การหกล้มในผู้สูงอายุ

Yongyuth Buranatepaporn
Chivit-D by SCG
Published in
2 min readAug 28, 2019

--

http://bit.ly/2LfA8xA

ปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายกว่าคนวัยอื่นหลายเท่าตัว และในผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ โดยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้ม 28–35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32–42% ไม่เพียงเท่านั้นจากสถิติเกี่ยวกับการบาดเจ็บของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

การหกล้มเกิดจากการสูญเสียการทรงตัว ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ ฯลฯ เกิดการกระแทก และมีอาการบาดเจ็บตามมา อาจบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยไปจนถึงบาดเจ็บรุนแรง และรุนแรงที่สุดคือเสียชีวิต โดยปัญหาการหกล้มเกิดมากกับผู้สูงอายุ และมีความอันตรายมากกว่าคนวัยอื่น จากสถิติยังพบว่ามีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการหกล้มเฉลี่ย 3 คนต่อวัน แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันเบื้งต้นได้ โดยการออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้หัวใจ หลอดเลือด และปอดแข็งแรง รวมถึงช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น ทำให้เดินเหินคล่องแคล่ว ไม่หกล้มง่าย ทำให้กระดูกแข็งแรง ชะลอโรคกระดูกพรุน การออกกำลังกายแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่ขยับร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว อยากแนะนำให้ออกกำลังกายแบบเอโรบิก (Cardio), ฝึกการทรงตัว (balance) และ การยึดเหยียด (Stressing) แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายและมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อนเริ่มออกกำลังกาย

หลักการและข้อควรระวังของผู้สูงอายุในการออกกำลังกายควรเป็นดังนี้

1. ในผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีการออกกำลังกายมาก่อน ให้เริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความหนักของการออกกำลังอย่างช้าๆ โดยสังเกตการเต้นของชีพจร และอาการหอบเหนื่อย เป็นสำคัญ

2. ควรมีระยะอุ่นเครื่อง (warm up) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดไปยังกล้ามเนื้อส่วนปลาย ช่วยเพิ่มอุณหภูมิของเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ ยังป้องกันการบาดเจ็บต่อระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อได้

3. ระยะผ่อนคลาย (cool down) เป็นช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิตกำลังปรับตัว เพื่อคืนสู่สภาวะปกติ จึงสำคัญมากในผู้สูงอายุ การหยุดออกกำลังกายทันที ทำให้ความดันโลหิตลดลง เลือดที่ไปยังสมองจึงลดลงชั่วคราว เกิดอาการมึนงง เวียนศีรษะได้ ในผู้ที่มีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบบางส่วนอาจทำให้เกิดการกำเริบขึ้นได้

4. ควรรู้จักอาการที่บ่งบอกว่าออกกำลังกายหนักเกินไป ได้แก่ ชีพจรขณะออกกำลังกายสูงกว่าค่าที่กำหนด,นอนหลับไม่สนิทเหมือนปกติ, กล้ามเนื้อล้ามากผิดปกติ

5. ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ควรรออย่างน้อย 5–10 นาที ให้อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลง และไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนเกินไป

6. เลี่ยงการออกกำลังกายชนิดที่ต้องกลั้นหายใจ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงได้

7. หลีกเลี่ยงการแข่งขัน เนื่องจากความตื่นเต้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้

8. ไม่ควรออกกำลังกายขณะเป็นไข้ ไม่สบาย และถ้าผู้สูงอายุหยุดออกกำลังกายระยะหนึ่ง และจะเริ่มต้นออกกำลังกายใหม่ ควรลดขนาดของการออกกำลังกายลงจากเดิมก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มภายหลัง

9. สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย

10. จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สถานที่ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่เรียบโล่ง มั่นคง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจัดเกินไป

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุ คือ การเอาใจใส่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะจิตใจและร่างกายสดชื่น แจ่มใสได้ ท่าออกกำลังกายง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน เพื่อป้องการการหกล้มในผู้สูงอายุ

แต่ถ้ากลัวจะเบื่อ การลุกขึ้นยืดเหยียด บิดตัวไปมา ร้าน Chivit-D by SCG ก็ยังมีอุปกรณ์ออกกำลังกายอีกหลายชนิดให้เลือกซื้อ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก จนไปถึงมัดใหญ่ๆ ออกแรงน้อยๆ จนถึงออกแรงแบบขั้น Advance เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สดใสในทุกวัน

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุ คือ การเอาใจใส่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะจิตใจและร่างกายสดชื่น แจ่มใสได้เช่นกัน

แนะนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ป้องกันการหกล้มผู้สูงอายุ

Reference : สสส. และ SCG Experience

--

--

Yongyuth Buranatepaporn
Chivit-D by SCG

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success