่ายๆสองข้อที่ช่วยยืนยันว่าชาวนิวกินีฉลาดกว่าชาวยุโรป

1) การคัดเลือกทางธรรมชาติน่าจะพรากคนโง่ ของชาว นิวกินีไปหมดแล้ว ในขณะที่ชาวยุโรป คนโง่ยังคงได้สืบพันธุ์ต่อ

2) ชาวยุโรปเสียเวลาไปกับสิ่งบันเทิงจำนวนมาก

  • แต่ทำไมชาวยุโรปยังคงพัฒนาได้มากกว่า? บางทีสภาพอากาศที่หนาวเย็นบังคับให้มนุษย์ต้องประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ?
  • แต่สภาพอากาศแบบนั้นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอารยธรรม จนกระทั่ง 1,000 ปีก่อน
  • คำอธิบายอีกอันหนึ่งที่ใช้กันคือ ปัจจัยเฉพาะหน้าที่ทำให้ชาวยุโรปคร่าชีวิตหรือมีชัยเหนือผู้คนกลุ่มอื่นๆ คือ อาวุธปืน โรคติดต่อ และเครื่องมือโลหะ

แล้วทำไม อาวุธปืนถึงไม่เกิดขึ้นที่ แอฟฟริกาหล่ะ ! ทั้งๆที่พัฒนามาก่อนชาวบ้านเขาเลย

ภาคหนึ่ง จากอีเดนสู่กาฆามาร์กา

บทที่1 ก่อนถึงจุดตั้งต้น : เกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละทวีปก่อนถึง 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

  • ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มต้นที่แอฟริกาเล่า เจ็ดล้านปี ก่อน ในช่วงนั้นลิงหางสั้นได้แยกออกเป็นหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นมีวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์
  • ปัญหาทางโบราณคดีมักใช้เวลานานหลายทศวรรษกว่าที่นักโบราณคดีจะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ โดยมีสิ่งเดียวในด้านวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของเราที่สามารถกล่าวถึงด้วยความมั่นใจก็คือการใช้ประโยชน์จากไฟ ราวห้าแสนปีก่อน
  • ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่แท้จริงก็เริ่มขึ้นหรอกห้าหมื่นปีก่อน เป็นยุคการเติบโตแบบก้าวกระโดด
  • การมีกล่องเสียงที่สมบูรณ์และพื้นฐานทางสรีระสำหรับภาษาสมัยใหม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความคิดหรือความสามารถในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ แม้ว่าขนาดสมองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยก็ตามสิ่งนี้เอง ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถพัฒนาภาษาสมัยใหม่ได้สำเร็จ
  • มีประเด็นคำถามมากมายเกี่ยวกับมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ว่าการวิวัฒนาการนะเป็นไปแบบคู่ขนานหรือมาจากจุดเริ่มต้นจุดเดียว ซึ่งเรายังไม่มีคำตอบในประเด็นนี้
  • เราได้เริ่มเดินทางไกลข้ามทะเลครั้งแรกราว 40,000 ปีก่อนโดยข้ามไปที่ออสเตรเลียและนิวกินี ซึ่งเป็นการเดินทางออกจากทวีปใหญ่อย่างยูเรเชียเป็นครั้งแรก
  • หลังจากนั้นเราก็ได้สัมผัสการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นครั้งแรกโดยสัตว์ขนาดใหญ่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งหมด เหตุผลอาจจะมาจากการที่มนุษย์ฆ่าพวกมันเองหรือต้องตายจากผลกระทบทางอ้อมจากการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
  • สัตว์ขนาดใหญ่ในแอฟริกามีชีวิตรอดมาได้เพราะว่า พวกมันมีเวลามากพอที่จะพัฒนาความรู้สึกกลัวขึ้นมา ในขณะที่บรรพบุรุษของเรากำลังค่อยๆพัฒนาทักษะการล่าขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย
  • มนุษย์ไม่มีเทคโนโลยีรับมือกับความหนาวเลย จนกระทั่ง 40,000 ปีก่อน และเริ่มอยู่อาศัยในอลาสกาครั้งแรก ราว 12,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ในบรรดา 5 ทวีป ทวีปอเมริกาเป็นทวีปที่มีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศษสตร์อาศัยอยู่ในช่วงสั้นที่สุด

ประเด็นสำคัญ

1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของสังคมมนุษย์ มากกว่าความสามารถหรือคุณลักษณะเฉพาะของผู้คนในสังคมนั้น ๆ

2. การเกษตรและการเลี้ยงสัตว์เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีและการสะสมทรัพยากร

3. ความไม่เท่าเทียมระหว่างสังคมต่าง ๆ เกิดจากปัจจัยเหล่านี้ ไม่ใช่จากความสามารถหรือปัญญาของผู้คนแต่ละกลุ่ม

บทที่ 2 “A Natural Experiment of History”

การทดลองโดยธรรมชาติในประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์มีส่วนหล่อหลอมสังคมบริเวณหมู่เกาะโพลีนีเซียอย่างไร

  • ในปี 1835 บน หมู่เกาะชาแธมทางตะวันออกของนิวซีแลนด์ราว 500 ไมล์ มีชาวโมริโอริ อาศัยอยู่ จากนั้นก็มีผู้บุกรุกชาวเมารี 500 คน บุกเข้ามา แล้วก็ฆ่าชาวโมริโอริ ที่มีจำนวนมากกว่าทิ้งทั้งหมด
  • โศกนาฎกรรมของชาวโมริโอริ เกิดขึ้นหลายที่บนโลก จากสาเหตุที่ คนกลุ่มหนึ่งมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
  • ประเด็นคือ ทั้งสองกลุ่มมีต้นกำเนิดเหมือนกัน แต่แยกตัวออกมาเมื่อไม่ถึง 1,000 ปีก่อน
  • ประวัติศาสตร์ของชาวโมริโอริ(-) และ ชาวเมารี(+) จะทำให้เราเข้าใจผลกระทบของสภาพแวดล้อม

การแนะนำกรณีศึกษา

  • ชาวมาวรี (Maori) และชาวโมริโอริ (Moriori) เคยเป็นกลุ่มคนเดียวกันในนิวซีแลนด์
  • ชาวมาวรีย้ายไปยังเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ ส่วนชาวโมริโอริย้ายไปยังเกาะ Chatham ที่อยู่ห่างไกล

ความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม

  • เกาะนิวซีแลนด์: อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรมาก ทำให้ชาวมาวรีสามารถทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ได้
  • เกาะ Chatham: สภาพแวดล้อมยากลำบาก ไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการเกษตร ต้องอาศัยการล่าสัตว์และเก็บของป่า

ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อสังคม

  • ชาวมาวรี: มีการเกษตรที่มั่นคง สามารถสะสมทรัพยากร มีประชากรมากและการแบ่งแยกชนชั้น เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากร
  • ชาวโมริโอริ: มีชีวิตที่เรียบง่าย สงบสุข ไม่มีการต่อสู้ เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ

การปะทะกันระหว่างชาวมาวรีและชาวโมริโอริ

  • ในปี 1835 ชาวมาวรีเดินทางมาถึงเกาะ Chatham และพิชิตชาวโมริโอริได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากชาวโมริโอริไม่มีการฝึกทหารและอาวุธที่มีประสิทธิภาพ
  • ในขณะที่ชาวเมารีที่เจริญกว่า เลือกที่จะทำเกษตรกรรม ชาวโมริโอริที่อยู่บนเกาะ ถูกบังคับให้กลับไปเก็บของป่า ล่าสัตว์อีกครั้งเพราะพื้นที่ไม่เหมาะกับการทำเกษตร
  • การที่ชาวโมริโอริ เก็บของป่าล่าสัตว์นั้น ทำให้พวกเขาไม่มีของผลผลิตส่วนเกิน เก็บสำรองหรือแบ่งกันกิน จึงไม่สามารถอุดหนุนเลี้ยงดูบรรดาช่างฝีมือ นักรบ เจ้าพนักงาน และหัวหน้าเผ่า ซึ่งล้วนไม่ได้ล่าสัตว์ด้วยตนเอง
  • แถมการเป็นเกาะที่อยู่ห่างไกลจากคนอื่น ก็สามารถรองรับชีวิตแบบเก็บของป่าได้แค่ 2,000 คน
  • แม้ชาวเมารีและโมริโอริ จะมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปพันปี การที่ชาวเมารีได้ข่าวว่า มีเกาะที่อุดมสมบูรณ์ และคนบนเกาะนั้นตัวเล็ก ไม่มีอาวุธ ก็เพียงพอที่จะเดินเรือไปยึด และชิงเกาะมาเป็นของตัวเองได้แล้ว

ลองขยายการทดลองมาเป็นขนาดกลาง ซึ่งเป็นสังคมของชาวโพลีนีเซีย ซึ่งกระจายตามเกาะต่างๆ

  • ซึ่งความแตกต่างเกิดจากตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างน้อย 6 ประเภท

1. สภาพภูมิอากาศ — บางพื้นที่ร้อน บางพื้นที่หนาว บางพื้นที่มีฝน บางพื้นที่แห้งแล้ง

2. สภาพทางธรณีวิทยา — บ้างก็มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก บ้างก็มีธารน้ำขนาดใหญ่

3. ทรัพยากรทางทะเล — บ้างก็อยู่ในเขตน้ำตื้น แนวปะการังล้อมรอบ มีกุ้งหอยปูปลานานาชนิด แต่บางเกาะเป็นก้นทะเลดิ่ง ไม่มีแนวปะการังโดยรอบ

4. ขนาดเนื้อที่ — บางเกาะเล็กแค่ 100 เอเคอร์ หรือ บางเกาะใหญ่ถึง 103,000 ตารางไมล์ ซึ่งใหญ่จนเป็นทวีปเล็กๆได้ทีเดียว

5. สภาพภูมิประเทศที่แยกพื้นที่ก็ออกเป็นส่วน ๆ

6. การแจ้งตัวโดดเดี่ยวของแต่ละเกาะ

  • โดยสรุปแล้ว เกาะไหนมีการทำเกษตรยิ่งเข้มข้นมากเท่าใด ความหนาแน่นของประชากรก็จะมากขึ้นเท่านั้น !!

ประเด็นสำคัญ

1. สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์และเอื้อต่อการเกษตรช่วยให้สังคมสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและการทหารที่เข้มแข็ง

2. สภาพแวดล้อมที่ยากลำบากทำให้สังคมต้องปรับตัวและมีชีวิตที่สงบสุขโดยไม่มีการทำสงคราม

3. “การทดลองทางธรรมชาติ” นี้ยืนยันว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบของสังคมมนุษย์

บทที่ 3 "Collision at Cajamarca"

การปะทะที่กาฆามาร์กา ทำไมจักรพรรดิอาตาวัลปาแห่งอินดาจึงไม่เป็นฝ่ายที่จับกุมพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปนเป็นเชลย

กรณีศึกษา การปะทะกันของโลกเก่าและใหม่

  • ทวีปอเมริกา มีคนอยู่มาตั้งแต่ 11,000 ปีก่อนศริสต์ศักราชแล้ว แต่เกือบทั้งหมดได้ถูกชาวยุโรปฆ่าตายในเวลาไม่นาน หลังจาก คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบ ทวีปนี้ในปี 1492
  • ปี 1532 จักรพรรดิอาตาวัลปาแห่งอินดา ที่มีทหารกว่า 80,000 นาย พสกนิกรหลายล้านคน โดนชาวสเปน 168 คนจับตัวเป็นเชลย เรียกค่าไถ่เป็นทองคำเต็มห้อง แถมโดนฆ่าตายอยู่ดีท้ายที่สุด

อะไรที่ทำให้สเปนชนะขาดลอย ?

1. ปืน : ถึงแม้สมัยนั้นปืนจะไม่ได้ฆ่าคนได้มากนักเพราะน้ำหนักและความเชื่องช้า แต่มันส่งผลต่อจิตใจของอีกฝ่ายเป็นอย่างมาก

2. อาวุธเหล็กกล้า : ที่แทงทะลุเกราะอันเปราะบางของชนพื้นเมืองได้สบายๆ

3. ม้า : พาหนะที่ชนพื้นเมืองไม่เคยเห็น ที่ฆ่าทหารยามได้ก่อนส่งข่าวเตือนภัย ม้าสำคัญในการรบมาก ตั้งแต่ 4000ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงปี 19xx ที่เริ่มมีรถถังและปืนกล

4. เกราะเหล็ก : ที่ป้องกันกระบองไม้ หิน จากชนพื้นเมืองได้โดยไร้รอยขีดข่วน

5. จิตวิทยา : ความเหนือกว่าทางอาวุธ ทำให้ชนพื้นเมืองคนว่าชาวสเปนเป็นเทพ และคิดว่าสู้ไม่ได้แน่ๆ ยอมแพ้ เข้าพวกดีกว่า

6. เชื้อโรค : ไข้ทรพิษ ทำให้ชนพื้นเมืองที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ตายก่อนที่จะได้สู้กับชาวสเปนด้วยซ้ำ แถมยังคร่าชีวิตจักรพรรดิจนเกิดสงครามแย่งชิงอำนาจ ที่ทำให้สเปนโจมตีได้ง่ายขึ้นไปอีก แต่เชื้อโรคอย่าง มาลาเรียเองก็ กันไม่ให้สเปนยึดครองพื้นที่ในเขตร้อนในบแถบอินเดีย ASEAN เหมือนกัน

7. การเดินเรือ : ถ้าไม่มีเรือ เสปนก็ยกกองทัพมาถึงที่นี่ไม่ได้หรอก

8. การปกครองแบบรวมศูนย์ : ที่คอยจัดสรรงบประมาณในการต่อเรือ จ้างแรงงาน หาอุปกรณ์

9. ภาษาเขียน : ที่ทำให้ส่งต่อความรู้ และ แรงจูงใจ ให้มีคนอยากมาทวีปอเมริกามากพอที่จะยึดทวีปได้ รวมไปถึงกลยุทธในการทำสงครามด้วย

ทำไมจักรพรรดิอาตาวัลปาถึงแพ้ง่ายจัง

  • รู้น้อย : จักรพรรดิรู้จักสเปนจาก คำบอกเล่าของทูต ที่สังเกตกองทหารแค่ไม่กี่วัน แล้วคิดว่า ทหารผอมๆไม่เป็นระเบียบแค่ร้อยกว่าคน ไม่น่าทำอะไรได้ เลยยอมไปเจอด้วยกำลังคนไม่เยอะมาก
  • ขนาดสเปนไล่เอาชนะ ชนเผ่ามาตั้งแต่ 1510 ซึ่งเป็นชนเผ่าเก่งๆมาตั้งเยอะ ยังประมาทได้ กว่าจะรู้ว่าสเปนเก่ง ก็ปาเข้าไปปี 1527
  • เชื่อคนง่าย : ยังไม่รู้ว่าสเปนโหดร้ายได้แค่ไหน ถึงยอมจ่ายค่าไถ่ แล้วให้สเปนมีทองไปจ้างคนมาบุกเพิ่ม
  • เชื่อเรื่องเทพ : โดนคนยุโรปหลอกว่าเป็นเทพ ก็เชื่อเฉย

ภาคสอง จุดเริ่มตันและการขยายตัวของการผลิตอาหาร

บทที่ 4 “Farmer Power”

อำนาจของเกษตรกร รากเหง้าอันเป็นที่มาของปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

  • มนุษย์แยกกับลิงเมื่อ 7 ล้านปีก่อน แล้วก็เก็บผักล่าสัตว์จนถึง 11,000 ปีที่แล้ว ที่มีคนบางกลุ่มเริ่มทำเกษตร
  • บทนี้จะสรุปให้เห็นว่า ทำไมการปลูกผักเลี้ยงสัตว์ ถึงเป็นต้นตอของการพัฒนา ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าของมนุษย์

ที่ไหนทำเกษตรก่อน

  • ผมว่าทุกคนพอจะเดาได้ว่า ปลูกผักแล้วเจริญกว่า แต่ทำไมบางกลุ่มถึงปลูกก่อน ได้เปรียบก่อน ชนะก่อน

จริงๆ การปลูกผักเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้ทำได้ทุกที่ และไม่ใช่ทุกที่ ที่ต้องทำด้วย

  • ในแอฟริกา ที่ทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ ผักเขียว สัตว์ให้ล่าเต็มไปหมด จะปลูกไปทำไมในเมื่อล่าง่ายกว่าเยอะ
  • ในขณะที่ยูเรเชียอาจจะไม่อุดมสมบูรณ์เท่า หรือ ถึงขั้นบางช่วงในหน้าหนาว หากินไม่ได้เลย
  • แถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่แรกๆ ที่มนุษย์เริ่มออกจากแอฟริกา เลยเป็นที่แรกที่เริ่มทำการเกษตร

ทำเกษตรแล้วดียังไง

  • การมีอาหารที่ให้ปริมาณแคลอรีมากขึ้น ย่อมหมายถึงการมีจำนวนประชากรมากขึ้น
  • ในพื้นที่เท่ากัน การปลูกผักเลี้ยงสัตว์ ให้พลังงานมากกว่า 10–100 เท่าเลยทีเดียว
  • สัตว์เลี้ยงถูกเอาใช้เป็น เนื้อ,ให้นม,ให้ปุ๋ย, เป็นแรงงาน
  • เผ่าที่กินอิ่ม คนเยอะ ก็ไม่แปลกที่จะรบชนะเผ่าอื่น

ทำเกษตรเลยต้องอยู่กับที่

  • พออยู่กับที่ ก็มีลูกได้มากขึ้น สำรองอาหารได้
  • พอสำรองอาหารได้ ทุกคนก็ไม่ต้องหาอาหาร เลยเกิดความชำนาญอื่นๆ เช่น กษัตริย์ ขุนนาง ช่าง ทหาร
  • พอรวมกันเยอะๆเป็น อณาจักร ก็เริ่มพัฒนารูปแบบการปกครอง และการจัดสรรทรัพยากร
  • พืชกับสัตว์ ยังเอามาเป็น เสื้อผ้า อุปกรณ์ ในการพัฒนาเมือง และทำให้คนตายยากขึ้นด้วย
  • ม้า อูฐ ยังช่วยรบชนะคนเก็บของป่า ทำให้สุดท้ายคนที่เหลือ ก็มีแต่อณาจักร
  • พอคนไม่ต้องหาอาหาร ก็มีเวลาพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ตัวอักษร อาวุธ

ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า มายังไง ?

1. ปืน : เพราะเป็นอณาจักร ข้าวเหลือ เงินเหลือเลยเกิดช่าง ซึ่งดันอยากทำสงครามอีก ก็เลยค่อยๆพัฒนามา

2. เชื้อโรค : คนอยู่กันหนาแน่น ไม่สะอาด โรคก็มาสิ เช่น ไข้ทรพิษ หัด ไข้หวัดใหญ่ ได้มาเพราะเลี้ยงสัตว์ คนเลี้ยงโดนก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาภูมิขึ้นมา จากนั้นเอาไปแพร่ให้คนที่ไม่เคยมีภูมิ ตาย99% จริงๆอันนี้สาเหตุหลักที่ทำให้ยุโรปชนะคนอื่น

3. เหล็กกล้า : เพราะมีม้าและมีช่าง เลยเริ่มขนแร่จากที่ไกลๆ เข้ามาใกล้ที่ทำเกษตรได้

ประเด็นสำคัญ

1. การเกษตรทำให้มนุษย์สามารถสะสมทรัพยากรและพัฒนาเทคโนโลยีได้

2. การตั้งถิ่นฐานถาวรและการสะสมทรัพยากรนำไปสู่การสร้างสังคมที่ซับซ้อนและการแบ่งแยกชนชั้น

3. การแพร่กระจายของการเกษตรได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

4. การเกษตรมีทั้งประโยชน์และข้อเสีย เช่น ทำให้มีอาหารเพียงพอแต่ก็ทำให้เกิดโรคระบาดและความไม่เท่าเทียมทางสังคม

5. การเลี้ยงสัตว์มีบทบาทสำคัญในการเกษตรและการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโรคบางชนิด

บทที่ 5 “History’s Haves and Have-Nots”

ผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจในประวัติศาสตร์ ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์ในยุคเริ่มต้นการผลิตอาหาร

เรารู้ได้ไงว่าใครปลูกข้าวก่อน

  • ใช้วิธี Radio Carbon วัดการสลายตัว ของคาร์บอน 14 ไป 12 จากซากพืชและสัตว์
  • แต่วิธีนี้ใช้กับ เศษซากเล็กกว่า 2–3 กรัมได้ไม่แม่น
  • จริงๆก็มีการปรับปรุง และ วัดใหม่เรื่อยๆ ถ้าหาอ้างอิงแล้ว บางทีจะไม่ตรง ซึ่งเล่มนี้ เอาเฉพาะอันวิธีใหม่มาอ้างอิง
  • แต่เอาเข้าจริง ซากพืชมันก็โดนปนเปื้อนจากรอบๆได้ ฉะนั้นอย่ายึดติดมากเกินไป

การปลูกพืชที่แรกมาจากที่ไหน

  • มันจะมีที่ๆ ปลูกเอง กับ ได้รับอิทธิพลจากคนปลูกเป็น อีกทีนึง
  • ที่แรกคือแถว เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 8500 ปีก่อน ค.ศ. ปลูกข้าวสาลี เลี้ยงแพะ แกะ
  • ที่ๆตามมาคือ จีน 7500 B.C. และค่อยๆ กระจายๆไปเรื่อยๆ
  • พื้นที่ส่วนใหญ่ จะเป็นคนเก็บของป่าเป็นหลัก ที่ ค่อยๆปลูกพืชเสริม แล้วค่อยๆเลิกหาของป่าไปเอง
  • ไม่ก็ โดนเกษตรกร บุกเข้ามาฆ่าแล้วแย่งพื้นที่

ความสำคัญของพืชและสัตว์ท้องถิ่น

  • การมีพืชและสัตว์ที่สามารถนำมาเพาะปลูกและเลี้ยงได้ง่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บางภูมิภาคสามารถพัฒนาเกษตรกรรมได้เร็วกว่า
  • พืชที่เพาะปลูกได้ง่ายและให้ผลผลิตสูง เช่น ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ใน Fertile Crescent มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรรม

ผลกระทบของการพัฒนาเกษตรกรรมต่อสังคม

  • การพัฒนาเกษตรกรรมทำให้เกิดการสะสมทรัพยากรและการสร้างสังคมที่ซับซ้อน
  • สังคมที่มีการเกษตรที่พัฒนาสามารถสนับสนุนประชากรที่ไม่ต้องทำงานในภาคการเกษตร เช่น นักรบ, นักประดิษฐ์, และผู้ปกครอง

ความไม่เท่าเทียมในประวัติศาสตร์

  • การมีหรือไม่มีพืชและสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างภูมิภาคต่างๆ ในประวัติศาสตร์
  • ภูมิภาคที่สามารถพัฒนาเกษตรกรรมได้เร็วและมีทรัพยากรเกินพอจะสามารถขยายอำนาจและอิทธิพลของตนไปยังภูมิภาคอื่นๆ

