[รีวิว + สรุป]หนังสือ : The art of good life ศิลปะของการมีชีวิตที่ดี
เราต้องเลือกหนังสือที่จะอ่านให้ดี เพราะเวลาเรามีจำกัด
- ถ้าอยากช่วยโลกให้บริจาคเงิน อย่าบริจาคเวลา เพราะมันคือเอาคนเก่งไปทำงานอาสาที่ไม่ถนัด เสียของ
รีวิว
- ของดีประจำปีอีกเล่ม ที่เล่มนี้เหมือนสรุปหลายๆแนวคิด รวบมาอยู่ในประเด็น “ทำยังไงให้ชีวิตดี”
- หนังสือพูดถึง 52 เครื่องมือทางความคิด ที่กลั่นมาจาก จิตวิทยายุคใหม่, ปรัชญาของลัทธิสโตอิก และ ปรัชญาด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
- เนื้อหา สั้นกระชับได้ใจความ เนื้อหาตรงประเด็น ตัวอย่างชัดเจน
ตอนนี้ welearn ยังไม่เอามาขาย ได้มาตอนงานหนังสือ ต้นปี 2023
Link ย่อ : Bit.ly/Mosbook2023-031
สปอย
1. บัญชีในใจ : วิธีเปลี่ยนความสูญเสียให้กลายเป็นสิ่งที่ดี
- เหตุการ์ณแย่ๆเกิดขึ้นได้เสมอแต่คุณเลือกที่จะตีความสิ่งที่เกิดขึ้นให้คุณรู้สึกดีได้
- ถ้าไม่อยากหัวร้อนเพราะเงินหายตอนเที่ยว ก็คิดซะว่าเป็นการบริจาคเอาก็ได้
- ถ้าปกติคุณตั้งใจจะบริจาคปีละ 2000 บาทอยู่แล้ว ตอนเงินหายก็แค่ตัดบัญชีก้อนนี้เอา ยังไงเงินก็หายไปแล้ว
- การมีชีวิตที่ดีต้องอาศัยการตีความข้อเท็จจริงในเชิงมุ่งเน้นประโยชน์
กฎแห่ง จุดสูงสุด-จุดสิ้นสุด
- ตอนไปเที่ยว เราจะจำช่วงที่ดีที่สุดกับช่วงสุดท้ายได้ ถ้าไปเที่ยวแล้วต้องจ่ายเงินเยอะๆตอนจบ ความทรงจำเราจะแย่ลง ถ้าจ่ายล่วงหน้าได้จะดีมาก
เงินเล็กน้อย
- คุณไม่ควรหัวเสียกับของที่ราคาแพงกว่ากันเล็กน้อย
- ถ้ามันต่างกันแค่ 5 บาทก็ไม่คุ้มโวยวายให้หัวร้อนไปอีก 20 นาที
- ร่างกายและจิตใจจะได้ไม่ต้องถูกความรู้สึกเชิงลบกัดกิน เราจะได้มีชีวิตยาวขึ้น
- คุณไม่สามารถทวงเวลาและเงินทองที่เสียไปแล้วได้ แต่คุณสามารถตีความสิ่งที่เกิดขึ้นในอีกแบบที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้
2. ศิลปะแห่งการปรับแก้ : อย่าประเมินค่า การเตรียมพร้อมสูงเกินไป
- ชีวิตที่ดีต้องอาศัยการปรับแก้อย่างต่อเนื่อง
- คนส่วนใหญ่ ตีความว่าการที่ไม่เป็นไปตามแผน คือการมีข้อผิดพลาด
- แต่ชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ จะไปคาดหวังให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่
- เราต้องลบความรู้สึกแย่ๆ ที่มีต่อการปรับแก้ อย่ารอให้ทุกอย่างสมบูรณ์
3. คำปฏิญาณ : การใช้ความไม่ยืดหยุ่น เป็นกลยุทธ
- การไม่กินของหวานเลย ง่ายกว่าการตัดสินใจเป็นกรณีๆไป
- ความยืนหยุ่น ทำให้เราต้องตัดสินใจ จนเกิดความล้าจากการตัดสินใจ ซึ่งสุดท้ายเราจะเลือกตัวเลือกที่ง่ายที่สุด ไม่ใช่ดีที่สุด
- การไม่ยืดหยุ่น จริงๆช่วยสร้างชื่อเสียงให้เรา แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุม ผู้คนก็จะไม่ค่อยตอแย
4. วิธีคิดแบบกล่องดำ : ใช้ความผิดพลาด ทำให้ชีวิตดีขึ้น
- คุณต้องยอมรับความผิดพลาดใครๆก็เกิดขึ้นได้ จากนั้นบันทึกว่าการตัดสินใจใหญ่ๆเอาไว้
- คนเรามักมองเห็นแต่ความผิดของคนอื่น การบันทึกการตัดสินใจ ทำให้เราสามารถมองย้อนกลับไป แล้ววางแผนป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้
5. ผลลัพธ์ที่ตรงข้ามกับความต้องการ
- รถยนต์อาจไม่ได้ทำให้คุณเคลื่อนที่เร็วขึ้น ไม่เชื่อลองคำนวน
- ระยะทางรวม หารเวลารวม เช่น ปีนึง 20,000 กิโล / 2,000 ชั่วโมง รวมที่รถติด วนหาที่จอดบลาๆ
- จำนวนชั่วโมงที่เราต้องหาตังมาจ่าย ค่าประกัน ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าซ่อม ค่าบำรุง ค่าที่จอด
- หรือการใช้อีเมล ที่เหมือนประหยัดเวลาส่งจดหมาย แต่เราก็ต้องอ่านสแปมที่ไม่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น
- นี่คือ ต้นทุนแฝง ที่มาในรูปของเครื่องมือทุ่นเวลา
6. ศิลปะแห่งการใส่ใจสิ่งแย่ ๆ เพื่อสร้างชีวิตที่ดี : อย่าทำในสิ่งที่ไม่เข้าท่า แล้วสิ่งดีๆจะเกิดขึ้นเอง
- เพราะเราไม่รู้แน่ชัดว่า สิ่งไหนทำให้ชีวิตดี แต่อันไหนที่ไม่ดีนั้นเห็นได้ชัดกว่า
- เช่น การติดสุรา ติดยา เครียด เสียงรบกวน รถติด การว่างงาน ความยากจน
- โชคชะตาเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม คุณจึงไม่ควรกังวลเรื่องนี้
7. ลอตเตอรี่แห่งการเกิด : ความสำเร็จไม่ใช่สิ่งที่คุณสร้างขึ้นเอง
- ส่วนใหญ่มีโชคมาเกี่ยวข้องทั้งนั้น ตั้งแต่สถานที่เกิดของคุณแล้ว
- คุณจึงควร ถ่อมตัวอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาประสบความสำเร็จ
8. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการใคร่ครวญสิ่งที่อยู่ในใจตัวเอง
- อย่าเชื่อความรู้สึกของตัวเอง เพราะจริงๆแล้วคุณไม่ได้เข้าใจมัน คุณอธิบายสิ่งที่อยู่ใน Big Mac ได้ดีกว่าอารมณ์คุณด้วยซ้ำ
- สิ่งที่สำคัญกว่าคือการอ่านอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น
9. กับดักของความจริงใจ
- คงไม่ดีนักถ้าเราจะพูดทุกอย่างที่เราคิด
- ระดับที่เหมาะสม คือให้คุณคิดว่าคุณคือประเทศ แล้วคุณอยากให้ทูตของประเทศคุณ พูดแทนคุณอย่างไร
- อีกทั้ง บ่อยครั้งเราก็ไม่ได้เข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงด้วยซ้ำ
10. การปฏิเสธในห้าวินาที
- คนส่วนใหญ่ไม่ได้มองคุณเป็นคนเฮงซวยเพียงเพราะปฏิเสธคำขอของพวกเขา
- เวลาเป็นสิ่งที่มีค่าและมีอยู่จำกัด
- ฝึกปฏิเสธให้ชิน ส่วนใหญ่แล้วคำขอนั้นคุณไม่จำเป็นต้องทำหรอก
11. ภาพลวงตาจากการจดจ่อความคิด
- ไม่มีสิ่งใดในชีวิตสำคัญมากเท่ากับที่คุณประเมินไว้ตอนคิดถึงสิ่งนั้น
เวลาคุณจดจ่อกับสิ่งหนึ่ง มักจะมองข้ามอีกเป็นร้อยสิ่ง
- คุณอาจะอยากได้ห้องพักวิวหอไอเฟลซะจน มองข้ามประสบการณ์ดีๆไปหมด
12. สิ่งที่คุณซื้อไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้ในชีวิต
- คุณควรซื้อข้าวของให้น้อยลง และใช้เงินกับประสบการ์ณให้มากขึ้น
- ที่สำคัญ ประสบการณ์ใช้เงินน้อยกว่า
- รถแพงๆทำให้เรามีความสุขตอนคิดถึงมัน แต่ไม่ใช่ตอนที่กำลังขับรถอยู่ (บนถนนที่รถติดๆ)
- คนเราประเมินความสุขที่ได้จากสิ่งของต่างๆ ไว้สูงเกินไป และประเมินคุณค่าของประสบการณ์ไว้ต่ำเกินไป
ภาพลวงตาจากการจดจ่อ
- ขณะที่คุณคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณมีแนวโน้มที่จะประเมินผลกระทบที่สิ่งนั้นมีต่อชีวิตไว้สูงเกินไป
13. เงินช่างแม่ง
- ข้าวจานแรก อร่อยกว่าจ่ายที่ 100 ในมื้อเดียวกันแน่นอน
- หากคุณยากจน เงินซื้อความสุขให้คุณได้แน่นอน แต่เมื่อคุณมีเงินมากถึงจุดหนึ่ง เงินมากกว่านี้ไม่ได้เพิ่มความสุขให้คุณมากนักแล้ว
- ความร่ำรวยเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบ ไม่ใช่สิ่งแน่นอนตายตัว
- ถ้าคุณไม่ได้อยากจน คุณจะมองว่าตัวเองรวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตีความของคุณ
- เงินจะทำให้คุณมีความสุขหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง
- เงินช่างแม่งคือเงินออมที่จะช่วยให้คุณลาออกจากงานได้ทันที โดยไม่ต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงินอย่างร้ายแรง
- กฏหลักคือ อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนรวย และใช้ชีวิตอย่างสมถะ
- ถ้าคุณเป็นมหาเศรษฐี สิ่งที่จะทำให้คุณดูน่าประทับใจมากกว่าคือ การไม่ซื้อเรือยอร์ชและใช้ชีวิตอย่างสมถะ
14. ขอบเขตแห่งความสามารถ : ทำไมการรู้ขีดจำกัดของตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
- เราจะฉลาดกับแค่บางเรื่อง และควรจดจ่อกับบางเรื่องนั้น
- จะได้ไม่ต้องคิดเยอะว่าจะปฏิเสธงานแบบไหน เมื่อระบุชัดว่าเราเก่งอะไร
- และอย่ากล่าวโทษตัวเองในสิ่งที่คุณไม่ถนัด เพราะสิ่งสำคัญคือ คุณทำอะไรได้ดี
15. ความลับของการยืนหยัด : ทำไมคนน่าเบื่อถือประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ชอบเสี่ยง
- ในโลกการลงทุน การอยู่รอดให้ได้นานที่สุด ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้คุณรวย จากดอกเบี้ยทบต้น
- การถือไว้เฉยๆ โฟกัสเฉพาะไม่กี่อย่าง และอยู่นิ่งๆให้ได้นานๆ เป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ แม้จะมีความสำเร็จให้คุณได้มากกว่า
คุณไม่จำเป็นต้องฉลาดหลักแหลม แค่ ฉลาดกว่าคนอื่นนิดหน่อย และรักษาสถาณะนี้เอาไว้ให้นานแสนนาน
16. ความเลวร้ายของเสียงเรียกจากหัวใจ : ทำในสิ่งที่คุณทำได้ ไม่ใช่สิ่งที่คุณหวังว่าจะทำได้
- การฝากความหวังทั้งหมดไว้กับความสำเร็จในอาชีพการงาน คุณจะไม่สามารถมีชีวิตที่ดีได้
- คุณควรให้ความสำคัญกับตัวงาน หรือความพยายาม
- เช่น “วันนี้ฉันจะเขียนให้ได้อย่างน้อยสามหน้า” แทน “พรุ่งนี้ฉันจะต้องได้รางวัลโนเบล”
- Passion มักมาพร้อมความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่จนไม่สมเหตุสมผล
เรามองเห็นแต่ คนที่ประสบความสำเร็จออกมาเล่าความดีงามของ passion ในขณะที่คนที่ชีวิตพังเพราะ passion ไม่ได้ออกมาบอกอะไรเรา
17. คุกแห่งชื่อเสียง
- คุณจะเลือกอะไรระหว่าง เป็นคนฉลาดที่สุดในโลกแต่ทุกคนกลับมองว่าคุณโง่ หรือ เป็นคนโง่ที่สุดแต่ทุกคนดันมองว่าคุณฉลาด ?
ความคิดเห็นของคนอื่น มีความสำคัญน้อยกว่าที่คุณคิดมาก
- สมัยยุคเก็บของป่า เราต้องให้ความสำคัญกับความคิดคนรอบตัว เพื่อความอยู่รอด แต่สมัยนี้ไม่จำเป็นแล้ว
- จงเลิกสนใจว่าคนอื่นจะคิดกับคุณอย่างไร ถ้าคุณไม่ได้ใช้ชื่อเสียงหากิน เพราะ…
- มันช่วยให้อารมณ์คุณนิ่งขึ้น ยังไงซะคุณก็ควบคุมความคิดคนอื่นไม่ได้อยู่ดี
- คุณควรสร้างความสำเร็จและใช้ชีวิตแบบที่สามารถมองตัวเองในกระจกได้อย่างมีความสุข
18. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยจุดสิ้นสุด : คุณสามารถเปลียนตัวเองได้ แต่เปลี่ยนผู้อื่นไม่ได้
- สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้เลยคือ ในอนาคต คุณจะมีบุคลิกภาพและค่านิยมที่ต่างจากตอนนี้อย่างแน่นอน
- ข่าวร้ายคือ คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้ เพราะแรงกระตุ้นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองต้องเกิดจากภายใน
- “จงหลีกเลี่ยงสถาณการณ์ที่ทำให้คุณต้องเปลี่ยนแปลงผู้อื่น”
- “จงทำงานกับคนที่คุณชอบและเชื่อใจเท่านั้น”
19. ความหมายของชีวิตในแม่มุมย่อย : อะไรคือเป้าหมายที่คุณไปถึงได้ และ อะไรคือเป้าหมายที่คุณไม่อาจไปถึง
- “คุณเป็นใคร” เป็นคำถามไร้สาระ ไม่ต้องเสียเวลาไปคิด ยังไงก็ไม่ครอบคลุม
- แต่ “คุณต้องการอะไร” คุณควรตอบ
- จงหยุดมองหาความหมายของชีวิต เพราะคุณจะเสียเวลา
- ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่าคุณจะไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าไม่มีจุดหมายก็รับประกันได้ว่าคุณจะไม่ก้าวไปไหนเลย
- คนที่ให้ความสำคัญกับเงินตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถหาเงินได้มากกว่าจริงๆ
- แต่คนกลุ่มนั้นถ้าทำได้ไม่ถึงเป้าหมายของตัวเองกลับรู้สึกไม่พึงพอใจในชีวิตอย่างมาก (แม้ว่าจะมีเงินมากกว่าคนที่ไม่แคร์เรื่องเงินก็ตาม)
- การมีเป้าหมายทำให้ตัดสินใจเรื่องต่างๆในชีวิตได้ง่ายขึ้น
แต่อย่าตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ยากเกินเอื้อม
20. ตัวตนทั้งสองของคุณ : ทำไมชีวิตคุณถึงแตกต่างจากรูปภาพ
- นั่นคือ ‘ตัวตนเชิงประสบการณ์’ และ ‘ตัวตนเชิงความทรงจำ’
- ตัวตนเชิงประสบการณ์ คือ ความจริงที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น สิ่งมีสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นล้านสิ่ง ตลอดเวลา
- ตัวตนเชิงความทรงจำ จะรวบรวม ประเมิณค่า และ จัดระเบียบ ว่าอะไรควรจดจำ
- ถ้าถามคุณตอนนี้ว่า มีความสุขไหม ตัวตนเชิงประสบการณ์อาจจะตอบว่าเฉยๆ กำลังอ่านสิ่งนี้อยู่ แต่ ตัวตนความทรงจำอาจจะตอบว่ามีความสุข เพราะนึกถึงเรื่องดีๆ เมื่อนานมาแล้ว
- กฏแห่งจุดสูงสุด — สุดสิ้นสุด กล่าวว่า เราจะจดจำ จุดพีค และ เรื่องล่าสุดที่เกิดขึ้นได้ ส่วนสิ่งอื่นๆ จะถูกลืม
- เราเลยตีค่า ของที่น่าพึ่งพอใจสุดๆในระยะสั้นแต่ฉาบฉวย ไว้สูงเกินไป และตีค่าความสุขอันเรียบง่ายไว้ต่ำเกินไป
21. ธนาคารความทรงจำ : ประสบการณ์สำคัญกว่าความทรงจำ
- คุณยินดีจ่ายเงินเท่าไหร่ซื้อความทรงจำ ถ้าคุณจะจำอะไรไม่ได้เลยหลังจากประสบการณ์นั้นสิ้นสุดลง
- คนส่วนใหญ่คิดว่า ประสบการณ์จะมีค่า ก็ต่อเมื่อพวกเขาจำมันได้
- อันที่จริง สุดท้ายทุกคนก็จะต้องตาย แถมตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ด้วย เราจะพยายามเหนี่ยวรั้งความทรงจำไว้ทำไม
เราประเมินค่าความทรงจำไว้สูงเกินไป และ ประเมินค่าชั่วขณะที่สัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ไว้ต่ำเกินไป
- จงดื่มด่ำกับประสบการณ์ตรงหน้าให้มากที่สุด แทนที่จะกังวลกับการสร้างความทรงจำไว้ชื่นชมในอนาคต
22. เรื่องราวในชีวิตคือเรื่องโกหก : ทำไมภาพที่เรามองตัวเองถึงผิดเพี้ยน
- เพราะสมองไม่ได้เก็บข้อมูลดิบ แต่เก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว (ก็พื้นที่ในสมองมันจำกัดอ่ะนะ)
- โดยจะเก็บแบบ กระชับ สอดคล้อง และเป็นเหตุเป็นผล แม้จะไม่ถูกต้องตามที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม
- สิ่งที่ช่วยบอกความจริงเราได้มากขึ้น คือการเขียนไดอารี่
23. เหตุผลวิบัติที่ว่าด้วยวาระสุดท้ายที่ดี
- ตอนใกล้ตายเราไม่มีสติหรอก และความทรงจำก็ไม่ถูกต้องด้วย
- แถมเรายังเมินเรื่องราวดีๆ อื่นๆ จากกฏ จุดพีค-จุดสิ้นสุด อีก
- จงอย่าตัดสินชีวิตทั้งชีวิตของคุณ จากช่วงเวลาแห่งลมหายใจสุดท้าย
24. น้ำวนแห่งความสงสารตัวเอง : ทำไมการจมปลักอยู่กับอดีตถึงเป็นเรื่องไม่เข้าท่า
- เราอาจจะเริ่มต้นชีวิตได้บัดซบ จากความโชคร้ายในวัยเด็ก แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลในการมีชีวิตที่บัดซบไปตลอดชีวิต
- แน่นอนว่า เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนชีวิตที่บัดซบ เป็นชีวิตที่ดีสุดๆ แต่อย่างน้อยการทำให้ชีวิตดีขึ้นก็เป็นเรื่องที่ควรทำ
จงยอมรับความจริงว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์แบบ
- การมองว่าตัวเองเป็นเหยือคือวิธีใช้ชีวิตที่เลวร้ายอย่างไร้ที่ติ
25. สุขนิยมและสภาวะแห่งความสุขใจ
- เราควรให้ความสนใจกับสิ่งใด ระหว่างกิจกรรมที่ ‘น่าสนุก’ กับ ‘มีความหมาย’
- จริงๆก็ทั้งคู่นั่นแหล่ะ สับเปลี่ยนไปมา อย่าทำแค่อย่างเดียว
26. ขอบเขตแห่งสิ่งที่ทรงคุณค่า — ภาคที่ 1 -
- ระบุขอบเขตว่าอะไรที่มีคุณค่ากับคุณบ้าง
- ขอบเขตนั้นควรมีขนาดเล็ก เพราะใส่สิ่งต่างๆเข้าไปมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสทีมันจะขัดแย้งกันเอง และ เราก็ไม่สามารถให้ความสำคัญกับของสิบอย่างพร้อมกัน
27. ขอบเขตแห่งสิ่งที่ทรงคุณค่า — ภาคที่ 2 –
- คุณต้องทำให้คนอื่นรู้ได้อย่างชัดเจนว่าถึงสิ่งที่คุณเชื่อมั่น
- เพราะสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณให้ความสำคัญอาจแตกต่างกัน
- สังคมโฟกัสความกลมกลืน ไม่ใช่ผลประโยนชน์ส่วนตัว
28. ขอบเขตแห่งสิ่งที่ทรงคุณค่า — ภาคที่ 3 –
- อะไรที่มีค่าขนาด เอาเงินเป็นพันล้านมาแลกก็ไม่ยอม
29. สมุดรวมความวิตกกังวล
- คุณต้องระบุระดับที่เหมาะสมกับความวิตกกังวล
- ความกังวลไม่เหมาะสมกับอันตรายในยุคปัจจุบัน ปัญหาที่เราเผชิญ ไม่ได้จะกินเราเหมือนสมัยก่อน
- กลยุทธที่ตั้งอยู๋บนความเป็นจริงช่วยกำจัดความวิตกกังวลได้ดีกว่า
- ถ้าคุณกังวล แนะนำให้เผื่อเวลาเขียนมันออกมา มันจะทำให้สมองรับรู้ว่าความกังวลถูกบันทึกไว้แล้ว
- มีเพียงไม่กี่อย่างที่เป็นอันตรายอย่างแท้จริง
- การซื้อประกัน หรือ การเปลี่ยนไปทำอะไรที่คุณสนใจ เป็นวิธีบำบัดความกังวลที่ดี
30. ภูเขาไฟแห่งความคิดเห็น : ทำไมการไม่มีความคิดเห็นจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า
- ไม่ต้องไปแสดงความคิดเห็นกับทุกเรื่องก็ได้ เพราะเรื่องต่างๆ มันซับซ้อนก่อนกว่าเราจะตัดสินได้ในชั่วพริบตา
- “ค่าแรงขั้นต่ำควรปรับขึ้นหรือไม่” เราสามารถพ่นสิ่งที่ไม่ถูกต้องออกมาในรูปแบบความเห็นได้เหมือนภูเขาไฟระเบิด ในขณะที่การตอบให้ถูกต้อง ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและเวลา จำนวนมาก
- อย่าฝืน แสดงความเห็นในเรื่องที่เราไม่ได้สนใจ หรือ เราไม่มีคำตอบ และอย่ารีบร้อนแสดงความเห็น
- เพราะสมองเราจะเลือกฝั่ง แล้วจากนั้นจะหาเหตุผลมา support เรื่องนั้น แม้ว่ามันจะผิด
- เมื่อต้องแสดงความเห็นจริงๆ จงหาช่วงเวลาสงบๆแล้วเขียนมันออกมา นั่นจะบังคับให้คุณจัดระเบียบความคิดก่อนแสดงความเห็น
31. ป้อมปราการความคิด
- จงยอมรับการมีอยู่ของโชคชะตา
- โดยช่วงเวลาที่ดีและร้ายจะสลับหมุนเวียนกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
- จงอย่ากังวลมากเกินไปว่าคุณกำลังขึ้นสูงหรือลงต่ำ เพราะทุกอย่างสามารถพลิกผันแบบกลับตาลปัตรได้ทุกเมื่อ
- ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราให้ความสำคัญและครอบครอง ล้วนไม่จีรัง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ คู่ชีวิต ลูก ชื่อเสียง บ้าน เงิน
- ชีวิตเรามีสิ่งดีๆมากกว่าสิ่งแย่ๆ ไม่งั้นคุณคงไม่เสียใจที่เสียมันไป
- อิสระภาพสุดท้ายของมนุษย์ คือการเลือกทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ
32. ความอิจฉา
- อารมณ์ที่ไร้ประโยชน์ที่สุดคือความอิจฉา
- ยิ่งเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นมากเท่าไหร่ ความอิจฉาก็จะยิ่งอันตรายมากขึ้นเท่านั้น
- คนที่เราจะอิจฉาคือคนที่คล้ายๆเราในด้าน อายุ อาชีพ สภาพแวดล้อม เราจะไม่อิจฉา Elon musk แต่จะอิจฉาเพื่อนร่วมงานที่ได้ดีกว่าเรา
- สิ่งที่คุณอิจฉานั้นล้วนมีความสำคัญน้อยกว่าที่คุณคิด
33. การป้องกัน
- จงหลีกเลี่ยงปัญหา ก่อนที่มันจะกลายเป็นสิ่งที่คุณต้องแก้ไข
- คนฉลาดจะแก้ปัญหา ผู้มีปัญญาจะเลี่ยงปัญหา
- ถ้าคุณเจอน้ำวนขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้า อย่าเลี่ยงโดยเผื่อระยะแค่ 5 เมตร ให้เผื่อไปเลย 150 เมตร
34. การบรรเทาภาระทางความคิด : คุณไม่ใช่คนรับผิดชอบสภาวการณ์ของโลก
- โลกมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นตลอดเวลา
- จงระลึกไว้เสมอว่า คุณทำอะไรไม่ได้มาก อย่าประเมินตัวเองสูงเกินไป
- คุณไม่สามารถแก้วิกฤติการณ์ใดๆ ได้ด้วยตัวเอง
- ถ้าอยากช่วยโลกให้บริจาคเงิน อย่าบริจาคเวลา เพราะมันคือเอาคนเก่งไปทำงานอาสาที่ไม่ถนัด เสียของ
- คุณทำงานเอาเงินหนึ่งวันไปบริจาคให้ ช่างทำปั้มน้ำที่ทะเลทราย เขาจะทำได้ดีกว่าคุณบินไปทำเองไม่รู้กี่พันเท่าด้วยเงินเท่ากัน
35. หลุมพรางเรื่องการจดจ่อ
- ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของเราคือ ‘การจดจ่อ’ ‘เวลา’ ‘เงิน’ มันสำคัญมากว่าคุณจะเอามันไปใช้กับเรื่องใด
- อย่าสับสนระหว่าง ‘สิ่งใหม่’กับ ‘สิ่งที่สำคัญ’ ของใหม่ชอบมาดึงความสนใจเรา แม้มันจะไม่สำคัญเลยก็ตาม
- Content/technology ที่ฟรี คือ เราเป็นสินค้าเขา เราขายความสนใจให้เขา
- Multi media กำลังแย่งชิงความสนใจจากคุณ
- การที่คุณไถเฟสบุ๊ค/IG = ไม่ได้สนใจเพื่อนที่นั่งข้างๆคุณ
36. หลักการอ่านให้น้อยลงแต่อ่านสองรอบ : เรากำลังอ่านหนังสือด้วยวิธีที่ผิด
- การอ่านหนังสือจะมีประโยชน์อะไรถ้าเราจำเนื้อหาที่อ่านไม่ได้
เราต้องเลือกหนังสือที่จะอ่านให้ดี เพราะเวลาเรามีจำกัด
- การอ่านช้าๆ ช่วยให้เราซึมซับข้อมูลได้ดีขึ้น
- จริงๆ ก่อนอายุ 30 อ่านๆไปเถอะ อ่านเยอะๆ จะได้รู้ว่าหนังสือแบบไหนดี หรือไม่ดี
37. กับดักของอุดมการณ์ : คนที่ยึดติดกับอุดมการณ์ มองสิ่งต่างๆง่ายเกินไป
- เราคิดว่าเราเข้าใจ แต่พอให้อธิบายจริงๆจะรู้ว่ามีช่องโหว่อีกมาก เช่น พัดลม หรือ ห้องน้ำทำงานยังไง
- ถ้าเราตยังตอบวิธีการทำงานของสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันไม่ได้ แล้ว เรื่องการอพยพเข้าเมือง หรือ การเมืองเราจะไปมีช่องโหว่มากแค่ไหน
- แถมแหล่งข้อมูลเราไม่ใช่การอ่านหนังสือหรือถามผู้เชี่ยวชาญ แต่เป็น ความเห็นของคนรอบๆตัวซะอีก
- เราไม่ได้เลือกความคิดเห็นที่ถูกต้อง แต่เลือกความคิดเห็นที่ได้รับความนิยมในรอบตัวเรา
- อุดมการณ์ทำให้ โลกทัศน์ของคุณแคบลง และ ผลักดันให้คุณดันสินใจได้อย่างเลวร้าย
- สัญญาณอันตราย ว่าสิ่งนั้นคือ อุดมการณ์
a. มันอธิบายได้ทุกอย่าง
b. มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งได้
c. มันฟังดูคลุมเคลือ
38. การหักลบทางความคิด : คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีความสุข
- ลองให้คะแนนะความสุขจาก 1–10
- ทีนี้ลองคิดว่า แขนคุณหายไปข้างนึง คุณจะมีความสุขแค่ไหน หรือ วันนี้ปวดฟัน
ให้ทำรายการ “สิ่งที่ขอบคุณ” ทุกคืนแล้วจะพบว่ามันทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
- ทุกวันคุณจะมองหาสิ่งดีๆไปเขียน แล้ววันทีเศร้าแล้วย้อนกลับมาดู list สิ่งดีๆ ที่คุณจดมาทุกคืน คุณจะตระหนักได้ว่า คุณมีความสุขมากแค่ไหน
- แทนที่จะคิดถึงสิ่งต่างๆที่คุณไม่มี จงพิจารณาว่า คุณจะคิดถึงสิ่งที่คุณมีมากแค่ไหน หากมันหายไป
- หลอกสมองของคุณให้เห็นคุณค่าของสิ่งดีๆ ในชีวิตให้มากขึ้น
- อีกปัญหาคือเรื่องของ ความเคยชิน ไม่ว่าเรื่องดีหรือร้าย เมื่อชิน มันจะเป็นเรื่องปกติ การถูกหวย คุณจะดีใจสุดวันแรก แล้วสักพัก มันจะกลับมามีความสุขเท่าก่อนถูกหวย
39. จุดอิ่มตัวของการตรึกตรอง : การคิดคือไฟฉาย การลงมือทำคือสปอตไลต์
- เราต้องลงมือทำ ไม่ใช่ครุ่นคิดอย่างยาวนาน
- จุดอิ่มตัว เกิดขึ้นคิดมากกว่านี้ก็ไม่เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จแล้ว ให้เปลี่ยนไปลงมือทำซะนะ
- การคิดไปเรื่อยๆ สบายใจกว่าลงมือทำ เพราะเมื่อไม่ได้ลงมือทำ โอกาสล้มเหลวก็เท่ากับศูนย์ แต่โอกาสประสบความสำเร็จ ก็เท่ากับศูนย์ด้วยเช่นกัน
- ประสบการณ์คือสิ่งที่คุณจะได้เมื่อคุณไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
40. รองเท้าของผู้อื่น : การสลับบทบาท
- ถ้าอยากเข้าใจใครสักคน ได้อย่างแท้จริง คุณต้องเข้าไปอยู่ในจุดเดียวกับพวกเขา
- ไม่ใช่นั่งเทียนคิดไปเอง
- ถ้าเป็นผู้บริหาร ก็ลองไปทำอะไรที่ตำแหน่งต่ำกว่าเขาทำกันให้รู้ว่าเขารู้สึกยังไงจริงๆ
41. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโลก — ภาคที่ 1 –
- อย่าหลงเชื่อ ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่
- การพัฒนาระดับโลกไม่ได้เกิดจากแผนของคนใดคนหนึ่ง เพราะนั่นอาจจะแค่บังเอิญ และตัวแปรที่คนๆนั้นคุมไม่ได้อีกมหาศาล
- เรามีแนวโน้มจะสรรเสริญคนฉลาดที่บังเอิญอยู๋ในสถาณการณ์ที่ดี ในเวลาที่เหมาะสม มากเกินไป
42. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโลก — ภาคที่ 2 –
- คุณไม่ควรชื่นชมใครมากเกินไป โดยเฉพาะตัวคุณเอง
- ถ้า เอดิสันไม่ได้ค้นพบหลอดไฟวันนั้น อีกสักพักก็จะมีคนค้นพบมันอยู่ดีนั่นแหล่ะ
- ไม่ว่าคุณจะเก่งสุดยอดแค่ไหน คุณก็ถูกแทนที่ได้อยู่ดี
- จงให้ความสำคัญกับสิ่งรอบตัว
43. เหตุผลวิบัติที่ว่าด้วยโลกอันยุติธรรม
- โลกนี้ไม่ยุติธรรม และ ไม่ยุติธรรมอย่างมากด้วย
- ไม่ต้องรู้สึกผิดเมื่อเจอความไม่ยุติธรรม
- ความไม่ยุติธรรมที่เราไม่สามรถจัดการได้นั้น มีอยู่มากมาย
- เราต้องดูแลตัวเองให้รอด ยอมรับความโหดร้าย และจัดการมันในส่วนที่ทำได้
44. ลัทธิคาร์โก
- อย่าลอกเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับ องค์ประกอบของความสำเร็จนั้น
45. การแข่งกับตัวเองเพื่อสั่งสมความเชี่ยวชาญจะนำไปสู่ชัยชนะ : ทำไมการสั่งสมความรู้ทั่วไปถึงได้เป็นแค่งานอดิเรก
- เรามีความรู้ทั่วไป น้อยกว่าบรรพบุรุษเราเยอะ (เอาเราไปปล่อยป่า น่าจะไม่รอด)
- เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญ ทำสิ่งที่เราไม่ถนัด แล้วเหลือสมองให้เราไปโฟกัสกับงานเฉพาะทางของเรา
- ซึ่งในยุคนี้ เราจะอยู่รอดได้ด้วยการเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น
- เราไม่ต้องทำอาหาร แบกน้ำ สร้างรถ สร้างบ้านเอง อีกต่อไปแล้ว
- และด้วยทเทคโนโลยี มันกำลังทำให้ ผู้ชนะกินรวบ เหมือนคนร้องเพลงได้ธรรมดา ย่อมแพ้ ไฟล์เพลงของนักร้องที่ยอดเยี่ยม
46. การแข่งขันสะสมอาวุธ
- สมัยก่อน การจบปริญญาตรี การันตีความสำเร็จให้คุณได้ ทุกคนเลยมุ่งไปทางนั้น คนเลยต่อ โทเพื่อความแตกต่าง แล้ววันนึงการจบโทก็เป็นเรื่องธรรมดา จนคุณต้องต่อ เอก
- การแข่งขันแบบนี้ ทำให้คุณเหนื่อยมากขึ้น เพื่อผลลัพธ์เท่าเดิมหรือน้อยลง
- จงหาพื้นที่ ที่ไม่มีกการสะสมอาวุธแบบนี้ มองหาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ไม่มีคู่แข่ง
หมั่นถอยออกมากจากสนามรบ เพื่อมองภาพรวม
47. การผูกมิตรกับคนนอกคอก : ทำความรู้จักกับคนนอกคอก แต่อย่าเป็นคนนอกคอกเสียเอง
- คนนอกคอก มักถูกเล่นงานจักสังคม แต่ เขานั่นแหล่ะที่เป็นคนเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง
- แต่คนนอกคอก น้อยคนที่จะสร้าง impact อะไรได้จริงๆ
- และชีวิตคนนอกคอก ก็มักต้องเผชิญ อุปสรรคมากมาย กว่าจะไปถึงความสำเร็จได้
- ซึ่งมักไม่ใช่ สูตรลับที่ดีของการมีชีวิตที่ดี
- สรุปสั้นๆว่า การมีภาพของแวนโก๊ะ (คนนอกคอก) ดีกว่าการเป็นแวนโก๊ะเสียเอง
48. โจทย์ปัญหาเลขานุการ
- กลุ่มตัวอย่างของเรามักเล็กเกินไป และเราตัดสินใจเร็วเกินไป
- ก่อนจะตัดสินใจอะไรบางอย่าง ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูก เพื่อให้รู้ก่อนว่า อะไรคือดีหรือไม่ดี
- จงใช้เวลาตอน อายุยังน้อย ลองให้มากๆ เพื่อสำรวจจักรวาลของความเป็นไปได้
49. การจัดการความคาดหวัง : ยิ่งคาดหวังน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น
- ความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำลายความสุขได้รุนแรงที่สุด
- แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเพิ่มน้อยกว่าความคาดหวัง ความพึงพอใจก็จะไม่เพิ่มขึ้น
- ยิ่งคุณกำจัดสิ่งที่คิดไปเองว่าจำเป็น ออกไปได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี
- ระลึกเอาไว้ว่า เราไม่อาจสมหวังในทุกความปรารถนาได้ เพราะหลายสิ่งก็อยู่เหนือการควบคุมของเรา
- โดยเฉพาะความคาดหวังที่มีต่อผู้อื่น ทั้งที่ความจริงคือ เราจะไปหวังให้คนอื่นทำตามใจเราไม่ได้ เช่นเดียวกับสภาพอากาศ
- ต้องระบุให้ชัดว่ามันคือสิ่งที่ จำเป็น ความปรารถนา หรือ ความคาดหวัง
- ถ้านั่นคือ ความคาดหวัง จงให้คะแนนมัน 0–10 แล้วลบมันอกสัก 2 คะแนน จากนั้น เปลี่ยนความคาดหวังของคุณใหม่นะ
- จงหยุดเอา สิ่งที่จำเป็น ความปรารถนา และ ความคาดหวังมาผสมปนเปกัน
50. กฎของสเตอร์เจียน
- 90% ของทุกสิ่งล้วนเป็นขยะ
- เราสามารถมองข้ามเรื่องส่วนใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องรู้สึกผิด
- หากคุณไม่มั่นใจว่าสิ่งนั้นไร้สาระหรือไม่ ให้มั่นใจได้เลยว่ามันไร้สาระ
51. ความถ่อมตัวที่น่ายกย่อง
- ยึดมันในตัวเองน้อยลงเท่าไหร่ ชีวิตคุณก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น
- เราไม่ได้สำคัญขนาดนั้น ขนาดคนที่ยิ่งใหญ่มากๆ ยังถูกลืมในช่วงเวลาไม่กี่สิบหรือร้อยปี
- จงถ่อมตัวแล้วชีวิตคุณจะดีขึ้นหลายเท่า
52. ความสำเร็จในโลกภายใน
- การจดจ่อสำคัญกว่าผลลัพธ์
- ทำไมถึงมีการจัดอันดับคนรวยที่สุด แต่ไม่จัดอันดับคนที่มีความสุขมากที่สุด ?
เพราะนิยามความสุขของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันไง
- จริงๆ นิยามของความสำเร็จ ในแต่ละยุคก็ยังต่างกันด้วยซ้ำ
- คุณแค่ต้อง จดจ่อ อยู่กับสิ่งที่คุณสามารถจัดการได้ และไม่ต้องสนใจสิ่งอื่นเลย