[รีวิว + สรุป]หนังสือ : Why has nobody told me this before? วิชาสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนที่ชีวิตจะสอนคุณ

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH
Published in
3 min readJan 27, 2024

คุณคงไม่รอจนตัวเองมีปัญหากับจิตใจ ถึงจะหยิบเล่มนี้มาอ่านใช่ไหมนะ

รวมชุดความคิดและชุดเครื่องมือ ที่ทำให้คุณเข้าใจจิตใจและวิธีรับมือกับมัน

รีวิว

  • หนังสือเล่มนี้คือแนวทางที่หลากหลายในการควบคุมความรู้สึกและสร้างสุขภาพจิตที่ดี
  • เป็นทักษะชีวิตซึ่งจะช่วยนำทางเราให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและเติบโตขึ้น
  • คุณไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดปัญหาก่อนถึงจะหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน
  • การมีความยืดหยุ่นทางจิตใจล่วงหน้า ตั้งแต่ตอนที่ทุกอย่างยังปกติดี คุณก็จะรับมือความท้าทายที่จะเข้ามาในชีวิตได้ดีขึ้น

Link ย่อ : Bit.ly/mosbook2024–001

Shopee : https://shope.ee/3Aibxe7jbt

สปอย

Part 1 ด้านที่มืดมน

1. ทำความเข้าใจภาวะจิตตก

ทุกคนมีวันที่จิตตกกันทั้งนั้นแหล่ะ ไม่ต้องเขิน ไม่ต้องปิดบังมันไว้ มันเป็นเรื่องปกติ

  • สาเหตุที่ทำให้จิตตก มาได้จากทั้งภายในและภายนอก สิ่งสำคัญคือหาให้เจอว่าเกิดจากอะไร จะได้ปรับทิศทางอารมณ์ได้
  • จิตตกไม่ได้มาจากแค่สมองอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับร่างกาย ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ สิ่งแวดล้อม อาหารที่กินด้วย
  • คุณคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่คุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารมณ์ได้ (เช่นนอนให้พอ กินอาหารให้ดี เคลื่อนไหวเยอะๆ อยู่กับคนดีๆ )
  • เมื่อรู้สึกแย่ แล้วหลบไปอยู่คนเดียว จะทำให้เรารู้สึกแย่กว่าเดิม วนเป็นลูปนรก
  • สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อจิตตก : ตระหนักถึงแต่ละปัจจัยที่ทำให้จิตตก
  • ความคิด : อารมณ์ : ความรู้สึกทางกาย : พฤติกรรม

2. ระวังหลุมพรางทางอารมณ์

  • เมื่อเรารู้สึกแย่ ปกติคุณตอบสนองอย่างไร ? แล้วมันช่วยได้ไหม
  • การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น กินข้าว กินเหล้า ช่วยได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายผลลัพธ์จะแย่ลง

รูปแบบความคิดที่ทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม

  • การเดาใจ : การทึกทักเอาเองว่าคนอื่นคิดหรือรู้สึกอย่างไร — “เธอไม่ได้โทรหาฉันนานแล้ว เพราะเธอเกลียดฉัน”
  • การเหมารวม : การใช้เหตุการณ์เดียวในการสรุปเรื่องอื่นๆ — “ฉันสอบตก อนาคตฉันพังพินาศแล้ว”
  • ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง : เราตั้งกฏว่าเราจะต้องตรงต่อเวลาทุกเรื่อง แล้วก็คาดหวังให้คนอื่นทำตามกฏนี้ด้วย พอเขาเขาทำไม่ได้ เราก็ไม่พอใจ ทั้งที่จริงๆแล้วเราไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้
  • การใช้อารมณ์เป็นเหตุผล : เราใช้อารมณ์เป็นหลักฐานยืนยันว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจริง แม้หลักฐานจะบอกไปอีกทาง
  • ตัวกรองของสมอง : เราจะรับรู้แค่สิ่งที่เราเชื่อ แม้จะมีหลักฐานอื่นที่ขัดแย้งกันก็ตาม
  • การใช้คำว่า “ต้อง” และ “ควร” : การคิดว่าฉันต้องเป็นแบบนี้ให้มากขึ้น หรือ ควรจะรู้สึกแบบนั้น เช่น ฉันต้องไม่ล้มเหลว ทั้งที่จริงๆเราสามารถสำเร็จได้ โดยที่ล้มเหลวระหว่างทาง
  • เมื่อคุณจิตตก อย่าไปคาดหวังให้เรามีทุกอย่างเหมือนตอนอารมณ์ดี
  • วิธีคิดแบบ ถ้าไม่ได้ทั้งหมด ก็ถือว่าไม่ได้อะไรเลย : ทั้งที่พื้นที่สีเทาจะใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริงมากกว่า — “ถ้าไม่ได้ 100 คะแนนเต็มก็ถือว่าล้มเหลว”

