KB-IDE [EP3]: พาทัวร์ KB-IDE มีอะไรซ่อนอยู่นอกจากการลาก Block

Apirak Sang-ngenchai
Chiang Mai Maker Club
4 min readJun 19, 2019

KB-IDE on tour.

ภาคต่อจาก EP1 และ EP2 หลักจากที่ได้ติดตั้งโปรแกรม และทดลองเล่นกันไปบางส่วนแล้ว ในบทความนี้ จะพาทุกท่านไปทัวร์แบบลงลึกกับ KB-IDE ว่ามีอะไรเจ๋ง มีอะไรซ่อนอยู่บ้าง ไปลุยกันเลยจร้า

หน้าแรกของโปรแกรม KB-IDE

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจใน IDE ก่อนว่า เมื่อมีการเปลี่ยนบอร์ด หน้าตาของบล็อก และโค้ด จะเปลี่ยนไปตามคุณลักษณะของบอร์ดนั้น ๆ เช่น กรณีที่เลือกบอร์ดเป็น KidBright ของ สวทช. หน้าตาของบล็อกจะเป็นดังนี้

หากเลือกบอร์ดเป็น KBPro ของ Maker Asia

รวมทั้ง Plugin และ Example

ในส่วนของการ Compile และการ Upload ก็เช่นกัน

ดังนั้น ในบทความนี้ จะแนะการใช้งาน IDE สำหรับบอร์ด Generic ESP32 Wrover ซึ่งสามารถใช้บอร์ดนี้ในการอัพโหลดเข้ากับบอร์ดที่อยู่ในท้องตลาดทั่วไป เช่น KidBright, NANO32, TTGO-T1, ESP32 DOIT, NODE32-Lite และอื่น ๆ ทั้งนี้
ผู้พัฒนา ต้องคำนึงถึงขาใช้งานของบอร์ดนั้น ๆ ด้วย จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม

รีวิวบอร์ด Generic ESP32 Wrover ใน KB-IDE

ส่วนของแถบเครื่องมือด้านบนซ้าย จะประกอบไปด้วย แถบเครื่องมือดังนี้
1) User Level ใช้สำหรับสลับระหว่างบล็อก กับโค้ด
2) Board Manager ใช้สำหรับเลือกบอร์ดที่ต้องการเขียนโปรแกรม
3) Plugin Manager ใช้สำหรับดาวน์โหลดส่วนขยาย (Plugin) ต่าง ๆ
4) Example & Tutorials ใช้สำหรับเรียกดูตัวอย่าง และตัวอย่างการเขียนโปรแกรม
5) Setting ใช้สำหรับตั้งค่าต่าง ๆ เช่น สี ฟ้อนต์ หรือขนาดของฟ้อนต์

ส่วนของแถบเครื่องมือด้านบนขวา จะประกอบไปด้วย แถบเครื่องมือดังนี้
1) New file ใช้สำหรับล้างหน้าจอ เพื่อสร้างโปรเจคใหม่
2) Open file ใช้เปิดไฟล์โปรแกรมที่บันทึกไว้ ทั้งนามสกุล .bly และ .kbp
3) Save file ใช้บันทึกโปรแกรมทั้งนามสกุล .bly และ .kbp
4) Serial Monitor ใช้สำหรับเปิดใช้งานการติดต่อสื่อสารผ่านพอร์ดอนุกรม
5) Compile ใช้สำหรับตรวจสอบโปรแกรม
6) Compile & Upload ใช้สำหรับตรวจสอบโปรแกรม และอัพโหลด
7) Setup board ใช้ตั้งค่าพอร์ตเชื่อมต่อ(COM port) และความเร็ว (Baud rate)

บล็อกต่าง ๆ คล้ายกับการเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE

การสร้างตัวแปร สามารถทำได้ดังนี้

การคำนวน ตรรกะ วนรอบ และการทำงานแบบ Multi-task

นอกจากนี้ยังมีแถบเครื่องมือ Advanced เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Function, Text, WiFi, Bluetooth และ Serial

ในส่วนของ Plugins ก็เช่นกัน ทั้งนี้ผู้พัฒนา สามารถดาวน์โหลด Plugins ต่าง ๆ ได้จากแถบเครื่องมือด้านบนซ้าย ที่เครื่องมือ Plugin Manager

ส่วนสุดท้าย เป็นส่วนของการตั้งค่าธีม และฟ้อน และแถบเครื่องมือ Setting ผู้พัฒนาสามารถปรับแต่งธีม และฟ้อนได้มากกว่า 50 แบบ ทั้งนี้ ส่วนของฟ้อนการแสดงผล จะเป็นการปรับฟ้อนในโหมด Programmer Level

ในส่วนการเขียนโค้ด สามารถเปลี่ยนโหมดจาก Kid Level เป็น Programmer Level ได้จากแถบเครื่องมือบนซ้าย ที่เครื่องมือ User Level

ในระหว่างการสลับโหมด จะสามารถเลือกได้ว่า จะแปลงบล็อก เป็นโค้ด หรือเปลี่ยนโหมดโดยไม่แปลงโค้ด

สรุปบทความ KB-IDE [EP3]

ในบทความนี้ จะเป็นการแนะนำแถบเครื่องมือ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้พัฒนา สามารถเลือกใช้งานได้ง่าย และเหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้พัฒนาเอง โดยเครื่องมือต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น Plugins, Example & Tutorials และ Serial port โดยผู้พัฒนาสามารถศึกษาโปรแกรมต่าง ๆ ได้ง่าย โดยการสลับโหมดจาก Kid Level เป็น Programmer Level ดังนั้นการเขียนโปรแกรมให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้พัฒนาสามารถใช้การเขียนบล็อก แทนการเขียนโค้ด หรือสามารถเริ่มจากการเขียนโค้ดเลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน

--

--

Apirak Sang-ngenchai
Chiang Mai Maker Club

Sometime, We need to take a step away from certain things to reclaim your own self .