การเข้าตลาดหลักทรัพย์ (IPO) กับ “การเติบโตไปด้วยกัน”

Sivabudh Umpudh
CODIUM
Published in
2 min readMar 6, 2021

เป้าหมายของผมคือการให้พนักงาน full-time ทุกคนที่ #โคตรเยี่ยม สามารถเป็น “เจ้าของ” ของหุ้นบริษัท #C0D1 (ชื่อย่อหลักทรัพย์ของ​ CODIUM) มูลค่าตั้งแต่ 1M – 10M ภายใน 3 ปีจากนี้

โดยการได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ contribution และ seniority ของแต่ละบุคคลซึ่งจะถูกคัดเลือกและตัดสินจาก “Process” ขององค์กร โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผมหรือผู้บริหารคนอื่น แต่ได้ทุกคน

ปัจจุบัน Valuation ของ CODIUM ที่เราจะยอมแบ่งปันให้ Strategic investors ใน round ต่อไปอยู่ที่ 200M+ ซึ่งตัวผมเองตอนนี้ถืออยู่ประมาณ 33%

ด้วย Trajectory ขององค์กรในปัจจุบัน ที่เจอ Product-market fit ด้วย #flagship #product แล้ว และกำลังเข้าจับธุรกิจ #Fintech ด้วยการ raise seed funding ที่ Valuation ตามที่กล่าวมา โดยมีแผนระยะกลางต่อจากนี้คือการ #disrupt ตลาด Software house ที่ตัวเองอยู่โดยทำให้ทุกอย่าง #free, ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องฟุ้ง ตอนที่เราจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่จะ expect ว่า Market Cap จะอยู่ที่ 1 – 2 พันล้าน (1B – 2B)

ซึ่งหมายความว่า, assuming base case ว่าเราเข้าตลาดด้วยมูลค่า Market cap อยู่ที่ 1.5B, เท่ากับว่า 1% ของ CODIUM จะมีมูลค่าที่ 15M THB หรือประมาณ 7X ของมูลค่าปัจจุบัน

ถ้าเป็นงั้นจริง มูลค่าหุ้นส่วนที่ผมถืออยู่ก็น่า worth ประมาณ 400M. ซึ่งผมได้ตั้งไว้แล้วว่าส่วนตัวทั้งชีวิตนี้จำเป็นที่ต้องใช้จริงๆอย่างมาก 250M (ซึ่ง Net worth ส่วนที่เหลืออยู่ในตลาดหุ้นที่ US ทั้งหมดซึ่งผมกะจะเริ่มใช้มันจริงๆ 30 ปีจากนี้)

เท่ากับว่าส่วนตัวผมกะจะให้ 150M หรือประมาณ 38% ของหุ้นที่ผมถืออยู่ให้พนักงานที่ CODIUM หรือไม่ก็เอาไป invest ใน #1000C ซึ่งเป็น startups ภายในของพนักงาน CODIUM

จริงๆผมกะจะขอ “ความร่วมมือ” จากผู้ถือหุ้นท่านอื่นๆให้แบ่งหุ้นอีก 10% ของพวกเขามารวมกับ 10% ที่ผมกะจะ give เป็น Employee stock option ของ CODIUM …ซึ่งรวมทั้งสิ้นเท่ากับ: 20% หรือ ประมาณ 300 ล้านบาท

ซึ่งปัจจุบันเรามีพนักงานประมาณ 60 คน…หมายความว่า…

  • ถ้าเรา commit ให้พนักงานทุกคนได้อย่างต่ำ 1M, ก็หายไปละ 60M
  • เหลืออีก 240M ผมคงต้องหารือกับ “Committee” ของบริษัทว่าจะจัดสรรปันส่วนอย่างไร แต่เราคงจะใช้ framework ดังนี้:
  1. Meritocracy: ใคร contribute ต่อองค์กรมาก ได้หุ้นมากกว่า
  2. Tenureship: ใครอยู่องค์กรนานกว่าควรได้หุ้นมากกว่า
  3. 1000C: ใครที่จะเอาไปทำ Startup ต่อโดยให้ CODIUM เป็น Lead investor จะได้หุ้นมากกว่าเป็น Seed funding

นี่เป็นสิ่งที่คิดๆมาประมาณ 6 เดือนแล้วและคาดว่าภายใน 6 เดือนจะเป็น Standard company benefits แบบ official และจะให้มีการทำเอกสารเซ็นกับพนักงาน (ด้วย e-Memo 5555) ให้ชัดเจนและเพื่อความมั่นใจของพนักงาน. ผมเชื่อว่าเราทำได้และต้องทำให้ได้!

สุดท้ายผมพยายามอย่างยิ่งยวดที่ treat พนักงานที่ CODIUM เสมือนหนึ่ง #ลูกค้า และแค่อยากให้สุดท้ายทุกคนพูดว่า…

“Damn! แม่งคุ้มว่ะมาทำงานที่นี่”

#โคตรเยี่ยม #IPO #เพราะโตแล้ว

--

--

Sivabudh Umpudh
CODIUM
Editor for

First, I’m a dreamer who engineers and innovates. Second, I CEO at CODIUM and 1000C startups.