รับมือกับอคติทางความคิด

  • เราไม่สามารถยับยั้งความคิดเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่เราต้องมองให้ออก
  • เริ่มเขียนบันทึกประจำวันอย่างสม่ำเสมอและเลือกเหตุการณ์หนึ่งมาพิจารณา
  • เขียนความคิด อารมณ์และความรู้สึกทางกายของคุณออกมา
  • ฝึกตัวเองให้มองว่า ความคิดนั้นเป็นแค่หนึ่งในสารพัดทางเลือกรูปแบบของการตีความโลกใบนี้

ฝึกตัวเองให้หยุด เพื่อพิจารณามุมมองอื่นๆ

การรู้ว่าเรากำลังอคติอยู่เป็นทางแยกระหว่าง เราจะหงุดหงิดแค่ไม่กี่นาที หรือ หงุดหงิดไปทั้งวัน

3. ตัวช่วย

  • คนเราไม่สามารถควบคุมความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คือรับมือเมื่อความคิดเหล่านั้นปรากฎขึ้นมา

“คิดบวกเข้าไว้” มันทำไม่ได้จริงว่อยย

คนฟังจะรู้สึกแย่ขึ้นไปอีกเพราะทำไม่ได้

  • เมื่อเราจิตตก เรามักจดจ่อกับความคิดที่ทำให้เรารู้สึกแย่กว่าเดิม ยิ่งหมกหมุ่น ยิ่งนึกถึงเรื่องแย่ๆได้ง่าย
  • ให้ลองถามตัวเองว่า “ถ้าอยู่ในอารมณ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ฉันจะทำอย่างไร” หรือไม่ก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
  • แล้วในแต่ละวันก็เขียน 3 สิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณลงไปก่อนนอน ไม่ต้องเรื่องใหญ่ก็ได้

4. เปลี่ยนวันแย่ๆ เป็นวันดีๆ

  • เมื่อจิตตก คุณจะตัดสินใจได้แย่ อย่าไปยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ
  • การตัดสินใจแค่ดีพอ (ไปถูกทิศ) ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ ดีกว่าไม่ตัดสินใจอะไรเลย
  • คุณควรกำหนดทิศทางชีวิตตัวเองไว้ก่อน เผื่อตอนจิตตก จะได้รู้ว่าต้องไปทางไหน เช่น ค่านิยมเรื่องสุขภาพเป็นยังไง

การเปลี่ยนแปลงทีที่ดี ไม่ต้องยิ่งใหญ่ แต่ต้องทำได้สม่ำเสมอ

  • การพูดกับตัวเอง ในแบบที่เราพูดกับคนที่เรารัก เพื่อสนับสนุนหรือให้กำลังใจเขาเป็นสิ่งที่ทรงพลังในการจัดการอารมณ์

นึกภาพว่าถ้าคนรักของคุณล้มเหลวมา คุณจะปลอบเขาอย่างไร ก็ต้องทำแบบนั้นกับตัวเองบ้าง

  • เลิกหมกมุ่นกับปัญหาและหันมาให้ความสำคัญกับทางออกแทน

5. ใส่ใจปัจจัยพื้นฐาน

  • เข้านอนแต่หัวค่ำ กินผัก และออกกำลังกาย ดูเป็นเรื่องน่าเบื่อที่เราไม่ตระหนักถึงคุณค่า จนกระทั่งมันหายไป
  • เราไม่ต้องถึงขั้นทำให้สมบูรณ์แบบ แต่ต้องได้รับการดูแลที่ดีพอ

การออกกำลังกาย

  • ช่วยให้คุณมีความสุขกับชีวิตประจำวันได้
  • การเคลื่อนไหวร่างกายส่งผลต่อความรู้สึกของเราเป็นอย่างมาก
  • เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ ที่คุณทำได้ทุกวัน ดีกว่าเล่นใหญ่เป็นครั้งคราว

สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ

  • ถ้ามีอย่างเดียวที่ทำได้วันนี้ จงเลือก ออกกำลังกาย

การนอน

  • การอดนอน มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ลองอาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน ตื่นแล้วรับแสงธรรมชาติให้ได้สัก 10 นาที ดึกๆให้หลี่ไฟลงเตรียมนอน
  • ถ้ามีเรื่องกังวลตอนนอน ให้เขียนมันลงกระดาษ คำสั้นๆก็ได้ ขอแค่ได้เขียน
  • อย่ากินเยอะไปและอย่ากินของน้ำตาลสูงก่อนนอน

อาหาร

  • อาหารที่ไม่ผ่านการขัดสี ไม่แปรรูป เน้นไขมันดี ธัญพืชเต็มเมล็ด
  • รักษาการเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน “อะไรคือสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในวันนี้เพื่อปรับปรุงโภชนาการของตัวเอง”

กิจวัตร

  • การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ และสิ่งที่คาดเดาได้ ช่วยให้เรารู้สึกปลอดภัย แต่เรายังต้องการสิ่งใหม่ๆ ที่ต่างจากเดิมและอยากสัมผัสความตื่นเต้นด้วย

การใส่น้ำหวาน 1 หยดลงแก้วน้ำเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยน แต่การใส่ทุกวัน มันจะเปลี่ยนอย่างแน่นอน

ความสัมพันธ์

  • ภาวะซึมเศร้า มันต้องการให้เราแยกตัวออกมา
  • แต่การอยู่กับผู้อื่น ช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น

Part 2 แรงจูงใจ

6. ทำความเข้าใจแรงจูงใจ

แรงจูงใจมันขึ้นๆลงๆ เราจึงไม่สามารถคาดหวังให้ตัวเองมีแรงจูงใจได้ตลอดเวลา

วิธีรับมือกับความรู้สึก “ไม่มีกระจิตกะใจ”

  • เรียนรู้วิธีสร้างแรงจูงใจและพลังเพื่อเพิ่มโอกาสให้มันเกิดบ่อยขึ้น
  • เรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองแม้แต่ตอนที่ไม่มีแรงจูงใจ
  • การลงมือทำอะไรบางอย่างแม้ตอนนั้นจะไม่อยากทำ สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ได้

7. วิธีหล่อเลี้ยงแรงจูงใจ

  • ลองถามตัวเองดูว่ามีอะไรบ้างที่ทำแล้วรู้สึกมีพลังและแรงจูงใจ
  • การใช้เวลาเพื่อสังเกตและบันทึกกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

เคลื่อนไหวร่างกาย

แรงจูงใจคือผลพวงที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว

  • กุญแจสำคัญคือ ทำให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำแม้แต่ตอนไม่ค่อยมีแรงจูงใจ อะไรก็ได้เลยขอแค่ได้เคลื่อนไหว

ระลึกถึงเป้าหมายเสมอ

เขียนบันทึกเป็นประจำ แค่นาทีเดียวก็ได้

ทำให้เล็กเข้าไว้

  • เพราะคนเราจดจ่อได้ทีละเรื่องและมีพลังใจจำกัดในการทำสิ่งที่ไม่อยากทำ
  • รางวัลเล็กๆน้อยๆให้ตัวเอง เพื่อบอกว่าเรามาถูกทางละ
  • การรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจควบคุมช่วยให้เรารู้สึกมีพลังที่จะพยายามต่อไป
  • การกระทำเพียงเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ ดีกว่าเล่นใหญ่ครั้งเดียว

อดทนต่อสิ่งล่อใจ

  • อย่าคิดว่าเราควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา
  • ความเครียด ความเหนื่อย ทำให้เราหลุดได้ง่ายมากในวันที่คุณ อดนอน ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือไม่ได้กินอาหารที่ดี
  • การนอนและออกกำลังกายช่วยได้เยอะ

มุมมองต่อความล้มเหลว

  • ก่อนจะถึงความสำเร็จเป็นเรื่องปกติที่จะเจอความล้มเหลวระหว่างทาง
  • คิดไว้เลยว่าจะตอบสนองต่อความล้มเหลวนั้นอย่างไร (ถ้าแฟนคุณล้มเหลว คุณจะแนะนำเขายังไง เพื่อให้เขาลุกขึ้นอีกครั้ง)

8. คุณบังคับตัวเองให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำในตอนนั้นได้อย่างไร

  • แรงจูงใจมาไวไปไว ไม่ควรคาดหวังให้ตัวเองมีแรงจูงใจตลอดเวลา

การทำในสิ่งตรงข้าม

  • เรานั้งจ้องคุกกี้แล้วบอกว่าอย่ากิน นั่นคือการคิดถึงคุกกี้ตลอดเวลา ไม่เวิร์คสุดๆ

เกราะป้องการความเจ็บปวด

  • วิธีที่ดีที่สุดคือ เอาแรงจูงใจออกไปจากสมการ
  • เช่นการแปรงฟัน เราแปรงโดยไม่คิดว่าอยากแปรงหรือไม่อยาก แค่แปรง
  • สมองเราเหมือนป่ารก เมื่อต้องทำอะไรสักอย่างครั้งแรกต้องถางทางเยอะ จะไม่อยากทำ

แต่ถ้าทำบ่อยๆ ทางโล่ง ทำง่าย

  • ถ้าไม่ค่อยได้ทำแล้ว มันก็กลับไปรกอีก การทำบ่อยๆจะยิ่งทำให้ลงมือทำได้ง่ายขึ้น
  • จัดสภาพแวดล้อมเอื้อให้เราทำได้ง่ายขึ้น ระบุเวลาสถานที่ให้ชัดเจน ให้รางวัลตัวเองบ้าง

วิธีรักษาความบากบั่นในระยะยาว

  • พักผ่อนและเติมพลังเป็นประจำนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
  • การไถมือถือไม่ใช่การพักผ่อน ลองเปลี่ยนเป็นเดินสูดอากาศบ้างนะ

ความรู้สึกขอบคุณ

  • เวลาเจอเรื่อง Challenge ลองเปลี่ยนจากคำว่า “ฉันต้อง…” เป็น “ฉันมีโอกาสได้…”

การวางแผนล่วงหน้า

  • ถ้ารู้อยู่แล้วว่า เดี๋ยวจะเจองานยาก ให้วางแผนล่วงหน้าไปเลยว่าจะทำอะไร จะได้ไม่ต้องไปคิดหน้างาน ซึ่งเสี่ยงต่อการหลุดโฟกัสมากๆ
  • เช่น เที่ยงจะกินอะไร คิดล่วงหน้าไว้เลย ว่าจะกินอาหารดีๆ เพราะถ้าไปคิดหน้างาน จะจบที่ของอร่อยแต่อ้วนแน่ๆ

นี่คือสิ่งที่ฉันเป็น…การกลับสู่ตัวตนของคุณ

  • ถ้าคุณมองว่าตัวเองเป็นคนปากสะอาด คุณจะหยิบแปรงสีฟันขึ้นมาแปรงทุกวัน ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ก็ตาม
  • ลองคิดถึง ตัวตนคุณในอนาคตที่อยากเป็น แล้วจะเลือกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตได้ง่ายขึ้น

9. การเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งใหญ่ควรเริ่มจากตรงไหน

  • การจดบันทึกนับเป็นการเริ่มต้นที่ดี เป้นการพัฒนาความสามารถในการทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์และวิธีตอบสนองของคุณ

Part 3 ความเจ็บปวดทางอารมณ์

10. ทำให้มันหายไปที!

  • อารมณ์ไม่ใช่ศตรูหรือมิตรของคุณ เมื่อเกิดอารมณ์ขึ้นขอให้ ยอมรับ เอาใจใส่ และมองมันตามความเป็นจริง

สิ่งที่ไม่ควรทำกับอารมณ์

  • ผลักอารมณ์ออกไป : อย่าฝืนเดี๋ยวพัง ปล่อยให้มันได้ระบายออกมา เดี๋ยวมันจะหยุดไปเองตามธรรมชาติ
  • เชื่อว่าอารมณ์คือความจริง : อารมณ์คือความพยายามของสมองในการทำความเข้าใจโลกรอบตัวเพื่อให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการของตัวเองและอยู่รอด แต่ไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

เมื่อเกิดอารมณ์แล้วมันไม่จริงเสมอไป สิ่งที่เราต้องทำคือ ตั้งคำถาม

  • ความสงสัยใคร่รู้ช่วยให้เราพิจารณาความผิดพลาดของตัวเองและเรียนรู้จากมัน
  • อาจจะทำให้เจ็บปวดบ้าง แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ยังคงได้เรียนรู้เสมอ

11. จัดการกับอารมณ์อย่างไร

  • เราจะไม่กดอารมณ์ไว้ แถมยังปล่อยให้มันปรากฏออกมาและยอมรับมัน
  • แต่สิ่งที่เราต้องทำคือ ดูว่าอารมณ์พาเราไปถูกทิศไหม โดยยึดเป้าหมายและสิ่งที่มีความหมายกับเราเป็นหลัก

มองอารมณ์ตามความเป็นจริง

อารมณ์เป็นแค่สรุปโลกรอบตัวแบบเร็วๆ อาจจะไม่ถูกก็ได้

  • อย่าอดนอน กินให้ดี เคลื่อนไหวบ่อยๆ

ระบุชื่อ

  • เรียนรู้ชื่อของอารมณ์ต่างๆให้มากเข้าไว้
  • การระบุได้ชัดเจนช่วยให้เลือกวิธีตอบสนองได้ถูกจุดมากขึ้น

การปลอบโยนตัวเอง

  • ถอยออกมา แล้วมองว่านี่เป็นเพียงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว
  • เวลาอารมณ์พุ่ง สมองคิดว่ามีอันตรายอะไรสักอย่าง
  • ให้เราป้อนข้อมูลใหม่เพื่อบอกสมองว่าคุณปลอดภัยดี
  • เช่น ดื่มอะไรอุ่นๆ คุยกับเพื่อนหรือคนรัก เคลื่อนไหวร่างกาย ฟังดนตรี หายใจช้าลง ดมกลิ่มที่เราคุ้นเคย
  • เตรียมกล่องให้ของที่ทำให้เราตั้งสติได้

12. การใช้ประโยชน์จากพลังและถ้อยคำ

  • การใช้คำที่เหมาะสมในการอธิบายความรู้สึกจะช่วยให้คุณจัดการอารมณ์ได้
  • เลือกใช้คำที่เฉพาะเจาะจง อย่าใช้คำกว้างเกิน
  • ถ้ามันซับซ้อนจะใช้หลายคำก็ได้นะ เช่น “ฉันรู้สึกประหม่าและตื่นเต้น”
  • เอาคำง่ายๆที่คนรอบข้างคุ้นเคย
  • สนุกไปกับการอธิบายอารมณ์ตัวเอง อ่านเยอะๆ สังเกตคำที่คนอื่นใช้ เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์

13. การช่วยเหลือคนอื่น

  • คนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการให้ใครมาบอกว่าต้องทำอะไร แต่ต้องการใครสักคนที่แวะเวียนมาไถ่ถามและแสดงความห่วงใย
  • การดูแลคนอื่น อาจส่งผลต่อคุณด้วย อย่าลืมนอนให้พอ กินให้ดี ออกกำลังกาย และคุยกับคนอื่นบ้าง
  • กำหนดขอบเขตให้ตัวเอง การช่วยเหลือคนอื่นไม่ได้หมายความว่าชีวิตคุณไม่มีความหมาย
  • อย่าถามว่า “คุณเป็นอะไรไหม” ให้เปลี่ยนเป็น “คุณคิดอะไรอยู่”
  • ถ้าอยากช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง ให้บอกเขาไปตามตรง

Part 4 ความโศกเศร้า

14. ทำความเข้าใจความโศกเศร้า

  • ความเศร้าเป็นเรื่องปกติ
  • การพยายามปิดกั้นความเศร้าอาจนำไปสู่ปัญหาที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

15. ลำดับขั้นของความโศกเศร้า

การปฏิเสธความจริง

  • เวลาผ่านไปเดี๋ยวก็หาย

ความโกรธ

  • อย่าเก็บความโกรธไว้

ถ้าโกรธให้เคลื่อนไหวเพื่อเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นจากความโกรธ

การต่อรอง

  • อย่าไปหมกมุ่นกับคำว่า “ถ้าหาก…”

ความซึมเศร้า

  • เราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธความเจ็บปวดหรือเก็บกดซ่อนมันเอาไว้

การยอมรับ

  • เมื่อให้พื้นที่และเวลากับความเศร้า เราก็จะเริ่มรู้สึกว่าสามารถก้าวไปข้างหน้าได้และกลับมาควบคุมชีวิตได้อีกครั้ง

16. ภารกิจที่ต้องทำเมื่อโศกเศร้า

  • ยอมรับในความเป็นจริงใหม่ หลังการสูญเสีย
  • รับมือความเจ็บปวด
  • ปรับตัว
  • หาวิธีรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ในรูปแบบใหม่และในขณะเดียวกันก็ใช้ชีวิตปัจจุบันต่อไป

เศร้าไม่ใช่สิ่งที่ผิด

  • ยอมให้ตัวเองไม่มีความสุขในช่วงเวลาสั้นๆบ้าง

ก้าวไปข้าวหน้าทีละนิด

  • ลองเริ่มจากเป้าหมายเล็กๆ

อย่าตั้งความหวัง

  • อย่าไปคิดว่าตัวเองต้องเป็นอย่างนู้นอย่างนั้น
  • ความคาดหวังจำนวนมาก ทำให้ผู้คนเชื่ออย่างผิดๆ ว่าพวกเขากำลังเสียสติ

เปิดเผยความรู้สึก

  • ถ้าบอกใครไมได้ ก็เขียนมันออกมา

เติบโตไปพร้อมบาดแผล

  • สร้างชีวิตโดยมองว่าบาดแผลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

17. เสาหลักของความเข้มแข็ง

Part 5 ความสงสัยในตัวเอง

18. การรับมือกับคำวิจารณ์และการไม่เป็นที่ยอมรับ

  • มนุษย์ถูกสร้างมาให้ใส่ใจว่าผู้คนรอบตัวมองเราอย่างไร คำวิจารณ์อาจเป็นสัญญาณว่าเรายังไม่สามารถทำตามความคาดหวังของอีกฝ่ายได้

แต่คนอื่นอาจคาดหวังแบบผิดๆจากเราก็ได้ไง

  • เมื่อก่อนสำคัญ เพราะถ้าโดนกลุ่มทิ้ง อาจตายได้ แต่ยุคนี้ไม่ขนาดนั้น

ภาวะเอาอกเอาใจผู้อื่น

  • การเป็นที่ยอมรับคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ
  • คนเราไม่ได้แสดงการ ไม่ยอมรับ ด้วยการพูดตรงๆ สมองเลยคิดไปเองบางที แม้จะไม่มีใครคิดแบบนั้นเลยก็ตาม
  • มนุษย์เรามีแนวโน้มจะคิดว่าคนอื่นสนใจเรามากเกินไป ทั้งที่จริงแล้วพวกเขาคิดถึงแต่ตัวเอง

การทำความเข้าใจผู้คน

  • มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะคิดแบบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งคิดว่าคนอื่นต้องยึดเกณฑ์เดียวกับเรา
  • แปลว่า คำวิจารณ์ที่ส่งออกไป มักตั้งอยู่บนมุมมองที่ผู้วิจารณ์มีต่อโลก
  • โดยไม่ได้คำนึงถึงความจริงที่ว่า แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ชีวิต ค่านิยม และ บุคลิกภาพต่างกัน

การหล่อเลี้ยงความเห็นคุณค่าในตัวเอง

  • หมั่นเตือนตัวเองว่า ความไม่สมบูรณ์แบบ การทำผิดพลาด และการล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์
  • การหมกหมุ่นกับความเห็ฯอันน่ารังเกียจ ไม่มีประโยชน์ต่อเรา
  • คนคนหนึ่งจะลุกขึ้นอีกครั้งได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดทุบตีเขาเสียก่อน
  • จงเลือกเก็บคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์ซึ่งช่วยให้คุณได้เรียนรู้

คนเดียวที่คุณต้องการการยอมรับจากเขามากที่สุด ก็คือตัวคุณเอง

19. กุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจ

  • ความมั่นใจจะไม่สามารถเติบโตได้หากคุณ ไม่ยอมอยู่โดยปราศจากความมั่นใจเสียก่อน
  • ถ้าอยากสร้างความมั่นใจ จงก้าวไปยังจุดที่คุณไม่มั่นใจเมื่อทำเช่นนี้ทุกวัน ความมั่นใจก็จะเติบโตขึ้น

อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น !

  • คุณต้องสร้างความมั่นใจสำหรับแต่ละสถานการณ์ แต่สิ่งที่จะติดตัวคุณไปเสมอก็คือ ความเชื่อที่ว่าคุณสามารถอดทนต่อความกลัวได้ในระหว่างที่ความมั่นใจกำลังเติบโต
  • คุณไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจนเกินจะรับไหว แต่ให้เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ
  • ในระหว่างที่สร้างความมั่นใจ จงเป็นโค้ชของตัวเอง ไม่ใช่นักวิจารณ์ที่เลวร้ายที่สุด
  • ความกล้าหาญมาก่อนความมั่นใจเสมอ

20. ความผิดพลาดไม่ใช่ตัวตนของคุณ

  • ส่วนใหญ่แล้วความสงสัยในตัวเองมักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่คุณมีต่อความล้มเหลว
  • วิธีที่คนอื่นตอบสนองต่อความผิดพลาดของคุณไม่ได้บ่งบอกถึงบุคลิกภาพและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคุณ
  • จงเป็นโค้ชของตัวเองและเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็ก้าวไปข้างหน้าโดยยึดสิ่งที่สำคัญกับตัวเองมากที่สุดเป็นหลัก
  • ความล้มเหลวอาจกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่หนักหน่วง ดังนั้น จงให้เวลาตัวเอง

21. ดีพอ

  • มีความเข้าใจผิดที่ว่าการยอมรับตัวเองทำให้เราขี้เกียจไม่กระตือรือร้น และขาดแรงผลักดัน
  • ความจริงแล้วผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนที่ยอมรับและเห็นอกเห็นใจตัวเองมีแนวโน้มที่จะกลัวความล้มเหลวน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะลุกขึ้นสู้อีกครั้งมากกว่าเมื่อล้มเหลว
  • การยอมรับตัวเองต่างจากการปล่อยให้ตัวเองยอมแพ้
  • บ่อยครั้งการเห็นอกเห็นใจตัวเองก็ผลักดันคุณให้เลือกเส้นทางที่ยากกว่าเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
  • อย่าลืมเขียนบันทึกเรื่องดีๆ คุยกับเพื่อน และหมั่นเช็คเป้าหมาย ว่าเราอยากเป็นคนแบบไหนจริงๆแล้ว

Part 6 ความกลัว

22. ทำให้ความวิตกกังวลหายไปที!

  • การที่คุณอยากให้ความวิตกกังวลหายไปเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะมันทำให้คุณไม่สบายใจ
  • ถ้าอยากต่อสู้กับความกลัว คุณต้องยอมเผชิญหน้ากับมันเสียก่อน
  • การหนีหรือหลีกเสี่ยงทำให้คุณไล่งใจในระยะสั้น แต่มันจะหล่อเลี้ยงความวิตกกังวลให้คงอยู่ต่อไปในระยะยาว
  • การพยายามควบคุมและกำจัดความกลัวกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่คอยบงการชีวิตของคุณในทุกย่างก้าว
  • การตอบสนองต่อภัยคุกคามจำเป็นต้องทำบานอย่างรวดเร็วมันจึงมักส่งสัญญาณเดือนก่อนที่คุณจะมีไอกาสได้พิจารณาสถานการณ์อย่างละเอียด

23. สิ่งที่เราทำซึ่งส่งผลให้ความวิตกกังวลยิ่งแย่ลง

  • เมื่อรู้สึกวิตกกังวลกับอะไรบางอย่าง ปฏิกิริยาตอบสนองโดยธรรมชาติของมนุษย์คือการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
  • แต่การหลีกเลี่ยงทำให้ความวิตกกังวลยังคงอยู่
  • ลำพังแค่การบอกสมองว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งปลอดภัยนั้นยังไม่เพียงพอ คุณต้องสัมผัสประสบการณ์ของสิ่งนั้นเพื่อทำให้ตัวเองเชื่ออย่างแท้จริง
  • สมองของคุณจำเป็นต้องได้รับการโน้มน้าวสักหน่อย คุณจึงต้องหมั่นทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ

สิ่งที่คุณทำบ่อย ๆ จะกลายเป็นพื้นที่สบายใจ

  • ถ้าอยากลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งใด คุณก็ต้องทำสิ่งนั้นให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

24. วิธีบรรเทาความวิตกกังวลแบบเร่งด่วน

  • เมื่อวิตกกังวล เราจะหายใจถี่ขึ้นและตื้นขึ้นเรื่อย ๆ
  • การหายใจให้ช้าลงและลึกขึ้นจะช่วยให้ร่างกายสงบลง
  • พยายามผ่อนลมหายใจอกให้ยาวกว่าตอนหายใจเข้า
  • ใช้เวลาสักครู่ในการปรับการหายใจแล้วความวิตกกังวลจะเริ่มลดลง

25. วิธีจัดการความคิดวิตกกังวล

  • คุณสามารถสร้างระยะห่างจากความคิดวิตกกังวลได้ด้วยการระบุชื่ออคติทางความคิดที่คุณสังเกตเห็น
  • ระลึกไว้เสมอว่าแม้ความคิดวิตกกังวลจะเรียกร้องความสนใจจากคุณอยู่ตลอดเวลา แต่คุณสามารถควบคุมสปอตไลต์แห่งความสนใจของตัวเองได้
  • ความเห็นอกเห็นใจช่วยลดระดับความรุนแรงของการตอบสนองต่อภัยคุกคาม ไม่ว่าความเห็นอกเห็นใจนั้นจะมาจากคนอื่นหรือตัวเองก็ตาม
  • การตีกรอบใหม่โดยเปลี่ยนภัยอันตรายให้เป็นความท้าทายจะทำให้เรากล้าหาญ
  • การปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับค่านิยมของตัวเองจะทำให้คุณตัดสินใจโดยยึดสิ่งที่สำคัญต่อตัวเองที่สุดเป็นหลัก ไม่ใช่ความกลัว

26. ความกลัวในสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

  • ความกลัวความตายเกิดจากความกลัวทั้งในสิ่งที่เรารู้และไม่รู้
  • สำหรับบางคน ประสบการณ์เฉียดตายทำให้เกิดการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางบวก
  • การยอมรับความตายไม่ใช่การยอมจำนนต่อชีวิต อันที่จริงมันตรงข้ามกันเลยต่างหาก
  • การยอมรับความตายช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

Part 7 ความเครียด

27. ความเครียดต่างจากความวิตกกังวลหรือไม่

  • คำว่าความเครียดและความวิตกกังวลมักถูกหยิบไปใช้ในความหมายเดียวกัน
  • ถ้ามีพลังเพียงพอในการรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญเราก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกดี แม้สถานการณ์นั้นจะมีความเครียดด้วยก็ตาม
  • การที่เรารู้สึกเครียดเป็นเพราะสมองกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยให้เราทำอะไรบางอย่าง
  • สมองปล่อยพลังงานเพื่อเพิ่มระดับความตื่นตัวและช่วยให้คุณตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
  • ความวิตกกังวลเป็นการตอบสนองที่ตั้งอยู่บนความกลัวซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบการตอบสนองต่อความเครียด

28. การลดความเคลียดไม่ใช่ทางออกเดียว

  • ความเครียดไม่ใช่ศัตรูเสมอไป แถมยังเป็นเครื่องมือที่ล้ำค่าที่สุดของคุณด้วย
  • การเรียนรู้ที่จะฟื้นฟูพลังหลังเผชิญกับความเครียดเป็นสิ่งที่ทำได้จริงมากกว่าการพยายามกำจัดความเครียด
  • ความเครียดช่วยให้คุณลงมือและทำสิ่งสำคัญได้ แต่มนุษย์ก็ไม่ได้ถูกสร้างมาให้อยู่กับความเครียดอย่างต่อเนื่อง
  • ความเครียดเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตที่สนุกและท้ากาย แต่ความเครียดที่มากเกินไปจะทำให้ข้อดีเหล่านี้หายไป

29. เมื่อความเครียดที่ดีกลายเป็นร้าย

  • การตอบสนองต่อความเครียดจะทำงานได้ดีที่สุดในระยะสั้นเท่านั้น
  • ความเครียดเรื้อรังเปรียบเหมือนการขับรถด้วยความเร็วบนถนนมอเตอร์เวย์โดยใช้เกียร์ต่ำ หลังจากขับไปได้ไม่นานเครื่องยนต์ก็จะพัง
  • ภาวะหมดไฟไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานเท่านั้น
  • เครื่องมือวิเศษที่สามารถแก้ไขทุกอย่างได้นั้นไม่มีอยู่จริงแนวทางในการรักษาสมดุลที่ใช้ได้ผลกับคนหนึ่งจึงอาจไม่เหมาะกับอีกคน
  • ถ้าคุณสังเกตเห็นสัญญาณของภาวะหมดไฟในตัวเอง จงฟังสัญญาณนั้นให้ดีและจัดการทันที ด้วยการทำสิ่งที่จะช่วยบรรเทาต้นตอของสัญญาณถังกล่าวได้

30. ทำให้ความเคลียดกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

  • การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการหายใจสามารถส่งผลกระทบต่อระดับความเครียดของคุณได้
  • วิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการฝึกสมาธิส่งผลอย่างยิ่งต่อสมองและวิธีที่คุณรับมือกับความเครียด
  • การสานสัมพันธ์กับคนอื่นช่วยให้เราฟื้นฟูจากความเครียดได้ในขณะที่ความโดดเดี่ยวทางสังคมจะทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความเครียดอย่างรุนแรง
  • เป้าหมายที่ตั้งอยู่บนการสร้างประโยชน์ ไม่ใช่การแข่งขันช่วยให้เรารักษาแรงจูงใจและความอดทนเอาไว้ได้เมื่อต้องเผชิญกับความเครียด
  • ค้นหาประสบการณ์ที่น่าทึ่งเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองของคุณ

31. การรับมือกับความเครียดในช่วงเวลาสำคัญ

  • มุมมองที่คุณมีต่อความเครียดส่งผลต่อการทำงานภายใต้ความกดดัน
  • เมื่อมองว่าความเครียดเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ คุณก็จะเลิกพยายามกำจัดความรู้สึกที่เกิดจากความเครียดและหันมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องจัดการ
  • คำพูดเชิงบวกหรือข้อความที่คุณจะใช้ย้ำเตือนตัวเอง ต้องเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่สิ่งที่ห้ามทำ
  • การปรับเปลี่ยนจุดสนใจจะทำให้ระดับความเครียดเปลี่ยนไป
  • การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่คุณมีต่อความล้มเหลวและพัฒนาความสามารถในการฟื้นฟูจิตใจจากความอับอายจะช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดในสถานการณ์ที่มีความกดดันสูงได้ดีขึ้น

Part 8 ชีวิตที่เปี่ยมความหมาย

32. ปัญหาของคำพูดที่ว่า “ฉันก็แค่อยากมีความสุข”

  • เราถูกโน้มน้าวให้เชื่อว่าความสุขเป็นบรรทัดฐานของชีวิตส่วนอารมณ์ความรู้สึกอื่น ๆ อาจบ่งบอกว่าเรากำลังมีปัญหาทางสุขภาพจิต
  • บางครั้งเราไม่มีความสุขก็เพราะเราเป็นมนุษย์ปกติที่มีอารมณ์ความรู้สึก และชีวิตมนุษย์ก็เต็มไปด้วยช่วงเวลาอันยากลำบาก
  • สิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข ไม่ได้นำมาซึ่งอารมณ์ความรู้สึกที่น่ายินดีเท่านั้น แต่มีทั้งความสุข ความรัก ความเบิกบานความกลัว ความอับอาย และความเจ็บปวดด้วย
  • การรู้ค่านิยมของตัวเองอย่างชัดเจนสามารถช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตมีความหมายและคุณค่าได้
  • การให้ความสำคัญสูงสุดกับค่านิยมของตัวเองจะช่วยให้คุณอดทนฟันฝ่าผ่านช่วงชีวิตที่เจ็บปวดได้เพราะรู้ว่ามาถูกทางแล้ว

33. ค้นหาสิ่งที่สำคัญต่อตัวเอง

ระบุค่านิยมในวันนี้ของคุณให้ชัดเจน

  • ค่านิยมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับค่านิยมด้วย ดังนั้น คุณจึงควรหมั่นตรวจสอบค่านิยมของตัวเอง
  • การใช้ค่านิยมเป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายจะช่วยให้คุณรู้จุดมุ่งหมายในแต่ละวัน
  • สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณอยากให้เกิดอะไรขึ้นในชีวิตของตัวเอง แต่อยู่ที่ว่าคุณอยากเป็นคนแบบไหน อยากสร้างประโยชน์อะไร และอยากใช้ชีวิตด้วยทัศนคติใดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

34. การสร้างชีวิตที่มีความหมาย

  • คนเรามีแนวโน้มที่จะนึกถึงเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่และสุดโต่งเมื่อตัดสินใจว่าจะลงมือเปลี่ยนแปลง
  • ลำพังแค่การมีเป้าหมายไม่สามารถรับประกันได้ว่าชีวิตของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างยั่งยืน
  • เมื่อคุณทุ่มเทเวลาเพื่อคิดและจินตนาการภาพของคนที่คุณตั้งใจจะเป็นให้ได้ รวมทั้งเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นให้เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน คุณก็จะรู้สึกว่าความพยายามของตัวเองมีความหมายมากขึ้น
  • การเชื่อมโยงความต้องการเข้ากับตัวตนจะช่วยให้คุณทำพฤติกรรมใหม่ที่อยากบ่มเพาะต่อไปได้ แม้เป้าหมายแรกเริ่มจะลุล่วงไปแล้วก็ตาม

35. ความสัมพันธ์

  • หากพูดถึงชีวิตที่มีความสุข ความสัมพันธ์มีคุณค่ายิ่งกว่าเงินทอง ชื่อเสียง สถานะทางสังคม พันธุกรรม และสิ่งต่าง ๆ ที่คนอื่นพร่ำบอกให้เราพยายามไขว่คว้า
  • ความสัมพันธ์และความสุขที่เกิดจากความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากสุขภาพของเราได้ อันที่จริงมันเป็นตัวแปรสำคัญเลยทีเดียว
  • การพัฒนาตัวเองส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และการพัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ก็ส่งผลดีต่อคุณเช่นกัน
  • รูปแบบความผูกพันที่เรียนรู้ในวัยเด็กมักถูกแสดงออกมาให้เห็นในความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่

36. เมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ

  • ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขอความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิตคือเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกังวลกับมัน
  • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าต้องการความช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหนการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้

ในโลกอุดมคติ ทุกคนจะสามารถเข้าถึงการบำบัดจิตได้ แต่เราไม่มีโลกในอุดมคติแบบนั้น

  • หากคุณไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญได้ขอให้คุณใช้ทุกโอกาสที่มีเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพจิตและขอความช่วยเหลือจากคนที่คุณรักและไว้ใจ

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
BookTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing