เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร?

Chainlink Thailand
Chainlink Community
3 min readDec 11, 2022

Blockchain เป็นเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง เชื่อถือได้ และกระจายศูนย์ (decentralize) ใช้สำหรับการบันทึกธุรกรรม เก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนมูลค่า บนบัญชีแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานกลางที่ใดที่หนึ่ง แต่ควบคุมโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก

Blockchain เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ cryptocurrency / Web3 เป็นเครื่องมือที่ทำให้ Bitcoin ปลอดภัย และทำให้ smart contract มีมูลค่า

คุณค่าของ Blockchain คือความสามารถในการแลกเปลี่ยนมูลค่าแบบ ไม่ต้องเชื่อถือกัน (trust-minimized) ไม่ต้องขออนุญาติ (Permissionless) โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง (third party) กรณีที่เห็นได้ชัดคือ การโอนเงินจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น สมมติว่า Bob ต้องการส่งเงินให้ Alice ในระบบเดิม Bob จะส่งเงินไปยังตัวกลาง (third party) อย่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเงินทั้งหมดและส่งเงินไปยังบัญชีของ Alice แต่ในกรณีของ Blockchain นั้น Bob จะส่งเงินโดยตรงไปยังบัญชีของ Alice โดยไม่มีตัวกลางที่รวมศูนย์ แต่ด้วยการรับประกันว่าเงินจะถูกโอนระหว่างบัญชีสำเร็จ ธุรกรรมเกิดขึ้นในลักษณะกระจายอำนาจ (decentralized) โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ด้วยกระบวนการการเข้ารหัส (cryptography) การเเปลงข้อมูล (encryption) คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์

ในบทความนี้จะอธิบายว่า Blockchain คืออะไร? Blockchain ทำงานยังไง? ข้อดีที่ต่างกับระบบที่มีตัวกลาง (centralized system) และจะถูกนำมาใช้อย่างไร?

ใครเป็นผู้คิดค้น Blockchain?

แนวคิดของโปรโตคอลที่คล้าย Blockcahin มีมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 และถูกนำมาใช้ในปี 1990 เพื่อตรวจสอบการประทับเวลาของเอกสาร ส่วน Blockchain แบบกระจายอำนาจ (decentralize blockchain) เกิดขึ้นครั้งแรกจากบุคคล หรือกลุ่มคนที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งเป็นผู้เขียน Bitcoin whitepaper ในปี 2008

เทคโนโลยี Blockchain ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังของ Bitcoin ซึ่งเปิดตัวในปี 2009 ซึ่งมีการใช้งานเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (open-source software) ที่น่าสนใจคือ คำว่า Blockchain ไม่เคยถูกกล่าวถึงใน whitepaper ของ Bitcoin แต่คำนี้ได้รับความนิยมในภายหลังจากคนที่สนใจ

Blockchain ทำงานอย่างไร?

บัญชีแยกประเภท (ledger) คือไฟล์ข้อมูลที่บันทึกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเช็คยอดคงเหลือในบัญชีแต่ละบัญชี เช็คการเคลื่อนไหวของเงินได้ ทุกวันนี้บัญชีแยกประเภทส่วนใหญ่ถูกจัดการโดยหน่วยงานกลาง เช่น ธนาคาร ซึ่งจัดเก็บบน server ของตนเองในฐานข้อมูลที่คนนอกตรวจสอบไม่ได้

Blockchain คือบัญชีแยกประเภทดิจิทัล (digital ledger) ที่จัดเก็บและดูแลโดยเครือข่ายของคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (decentralized) คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง (node) ในเครือข่าย ใช้ software เดียวกันเพื่อดูแล เก็บข้อมูล และตรวจสอบสำเนาของบัญชีแยกประเภท Blockchain สาธารณะ (Public Blockchain) ใช้สกุลเงินที่สร้างขึ้นเอง (native asset) ที่เป็นสกุลเงินดิจิทัล (crypto currency) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คอมพิวเตอร์ (node) สื่อสารระหว่างกันเพื่อบรรลุฉันทามติ (consensus) ในการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแยกประเภท

เมื่อ User ส่งธุรกรรม (transaction) อย่างการโอนจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง จะทำให้ข้อมูลบนบัญชีแยกประเภทเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งบัญชีของ User นั้นเรียกว่า public keys โดยแต่ละ public keys ก็จะมี private keys ที่เชื่อมโยงกัน public keys คล้ายกับ email address ส่วน private keys คล้ายกับ password ที่เจ้าของ public keys ต้องป้อน เพื่อสร้างลายเซ็นดิจิทัล (digital signature) เพื่อทำการโอนเงิน

ธุรกรรมที่รอดำเนินการ (pending transaction) จะถูกจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็น “Block” ซึ่งจะถูกประมวลผลและตรวจสอบ (validate) โดยทุก node ในเครือข่ายเพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงในบัญชีแยกประเภทนั้นได้รับการตรวจสอบหลายครั้ง เพื่อป้องกันธุรกรรมที่เป็นอันตรายต่อเครือข่าย ธุรกรรมจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ ลายเซ็นดิจิทัล (digital signature) ถูกต้อง และมีเงินเพียงพอในการทำธุรกรรม

เมื่อ block ได้รับการยืนยันแล้ว block นั้นจะถูกเพิ่มไปยังเข้ากับบัญชีแยกประเภทต่อไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสายโซ่ของ block ที่เชื่อมกันด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัส (cryptography) จึงเรียกว่า Blockchain โดย Node จะได้รางวัลสำหรับการทำงานเป็นค่าธรรมเนียม (transaction fees) และสกุลเงินดิจิทัลที่สร้างขึ้นใหม่ (block reward)

การออกแบบ Blockchain มีหลายวิธี โดยแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน

  • การเข้าถึงเครือข่าย & การมีส่วนร่วม- Blockchain สามารถออกแบบได้ในแง่ของการเปิด/จำกัดเครือข่ายในการใช้งานและการมีส่วนร่วม ยกตัวอย่าง 3 แบบคือ Public blockchain (เปิดทั้งหมด), Private blockchain (ปิดทั้งหมด), Permissioned (เปิดการเข้าถึงการใช้งาน แต่จำกัดการมีส่วนร่วม)
  • กลไกฉันทามติ (consensus) — วิธีในการบรรลุฉันทามติมีหลายวิธี กลไกฉันทามติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เช่น proof of work (Bitcoin), proof of stake (Solana), proof of authority (ใช้ใน private blockchain)
  • การออกแบบคุณสมบัติ — ในตอนนี้แต่ละ Blockchain ไม่สามารถมีทุกคุณสมบัติที่ต้องการทั้งหมดใน Blockchain เดียวได้ สามารถมีได้แค่ 2 ใน 3 คุณสมบัติของ ความปลอดภัย (security), การกระจายอำนาจ (decentralization) และ ความสามารในการขยาย (scalability) หรือที่เรียกว่าปัญหา Scalability Trilemma ส่วนการออกแบบคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว (privacy), การทำธุรกรรมขั้นสุดท้ายเสร็จ (finality) และอื่นๆ

ประโยชน์ของ Blockchain

คุณค่าและประโยชน์ของ Blockchain ที่ระบบแบบรวมศูนย์ไม่มี เช่น

  • ความปลอดภัย (security) — ใน Blockchain ที่มีการกระจายอำนาจเพียงพอ (decentralized) มีความเป็นไปได้สูงมากที่ธุรกรรมจะต้องถูกต้องเท่านั้นจึงจะไ้ด้รับการยืนยัน แม้ว่าจะมีคนพยายามโกงก็ตาม
  • ความไม่เปลี่ยนแปลง (Immutability) — เมื่อ block ได้รับการยืนยัน block จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีแยกประเภทที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
  • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) — Blockchain มีเครือข่ายกระจายไปทั่วโลก และทำงานตลอดตลอดเวลาไม่มีวันหยุด และจะไม่ถูกจำกัดจากภูมิศาสตร์หรือการเมือง
  • Peer-to-Peer — Blockchain ตัดตัวกลางที่เป็นต้นทุนในการทำธุรกรรม แต่ละฝ่ายทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างกันโดยไม่มีความเสี่ยงที่อีกฝ่ายจะไม่ทำตามสัญญา

สรุปคือ Blockchains เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทั้งสองฝ่าย (ขึ้นไป) สามารถใช้เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความปลอดภัยสูง และเชื่อถือได้ ความเสี่ยงของคู่สัญญา (counterparty risk) เปลี่ยนจากการเชื่อในตัวกลาง (third party) ไปเป็นการเชื่อในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (open-source software) บริษัทต่างๆ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการหลีกเลี่ยงการกระทบยอด (reconciliation) ตัดคนกลาง และลดความเสี่ยงของคู่สัญญา

Use-case ตัวอย่าง

Internet เป็นวิธีการแบ่งปันข้อมูลแบบดิจิทัลที่นำไปใช้ได้หลายวิธี เช่น email การส่งข้อความ โทรคมนาคม social media และอื่นๆ ในส่วนของ Web3 ที่ขับเคลื่อนโดย Blockchain และ hybrid smart contract ทำให้เกิด application สำหรับการแลกเปลี่ยนมูลค่า ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้มากมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับ User

ระบบการเงิน

Bitcoin ทำให้เเห็นว่าบล็อกเชนสาธารณะ, ที่ไม่ต้องขออนุญาต (public permissionless blockchain) สามารถใช้เป็นระบบนิเวศทางการเงินในตัวเองได้อย่างไร Bitcoin มี BTC เป็นสกุลเงินหลัก (native asset) รวมกับกลไกการกระจายเงิน และแรงจูงใจทางการเงินในการทำให้ระบบทำงานต่อไปได้โดยไม่มีตัวกลาง BTC มี supply ที่แน่นอนที่ 21 ล้าน BTC ซึ่งภาวะเงินฝืด (deflationary) ทำให้บางคนมองว่า BTC เป็นแหล่งเก็บมูลค่าที่ดีกว่าเงินเฟียตที่มีภาวะเงินเฟ้อ (inflationary)

Smart Contracts

Ethereum ทำให้เห็นว่าบล็อกเชนสาธารณะที่ไม่ต้องขออนุญาต (public permissionless blockchain) สามารถใช้เป็นคอมพิวเตอร์แบบกระจาย ที่มีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้สำหรับการประมวลผลข้อตกลงแบบมีเงื่อนไขที่เรียกว่าสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) เริ่มจาก User ส่งคำสั่งไปยัง Blockchain และโปรแกรมเขียนเงื่อนไขไว้ว่า หาก x เกิดขึ้น ให้ดำเนินการ y

Asset Tokenization

หลายโปรเจคกำลังใช้ Blockchain เป็นบัญชีสาธราณะทั่วโลกสำหรับบันทึกทรัพย์สิน (asset) ด้วยการสร้าง non-fungible token (NFT) ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินบนโลกจริง เช่น ตึก รถยนต์ การ์ดหายาก ผ่าน smart contract โดย Blockchain ช่วยทำให้พิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นได้ การติดตามทรัพย์สินแบบโปร่งใส และเพิ่มสภาพคล่องให้กับทรัพย์สินนั้น

Enterprise Middleware

Blockchain สามารถนำมาใช้เป็น middleware เพื่อเก็บฐานข้อมูลขององค์กรตั้งแต่สองขึ้นไปมีบันทึกที่ตรงกัน โดยไม่ต้องเก็บข้อมูลที่อ่อนไหวบน public blockchain ที่เข้าถึงได้ง่ายเกินไป แต่ข้อมูลจะถูกจัดเก็บด้วย zero-knowledge proof (ZKP) ที่มีคนที่ได้รับการอนุญาติเท่านั้นจึงจะอ่านข้อมูลนั้นได้

บัญชีแยกประเภท (Ledger)

Blockchain สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ การมีความน่าเชื่อถือที่สูงช่วยลดการกระจัดกระจายของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน Blockchain เป็นบัญชีแยกประเภทที่ติดตามสัญญาทางการเงิน (financial contract) ข้อมูลเวชระเบียน (medical record) การระบุตัวตน (identities)

Utility

Blockchain ออกแบบให้มีประโยชน์เฉพาะเจาะจงได้ เช่น video streaming แบบกระจายศูนย์โดย node, การ host เกมส์ออนไลน์, การเก็บ files ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คล้ายกับระบบ torrent นั่นคือ blockchain เป็นวิธีการควบคุมและใช้ประโยชน์โดยเครือข่ายเพื่อสร้างประโยชน์ (utility) แบบสาธารณะ

Blockchain Gaming

Blockchain สามารถใช้ตรวจสอบความเป็นเจ้าของ item ในเกมส์ได้ผ่าน NFT ของ item ชิ้นนั้น ผู้เล่นสามารถเข้าถึงสภาพคล่อง (liquidity) ได้ทั่วโลก และซื้อขายผ่าน marketplace แบบกระจายศูนย์ในขณะที่ยังได้สิทธิ์ในการเก็บทรัพย์สินนั้นในบัญชีของตัวเอง (full custody) ทำให้เกิดเป็นเกมส์ที่เป็นเจ้าของโดยชุมชน และยังสามารถเทรด item ระหว่างเกมส์กันได้ในอนาคต

Supply Chain

Blockchain เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงนำมาพัฒนากระบวนการของ Supply chain ได้ในด้านความสามารถในการตรวจสอบ การประสานงานระหว่างฝ่าย ทำให้ส่งสินค้าได้รวดเร็วและประหยัดขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายมีสำเนาของธุรกรรมทำให้โปร่งใสและแก้ไขไม่ได้ ทำระบุข้อผิดพลาดได้ง่ายว่ามาจากฝ่ายใด

ประกันภัย

Blockchain, smart contract และ oracle ต่าง ๆ ช่วยแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมประกันภัยแบบดั้งเดิม ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน smart contract ช่วยให้การเคลมประกันดำเนินการได้แบบอัตโนมัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ในลักษณะที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ

Blockchain เกิดขึ้นแล้ว

ในทศวรรษที่ผ่านมา Blockchain พัฒนาจากเริ่มต้นไปสู่ utility ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลก แม้อุตสาหกรรม Blockchain จะยังห่างไกลจากศักยภาพที่สูงสุด แต่การเติบโตแบบ exponential ของ smart contract blockchain ที่สามารนำมาใช้ในอุตสาหกรรมดั้งเดิมจำนวนมาก และสร้างอุตสาหกรรมใหม่ผ่าน Application ที่ไม่ต้องเชื่อถือกัน (trust-minimized) และข้อตกลงจากการเข้ารหัส (cryptographic)

เริ่มสร้างกับ Chainlink ได้โดยการไปที่เอกสารเกี่ยวกับ developer documentation และร่วมพูดคุยทางเทคนิคบน discord และ/หรือติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Chainlink สามารถไปที่เว็ปไซต์ Chainlink และติดตาม Twitter อย่างเป็นทางการของ Chainlink เพื่อติดตามข่าวสารและประกาศล่าสุดของ Chainlink

--

--