“B2B Content Strategy ” 5 นาที รู้เรื่อง

Pond Surarak
BUILK
Published in
2 min readNov 18, 2018

ในโลกธุรกิจ B2B การที่จะสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นนับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจง บวกกับธรรมชาติของแต่ละธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป

ทำให้นักทำคอนเทนต์สาย B2B ต้องทำการบ้านและตีโจทย์ให้แตกให้ได้! และสำหรับยุคนี้ ยุคที่ผู้บริโภคชินชากับการสื่อสารผ่านโฆษณารูปแบบเก่า (Traditional Advertising)

ซ้ำยังถูกมองคล้ายๆว่า เอ๊ะ! นี่เรากำลังถูกยัดเยียดข้อมูลที่ไม่อยากรู้มาให้อีกแล้วหรือ… จึงถึงเวลาของการสร้างสรรค์คอนเทนต์แบบใหม่ๆ ที่พูดง่ายๆคือ ดูไม่ขายของ ไม่ยัดเยียด จนเกินไป

เป็นการสื่อสารที่ดึงดูดให้คนสนใจ มากกว่าการเรียกร้องความสนใจ…

เอาล่ะ… เราจะพามารู้จัก 5 ขั้นตอนปลุกปั้นคอนเทนต์สาย B2B ก่อนที่จะถูกส่งออกมาแก่สายตาประชาชี ให้เข้าใจภายใน 5 นาทีกันดีกว่า !

  1. จับจุด (Set goal)

เริ่มจากการรู้จุดประสงค์ของคอนเทนต์ที่เราต้องการจะทำเสียก่อน ตอบให้ได้ว่าคอนเทนต์นี้ทำเพื่ออะไร และหวังผลให้เป็นอย่างไร

เช่น ต้องการสร้าง Brand Awareness ด้วยการเพิ่ม Traffic คนเข้าชมเว็บไซต์, เพิ่มจำนวน Email Subsciber หรือเพิ่มจำนวนการขอราคาผ่านหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

ก็จะทำให้จับจุดได้ว่า ควรผลิตคอนเทนต์ประเภทใดเพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้าใน Stage ต่างๆ

Tips : เป้าหมายควรมีการกำหนดให้ชัดเจนและวัดผลได้ เช่น จะต้องมีคนเข้าชมเว็บไซต์ 200 คน/วัน ภายในเดือนมกราคม 2562

แต่ทั้งหมดทั้งมวล ควรอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ โดยอาจจะเริ่มขยับจากเดิม 3% — 5% ก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันตัวเองมากเกินไป

2. รู้จัก (Buyer’s Journey)

ต่อมาต้องรู้จักพฤติกรรมผู้บริโภค โดยก่อนอื่นจะต้องระบุลักษณะของคนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าเราเสียก่อน หรือที่เรียกว่า Buyer Persona

ตัวอย่าง Buyer Persona

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถรู้ได้จากเซลส์ หรือฝ่ายอื่นๆที่คลุกคลีกับลูกค้าเป็นพิเศษ แต่หากคุณยังไม่มีข้อมูลใดๆมาก่อน ก็ให้สมติฐานขึ้นมาตามความน่าจะเป็นได้เช่นกัน โดยที่อาจจะมีการปรับแก้เป็นระยะเพื่อให้ได้ Persona ที่เป็นจริงมากที่สุด

วิธีปรับปรุง Buyer Persona

จากนั้นให้ลองจินตนาการว่า กว่าที่ลูกค้าจะมาพบสินค้าของคุณนั้น เขาจะต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งอ้างอิงจากตาราง Buyer’s Journey

3. แจกแจง (Topic)

ขั้นตอนนี้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สนุกที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการคิดหัวข้อเรื่องที่จะทำ หากเป็นไปได้ควรเกิดจากการระดมความคิดร่วมกัน เพราะจะทำให้ได้ไอเดียที่หลากหลาย วิธีก็คือให้แต่ละคนเขียนเรื่องที่น่าสนใจลงในกระดาษ post-it เสร็จแล้วนำมารวมกัน แล้วแยกอีกทีว่า หัวข้อนี้เป็นคอนเทนต์ประเภทใด และตอบโจทย์ Stage ไหนของ Buyer’s Journey

4. แจกจ่าย (Distribution)

เมื่อได้หัวข้อกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเผยแพร่คอนเทนต์ออกไปสู่สายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, เฟสบุ๊ค, Line@, อีเมล เป็นต้น

ตัวอย่างตารางการเผยแพร่คอนเทนต์

ซึ่งธุรกิจ B2B แต่ละประเภทก็มีช่องทางที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างผู้เขียนเอง ที่อยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์สำหรับงานขายอสังหาริมทรัพย์

ที่ค่อนข้างจะเป็น Niche market ช่องทางเผยแพร่คอนเทนต์ที่ได้ผลมากที่สุดก็ได้แก่ เว็บไซต์ และ เฟสบุ๊ค เป็นต้น

5. จดผลลัพธ์ (Measurement)

ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อคอนเทนต์ได้ถูกเผยแพร่ออกไปแล้ว ควรมีการติดตามวัดผลทุกครั้ง เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงและเก็บเป็นแนวทางในการทำงานครั้งต่อไปได้

ซึ่งการวัดผลนี้ ให้ทำการยกเป้าหมายที่เราได้เขียนไว้แล้วในขั้นตอนแรก และดูว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการวัดผล

ตัวอย่างข้อมูลจาก Google Analytics

เช่น จำนวน Page view ในเว็บไซต์, จำนวนคนกรอกแบบฟอร์มขอราคาบนหน้าเว็บไซต์ หรือ จำนวนคนกดรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล นั่นเอง

--

--

Pond Surarak
BUILK
Writer for

Content creator, Strategic planner, Digital marketer