ถอดคีย์ความสำเร็จ Startup ด้วย Data Analytics กันเถอะ

Disakul Waidee
botnoi-classroom
Published in
3 min readNov 24, 2020

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Data Science Essential Botnoi Classroom : Project 1 — by Group 6

สวัสดีครับทุกคน บทความนี้เป็นส่วนนึงของการบ้าน week แรกของ Data Science Essential ของ Botnoi Classroom หัวข้อ Data Analytics ซึ่งได้มีการจัดกลุ่มด้วย AI และกลุ่มเราก็คือ กลุ่ม G6 มีสมาชิกตามนี้ครับ

Team members

จิตติ(ต้น) (Tony), Mek, MyMine, Exe, Typhoon, แพ้น, Ning, BP, Preeraya.B, Boom, Nb, ว่าน , ฮ, Yaya, Lee, Binn , Jay , RT, janjao

Coloab : https://bit.ly/2KEnqMs

ถ้าพูดถึงซีรี่ส์เกาหลีที่มาแรงในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง Startup ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวของผู้คนในวงการ Startup ที่มีการแข่งขัน ความท้าทาย และอุปสรรคต่างๆมากมายกว่าจะมาเป็น Startup ที่ได้รับเงินลงทุน และประสบความสำเร็จ.ในประเทศไทย กระแสธุรกิจของ Startup ได้รับความนิยมไม่น้อยในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ Startup และประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ และมันคงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีข้อมูลที่สามารถจะช่วยในการตัดสินใจทำธุรกิจ Startup ให้กับทุกๆคนที่สนใจอาชีพในวงการนี้ พวกเราจึงเลือกหัวข้อ “การวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจทำธุรกิจ Startup” นั้นเอง

Data Analytics

หลังจากที่พวกเราได้หัวข้อกันแล้ว ก็มาถึงกระบวนการทำ Data Analytics ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

0. จุดประสงค์ของการทำ Data Analytics คืออะไร ?

  1. การเก็บข้อมูล/รวบรวมข้อมูลดิบ

2. การตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน

3. การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ (Data Mart)

  • การเลือกข้อมูล
  • การจัดรูปแบบข้อมูล
  • การ clean ข้อมูล

4. การหาคำตอบจากข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากขั้นตอนที่ 3 หรือหา insight เพิ่มเติม

5. ระหว่างการหาคำตอบ จะมีคำถามใหม่เกิดขึ้นมา จนอาจจะนำมาสู่กระบวนการย้อนกลับไปสู่ขั้นตอน 1 หรือ 2

6. การสรุปผล

เรามาเริ่มกระบวนการกันเลยดีกว่าครับ

0. จุดประสงค์ของการทำ Data Analytics คืออะไร

  • เห็นสถานการณ์การลงทุนของบรรดาเหล่านักลงทุนทั้งหลายในธุรกิจ Startup ทั่วโลกและในประเทศไทย
  • เป็นแนวทางในการประกอบการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ Startup ว่า Sector ไหนที่ตลาดมีความน่าสนใจทั้งในฝั่งของ VC และ ฝั่ง Startup
  1. การเก็บข้อมูล/รวบรวมข้อมูลดิบ

เราได้ข้อมูลการลงทุนของ VC ใน Startup ทั่วโลก จาก Kaggle แหล่งรวม Dataset สำหรับเหล่า Data Science โดยข้อมูลได้ Download มาคือ StartUp Investments (Crunchbase) ของ คุณ Andy_M ซึ่งจากข้อมูลดิบ (Raw Data) ปี 2020 นี้เลย https://www.kaggle.com/arindam235/startup-investments-crunchbase

2. การตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน ตั้งเป้าหมายของการวิเคราะห์

2.1 ตั้งคำถาม

  • อยากรู้จำนวน/ประเภทธุรกิจ Startup ไทยกับประเทศต่างๆ
  • อยากรู้จำนวน/ประเภทธุรกิจ Startup ไทยกับประเทศ ASEAN
  • อยากรู้การลงทุนของ VC ในแต่ละภูมิภาค และในประเทศไทย
  • อยากรู้ประเภทธุรกิจ สินค้า/บริการ
  • อยากรู้เงินลงทุนธุรกิจของแต่ละประเภท
  • ประเภทธุรกิจที่ยังดำเนินการอยู่ และที่ปิดตัว

2.2 ตั้งสมมติฐาน

  • E-commerce, FinTech น่าจะเป็นประเภทธุรกิจ Startup ใน ASEAN ที่ VC ลงทุนเยอะที่สุด
  • ประเทศไทยน่าจะอยู่อันดับ 1 ใน 3 ของ ASEAN ที่ VC สนใจลงทุน

2.3. ตั้งเป้าหมาย

  • ประเภทธุรกิจ Startup ที่ดึงดูดใจ VC และปัจจัยที่ดึงดูด VC สำหรับการลงทุนในธุรกิจ Startup

3. การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ (Data Mart)

ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ มีทั้งหมด 49438 rows 39 columns ซึ่งเราได้ทำการ clean data ในช่องที่ไม่มีข้อมูลออกก่อน

มีรายละเอียดตัวแปรดังต่อไปนี้

  1. Name (ชื่อบริษัท)
  2. Sector (ประเภทธุรกิจ)
  3. Funding (เงินลงทุน)
  4. Status (สถานะบริษัท)
  5. Country (ประเทศ)
  6. Found_Year (ปีที่ก่อตั้งบริษัท)
  7. Venture (ลงทุนโดย VC)
  8. Angel (ลงทุนโดย Angel)
รายละเอียดตัวแปร

3.1 ข้อมูลประเทศ

ประเทศที่ VC ลงทุนมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา 23,347 บริษัท ,อังกฤษ (2,190 บริษัท) และแคนนาดา (1,123 บริษัท)ตามลำดับ
ส่วนใน SEA มีการลงทุนมากที่สุดคือ ประเทศสิงคโปร์ 226 บริษัท ,มาเลเซีย (41 บริษัท) และประเทศไทย (29 บริษัท) ตามลับดับ

3.2 ข้อมูลประเภทธุรกิจ

ประเภทธุรกิจที่ได้รับการลงทุนจาก VC มากที่สุด คือ Software (3,817 บริษัท), Biotechnology (3,402 บริษัท) และ Mobile (1,531 บริษัท). ส่วนใน SEA อันดับที่ 1 คือ E-Commerce (32 บริษัท), Mobile (31 บริษัท) และ Software (22 บริษัท)

3.3 ข้อมูลการลงทุน

ข้อมูลเปรียบเทียบเงินลงทุนจาก VC ทั่วโลก และใน SAE

เงินลงทุนที่ได้รับการลงทุนจาก VC มากที่สุด อยู่ในกลุ่มบริษัทประเภท Biotechnology (7 หมื่นล้านดอลล่าร์) , Mobile (4 หมื่น 8 พันล้านดอลล่าร์) และ Software (4 หมื่นล้านดอลล่าร์).

ส่วนใน SEA อันดับที่ 1 คือ E-Commerce (1.1 ล้านล้านดอลล่าร์), Mobile (4 แสนล้านดอลล่าร์) และ Biotechnology (2 แสนเก้าหมื่นล้านดอลล่าร์)

3.4 ข้อมูลความสำเร็จในการลงทุนในธุรกิจ Startup

กลุ่มธุรกิจที่ปิดตัวลง
กลุ่มธุรกิจที่ถูกซื้อกิจการ

เราสามารถมองความสำเร็จในการ Raise Fund ในธุรกิจ Startup พบว่า Startup ในกลุ่ม Software มีการปิดกิจการได้สูงกว่าประเภทอื่นๆ และในทางกลับกัน Startup ในกลุ่ม Software ก็มีการถูกซื้อบริษัทในระดับที่สูงด้วย

3.5 ข้อมูลการลงทุน VC และ Angel

เงินลงทุนของ VC รวมในแต่ละ sector ตามลำดับ
เงินลงทุนของ Angel รวมในแต่ละ sector ตามลำดับ

อีกประเภทการลงทุนในธุรกิจ Starup ที่น่าสนใจคือ การลงทุนในรูปแบบ Angel Investment คือ การลงทุนจากนักลงทุนอิสระต่าง ๆ หรือ การลงทุนจากบุคคลธรรมดา ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขเงินลงทุนแล้วค่อนข้างมีสัดส่วนที่สูงเลยทีเดียว บริษัท Startup ไม่ควรมองข้าม

4. การหาคำตอบจากข้อมูล

  • ประเภทธุรกิจที่ VC สนใจลงทุน ถ้าในเอเซียก็ เป็นพวก Digital และ Software แต่ถ้าเป็นยุโรปจะเน้นไปทางด้าน Biotech Industry Tech
  • การลงทุนของ VC ทั่วโลก จะมีทั้งในรูปแบบ Corporate Investment และ แบบ Angel Investment
  • สถานการณ์ของประเทศไทย
  • ใน SEA ประเทศไทยอยู่อันดับ 3 (29 บริษัท)
  • ประเภทธุรกิจที่ได้รับการลงทุน ส่วนใหญ่เป็น Digital Tech
  • ประเทศไทยมีจำนวน 1 บริษัท
  • ประเทศไทยได้รับการลงทุนจากทั้งVC และ Angel

6. การสรุปผล

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีการระดมทุนจากบริษัท Startup ในกลุ่ม Bio Tech และกลุ่ม Health Care มูลค่ารวมสูงมาก นั้นหมายถึงกลุ่มนี้ยังเป็นที่สนใจต่อนักลงทุนและ Startup ในกลุ่มนี้ก็ประสบความสำเร็จในการระดมทุนด้วยมูลค่ากิจการที่สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ

ส่วนใน SEA ของเรานั้นกระแส E-Commerce ยังมาแรงและมีการแข่งขันสูงด้วยเช่นกัน มีมูลค่าการระดมทุนรวมสูงที่สุดและมีจำนวน Startup เยอะกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

ทั้งนี้เรายังอาจหา insight เพิ่มเติมได้อีก อย่างเช่น การจัดกลุ่มข้อมูลประเทศเพื่อดูแยกเป็นระดับภูมิภาค หรือ หาความสัมพันธ์ในช่วงเวลาก่อตั้งกับการระดมทุนในรอบต่างๆ ของแต่ละ Sector

--

--