บทที่ 6 “To Farm or Not to Farm”

ทำการเกษตร หรือไม่ทำการเกษตร สาเหตุที่ทำให้การผลิตอาหารขยายตัว

ทำไมคนจึงเริ่มผลิตอาหารเอง

  • จริงๆต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่มีคนคิดวิธีผลิตอาหารได้แล้ว เย้ ผลิตอาหารกันเถอะ ไม่ใช่แบบนั้นเลย
  • วิธีการปลูกพืช หรือ เลี้ยงสัตว์มันมีๆหายๆมาตลอด
  • คนสมัยนั้นต้องเลือกว่า จะล่าหรือจะปลูกดี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่ากับการลงแรง
  • บางทีตั้งรกราก ก็ยังไม่ได้เลือกปลูกพืชด้วยซ้ำ แค่ตั้งจุดล่าสัตว์ หรือเกษตรกรบางกลุ่มก็เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ปลูกกล้วย แล้วออกไปล่าทางซ้าย กลับมา แล้วขึ้นเหนือต่อไรงี้

แล้วทำไมเพิ่งมาปลูกจริงจังเมื่อ 8,500 ปีก่อน

  • มี 5 ปัจจัยที่พอจะอธิบายได้ว่า ทำไมเริ่มตอนนั้น

1. อาหารจากป่าเริ่มลดลงและหาได้ยากขึ้น — ปลูกเองเลยเริ่มคุ้มค่าขึ้นมา ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็หาของป่ายากง่ายไม่เท่ากัน เลยเริ่มไม่เท่ากัน เช่น ญี่ปุ่นเริ่มช้าเพราะปลาหาง่ายและเหลือเฟือ

2. คนเพิ่งจะเริ่มเห็นประโยชน์และความคุ้ม ของการเอาพืชมาปลูก

3. เทคโนโลยีในการผลิตอาหาร เริ่มดีพอ เช่น การรวบรวม การแปรรูป การเก็บอาหาร

4. คนเยอะขึ้น ล่าไม่พอ เลยต้องปลูก

5. คนล่าสัตว์ โดนเกษตรกร เข้ามายึดครองที่

ประเด็นสำคัญ

  • การตัดสินใจทำหรือไม่ทำการเกษตรได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์, สภาพภูมิอากาศ, ทรัพยากรท้องถิ่น, และความหนาแน่นของประชากร
  • การเกษตรมีทั้งประโยชน์และข้อเสีย ทำให้สังคมสามารถสะสมทรัพยากรและพัฒนาเทคโนโลยีได้ แต่ก็ทำให้เกิดโรคระบาดและความไม่เท่าเทียมทางสังคม
  • การแพร่กระจายของการเกษตรไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก แต่แพร่กระจายจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งตามปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

บทที่ 7 “How to Make an Almond”

วิธีผลิตเมล็ดอัลมอนด์ พัฒนาการของพืชเกษตรสมัยโบราณ

คือ อัลมอนด์ป่ามันเป็นพิษ กินเยอะๆตาย… แล้วเรามาจุดนี้ได้ยังไง

เริ่มจาก เราเอาพืชมาปลูกได้ยังไงก่อน

  • คือเกษตรกรยุคแรก ไม่ได้เรียกว่าปลูก แต่พืชหลอกใช้เราขยายพันธุ์พวกมัน
  • เราก็ไม่ต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่ช่วยต้นไม้ขยายพันธุ์โดยไม่รู้ตัว
  • เราหาของป่ากิน กินเสร็จอึออกมา แล้วมันก็โต…ง่ายๆแบบนั้นแหล่ะ
  • ไม่ก็แค่บังเอิญเก็บมาแล้วทำหล่น หรือ กินไม่หมด ตั้งไว้เฉยๆ มันก็โตได้
  • พวกผลไม้ มักจะมีกลิ่นหอมและรสหวาน ล่อให้สัตว์มากิน แต่เมล็ดขม เพื่อให้สัตว์โยนทิ้ง จะได้ขยายพันธุ์ได้

การคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติและมนุษย์

  • ในธรรมชาติ การคัดเลือกพันธุ์เกิดขึ้นจากกระบวนการที่พืชที่มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการอยู่รอดและการแพร่กระจายจะมีโอกาสรอดชีวิตและสืบพันธุ์ได้มากกว่า
  • มนุษย์ใช้กระบวนการคัดเลือกพันธุ์โดยเลือกพืชที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ เช่น ผลผลิตมากขึ้น, รสชาติดีขึ้น, หรือปลูกง่ายขึ้น มาปลูกและสืบพันธุ์

กลายพันธุ์ เอ้ย ขยายพันธุ์

  • เมื่อก่อนผลไม้ไม่ได้อร่อยขนาดนี้ แต่
  • เวลาคนเลือกกิน ก็จะมองหาสตรอว์เบอร์รี ลูกใหญ่ๆ หวานๆไปกิน
  • การคัดเลือกทางธรรมชาติก็เลยเริ่มต้นขึ้น
  • ยิ่งเราไปหยิบลูกใหญ่ ลูกหวานมากินบ่อย มันก็ขยายพันธุ์ได้ดีขึ้น แล้วก็จะหวานอร่อยขึ้นเรื่อยๆ

อัลมอนด์พิษหายไปได้ไง

  • สิ่งมีชีวิตมันกลายพันธุ์ได้ อาจจะมีบางต้นมีพันธุกรรม ที่ไม่สังเคราะห์สารอะมิกดาลินที่มีรสขม
  • แล้วดันมีเด็กซนๆไปหยิบมากิน แล้วดันอร่อย แล้วก็ไปอึไว้สักที่
  • แล้วต้นใหม่ที่มียีนส์นี้ก็โต แล้วก็วนลูป
  • ถั่วลิสง แตงโม มันฝรั่ง มะเขือ กะหล่ำปี ล้วนเคยขมและมีพิษทั้งนั้น

ข้าว

  • ข้าวป่าปกติ เมล็ดข้าวจะตกลงพื้นแล้วงอกใหม่ ซึ่งมนุษย์ไม่ชอบ เพราะมันตกลงพื้นแล้วไง เอามาเก็บกินต่อยาก
  • แต่เราก็บังเอิญเจอต้นกลายพันธุ์ ที่เมล็ดมันไม่ตกลงพื้น ก็เลยเอามากิน เหลือ ปลูกต่อ ขยายพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้
  • ซึ่งการเลือกกิน ปลูก เฉพาะพันธุ์ที่ดีต่อมนุษย์แบบนี้ ถือเป็นการปรับปรุงพันธุ์ ครั้งแรกๆ ของมนุษย์
  • แล้วก็ลองผิดลองถูก ในกระบวนการปลูกไปเรื่อย จนมันผลิตง่าย ได้เยอะ แล้วยอดฮิต

ตัวอย่างพืชที่ถูกคัดเลือกพันธุ์

  • อัลมอนด์: ในป่ามีสารพิษไซยาไนด์ แต่พันธุ์อัลมอนด์ที่ปลูกเพื่อการเกษตรไม่มีสารพิษนี้เนื่องจากการคัดเลือกพันธุ์
  • ข้าวสาลี: ข้าวสาลีในป่าเมล็ดแตกกระจายได้ยาก แต่ข้าวสาลีเกษตรมีลักษณะที่เมล็ดสามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย
  • ข้าวโพด: ข้าวโพดป่ามีขนาดเล็กและไม่เหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยว แต่ข้าวโพดที่ปลูกในปัจจุบันมีขนาดใหญ่และให้ผลผลิตสูง

กลายพันธุ์ กับ ไม่กลายพันธุ์

  • คือ ถ้าจะปลูกข้าวให้มันเมล็ดไม่ตกจากต้น แล้วหอม เม็ดใหญ่ไปเรื่อยๆ
  • เราต้องเอาต้นที่ กลายพันธุ์ + กลายพันธุ์ มาผสมกัน ไม่ก็ ต่อกิ่ง ปักชำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่มายุคหลังๆละ
  • ถ้าเอา ต้นปกติ + ต้นกลายพันธุ์ มันจะได้ผลลัพธ์ ครึ่งๆกลางๆ เป็นแบบที่เราชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ซึ่งไม่คุ้มการปลูก
  • การหว่านเมล็ดลงไปใน ดินที่อุดมสมบูรณ์ เมล็ดใหญ่จะได้เปรียบ แล้วเบียดเมล็ดเล็กให้แพ้ไป
  • ในขณะที่ ถ้าไปที่แห้งแล้ว เมล็ดเล็กจะได้เปรียบ ในขระที่เมล็ดใหญ่ ขาดสารอาหารตายก่อนโต
  • การเพาะปลูกของมนุษย์เลยได้ต้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ทำไมเราปลูกต้นโอ๊ก ไม่ได้

  • พวกข้าว ถั่ว ปลูกไม่กี่เดือนก็กินได้แล้ว ในขณะที่ต้นโอ๊คต้องรอสิบปี
  • แล้วลูกโอ๊คก็โดนกระรอก คาบไปกิน แล้วก็ฝังดิน แล้วต้นโอ๊คป่าก็ขึ้นพรึบๆๆ
  • ทำให้ ต้นโอ๊คส่วนใหญ่เป็นต้นโอ๊คป่า ลูกเล็ก ไม่คุ้มค่า เราไม่มีโอกาสได้เลือกเอาเมล็ดใหญ่ๆไปปลูกให้มันใหญ่ขึ้น
  • แถมยีนส์ที่คุมรสชาติต้นโอ๊ค เกิดจากยีนหลายๆตัว ทำให้กว่าจะเพาะได้ต้นที่ชอบ ปลูก100ต้น ได้แค่ 5ต้น แล้วกว่าจะวนลูปทำรอบ มันกินเวลาเกินชีวิตมนุษย์คนนึง ทำให้ไม่คุ้มค่า

ทำไมเราเพิ่งปลูกสตอเบอร์รี่ได้เมื่อไม่นานมานี้

  • เพราะโดนนกเอาไปกิน แล้วอึออกมา ปลูกต้นใหม่ ซึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ ที่นกชอบ แต่คนไม่ชอบ
  • เราเพิ่งเพาะพันธุ์ให้ สตอเบอร์รี่เม็ดใหญ่อร่อยได้ หลังจากที่ผลิตตาข่ายกันนกได้

บทที่ 8 “Apples or Indians”

แอปเปิลหรือคนอินเดียน เหตุใดคนในบางภูมิภาคจึงไม่สามารถเพาะพันธุ์พืชเกษตร

  • มีที่เหมาะๆในการเพาะปลูกตั้งหลายที่ เช่น แคลิฟอร์เนีย ยุโรป ออสเตรเลีย แล้วทำไมถึงมีแค่ที่ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวที่ปลูกก่อนชาวบ้านเขานานมาก

1. อาจจะเพราะวัฒนธรรมท้องถิ่น

2. ลองปลูกแล้วไม่เวิร์ค เพราะพืชไม่เหมาะแก่คนกิน เลยไม่ได้พัฒนาต่อ

  • บรรพบุรุษเราเลือกปลูกก็ต่อเมื่อมันคุ้มแรงและเวลา
  • พืชหลักๆ มี 2 แสนกว่าชนิด กว่าจะรู้ว่าอันไหนคุ้มค่า ก็เหนื่อยก่อนแล้ว

กว่าจะมีแอปเปิล

  • แอปเปิลอย่างเดียวไม่ทันกิน ถ้าจะลงหลักปักฐานปลูกแอปเปิล แถวนั้นต้องมีพืชและสัตว์อย่างอื่นให้กินด้วย
  • ซึ่งที่ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวมีครบ ทั้งพืชและสัตว์อื่นๆ

5 เหตุผลว่าทำไม การผลิตอาหารถึงเกิดขึ้นบริเวณดินแดนพระจันทร์เสี้ยว ที่แรก ?

  • ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวคือ แถวๆ ซีเรีย ตุรกี อิรัก ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

1. อากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ไม่หนาวจัด ฝนตกชื่น และ มีฤดูร้อนนาน ทำให้ พืชที่ขึ้นแถวนี้ทนต่อทุกสภาพอากาศ โตเร็วช่วงหน้าฝน และตายช่วงหน้าแร้ง ซึ่งก็คือ เป็นรอบๆ เหมาะแก่มนุษย์เก็บเกี่ยวมาก

  • พืชล้มลุกไม่เสียพลังงานไปกับการสร้างกิ่งก้าน และ เนื้อไม้ ที่คนกินไม่ได้ เน้น เมล็ดใหญ่ๆ ซึ่งคนกินได้
  • ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว มีสภาพอากาศแบบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกว้างใหญ่ที่สุดในโลก แถมเป็นแบบอากาศแปรรวนที่สุด ซึ่งส่งผลให้มีพืชล้มลุกเยอะ
  • แถบนี้มีระดับความสูงและลักษณภูมิประเทศต่างกันมากด้วย ตั้งแต่ ต่ำสุดทะเลสาบ และ สูงสุดเทือกเขา ซึ่ง พืชต่างกัน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวต่างกัน ทำให้มีกินทั้งปี ไม่ต้องเก็บพร้อมๆกัน และ หุบเขาพืชโตเองง่ายด้วย

2. พืชที่นี่มีจำนวนมากและให้ผลผลิตสูง แถมให้พลังงานสูงโดยธรรมชาติ ไม่ต้องตัดแต่งเยอะ บรรพบุรุษของข้าว ก็ คล้ายๆข้าวปัจจุบันนี้ ในขณะที่บรรพบุรุษข้าวโพด หน้าตาต่างจากปัจจุบันมาก เลยเพิ่งมาฮิตช่วงหลังๆ

3. มี % พืชกระเทยเยอะ ทำให้ต้นที่กลายพันธุ์มาให้เหมาะกับคนกินนั้น ได้สืบพันธุ์ต่อ โดยไม่ต้องไป ผสมกับต้นอื่นที่ไม่เหมาะกับคนกินให้เสียเวลา

4. มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ แพะ แกะ สุกร วัว มีครบเลย

5. เกษตรกรกับคนเก็บของป่า ไม่ตีกัน เพราะหมู่บ้านได้เปรียบกว่าเห็นๆ

บทที่ 9 “Zebras, Unhappy Marriages, and the Anna Karenina Principle”

ม้าลาย คู่สมรสที่ไร้ความสุข และหลักการอันนา คาเรนินา เหตุใดจึงไม่อาจนำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่มาเป็นสัตว์เลี้ยง

คุณสมบัติของสัตว์ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้านได้

  • สัตว์ที่สามารถเลี้ยงได้ต้องมีคุณสมบัติหลายประการที่เข้ากันได้ดี เช่น ความสามารถในการเจริญเติบโตเร็ว, สามารถเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยง, อาหารที่หาได้ง่าย, ลักษณะนิสัยที่เชื่อง และการไม่ตื่นกลัวง่าย
  • ตัวอย่างเช่น วัว, แพะ, แกะ, และหมู มีคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์บ้านได้

ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่สามารถเลี้ยงได้

  • ม้าลาย: ม้าลายไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะมันตื่นกลัวง่ายและมีนิสัยดุร้าย
  • กวาง: กวางไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะมันมีนิสัยที่ไม่เชื่องและตื่นกลัวง่าย
  • ฮิปโป: ฮิปโปไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะมันดุร้ายและมีขนาดใหญ่

การกระจายของสัตว์ที่เลี้ยงได้

  • สัตว์ที่เลี้ยงได้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดในยูเรเซีย ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเกษตรและการพัฒนาของสังคมในยูเรเซียก้าวหน้ากว่าในภูมิภาคอื่น
  • สัตว์ที่เลี้ยงได้ เช่น ม้า, วัว, และแพะ ถูกนำไปใช้ในการเกษตรและการขนส่ง ทำให้สังคมสามารถพัฒนาได้เร็วกว่า

ผลกระทบของการเลี้ยงสัตว์ต่อสังคม

  • การเลี้ยงสัตว์ช่วยให้สังคมสามารถผลิตอาหารได้มากขึ้นและสะสมทรัพยากร
  • สัตว์เลี้ยงยังช่วยในการทำงานทางการเกษตร, การขนส่ง, และการทำสงคราม ทำให้สังคมมีความสามารถในการขยายอาณาเขตและควบคุมทรัพยากร

บทที่ 10 “Spacious Skies and Tilted Axes”

ผืนฟ้ากว้างกับแนวการวางตัวของทวีป เหตุใดการผลิตอหารจึงขยายตัวในอัตราที่แตกต่างกัน ในแต่ละทวีป

  • แนวตั้ง (ทิศเหนือ-ใต้) และแนวนอน (ทิศตะวันออก-ตะวันตก) ของทวีปมีผลต่อการแพร่กระจายของการเกษตรและนวัตกรรม

การกระจายของการเกษตรในทวีปยูเรเซีย

  • ยูเรเซียมีแนวนอนที่ยาว (ทิศตะวันออก-ตะวันตก) ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกัน ทำให้พืชและสัตว์สามารถแพร่กระจายได้ง่าย
  • การเกษตรจากดินแดนพระจันทร์เสี้ยวแพร่กระจายไปยังยุโรปและเอเชียอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและวันที่ยาวนานของฤดูปลูกที่คล้ายกัน

การกระจายของการเกษตรในทวีปอเมริกา

  • ทวีปอเมริกามีแนวตั้งที่ยาว (ทิศเหนือ-ใต้) ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก ทำให้การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ช้ากว่า
  • พืชจากเมโสอเมริกาเช่น ข้าวโพด ต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในอเมริกาเหนือและใต้ ทำให้การแพร่กระจายช้ากว่า

การกระจายของการเกษตรในทวีปแอฟริกา

  • แอฟริกามีแนวตั้งที่ยาวเช่นเดียวกับทวีปอเมริกา ทำให้การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ช้าและยากลำบาก
  • พืชและสัตว์จากแอฟริกาเหนือไม่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายไปยังแอฟริกาใต้เนื่องจากทะเลทรายซาฮาราและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน

การแพร่กระจายของการเกษตรอย่างรวดเร็วในยูเรเซียทำให้สังคมในทวีปนี้มีการพัฒนาและสะสมทรัพยากรได้มากกว่า

ภาคสาม จากอาหาร…ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

บทที่ 11 “Lethal Gift of Livestock”

ของขวัญมรณะจากสัตว์เลี้ยง วิวัฒนาการของเชื้อโรค

โรคระบาดหลายชนิดที่มีผลกระทบต่อมนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์เลี้ยง

ไข้ทรพิษ (Smallpox): มาจากวัว

หัด (Measles): มาจากสุนัขและโค

วัณโรค (Tuberculosis): มาจากวัว

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza): มาจากหมูและไก่

การแพร่กระจายของโรคระบาด

  • การแพร่กระจายของโรคระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงและมีการเลี้ยงสัตว์ในที่เดียวกัน
  • โรคระบาดสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการค้าขายและการเคลื่อนย้ายของผู้คน

ผลกระทบของโรคระบาดต่อสังคม

  • ทำให้ประชากรลดลงอย่างมากและทำลายสังคมหลายแห่ง
  • โรคระบาดจากยุโรปมีผลกระทบอย่างมากต่อประชากรพื้นเมืองในอเมริกาเมื่อชาวยุโรปมาถึง
  • โรคระบาดช่วยให้ชาวยุโรปสามารถพิชิตและควบคุมดินแดนใหม่ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประชากรพื้นเมืองอ่อนแอลงจากโรคระบาด

การพัฒนาภูมิคุ้มกัน

  • สังคมที่มีการเลี้ยงสัตว์และมีความหนาแน่นของประชากรสูงจะพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดบางชนิด
  • ภูมิคุ้มกันที่พัฒนาขึ้นนี้ทำให้สังคมสามารถรับมือกับโรคระบาดได้ดีกว่า

บทที่ 12 “Blueprints and Borrowed Letters”

ภาษาเขียน…คัดลอกหรือขอยืม วิวัฒนาการของภาษาเขียน

การเขียนเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์

การเขียนช่วยในการบันทึกข้อมูล, การบริหารจัดการ, และการสื่อสาร

ต้นกำเนิดของการเขียน

  • การเขียนเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในเมโสโปเตเมีย (สุเมเรียน) และอียิปต์ ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ชนชาติสุเมเรียนใช้ระบบการเขียนที่เรียกว่า “คูนิฟอร์ม” ส่วนอียิปต์ใช้ “เฮียโรกลิฟฟิกส์”

การพัฒนาของการเขียนในภูมิภาคต่าง ๆ

  • จีนพัฒนาระบบการเขียนของตัวเองที่แตกต่างจากเมโสโปเตเมียและอียิปต์
  • ในอเมริกากลาง ชาวมายาและแอซเท็กมีระบบการเขียนของตัวเอง
  • การเขียนช่วยในการบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์, การบริหารจัดการทางเศรษฐกิจ, และการสื่อสารทางการปกครอง
  • การเขียนยังช่วยในการแพร่กระจายความรู้และวัฒนธรรม

การแพร่กระจายของการเขียน

  • การเขียนแพร่กระจายจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งผ่านการแลกเปลี่ยนทางการค้า, การพิชิตดินแดน, และการติดต่อทางวัฒนธรรม
  • ระบบการเขียนหลายแห่งถูกดัดแปลงและนำไปใช้ในสังคมอื่น ๆ เช่น ระบบตัวอักษรฟินิเชียนที่เป็นรากฐานของระบบตัวอักษรกรีกและละติน
  • สังคมบางแห่งไม่พัฒนาการเขียนเอง แต่ยืมและดัดแปลงระบบการเขียนจากสังคมอื่น เช่น ระบบการเขียนของญี่ปุ่นถูกดัดแปลงมาจากระบบการเขียนของจีน

ข้อเสีย: การเขียนอาจทำให้เกิดการควบคุมและการผูกขาดข้อมูลโดยผู้ปกครองหรือชนชั้นนำ

บทที่ 13 “Necessity’s Mother”

สิ่งประดิษฐ์คือต้นกำเนิดของความจำเป็น วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรม

  • ความจำเป็น: ความต้องการแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม
  • ความพร้อมของทรัพยากร: การมีวัตถุดิบและทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการสร้างนวัตกรรม
  • ความรู้และการแลกเปลี่ยน: การสะสมความรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสังคม

การยอมรับและการแพร่กระจายนวัตกรรม

นวัตกรรมต้องได้รับการยอมรับจากสังคมเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ

  • ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรม เช่น ความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมท้องถิ่น, ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของสังคม

ล้อ: การพัฒนาล้อเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการขนส่งและการเกษตร

การเขียน: การพัฒนาการเขียนช่วยในการบันทึกข้อมูลและการสื่อสาร

การผลิตเหล็ก: การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กช่วยในการสร้างเครื่องมือและอาวุธที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการพัฒนานวัตกรรม

  • การแข่งขันระหว่างสังคม: การแข่งขันระหว่างสังคมต่าง ๆ กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมอื่น: การแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรระหว่างสังคมช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมเร็วขึ้น
  • การมีโครงสร้างทางสังคมที่สนับสนุน: สังคมที่มีการจัดการและการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ดีจะพัฒนานวัตกรรมได้เร็วกว่า

บทที่ 14 “From Egalitarianism to Kleptocracy”

จากสมภาพนิยมสู่สังคมโจราธิปไตย วิวัฒนาการของรัฐและศาสนา

การเกิดขึ้นของสังคมที่มีการควบคุม (Kleptocracy)

  • เมื่อสังคมเริ่มทำการเกษตรและสะสมทรัพยากร การแบ่งแยกชนชั้นเริ่มเกิดขึ้น
  • ผู้ปกครองหรือชนชั้นนำเริ่มควบคุมและกักเก็บทรัพยากร สร้างโครงสร้างการปกครองที่ซับซ้อน

เหตุผลที่ทำให้เกิดสังคมที่มีการควบคุม

  • การจัดการทรัพยากร: ผู้ปกครองใช้ระบบการควบคุมเพื่อจัดการและกระจายทรัพยากร
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย: การควบคุมช่วยในการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันความขัดแย้งภายในสังคม
  • การป้องกันจากภัยคุกคามภายนอก: ผู้ปกครองสามารถรวบรวมทรัพยากรเพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก
  • การสร้างโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม: ผู้ปกครองสร้างโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการควบคุมและการกดขี่

การรักษาอำนาจในสังคมที่มีการควบคุม

  • การสร้างความชอบธรรม: ผู้ปกครองใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง
  • การควบคุมทางทหาร: การมีกองทัพที่เข้มแข็งเพื่อรักษาอำนาจและป้องกันการกบฏ
  • การเก็บภาษีและการสะสมทรัพยากร: การเก็บภาษีจากประชาชนเพื่อสะสมทรัพยากรและรักษาอำนาจ

ภาคสี่ สำรวจโลกใน 6 บท

บทที่ 15 “Yali’s People”

คนของยาลี ประวัติศาสตร์ออสเตรเลียและนิวกินี

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

  • นิวกินีมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกษตร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและมีการกระจายตัวของประชากรที่กระจายและแยกจากกัน
  • การขาดพืชและสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรในเชิงพาณิชย์ทำให้การพัฒนาเกษตรกรรมในนิวกินีไม่สามารถเจริญเติบโตได้มากเท่าที่ควร

ชาวนิวกินีที่ถามเขาว่าทำไมคนขาวถึงมี “สิ่งของ” มากมายในขณะที่ชาวนิวกินีไม่มี

ความพร้อมทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม:

  • ยุโรปและเอเชียมีภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ เช่น การมีพืชที่สามารถเพาะปลูกได้ง่ายและให้ผลผลิตสูง เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และสัตว์เลี้ยงเช่น วัว แพะ และม้า
  • นิวกินีมีพืชและสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรน้อยกว่า ทำให้การพัฒนาเกษตรกรรมและเทคโนโลยีเกิดขึ้นช้ากว่า

การสะสมทรัพยากรและการพัฒนาสังคม:

  • การเกษตรที่มีประสิทธิภาพในยุโรปและเอเชียทำให้สามารถสะสมทรัพยากรได้มากขึ้น สนับสนุนประชากรที่มากขึ้น และสร้างสังคมที่ซับซ้อนขึ้น
  • การมีทรัพยากรเกินพอทำให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การศึกษา และการวิจัย

การแลกเปลี่ยนและการแพร่กระจายเทคโนโลยี:

  • ยุโรปและเอเชียมีการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาค ทำให้การแพร่กระจายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกิดขึ้นได้รวดเร็ว
  • นิวกินีและภูมิภาคที่ห่างไกลอื่น ๆ มีการติดต่อกับโลกภายนอกน้อยกว่า ทำให้การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกิดขึ้นได้ยาก

การพัฒนาการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์:

  • ยุโรปและเอเชียมีสัตว์เลี้ยงที่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรและการขนส่ง เช่น ม้า วัว และแพะ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการขนส่งสินค้า
  • นิวกินีมีสัตว์เลี้ยงที่ใช้งานได้จำกัด เช่น หมู และไม่มีสัตว์ใหญ่ที่สามารถใช้ในการเกษตรหรือการขนส่งได้

ผลกระทบจากการล่าอาณานิคมและการครอบครองดินแดน:

  • การล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 และ 20 ทำให้ทรัพยากรและเทคโนโลยีถูกนำไปใช้และพัฒนาในยุโรปมากขึ้น ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ถูกควบคุมและมีการนำทรัพยากรออกไป

บทที่ 16 “How China Became Chinese”

แผ่นดินจีนกลายเป็นจีนได้อย่างไร ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

ประวัติศาสตร์การรวมตัวของจีน

  • จีนเริ่มต้นจากรัฐและอาณาจักรเล็ก ๆ หลายแห่งที่มีการแย่งชิงอำนาจและดินแดน
  • ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉิน (Qin) สามารถรวมจีนเป็นเอกภาพได้ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิฉินชิฮ่องเต้ (Qin Shi Huang)

การพัฒนาและการแพร่กระจายของภาษาและวัฒนธรรม

  • จีนมีระบบการเขียนและภาษาเดียวที่แพร่กระจายทั่วประเทศ ช่วยในการสื่อสารและการบริหารจัดการ
  • วัฒนธรรมจีนและปรัชญาคอนฟูเซียสมีบทบาทในการสร้างความเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมและการเมือง

ประเด็นสำคัญ

  • จีนเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมและการเมืองมากที่สุดในโลก
  • ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ราบใหญ่และแม่น้ำยาว ช่วยในการรวมตัวของจีน
  • การพัฒนาเกษตรกรรมและเทคโนโลยีช่วยให้จีนสามารถสนับสนุนประชากรที่มากขึ้นและสร้างสังคมที่ซับซ้อนได้
  • การพัฒนาและการแพร่กระจายของภาษาและวัฒนธรรมเดียวช่วยในการสื่อสารและการบริหารจัดการ
  • ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ที่เข้มแข็งช่วยในการควบคุมและบริหารจัดการพื้นที่กว้างใหญ่
  • จีนสามารถปรับตัวและรักษาความเป็นเอกภาพได้แม้จะเผชิญกับความท้าทายจากภายนอก

บทที่ 17 “Speedboat to Polynesia”

เรือเร็วมุ่งสู่โพลีนี่เชีย ประวัติศาสตร์การขยายตัวของพวกออสโตรนีเซียน

การแพร่กระจายของมนุษย์ไปยังเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความสำเร็จของชุมชนโพลินีเซีย

ต้นกำเนิดของชาวโพลินีเซีย

  • ชาวโพลินีเซียมีต้นกำเนิดจากเกาะไต้หวันและค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
  • การแพร่กระจายนี้เริ่มต้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

เทคโนโลยีการเดินเรือและการนำทาง

  • ชาวโพลินีเซียมีเทคโนโลยีการสร้างเรือและการนำทางที่ยอดเยี่ยม ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถข้ามมหาสมุทรและค้นพบเกาะใหม่ ๆ ได้
  • การใช้เรือแคนูสองลำที่มีความแข็งแรงและการนำทางโดยใช้ดาวและกระแสน้ำช่วยให้การเดินทางเป็นไปได้

การตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่าง ๆ

  • ชาวโพลินีเซียตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่าง ๆ โดยการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
  • พวกเขานำพืชและสัตว์เลี้ยงติดตัวไปด้วย เช่น มันเทศ หมู ไก่ และสุนัข เพื่อใช้ในการเกษตรและการดำรงชีวิต

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนโพลินีเซีย

  • ชุมชนโพลินีเซียพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละเกาะ
  • เกาะที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์สามารถสนับสนุนประชากรที่มากขึ้นและพัฒนาโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อนได้
  • เกาะที่มีทรัพยากรจำกัดต้องพึ่งพาการแลกเปลี่ยนกับเกาะอื่นและการจัดการทรัพยากรอย่างระมัดระวัง

ตัวอย่างของชุมชนโพลินีเซีย

  • ฮาวาย: มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ สามารถพัฒนาโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อนและระบบการปกครองที่เข้มแข็ง
  • เกาะอีสเตอร์: มีทรัพยากรจำกัด การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวังทำให้สังคมล่มสลายในที่สุด
  • นิวซีแลนด์: มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเกาะโพลินีเซียอื่น ๆ ทำให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาที่ไม่เหมือนกัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของชุมชนโพลินีเซีย

  • ทรัพยากรธรรมชาติ: เกาะที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์สามารถสนับสนุนประชากรที่มากขึ้นและพัฒนาโครงสร้างทางสังคมได้ดีกว่า
  • เทคโนโลยีและการจัดการทรัพยากร: การมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการจัดการทรัพยากรอย่างระมัดระวังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความยั่งยืนของสังคม
  • การแลกเปลี่ยนและการติดต่อกับเกาะอื่น: ชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับเกาะอื่นมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตและพัฒนาได้ดีกว่า

บทที่ 18 “Hemispheres Colliding”

การปะทะกันระหว่างโลกเก่า-โลกใหม่ ประวัติศาสตร์ยูเรเซียและทวีปอเมริกาโดยเปรียบเทียบ

การค้นพบและการพิชิตดินแดนในอเมริกาโดยชาวยุโรปในศตวรรษที่ 15 และ 16

ประเด็นสำคัญ

  • ชาวยุโรปมีเทคโนโลยีทางการทหารที่เหนือกว่า เช่น ปืนและม้า
  • โรคระบาดที่ชาวยุโรปนำมาแพร่กระจายในอเมริกาทำให้ประชากรพื้นเมืองลดลงอย่างมาก
  • ชาวยุโรปมีระบบการเกษตรและการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
  • ระบบการปกครองและการบริหารจัดการที่เข้มแข็งช่วยให้ชาวยุโรปสามารถควบคุมดินแดนในอเมริกาได้
  • การปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมยุโรปและวัฒนธรรมพื้นเมืองอเมริกาทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม

บทที่ 19 “How Africa Became Black”

แอฟริกากลายเป็นแผ่นดินของคนผิวดำได้อย่างไร ประวัติศาสตร์ทวีปแอฟริกา

ประเด็นสำคัญ

  • แอฟริกาเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเริ่ม และการตั้งถิ่นฐานในแอฟริกามีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
  • การแพร่กระจายของการเกษตรและการเคลื่อนย้ายของประชากรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในแอฟริกา
  • การปะทะและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในแอฟริกามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการทรัพยากร
  • การล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปมีผลกระทบอย่างมากต่อวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในแอฟริกา

บทที่ 20 “Who are the Japanese?”

คนญี่ปุ่นเป็นใคร ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ต้นกำเนิดของประชากรญี่ปุ่น

  • ญี่ปุ่นมีประชากรที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย
  • กลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวไอนุ (Ainu) และชาวยามาโตะ (Yamato)

การอพยพและการตั้งถิ่นฐาน

  • ประชากรที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางคาบสมุทรเกาหลีและตะวันออกไกลของรัสเซียมายังญี่ปุ่น
  • การตั้งถิ่นฐานของประชากรในญี่ปุ่นมีความหลากหลายตามภูมิภาคและสภาพภูมิประเทศ

การพัฒนาเกษตรกรรมและวัฒนธรรม

  • ญี่ปุ่นพัฒนาเกษตรกรรมที่ใช้ข้าวเป็นหลักซึ่งมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ
  • วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนและเกาหลีในด้านเทคโนโลยี การเขียน และศาสนา เช่น พุทธศาสนาและลัทธิขงจื๊อ

การรวมตัวทางการเมือง

  • รัฐยามาโตะ (Yamato) มีบทบาทสำคัญในการรวมตัวทางการเมืองของญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5
  • การรวมตัวนี้ช่วยสร้างความเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมและการปกครองในญี่ปุ่น

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

  • ญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะที่มีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ
  • การเป็นหมู่เกาะทำให้ญี่ปุ่นมีความโดดเดี่ยวในบางช่วงเวลา แต่ก็สามารถพัฒนาการติดต่อทางการค้ากับประเทศอื่น ๆ ได้

การพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม

  • ญี่ปุ่นมีการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในช่วงยุคเมจิ (Meiji) ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดประเทศและการติดต่อกับชาติตะวันตก
  • การปฏิรูปและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศช่วยให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่ทันสมัย

มีเนื้อหาไหน ที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ๆ ในปี 2024 บ้าง

หนังสือ “Guns, Germs, and Steel” ของ Jared Diamond ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการวิชาการ อย่างไรก็ตาม บางแนวคิดและข้อมูลที่ Diamond นำเสนอในหนังสืออาจไม่สอดคล้องกับการค้นพบและข้อมูลใหม่ ๆ ในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของวิทยาศาสตร์สังคมและการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทางชีววิทยา นี่คือตัวอย่างบางประเด็น:

1. ปัจจัยทางพันธุกรรมและชีววิทยา

  • งานวิจัยใหม่ ๆ ในด้านพันธุศาสตร์และชีววิทยาอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรมของมนุษย์และผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของสังคม
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของประชากรและการผสมพันธุ์ทางพันธุกรรมในอดีตอาจมีการปรับปรุงและให้มุมมองที่ละเอียดขึ้นเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมนุษย์

2. บทบาทของวัฒนธรรมและสังคม

  • Diamond เน้นปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเป็นหลักในการอธิบายความแตกต่างในการพัฒนา แต่การวิจัยใหม่ ๆ อาจให้ความสำคัญกับบทบาทของวัฒนธรรม, การเมือง, และเศรษฐกิจมากขึ้นในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาของสังคม
  • การวิเคราะห์ที่ลึกขึ้นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและปัจจัยภายในอื่น ๆ อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ซับซ้อนขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรือง

3. การเคลื่อนย้ายของโรคและผลกระทบของมัน

  • Diamond อธิบายว่าโรคระบาดที่มาจากสัตว์เลี้ยงมีบทบาทสำคัญในการทำให้ชาวยุโรปสามารถพิชิตดินแดนอื่นได้ แต่การวิจัยใหม่ ๆ อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคและวิธีการที่สังคมต่าง ๆ รับมือกับโรคเหล่านี้
  • ผลกระทบของการแพร่กระจายของโรคในสังคมต่าง ๆ อาจถูกศึกษาในเชิงลึกขึ้น ทำให้เข้าใจปัจจัยที่ซับซ้อนที่มีผลต่อการแพร่กระจายและการควบคุมโรค

4. การวิพากษ์เกี่ยวกับการใช้ทฤษฎีเดียวในการอธิบายประวัติศาสตร์

  • การเน้นปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักอาจถูกวิพากษ์ว่าเป็นการลดทอนความซับซ้อนของประวัติศาสตร์มนุษย์
  • นักวิจัยบางคนอาจเสนอว่าการใช้ทฤษฎีที่หลากหลายและการรวมข้อมูลจากหลายแหล่งจะทำให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์มนุษย์มีความครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้น

สรุป

แม้ว่าหนังสือ “Guns, Germs, and Steel” จะมีคุณค่าอย่างมากในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสังคมมนุษย์ แต่การค้นพบใหม่ ๆ ในปี 2024 อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรับปรุงมุมมองที่มีต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่ Diamond นำเสนอในหนังสือ การศึกษาต่อเนื่องและการวิจัยในสาขาต่าง ๆ จะช่วยให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing