[รีวิว + สรุป] หนังสือ : Same as ever

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
6 min readFeb 9, 2024

อะไรจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

รีวิว

  • รวมเรื่องสั้น 23 เรื่องที่แสดงให้เห็นความจริงเหนือกาลเวลาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ สังคม และโลก ที่สามารถช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
  • อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้และได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์สุ่มต่างๆ อย่างไร แต่เราสามารถใช้รูปแบบของจิตวิทยาและประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นแนวทางในการรับมือกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยง
  • หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า เรื่องราวมีอิทธิพลมากกว่าสถิติ ในการกำหนดความเชื่อ การกระทำ และอารมณ์ของเราอย่างไร และวิธีที่เราสามารถใช้เรื่องราวให้เกิดประโยชน์หรือถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกไปในทางที่ผิด
  • บทเรียนยากๆ บางอย่างสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ส่วนตัวเท่านั้น และวิธีที่เราจะหลีกเลี่ยงความมั่นใจมากเกินไป ความหยิ่งยโส หรือความพึงพอใจโดยการยอมรับข้อจำกัดและอคติของเรา
  • หนังสือเล่มนี้สอนเราถึงวิธีรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในโลกที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความสำคัญของความอ่อนน้อมถ่อมตน ความอยากรู้อยากเห็น ความอดทน และความกตัญญู และวิธีนำหลักการเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางการเงินของเรา

Link ส่งต่อ : Bit.ly/mosbook2024-002

Shopee : https://shope.ee/5AU5WRXXRK

List คำถามที่ดีมากๆ เอาไว้ช่วงท้ายของบทความนะ แนะนำมากๆ

สปอย

1.ชีวิตเราแขวนอยู่บนเส้นด้าย

  • เรื่องใหญ่มากๆ สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเล็กๆที่ดูไม่มีความสำคัญใดๆเลย การเล่นสกีอย่างปลอดภัยมาเป็นหมื่นรอบ และวันนี้ทุกอย่างดูเหมือนเดิม แต่คุณก็สามารถตกหลุมหิมะตายได้อยู่ดี
  • ไม่มีใครรู้หรอกว่าจริงๆแล้ว วิกฤตทางการเงินปี 2008 เกิดขึ้นจากอะไร เพราะจะเข้าใจเรื่องนี้ คุณต้องเข้าใจ Mortgage market จากนั้นต้องเข้าใจ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงในช่วง 30 ปีหลัง จากนั้น ต้องเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อในปี 1970 ที่เป็นเพราะสงครามเวียดนาม แล้วก็ต้องเข้าใจความกลัวคอมมิวนิสในช่วงนั้น
  • การไม่ได้เข้าใจภาพใหญ่ อาจทำให้คุณรับรู้แบบผิดๆ และต่อให้เข้าใจหมดแล้ว นึกภาพว่าถ้าวันนั้นลูกคนอนุมติ ล้มขาถลอกแล้ว แล้วเขาไม่ได้ไปอนุมัติ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • ต่อให้คุณเข้าใจทุกอย่างแล้ว ก็ยังมีตัวแปรที่เราไม่รู้อีกมาก การทำนายโลกในอีก 50 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ในวันพรุ่งนี้ จากเรื่องเล็กๆที่ดูไม่สำคัญบางเรื่อง

2. ความเสี่ยงคือสิ่งที่คุณมองไม่เห็น

  • ปี 1961 NASA ส่งนักบินไปทดสอบบนบอลลูนที่ขอบอวกาศ และทุกอย่างราบลื่นดี นักบินกลับลงมาใกล้ถึงโลก เปิดหน้ากากสูดอากาศ ซึ่งก็ยังปกติดี ลงสู่ทะเลและฮอมารับ ซึ่งก็มีสะดุดตกน้ำเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรชุดกันน้ำได้ ลอยได้สบายๆ
  • แต่นักบินจมน้ำตายในวันนั้น.. เพราะชุดจะลอยเมื่อใส่แบบปกติ ไม่ใช่เปิดหน้ากากออกมาให้น้ำเข้า
  • นึกภาพตามว่าทีมงานหัวกะทิ คิดวิธีเอาตัวรอดในอวกาศอันแสนโหดร้ายครบทุกเคส จนนักบินปลอดภัยมาถึงพื้นโลก และลื่นตกน้ำตายเพราะเปิดหน้ากากที่ดูไม่มีพิษมีภัยอะไร
  • มกราปี 2019 ไม่มีใครพูดถึง Covid-19 , สงครามรัซเซีย หรือ สงครามในอิสราเอลเลยด้วยซ้ำ เรื่องใหญ่ในอนาคตก็จะยังไม่มีใครพูดถึงในวันนี้เช่นกัน
  • สิ่งสำคัญคือ เรามีเรื่องที่ไม่รู้อีกเยอะมาก ทั้งเรื่องของอนาคตและในอดีต ใช่!! อดีตเราก็ไม่รู้ เพราะที่เรารู้อาจจะผิดหรือไม่ครบถ้วน หรือโดนอคติจากคนจดบันทึกไปเต็มๆ
  • นักมวยที่รับมือหมัดอีกฝ่ายได้สบายๆ ก็ตายได้เพราะมีนักเรียนมาต่อยท้องตอนที่ตัวเองไม่ได้เตรียมตัวรับมือ
  • ให้ลงทุนในการเตรียมรับความเสี่ยง ดีกว่าไปนั่งทำนายว่ามันจะเกิดตอนไหนเมื่อไหร่ เพราะสุดท้ายเราก็เดาไม่ถูกอยู่ดี และให้เตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เราจัดการได้เท่านั้น
  • จำไว้ว่า แผนที่ดีที่สุดก็ยังล้มเหลวได้

3. กฎข้อแรกของความสุข คือคาดหวังให้น้อย

ความสุขของเราขึ้นอยู่กับความคาดหวัง มากกว่าตัวแปรอื่นทั้งหมด

  • ทักษะที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิตที่มีความสุขคือ อย่าหวังสูงขึ้นเรื่อยๆ !
  • ชีวิตคนธรรมดาสมัยนี้ สบายกว่าจักรพรรดิสมัยก่อนด้วยซ้ำ แต่เราไม่ได้มีความสุขมากกว่า เพราะเราเปรียบเทียบความสุขกับคนรอบตัว
  • ถ้าคุณมีเงิน $10 ล้าน คุณคือ คนรวย ในสถานที่ส่วนใหญ่บนโลก แต่เป็นคนธรรมดาใน silicon valley ที่มีคนที่รวยกว่าคุณมากๆ เดินให้ว่อน
  • ทุกอย่างถูกเอาไปเปรียบเทียบได้ โดยเฉพาะเงินที่ซื้อความสุขได้ แต่ถ้าใช้ผิดวิธีก็โคตรอันตราย
  • เรารวยขึ้นกว่ายุค 70 ปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่ได้มีความสุขมากกว่า เพราะ สมัยก่อน คนรอบๆตัวก็มีน้อยๆเหมือนกับเรา แต่สมัยนี้เราได้เห็นคนโคตรรวย และ ชีวิตดีกว่าเราได้ง่ายมากเพียงแค่ปลายนิ้ว
  • ลองจินตนาการถึงชีวิตที่ดีขึ้นทุกๆอย่าง แต่คุณไม่มีความสุขเพียงเพราะคุณหวังว่าจะดีกว่านี้

4. คนที่คุณชอบความคิดเขามากๆ ก็มีความคิดที่คุณไม่ชอบด้วยเหมือนกัน

  • เราคาดหวังผิดๆ จากคนที่ประสบความสำเร็จมากๆ เพราะมองเฉพาะมุมที่ดีของเขา

Elon Musk เป็นตัวอย่างที่โคตรดี ที่มีมุมที่ดีมากๆ และ มีมุมที่อิหยังวะมากๆเช่นกัน

  • เวลาเจอคนที่มีอะไรดีมากๆ ก็มีโอกาสที่เขาจะมีอะไรที่แย่มากๆในเรื่องอื่นเช่นกัน
  • คนที่ประสบความสำเร็จโคตรๆ มักจะเสี่ยงโคตรๆด้วยเช่นกัน
  • ฉะนั้นเวลา เห็นใครประสบความสำเร็จก็ไม่ต้องไปอิจฉา หรือ อยากเป็นแบบเขา ถ้าไม่พร้อมรับความเสี่ยง และข้อเสียมุมอื่นๆ แบบ 100%

5. ผู้คนไม่ต้องการความแม่นยำ พวกเขาต้องการความแน่นอน

  • ปัญหายุคนี้คือคนโง่มั่นใจเกินไปในขณะที่คนฉลาดเต็มไปด้วยความสงสัย
  • โลกนี้มันไม่มีอะไรแน่นอนขนาดนั้น เช่นถ้าคุณบอกว่า มีโอกาส 60–80% ที่จะเกิดบางอย่าง
  • คุณสามารถเป็นคนฉลาดที่เสี่ยงแล้วตอบผิด หรือเป็นคนโง่ที่เสี่ยงแล้วดันถูก ก็ได้
  • ผู้คนคิดว่าตัวเองต้องการความแม่นยำถูกต้อง แต่จริงๆพวกเขาต้องการความแน่นอน ฟันธงมาเลยว่า A หรือ B มันจับต้องได้มากกว่า ไม่ต้องมาบอกว่ามีโอกาสกี่% มันฟังแล้วไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
  • อีกปัญหาคือ คนคิดว่าเรื่องที่มีโอกาสเกิด 1 ใน ล้าน เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก แต่จริงๆมันเกิดขึ้นตลอด เพราะเรามี 8,000 ล้านคน… หรือ จะเกิด 8,000 ครั้งต่อวัน — 2.9 ล้านครั้งต่อปี
  • ….ใหญ่สุดในรอบร้อยปี ก็ไม่ใช่เรื่องเกิดยาก เพราะมันมี … ไม่รู้ตั้งกี่เรื่อง ถ้ามี 1000 เรื่องก็เกิดปีละ 10 เรื่องเข้าไปแล้ว

ข่าวร้ายได้ความสนใจมากกว่าข่าวดีเพราะ ข่าวร้ายมาพร้อมกับความรู้สึกเร่งด่วน

  • สมองคนเราออกแบบมาให้ ลบความสงสัย และ รีบตัดสินใจ (สมัยก่อนนู้นคิดช้าโดนล่าไปกิน) เราเป็นลูกหลานของมนุษย์ที่วิ่งไม่คิด แล้วรอด แต่ยุคนี้มันไม่ใช่แบบนั้นแล้วไง
  • นักเศรษฐศษสตร์ที่ทำงานมา 50 ปี เจอวิกฤตการเงินจริงๆ แค่ 7 ครั้ง ซึ่งนั่นน้อยมากเกินไปที่จะให้เขาตอบอย่างมั่นใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต (โลกจริง ตัวแปรวุ่นวายมากกว่าด้วย)
  • การแยกแยะระหว่าง ‘ความสะเพร่า’ กับ ‘ความเสี่ยง’ เป็นเรื่องยาก ลองนึกว่าจอดรถ 10,000 ครั้ง เฉี่ยวครั้งเดียว (คนปกติคือ 14 ปี ถึงจะเฉี่ยวที ซึ่งดีมากแล้ว) แต่คนรับรถในโรงแรม รับรถเดือนละหมื่นคัน นั่นคือ ทุกเดือนต้องมีรถส่งซ่อม จนเหมือนเป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้

6. เรื่องเล่าที่ดีจะชนะ

  • ไม่ใช่ไอเดียที่ดีที่สุด หรือ ไอเดียที่ถูกต้องหรือมีเหตุผลที่สุด แต่เป็น ใครสักคนที่ดึงความสนใจจากผู้คนและทำให้พวกเขาพยักหน้าได้ต่างหากหล่ะที่จะได้รางวัล
  • เพราะโลกเรามีข้อมูลมากเกินไป เกินกว่าจะมานั่งฟังข้อมูลดิบ
  • คนไม่จำเนื้อหาในหนังสือทั้งเล่ม แต่เขาจำประโยคที่เขาชอบ

อารมณ์ขันเป็นวิธีที่ดีในการแสดงความฉลาดโดยไม่ต้องอวด

  • ถ้าเนื้อหามันยาก ใช้เรื่องเราเป็นเครื่องมือสิ
  • เรื่องเล่าที่โน้มน้าวได้ดีคือเรื่องที่เราเชื่อว่าจริง หรือ ได้เจอมากับตัวเอง
  • เรื่องเล่าทำให้คนสนใจจุดเดียวกันได้
  • เรื่องเล่าสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับเรื่องเดิมๆ เช่น หนังสือ Sapiens ที่ไม่ได้ค้นพบอะไรใหม่ แต่นำเสนอได้ดีมาก

7. โลกขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่วัดไม่ได้

  • Logic คือสิ่งที่ถูกคิดค้นโดยมนุษย์ และอาจถูกเมินโดยจักรวาล
  • ซึ่งนั่นจะทำให้คุณบ้า เพราะโลกไมได้เป็นไปอย่างที่คุณหวังให้มันมีเหตุผล

บางเรื่องโคตรไม่สมเหตุสมผล ถ้ามองจากมุมเรา แต่อาจจะเป็นทางเลือกเดียวของอีกมุม

  • เช่น สงครามเวียดนาม ที่ ทหารเมกาฆ่าทหารเวียดนามด้วย Rate 1:10 แต่ ก็ยังแพ้ เพราะ เวียดนามสู้ไม่ถอยเพราะไม่มีที่ให้ถอย และ คนที่ US ไม่ได้สนใจว่าเวียดนามตายกี่คน สนใจแค่ทหาร US ตายไปเท่าไหร่ ซึ่งส่งผลต่อจิตใจ
  • หรือสงครามที่ Hitler โต้ตอบทั้งๆที่ไม่ make sense เอาซะเลย แต่เราควรจะไปคาดหวังคาดสมเหตุสมผลจาก Hitler ได้ที่ไหน
  • อะไรที่เราคิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้น อาจจะผิดได้เสมอ เพราะเราไม่มีทางรู้ตัวแปรจริงๆได้ครบ
  • ถ้าคุณเอาแต่พึ่ง Data & logic อย่างเดียว คุณจะพลาดไปหลายๆอย่างเลย

1. ตระหนักเอาไว้ว่า ที่ทุกวันนี้มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะมีไอบ้ากลุ่มนึงที่เขาคิดต่างจากคนปกติ

2. อะไรที่สมเหตุสมผลกับเรา อาจจะไม่สมเหตุสมผลกับอีกคน

3. คนที่หลงอยู่ที่ Bubble ไม่รู้ตัวหรอก จนกระทั่งมองย้อนกลับไป เงินมันหอมหวานจนทำให้คนหน้ามืดตามัวได้

8.ความบ้า ไม่ได้พัง แต่ เป็นเรื่องปกติ

เมื่อเศรษฐกิจมั่นคง คนมองโลกในแง่ดี

เมื่อคนมองโลกในแง่ดี เลยไปกู้มาเสี่ยงจนเป็นหนี้

พอมีหนี้ในระบบเยอะๆ เศรษฐกิจก็เริ่มไม่มั่นคง

  • ลองนึกถึงโลกที่ ราคาหุ้นไม่ลดลงสิ คนจะแห่กู้เงินมาซื้อหุ้นแน่ๆ แล้วราคามันก็จะขึ้นไปถึงจุดที่ไม่คุ้ม แล้วก็ร่วงอยู่ดี

เมล็ดพันธ์ของความชิบหายก็มาจาก คนมองโลกดีเกินไปแบบนี้แหล่ะ

  • Covid 19 ถ้าไประบาดในช่วงงปี 1920 ก็คงเป็นแค่โรคละบาดธรรมดา เพราะช่วงนั้นมีแต่เรื่องใหญ่ๆ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีโรคระบาดแล้ว เลยดูยิ่งใหญ่ คนคิดว่าโรคระบาดเป็นเรื่องผิดปกติเพียงเพราะแค่เราไม่ได้เจอปัญหามานานเกินไป
  • ในจุดสูงสุดของชีวีต จงระวัง

9.ทุกอย่างมีเวลาของมัน

  • เราไม่สามารถคลอดเด็ก ใน 1 ด้วย ด้วยการใช้ผญ 9 คนหรอกนะ
  • ชายตัวใหญ่ ขึ้น 3 เท่า ไม่ได้แปลว่าเขาจะแข็งแรงขึ้น 3 เท่า (เขายืนด้วยตัวเองไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะร่างกายไม่สมดุล)

“Convenient size”

  • สัตว์ทุกชนิด มีขนาดที่เหมาะสม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราไม่มี ตั๊กแตนตัวเท่าคน
  • ถ้าย้อนไปดูผลตอบแทนหุ้น US จะพบว่า เวลาทีเหมาะสมคือถือเกิน 10 ปี ขึ้นไป ค่อนข้างจะได้ผลตอบแทนแน่นอน เทียบกับ ถือวันเดียว
  • อะไรที่เร็วไปใหญ่ไป ไม่ใช่ว่าจะดี ต้องให้เวลามันได้เติบโตอย่างเหมาะสม
  • สิ่งที่สำคัญคือ ความอดทน และ การรู้คุณค่าของสิ่งที่เติบโตอย่างช้าๆ

10. ความเครียดทำให้คนจดจ่อได้ อย่างที่ช่วงเวลาดีๆให้ไม่ได้

นวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นตอนที่ทุกคนมีความสุขดี แต่เกิดขึ้นจากช่วงเวลาแย่ๆ ที่ต้องมีอะไรไปแก้ไขมัน

  • เมื่อทุกอย่างไปได้ดี ทุกคนร่ำรวย ทำตัวชิลๆได้ ไม่ต้องสู้กับใคร นั่นจะทำให้เราตัดสินใจได้แย่ และไม่ productive
  • สงคราม เป็นตัวอย่างนึงที่สร้างนวัตกรรมได้มาก เช่น Internet, GPS, Microwave,Antibiotics
  • สงคราม รวมปัญหามากมายที่ต้องแก้เดี๋ยวนี้
  • นวัตกรรมถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจ เช่น ถ้าคิดไม่ได้จะโดนไล่ออก หรือ โดนฆ่า หรือ คิดออกจะรวย ซึ่งนั่นทำให้สมองเราเข้าเกียร์พร้อมคิด
  • ช่วงสงคราม คือต้องแก้ปัญหาให้ออก โดยไม่แคร์เรื่องงบประมาณด้วยซ้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจากสงคราม

ซึ่งแรงขับเคลื่อนที่บังคับสมองให้คิดได้ดี คือ ความกังวล ความกลัวและความกระตือรือร้น

  • ยุค 1930 คือช่วงที่คนอเมริกา ตกงานกันสูงมาก แต่นั่นทำให้ คนต้องทำงานให้ productive มากขึ้น
  • นวัตกรรมส่วนใหญ่ ถ้าไม่ได้มีเหตุการณ์ยากลำบากมากดดัน เราอาจจะไม่ได้เห็นมันในวันนี้
  • แต่ ประโยชน์ของความเครียดก็มีขีดจำกัด อย่าเครียดเยอะจนสิ้นหวัง

11. ข่าวดีมาจากการสะสม ข่าวร้ายเกิดขึ้นได้ในพริบตา

Concept: Complex to make, simple to break

  • คนเมกา ตายด้วยโรคหัวใจน้อยลงทุกปี ถ้าเทียบกับปี 1950 เราพัฒนาถึงขั้นช่วยชีวิตคนมาแล้ว 25 ล้านคน ตั้งแต่ตอนนั้น หรือ ปีละ 5 แสนคนเลยนะเห้ย
  • แต่ไม่มีใครสนใจข่าวนี้หรอก เพราะ มันดีขึ้นปีละ 1.5% เทียบกับปีก่อนๆ แค่นั้น (แต่ถ้ามองภาพ 50 ปีคือ โหดมาก)
  • พัฒนาการสำคัญๆล้วนเป็นแบบนี้ทั้งนั้น คือ พัฒนาทีละนิดจนไม่มีคนสังเกตเห็น จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายสิบปี
  • เศรษฐกิจดีขึ้นปีละ 3% นั่นคือเรื่องเฉยๆมากๆ จนกระทั่งคิดได้ว่ามันคือโต 8 เท่าใน 100 ปี
  • คนไม่ได้จำหรอกว่าตอนนี้พัฒนามากไกลแค่ไหนเทียบกับตอนเกิด แต่เขาเทียบกับไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมันมองไม่ค่อยชัดเท่าไหร่..
  • ในอีกด้าน ข่าวร้ายคือ คนรับรู้และสนใจแทบจะทันที เห็นได้ง่ายมาก
  • วิธีการสร้างสันติให้โลก ต้องการการตัดสินใจที่ดีจากทุกคน แต่สงครามเริ่มได้จากการตัดสินใจแย่ๆของคนเดียว

12. เรื่องเล็กๆ จะสะสมจนกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่

คนส่วนใหญ่ไม่ได้อ้วนจากการกินข้าวมื้อใหญ่ แต่อ้วนจากการกินขนมระหว่างวัน

  • ความเสี่ยงใหญ่ๆ มักถูกมองข้ามเพราะมันเป็น ปฏิกิริยาลูกโซ่มาจากเรื่องเล็กๆ ซึ่งไม่มีใครคิดว่าจะสำคัญ
  • Great Depression, Covid-19 ก็เริ่มมาจากความผิดพลาดเล็กๆ หลายๆอย่างรวมกัน
  • วิวัฒนาการของมนุษย์ก็มาจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ตลอด 3.8 พันล้านปี

เวลาคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้

  • ถ้าจะลงทุน ลองหาการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่มั่นคงได้นานที่สุด

13. Progress ต้องมีทั้งการมองโลกในแง่ดีและร้าย

Concept: Danger of Overconfident

  • การมองโลกในแง่ดีอย่างเดียว ถ้ามันไม่ได้อย่างที่หวัง จะผิดหวังหนักมากเพราะไม่ได้เผื่อใจไว้
  • ให้มองโลกแง่ดีว่า ระยะยาวจะไปได้สวย แต่ก็มองโลกแง่ร้ายเผื่อไว้ประมาณนึง เพื่อให้รอดในระยะสั้น
  • Bill gates ในปี 1997 ย้ำว่าต้องมีเงินสดสำรองเผื่อไม่มีรายได้ 1 ปีเต็มๆ ทั้งๆที่ตอนนั้นทุกอย่างไปได้สวย แต่ก็ระวังไม่เอาเงินไปลงทุนจนหมด (ปี 2007 ก็ทำให้เห็นว่า Gates คิดถูก)

เก็บเงินเหมือนคนมองโลกในแง่ร้าย แต่ลงทุนเหมือนคนมองโลกในแง่ดี

  • วางแผนเหมือนคนมองโลกในแง่ร้าย แต่ฝันเหมือนคนมองโลกในแง่ดี

14. ข้อได้เปรียบของความไม่สมบูรณ์แบบ

Concept: The more perfect you try to be, the worse you’ll end up doing

  • ข้อแรก โลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบจริงๆหรอก โดยเฉพาะการสมบูรณ์แบบทุกๆด้าน

เมื่อเราทำสิ่งนึงได้ดีมากๆ มันจะมีจุดนึงที่ทำให้เรื่องอื่นแย่ลง

  • ต้นไม้ที่สูงที่สุดจะได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ แต่ต้องต้านลมมากกว่าต้นอื่นเช่นกัน
  • เอาแค่สูงประมาณนึง แล้วไม่ต้องไปเสี่ยงรับลมให้ล้ม ก็พอแล้ว
  • Productivity แลกกับค่าใช้จ่ายของความอยากรู้อยากเห็นและการคิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสองอันนี้เป็นสิ่งที่ใช้เพื่อประสบความสำเร็จ
  • Just-in-time ไม่เหลือพื้นที่ให้กับความผิดพลาดใดๆ ซึ่งทำให้เราเห็นชัด ตอน Covid-19 มา แล้วไม่ได้สต๊อกของ คือต้องหยุดการผลิต
  • การลงทุนก็เหมือนกัน เงินสดคือความไม่มีประสิทธิภาพเลยในตลาดที่กำลังโต แต่มีค่ามากในตลาดขาลง และการ Leverage คือวิธีที่ดีที่สุดในการ Maximize profit และง่ายที่สุดในการทำทุกอย่างพัง เช่นกัน
  • ถูกแบบประมาณๆนึง ดีกว่าผิดเต็มๆ “Good enough” ก็พอแล้ว ไม่ต้องไปรีดให้มัน 100% หรอก
  • เพราะคนที่มั่นใจเกินไป ไม่เหลือพื้นที่ให้ความผิดพลาดเลย สุดท้ายก็จะพัง

ยิ่งพยายาม Perfect คุณยิ่งเปราะบางต่อความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ

15.ทุกอย่างที่มีค่าให้เราไขว่คว้า จะมาพร้อมกับความเจ็บปวด

  • เคล็ดลับคือ อย่าไปใส่ใจกับความเจ็บปวดพวกนั้น
  • จริงๆ ทักษะนี้คือหนึ่งในทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุดด้วยซ้ำ
  • ถ้าอยากให้คนอ่าน Social media post เราเยอะๆ อาจจะนึกถึง วิธีการใช้ #, เวลาที่โพส หรือ Hack อื่นๆ ทั้งที่จริงๆ วิธีได้ผลดีที่สุด คือการทำ Content ที่ดี… แต่มันไม่ใช่ทางที่ง่ายไง
  • Hacks มันดูน่าดึงดูด เหมือนเส้นทางไปสู่ผลลัพธ์มันชัดเจน แต่โลกความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
  • ตำแหน่งงานที่เราชอบที่สุด ก็ยังมีบางช่วงที่เราไม่ชอบ
  • ให้คิดซะว่า ส่วนที่ไม่ชอบมันก็คือส่วนหนึ่งของงาน เราได้ตำแหน่งนี้มาแบบเหมาแพ็ค แยกส่วนเนื้องานไม่ได้

ถ้าเราทนความไม่ชอบ เล็กๆน้อยๆไม่ได้ คุณจะกลายเป็นคนที่เข้ากับโลกไม่ได้เลย

  • โจร คือตัวอย่างที่ดี ร้านค้าสามารถทำให้โจรเป็น 0 ได้ด้วยการตรวจค้นและมีคนคอยคุ้มกันอยู่เต็มร้าน แต่นั่นก็จะทำให้ลูกค้าไม่เข้าด้วยเช่นกัน ฉะนั้น โจรจึงยังไม่หมดไปจากโลกนี้
  • ความไม่มีประสิทธิภาพนี้ คือ เรื่องปกติ
  • ยอมรับความไม่มีประสิทธิภาพ แล้วมองโลกตามความเป็นจริงนะ โลกมีเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้เพียบ ถ้าเราไม่พอใจทุกครั้งที่เจอเรื่องไม่ได้ดั่งใจ เราจะเป็นบ้า
  • กฏง่ายๆในการเลือกที่จะทนกับเรื่องที่เราไม่ชอบดีไหม : ประเมิณคุณค่าที่ได้จากการกำจัดสิ่งที่ไม่ชอบ และ ราคาที่คุณต้องจ่าย

16. ข้อได้เปรียบส่วนใหญ่สุดท้ายแล้วจะหมดไป

  • ไม่มีข้อได้เปรียบไหนจะทำให้เราสบายใจไปได้ตลอด เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ข้อได้เปรียบนั้นจะไร้ประโยชน์หรืออาจถึงขั้นย้อนกลับมาทำร้ายเรา
  • สัตว์ที่ตัวใหญ่จะแข็งแรงกว่า แต่ก็ต้องการพลังงานในการเอาชีวิตรอดมากกว่า และ ซ่อนได้ยากกว่า และมีลูกได้ช้ากว่า
  • วิวัฒนาการจะให้รางวัลคุณในการตัวใหญ่ขึ้น และลงโทษคุณเมื่อคุณตัวใหญ่เกินไป
  • เพราะคุณมีข้อได้เปรียบ คุณเลยมีโอกาสเสียมันไปมากขึ้นจาก

1. ข้อได้เปรียบจะทำให้คุณโอหัง และนั่นจะทำให้ทุกอย่างพัง

2. ทักษะที่ทำให้คุณสำเร็จตอนบริษัทยังเล็ก อาจะไม่ใช่ทักษะที่เหมาะกับบริษัทตอนที่โตแล้ว

3. คนมักจะทักงานหนักเพื่อให้สำเร็จ แต่เมื่อถึงจุดนั้นแล้วคนจะผ่อนคลาย

4. ทักษะที่มีค่าในยุคนึง อาจจะไม่มีค่าในอีกยุค

5. ความสำเร็จคือ การอยู่ให้ถูกที่ถูกเวลา (โชคนั่นแหล่ะ)

  • คุณรู้ได้ไงว่า ข้อได้เปรียบนั้นคือข้อได้เปรียบจริงๆ ไม่ใช่โชค

จงพัฒนาตัวเองต่อไป

  • อย่าแปลกใจที่วันนึง ยักษ์ใหญ่จะล้มลง

17. เป็นเรื่องปกติที่คุณจะคิดว่าตัวเองล้าหลัง

  • เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะไม่เห็นประโยชน์ของ เทคโนโลยีใหม่ๆ
  • เวลามีของใหม่มา เราจะคิดวิธีใช้ออก โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งนั้น ซึ่งมันจะเป็นเรื่องง่ายๆ และไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนั้นอย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ
  • ใครจะไปคิดออกตอนแรกว่า Arpanet จะทำให้เกิด Google maps ในเวลาต่อมา ทำให้เราเสียภาษีออนไลน์ได้

ไม่เคยมีใครทำนายอนาคตได้ มันยากมากๆที่จะรู้ว่า Innovation ใหม่จะเอาไปทำอะไรได้ จนทำให้หลายครั้งเราเห็นคุณค่ามันน้อยเกินจริงไปมาก

  • ความหลากหลาย คือความแข็งแกร่งที่แท้จริง เพราะคุณไม่รู้ว่า Innovation ไหนจะดีที่สุด การสร้างหรือลงทุนใน หลายๆ Innovation จะเพิ่มโอกาสได้สิ่งเจ๋งๆอย่างแท้จริง (นี่คือวิธีที่ วิวัฒนาการทำงาน สุ่มๆไป สุ่มเยอะๆ จนออกมาเป็นเรา)
  • A ทำได้นิดๆ และ B อาจจะคิดไม่ออกว่าเอาไปทำอะไร แต่เมื่อ A กับ B มาเจอกัน สามารถกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่แบบทวีคูณได้ เหมือนกัน โทรศัพท์ + Internet

18. สิ่งที่เห็นไม่ใช่ทุกอย่างที่มันเป็น

  • คนส่วนใหญ่เขาไม่บอกหรอกว่าตัวเองเจอเรื่องแย่ๆอะไรมาบ้าง เขานำเสนอแต่ด้านดีๆให้คนอื่นอิจฉา

ทุกอย่างดูดีเมื่อมองจากภายนอก สิ่งที่เราเห็น เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของเรื่องราวทั้งหมด

  • เราไม่รู้จริงๆหรอกว่าชีวิตที่สวยหรู ของคนที่เราไปอิจฉา เขาต้องเจอเรื่องโหดร้ายอะไรมาบ้าง
  • Elon musk ที่รวยและเก่งขนาดนั้น เขาต้องแลกมากับเวลาที่จะได้ใช้กับลูกๆ เพื่อนๆ รวยถึงเมียทิ้งหลายรอบ อดนอน โคตรเครียด
  • คนที่ประสบความสำเร็จ เขาไม่ใช่ยอดมนุษย์ เขาต้องฝ่าฝันกว่าจะได้มันมา ถ้ามองจากมุมเรา เราอาจจะคิดว่าเราคงทำแบบเขาไม่ได้หรอก แต่จริงๆแล้วเขาก็คนธรรมดาเหมือนเรา แค่เขาเริ่มทำ ไม่ใช่แค่คิดเฉยๆ
  • ข้อควรระวังคือ คนเก่ง ไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ความเห็นของพวกเขาไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป อย่าไปถามเรื่องการเมืองจากนักการเงิน อย่าถามเรื่องความรักจากอีลอน
  • ทุกคนต้องจัดการปัญหา ที่ไม่ได้บอกให้คนอื่นรู้

19. Incentive (แรงจูงใจ): คือพลังที่ทรงพลังที่สุดในโลก

Incentive สามารถจูงใจให้คนดีๆ ทำเรื่องบ้าๆได้

  • สมัยที่คนยังคิดว่าโลกแบน จริงๆแล้วก็มีคนไม่น้อยที่รู้นะว่าโลกกลม แต่ไม่พูด เพราะยังต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ถ้าพูดออกไปจะเจอปัญหาได้
  • แรงจูงใจ จะเป็นตัวกำหนดหลักเลยว่า ใครจะทำอะไร แม้ว่าจริงๆแล้วเขาจะไม่ได้เป็นคนแบบนั้น ถ้าแรงจูงใจเปลี่ยนไป

คนดีก็สามารถฆ่าคนอื่นได้ ถ้าโดนขู่ว่าถ้าไม่ทำ จะฆ่าอีก 1000 คนแทน

  • แรงจูงใจทางการเงินยังพอทน แต่แรงจูงใจทางวัฒนธรรมหรือเผ่าพันธ์นี่แรงกว่า
  • หนึ่งในแรงจูงใจที่แข็งแรงสุดคือ ความปรารถนาที่จะได้ยินเฉพาะสิ่งที่เขาอยากได้ยิน เห็นเฉพาะสิ่งที่อยากเห็น เชื่อเฉพาะสิ่งที่อยากเชื่อ
  • เรื่องที่ดูไม่ยั่งยืน อาจจะอยู่ได้นานกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมันมีแรงจูงใจบางอย่างประคองมันไว้ เช่น หุ้นปั่น ที่ทุกคนยังคิดว่ามันจะขึ้นไปอีก ทั้งๆที่ พื้นฐานเละไปนานแล้ว

คำถาม : มุมมองของเราจะเปลี่ยนไปไหม ถ้าเราเปลี่ยนแรงจูงใจ

20. ไม่มีอะไรโน้มน้าวใจคุณได้ดีมากไปกว่าการเจอกับตัวเอง

  • ความตลกร้ายคือ คนรุ่นใหม่ได้ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตสักเท่าไหร่ และเหตุการณ์มักจะซ้ำรอย
  • และการสอนก็มีข้อจำกัดของมัน ไม่มีอะไรจะมาทดแทนการได้เจอเหตุการณ์นั้นๆ กับตัวเอง

ความยากลำบากที่เกิดขึ้นตรงหน้า ทำให้พวกเขาคิดในแบบที่ ไม่มีวันคิดได้ในสถานการณ์ปกติ

  • ตลาดหุ้น การงาน ความสัมพันธ์ เมื่อความชิบหายมาเยือน มันจะบังคับให้คุณคิดในแบบที่ ช่วงที่สติดีไม่มีทางคิดแบบนั้น
  • และมันจะทำให้คุณเติบโตขึ้น ถ้าคุณรอดมาได้อ่ะนะ
  • การจินตนาการ “ถ้า..” ไม่เคยเป็นตามนั้นหรอก ลองรวยแล้วทำทุกอย่างที่คิดไว้ดูนะ มันไม่ใช่แบบที่คุณจินตนาการไว้หรอก
  • อย่าคิดว่าตัวเองรู้แล้ว จนกว่าจะได้ลองของจริง เพราะมันจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด

21. ระยะยาว.. ไม่ได้ง่ายเหมือนที่พูดหรอกนะ

  • การวางแผนระยะยาวนั้นง่ายกว่าทำมันให้สำเร็จเยอะ
  • ราคาของ การทำแผนระยะยาวให้สำเร็จ คือ ทักษะที่จำเป็น และ จิตใจที่แข็งแกร่ง

ก่อนจะทำแผนระยะยาวให้สำเร็จคุณต้องเข้าใจก่อนว่า

1. ระยะยาว คือ ระยะสั้นหลายๆอันรวมกัน

2. คนรอบๆตัวคุณต้องเข้าใจ ระยะยาวของคุณด้วย ต้องเชื่อในตัวคุณ เห็นภาพเดียวกับคุณ

3. การอดทน หลายครั้งก็แค่การดื้อ — โลกเปลี่ยนตลอด การทำตามแผนที่คิดไว้เมื่อนานมาแล้ว ไม่ได้ดีเสมอไป

4. ระยะยาว ไม่ใช่เรื่องของเวลา แต่เป็นเรื่องของความยืดหยุ่น

  • ก่อนคุณจะลงทุนทำอะไรสักอย่าง ลองถามตัวเองว่า อีก 10 ปี ฉันยังจะแคร์สิ่งนี้ไหม ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่..
  • ข้อมูลบางอย่างก็ยังมีหมดอายุ เช่น “งบการเงินปี 2023 ของ Microsoft” แต่ข้อมูลพวกนี้ดึงดูความสนใจได้ดีกว่าที่ควรจะเป็น
  • ถ้าคุณอ่านหนังสือพิมพ์ และ หนังสือจริงๆ เมื่อสิบปีก่อนตลอดมาทุกวัน มีโอกาสน้อยมากที่คุณจะจำเนื้อหาในหนังสือพิมพ์ได้ แต่หนังสือบางเล่ม คุณเล่าได้เป็นฉากๆ

22. ไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้มันยาก โดยไม่จำเป็น

  • คนเราคิดไปเองว่า เรื่องที่ยากกว่าจะได้มา นั้นมีค่ากว่าเรื่องง่ายๆ และเรื่องยากสุดๆ มักจะได้รับความสนใจมากกว่าเสมอ
  • การคิดวิธีรักษามะเร็งปอดได้นั้น เท่กว่าการให้คำแนะนำง่ายๆกว่าอย่าสูบบุหรี่เป็นไหนๆ
  • ทั้งๆที่ การบอกให้คุณอย่าสูบบุหรี่ตั้งแต่แรก ไม่ทำให้คุณต้องเจ็บปวดกับโรคเลยด้วยซ้ำ

ความจริงคือ เรื่องง่ายๆธรรมดาๆ เป็นตัวขับเคลื่อนผลลัพธ์ส่วนใหญ่บนโลกนี้ด้วยซ้ำ

  • เหมือนกับการค้นพบว่า ดื่มน้ำเปล่าวันละ 8 แก้ว ช่วยคนได้มากกว่าการรักษามะเร็งสมอง
  • วิวัฒนาการ รวบเอาเซลล์ เนื้อเยื้อ และ สิ่งที่ซับซ้อนเข้ามาเป็นอวัยวะง่ายๆที่เข้าใจได้

ทริคการเรียนเรื่องยากๆ คือ การเข้าใจคอนเซปสำคัญกว้างๆ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไป

  • เรื่องการเงิน สำคัญสุดก็แค่ ใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่หาได้และเก็บส่วนต่าง ที่เหลือแม้จะยากสุดๆ ก็ไม่ได้มีประโยชน์เท่า

23. แผลจะหาย แต่รอยแผลเป็นจะคงอยู่

  • แม้วิกฤตเศรษฐกิจจะสร้างความชิบหายไว้สักแค่ไหน เราก็จะฟื้นฟูมันกลับมาได้ แต่ความกลัวจะฝังลึกลงไป สู่คนในช่วงเวลานั้น ไม่หายไปตามกาลเวลา
  • คนที่ผ่านเหตุการณ์หนักๆมาด้วยตัวเอง จะคิดว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก หรือรุนแรงกว่านั้น ในขณะที่คนที่ไม่ได้ผ่านเหตุการณ์นั้นมา จะไม่ได้คิดถึงการเตรียมตัวป้องกันเลยด้วยซ้ำ

ประเด็นคือ คนที่มีประสบการณ์ต่างกัน ไม่แปลกเลยที่เขาจะคิดต่างกัน

  • ถึงแม้จะไม่ค่อยสบายใจที่อีกคนคิดไม่เหมือนกัน และมองอีกฝ่ายแย่ๆ แต่ก็ให้รู้เอาไว้ว่า จริงๆแล้วเขาแค่ ประสบการณ์ต่างจากเรา

คำถามที่ฝากเอาไว้ให้คิด

1. Who has the right answers but I ignore because they’re not articulate?

  • ใครมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่ฉันมักจะมองข้ามเพราะพวกเขาพูดไม่เก่ง?

2. Which of my current views would I disagree with if I were born in a different country or generation?

  • มุมมองใดของฉันในปัจจุบันที่ฉันไม่เห็นด้วยถ้าฉันเกิดในประเทศหรือยุคสมัยที่ต่างกัน?

3. What do I desperately want to be true so much that I think it’s true when it’s clearly not?

  • ฉันอยากให้สิ่งใดเป็นจริงมากจนฉันคิดว่ามันเป็นจริง ทั้งๆที่มันชัดเจนว่าไม่ใช่?

4. What is a problem that I think applies only to other countries/industries/careers that will eventually hit me?

  • ปัญหาอะไรที่ฉันคิดว่าส่งผลต่อประเทศ/อุตสาหกรรม/อาชีพอื่นเท่านั้น แต่สุดท้ายแล้วมันจะส่งผลกระทบต่อฉันด้วย?

5. What do I think is true but is actually just good marketing?

  • ฉันคิดว่าอะไรเป็นจริง แต่จริงๆแล้วมันเป็นแค่การตลาดที่ดี?

6. What haven’t I experienced firsthand that leaves me naïve about how something works?

  • ฉันยังไม่เคยมีประสบการณ์แบบไหนโดยตรง ทำให้ฉันไร้เดียงสาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของบางสิ่ง?

7. What looks unsustainable but is actually a new trend we haven’t accepted yet?

  • อะไรที่ดูเหมือนไม่ยั่งยืน แต่จริงๆแล้วเป็นเทรนด์ใหม่ที่เรายังไม่ยอมรับ?

8. Who do I think is smart but is actually full of it?

  • ฉันคิดว่าใครฉลาด แต่จริงๆแล้วพวกเขาเต็มไปด้วยความมั่นใจเกินจริง?

9. Am I prepared to handle risks I can’t even envision?

  • ฉันพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่ฉันยังนึกไม่ถึงหรือไม่?

10. Which of my current views would change if my incentives were different?

  • มุมมองใดของฉันในปัจจุบันที่จะเปลี่ยนไปหากแรงจูงใจของฉันแตกต่างกัน?

11. What are we ignoring today that will seem shockingly obvious in the future?

  • อะไรที่เรามองข้ามในวันนี้ แต่จะกลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนอย่างน่าตกใจในอนาคต?

12. What events very nearly happened that would have fundamentally changed the world I know if they had occurred?

  • เหตุการณ์อะไรที่เกือบจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนโลกที่ฉันรู้จักไปอย่างสิ้นเชิง?

13. How much have things outside my control contributed to things I take credit for?

  • สิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของฉัน มีส่วนช่วยต่อสิ่งที่ฉันได้รับเครดิตมากเพียงใด?

14. How do I know if I’m being patient (a skill) or stubborn (a flaw)?

  • ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันกำลังอดทน (เป็นทักษะ) หรือดื้อรั้น (เป็นข้อบกพร่อง)?

15. Who do I look up to that is secretly miserable?

  • ฉันเคารพใครที่แอบซ่อนความทุกข์อยู่ภายใน?

16. What hassle am I trying to eliminate that’s actually an unavoidable cost of success?

  • ฉันกำลังพยายามกำจัดความยุ่งยากอะไรที่จริงๆแล้วเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของความสำเร็จ?

17. What crazy genius that I aspire to emulate is actually just crazy?

  • อัจฉริยะสติไม่เต็มที่คนไหนที่ฉันอยากเลียนแบบ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นแค่คนบ้า?

18. What strong belief do I hold that’s most likely to change?

  • ความเชื่อมั่นที่ฉันยึดถืออยู่มากที่สุด มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปมากแค่ไหน?

19. What’s always been true?

  • อะไรที่เป็นจริงเสมอ?

20. What’s the same as ever?

  • อะไรที่ยังคงเหมือนเดิม?

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing