การนอนกับคนสูงวัย

Yongyuth Buranatepaporn
Chivit-D by SCG
Published in
1 min readAug 28, 2019

--

https://dtnhomecare.wordpress.com/2013/12/13/changes-in-sleep-habits-that-come-with-aging/

จะเห็นได้ว่า เอ้! ทำไมคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย ตื่นเช้าจัง เพราะกระบวนการนอนหลับของคนเราเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้น ช่วงนอนหลับตื้นจะค่อยๆ น้อยลง มีผลวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับบอกให้เรารู้ว่าช่วงหลับลึก หรือ REM sleep จะหายไปหลังจากคนเราอายุ 90 ปี แต่ระยะหลับตื้นจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วิจัยอีกฉบับยังบอกอีกว่า ทุกๆ อายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปี ระยะเวลาการนอนโดยเฉลี่ยจะลดลงไป 27 นาที และนี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้สูงวัยจึงนอนน้อยลง นอนหลับได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ ตื่นเร็ว และบางครั้งรู้สึกง่วงงุนทั้งวัน แต่พอนอนกลับหลับได้ไม่นาน ทั้งหมดนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติของร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงวัยหลายท่านรู้สึกไม่สบายตัว เรามีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับผู้สูงวัยที่รู้สึกนอนไม่อิ่ม นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับได้สั้นๆ ก็ตื่นเสียแล้ว ดังนี้

1. พยายามเข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวันเพื่อให้นาฬิกาชีวภาพในร่างกายจดจำเวลาดังกล่าว

2. หากถึงเวลานอนแล้ว พยายามจะนอนอย่างไรก็นอนไม่หลับ อย่าฝืนนอนอยู่ในเตียง แต่ให้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง จนรู้สึกง่วง แล้วค่อยกลับไปนอน

3. หากชอบนอนกลางวัน พยายามตั้งเวลานอนไม่ให้เกินครึ่งชั่วโมง เพราะถ้าหากร่างกายได้นอนหลับเต็มที่ไปแล้วในเวลากลางวัน จะยิ่งทำให้กลางคืนหลับยากกว่าเก่า

4. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับเป็นประจำ

แต่อีกหนึ่งกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผู้สูงอายุ คือ การลุกเข้าห้องน้ำในช่วงกลางดึก หลายท่านอาจจะชอบปิดไฟนอน ซึ่งหากผู้สูงอายุต้องการเข้าห้องน้ำ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเปิดไฟเพื่อเดินไปเข้าห้องน้ำเพื่อให้สามารถมองเห็นทาง และสิ่งกีดขวางได้ชัดเจนมากขึ้น แต่การเปิดไฟสว่างจ้านั้น จะส่งผลให้ร่างกายชะลอการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) และทำให้ร่างกายตื่นตัว ส่งผลให้หลับยากเมื่อกลับมาจากห้องน้ำ ดังนั้นระหว่างทางเดินไปห้องน้ำ หรือ ไฟในห้องน้ำเองในช่วงเวลากลาง อาจจะใช้ไฟ motion sensor สี Warm (สีนวล) ติดเป็นจุดๆตามทางเดิน รวมไปถึงภายในห้องน้ำเองด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับแสงที่สว่างเกินไป เพื่อลดการตื่นตัวของร่างกาย

หากพบว่าปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนอยู่ คงถึงเวลาที่จะต้องนัดพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำแล้วละ

Reference : สสส. และ SCG Experience

--

--

Yongyuth Buranatepaporn
Chivit-D by SCG

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success