ต้นกัญชา มีสารเคมีและองค์ประกอบอะไรบ้าง?

Cannabit Addict
Cannabit Addict
Published in
2 min readDec 14, 2019

กัญชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นที่มีสารประกอบทางเคมีหลายร้อยชนิด และยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท

บางคนอาจแบ่งประเภทของกัญชาออกเป็น indica หรือ sativa หรือ ruderallis แต่ทั้งหมดต่างเป็นพืชชนิดเดียวกัน นั่นคือ Cannabis sativa L. ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae

ผู้คนมากมายคุ้นเคยกับกัญชาในชื่อกัญชง พืชอีกชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ใกลชิดกับกัญชาคือ Humulus lupulus L. หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ ฮ็อพ (Hops) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเบียร์

กล่าวกันว่ากัญชามีต้นกำเนิดในพื้นที่แห้งแล้งของภูมิภาคเอเชียกลาง (ที่ราบยูเรเซีย) โดยมีแนวโน้มว่าจะเป็นพื้นที่บริเวณฮินดูกูช (Hindu-Kush) แนวเขาที่ทอดยาว 800 กิโลเมตรระหว่างชายแดนปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของเส้นทางสายไหมในอดีต เส้นทางการค้าทางบกและทางทะเลได้ช่วยขนย้ายสินค้ามากมายรวมถึงกัญชาในรูปแบบต่าง ๆ (ใยกัญชง เมล็ดที่มีน้ำมัน ของมึนเมา และยา) ไปทางตะวันออกจนถึงคาบสมุทรเกาหลี และทางตะวันตกไปจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน

ในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกกัญชาอยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนที่มีสภาพอากาศชื้น

ต้นกัญชาแบ่งออกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะการออกดอกที่แตกต่างกัน ต้นกัญชาเป็นพืชปีเดียว โดยทั่วไปต้นกัญชาจะสูงราว 2 ถึง 3 เมตร (7 ถึง 10 ฟุต) และหลังจากออกดอกแล้ว จะหยุด การเจริญ เติบโตทางลำต้น หลังจากต้นเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์ เมล็ดจะสุกและต้นจะตายไป

เชื่อกันว่ามีกัญชามากกว่า 700 สายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูก (พันธุ์ปลูก) ความแตกต่างของกัญชาแต่ละพันธุ์ ไม่ได้กำหนดจากสารแคนนาบินอยด์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสารเทอร์ปีนด้วย องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้ทำ หน้าที่เป็นสารเคมีบ่งชี้และสามารถใช้เพื่อกำหนดความหลากหลายทางเคมีของกัญชาในปัจจุบัน และจากการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารประกอบเหล่านี้ ทำให้นักวิจัยสามารถระบุกัญชาบางพันธุ์ที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่กำหนดได้ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาการแพทย์ ต้นกัญชาบางสายพันธุ์ สามารถนำไปใช้ในการทดสอบทางคลินิกเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ ก่อนจะนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่

ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์ที่ได้ จะสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอนุกรมวิธานกัญชา (การจำแนกพืชเชิงวิทยาศาสตร์) ในอดีตการแยกความแตกต่างระหว่าง sativa และ indica มีข้อถกเถียงมากมาย การจำแนกชนิดพืชก่อนหน้านี้จะอิงจากความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมี โดยเฉพาะความแตกต่างของสารเทอร์ปีน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการวิจัยที่เป็นข้อสรุปความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง Cannabis indica และ Cannabis sativa ดังนั้นแม้ว่ากัญชาพันธุ์ต่าง ๆ จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนไปเป็นสมมติฐานว่ากัญชาทั้งหมดถูกจัดจำแนกอยู่ใน Cannabis sativa

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)

สารประกอบทางเคมีมากกว่า 500 ชนิดถูกผลิตจากต้นกัญชา ในจำนวนเหล่านั้นมีสารประกอบทางเคมีอย่างน้อย 100 ชนิดที่มีอยู่ในต้นกัญชาเท่านั้น ซึ่งก็คือสารแคนนาบินอยด์ สารแคนนาบินอยด์ที่ได้จากพืชมีชื่อเรียกว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ สารไฟโตแคนนาบินอยด์หลักและเป็นชนิดที่รู้จักกันมากที่สุด คือ เดลต้า 9 เตตร้า ไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD) THC เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ขณะที่ CBD ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (นั่นคือสารนี้จะไม่ปรับเปลี่ยนการรับรู้และความรู้สึกตัว)

สารแคนนาบินอยด์เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ความเข้มข้นของสารแคนนาบินอยด์แตกต่างกันไปตามส่วนของพืช (ยกเว้นเมล็ดและราก) โดยพบความเข้มข้นของสารสูงสุดในดอกเพศเมียที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์

ฤทธิ์ทางชีวภาพส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับสารแคนนาบินอยด์หลัก ได้แก่ THC และ CBD แม้ว่า THC และ CBD จะออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่ก็เริ่มเห็นได้ชัดว่าสารแคนนาบินอยด์หลายชนิดและองค์ประกอบอื่น ๆ ของต้นกัญชาอาจเกี่ยวข้องกับผลด้านการบำบัดโรคมากมายของพืชชนิดนี้ สารแคนนาบินอยด์เหล่านั้นรวมถึง Cannabinoids Tetrahydrocannabivarin (THCV) Cannabichromene (CBC) และ Cannabigerol (CBG) ซึ่งเชื่อว่าสารแคนนาบินอยด์เหล่านี้ สามารถช่วยบรรเทาหรือเพิ่มผลทางชีวภาพได้บางส่วนเมื่อบริโภคเพื่อการบำบัดโรค ผลที่ได้รับอาจเกิด จากสารเหล่านั้นทำงานเองหรือทำงานร่วมกับ THC และ CBD

สารเทอร์ปีน (Terpenes)

สารประกอบหลักอีกประเภทหนึ่งในกัญชาคือ สารเทอร์ปีน ซึ่งเป็นสารประกอบอะโรมาติก (Aromatic) ที่ทำให้กัญชาแต่ละสายพันธุ์มีกลิ่นและรสแตกต่างกัน สารเทอร์ปีนอาจมีฤทธิ์บำบัดโรคเพิ่มเติม โดยสารเหล่านี้อาจทำงานร่วมกับสารแคนนาบินอยด์เพื่อเปลี่ยนหรือเพิ่มฤทธิ์ของสารแคนนาบินอยด์ ผลของการทำงานร่วมกันของสารนี้มีชื่อเรียกว่า เอ็นทูราจเอฟเฟกต์ (Entourage effect) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราพบสารเทอร์ปีนมากกว่า 120 ชนิดในกัญชา โดยสารเทอร์ปีนแตกต่างจากสารแคนนาบินอยด์ เนื่องจากสารเทอร์ปีนหลักทั้งหมดที่พบในกัญชา (เช่น Myrcene, Alpha-Pinene และ Beta-Caryophyllene) สามารถพบได้ในธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

ไตรโคม หรือขนมีต่อม (The Glandular Trichomes)

สารแคนนาบินอยด์และเทอร์ปีนถูกผลิตขึ้นในต่อมเรซินของกัญชาซึ่งเรียกว่า ขนมีต่อม ขนนี้จะอยู่บ่นผิวของทุกส่วนของต้นกัญชา โดยพบว่าจะอยู่หนาแน่นที่สุดในช่อดอกของต้นกัญชาเพศเมีย

สารแคนนาบินอยด์ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ ในรูปกรดที่ยังไม่ทำงาน ซึ่งสารชนิดที่มีฤทธิ์ทางยา (เช่น THC/CBD) จะถูกสร้างขึ้นก็ต่อเมื่อกัญชาได้รับความร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 180°C ซึ่งจะส่งผลให้เกิดกระบวนการดีคาร์บอกซิเลชั่น (Decarboxylation) เมื่อใช้เครื่องพ่นไอระเหย สารแคนนาบินอยด์ที่ออกฤทธิ์จะถูกปล่อยออกมาจากขนมีต่อมในรูปไอระเหยที่อุณหภูมิ 230°C ซึ่งสามารถสูดเข้าปอดได้

ภาพอธิบายส่วนประกอบของต้นกัญชา จาก Leafly.com

Cola (โคล่า)

หรือที่เรียกว่าฐานของช่อโคล่า หมายถึงส่วนที่มีดอกอยู่เต็มไปหมด เป็นที่ที่ดอกของตัวเมียวางตัวกันแน่นพร้อมที่จะแดกดอกโคล่าหลัก บางครั้งเรียกว่าช่อส่วนยอดจะถูกสร้างขึ้นในส่วนที่สูงที่สุดของต้นในขณะที่มีช่อขนาดเล็กเกิดขึ้นในช่วงล่างปริมาณและขนาดของช่อสามารถที่จะเพิ่มหรือดัดแปลงได้เมื่อใช้เทคนิคการปลูกที่เรียกว่า Topping หรือ Low Stress Training (LST) หรือจะเป็น Screen of Green (ScrOG)

Pistil (เกษร)

ออกจากส่วนปลายของกลีบเลี้ยงคือ Calyxes จะมีขนสีส้มๆแดงๆ เล็กๆตรงเกษาเหล่านี้ ทำหน้าที่เก็บรวมละอองเกษรของเพศผู้ จะเริ่มจากมีสีออกขาวและจะค่อยๆเข้มขึ้นจนกลายเป็น สีออกเหลืองๆส้มๆและสีแดงหรือน้ำตาลตามมา ตามการเจริญเติบโตของต้นไม้เกษรพวกนี้มีบทบาทสำคัญในการเจริญพันธุ์ของต้นไม้และมีส่วนน้อยมากในการทำให้ดอกไม้มีกลิ่นที่เพิ่มมากขึ้น

Calyx (คาลิกซ์)

หรือกลีบเลี้ยง ลักษณะตะปุ่มตะป่ำเหมือนใบที่ทับกันไปมา เมื่อมองเข้าไปใกล้ๆใต้ใบเล็กๆ ที่เรียกว่า sugar leaves คุณจะเจอตัวตุ่มที่ดูเหมือนถูกฉีกออกอันนั้นแหละ ที่เรียกว่ากลีบเลี้ยง หรือ calyxes จริงๆกลีบเลี้ยงมีหลายรูปแบบ ขนาดและสีที่แตกต่างกันตามชนิดและสายพันธุ์ แต่ลักษณะที่เหมือนกันคือเป็นส่วนที่มีความเข้มข้นของ trichomes สูงที่สุดในต้น

ต้นกระเทย หรือ ต้น Hermaphroditic

จะมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียเพื่อไว้ผสมพันธุ์เกษรของมันเองเมื่อถึงเวลาผลิตดอก การผสมพันธุ์เกษรของมันเองนี่แหละที่ทำให้มันไม่ดีเพราะจะทำให้ช่อดอกตัวเมียที่ปลูกนั้นมีเมล็ดติดมา และทำให้มันส่งต่อพันธุกรรม Hermaphroditic ไปอีกรุ่นด้วย กัญชาประกอบด้วยโครงสร้างหลากหลายอย่าง ซึ่งสามารถหาได้จากดอกกัญชาสายพันธุ์สามัญทั่วๆไป ต้นกัญชาจะโตขึ้นจากลำต้นที่ค่อนข้างเรียวบาง มีเอกลักษณ์ในส่วนของใบที่มีแฉกชี้ออกตามระเบียบ 5 บ้าง 7 บ้าง ไปจนถึง 11 แฉก และเริ่มโดดเด่นในช่วงออกดอก ที่จะก่อตัวขึ้นทับไปทับมาไม่ซ้ำกัน มีความซับซ้อนในตัว และมีรส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ต่างๆหลายส่วน

เรียบเรียงจาก “A primer to medicinal cannabis”

--

--