ว่าด้วยการจัดการความแคร์และความ Give a fuck
บทสนทนานึงที่ผมเคยมีในเว็บบอร์ดแห่งนึง (Rephrase นะ)
“อย่าบอกนะว่าคุณแคร์กับคำพูดของคนแปลกหน้าในอินเตอร์เน็ต ที่ไม่เคยรู้จักกัน ในเว็บบอร์ดเกรียนๆ แห่งนี้”
“เออ ผมแคร์สิวะ ผมเล่นบอร์ดนี้มา 3 ปี ตอบคำถามอยู่เรื่อยๆ ผมจะบอกว่าไม่แคร์ผมก็ตอแหลแล้วป่ะวะ แล้วคุณล่ะแคร์มั้ย”
มันมีเทรนด์นึงในโลกปัจจุบันที่ผมคิดว่าน่าเป็นห่วงมากๆ เลย คือ เทรนด์ที่ผมขอสรุปอย่างหยาบๆ ว่า “ใครแคร์น้อยกว่าคนนั้นชนะ”
เรามีหนังสืออย่าง Subtle art of not giving a fuck ที่พยายามสอนให้เราจัดการความแคร์ของตัวเองให้อยู่ในเรื่องที่ควบคุมได้ และเรื่องที่ตรงกับ Value ของเรา ซึ่งผมคิดว่าเป็นหนังสือที่ดีด้วยนะ แต่ผมก็เห็นคนอ่านตีความยังมีข้อตกหล่นไปพอสมควร
คนเราน่ะมันแคร์ได้หลายเรื่องที่แตกต่างกันมากมาย บางคนแคร์หน้าตา บางคนแคร์รูปร่างตัวเอง บางคนแคร์เรื่องเงินกับทรัพยากร บางคนแคร์เรื่องอุดมคติอุดมการณ์ทางสังคม บางคนแคร์เรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน บางคนแคร์เรื่องการมีเวลาพักผ่อนให้ตัวเอง บางคนแคร์เรื่องความสัมพันธ์ต่อเพื่อน บางคนแคร์เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว
บางคนแคร์ว่าทำงานอะไรก็ได้ขอให้ได้เงิน บางคนแคร์ว่าต้องเป็นงานที่ทำแล้วโอเคเท่านั้น ก็ว่ากันไป
ซึ่งทุกอย่างไม่ว่าคุณจะแคร์เรื่องอะไร มันไม่มีผิดถูก มันเป็นแค่สิ่งที่ติดมากับตัวคุณเท่านั้น บางอย่างอาจจะติดมาจากรากฐานเนื้อหนังของตัวคุณเอง บางอย่างถูกปลูกฝังมาแต่เด็ก
แต่ประเด็นคือว่า ถ้าคุณแคร์ ก็คือคุณแคร์ มันไม่มีผิดไม่มีถูกอะไร
แต่เรื่องที่น่าเศร้าบนโลกนี้คือ แต่ละคนมีพลังอำนาจและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
หลายๆ ครั้งเรื่องที่เราแคร์มันทำให้เราเจ็บปวด เพราะเราอาจจะไม่สามารถควบคุมมันได้ หรือมันไม่มีทางเป็นไปตามที่เราต้องการ
ถ้าสมมติเราแคร์เรื่องอุดมการณ์ทางสังคมมากๆ แต่กลับกันเรายังเป็นเด็กเรียนไม่จบ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของเรายังมีข้อจำกัดในเวลาปัจจุบันแน่นอน และข้อจำกัดตรงนี้อาจจะทำให้เราเจ็บปวด
ถ้าสมมติเราแคร์เรื่องหน้าตาในโซเชียลมากๆ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมอะไรได้เพราะโลกโซเชียลมันก็ไปไกลเหลือเกิน บางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าดูดีก็อาจจะกลายเป็นโดนแคนเซิลได้ง่ายๆ เลย ข้อจำกัดตรงนี้ก็อาจจะทำให้เราเจ็บปวด
ถ้าสมมติเราแคร์เรื่องการทำงานที่มีคุณค่ามากๆ แต่เราเจอข้อจำกัดว่างานที่เราสมัครได้มีแต่งานที่ทำหาเงินทั้งนั้นเลย ไม่ได้มีภารกิจต่อโลกที่ดีกับใจเราเลย ข้อจำกัดตรงนี้ก็อาจจะทำให้เราเจ็บปวด
ยิ่งแคร์มาก ก็ยิ่งเปราะบางมาก เป็นธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่าความแคร์ ความ Give a fuck
ความแคร์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และเป็นสิ่งที่สร้างความเปราะบาง
ผมเห็นวิธีการจัดการความแคร์ที่ผมคิดว่าน่าเป็นห่วงมากๆ คือ ปฏิเสธความแคร์ไปซะ
“ผมไม่แคร์คำพูดคนอื่นในโลกโซเชียลหรอก” — คนที่เล่นเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ 2–3 ชั่วโมงต่อวัน
“ฉันไม่แคร์คำพูดของคนไม่มีเครดิตอะไรเลยอย่างเธอหรอก” — แต่ก็คอยเงี่ยหูฟังตลอดและมีปฏิกิริยาเสมอทุกครั้บที่คนนั้นพูด
“ผมทำงานเพื่อเงินเท่านั้นแหละ จะไปแคร์อะไรกับสโคปงานว่าทำอะไรมีความหมายมั้ย” — คนที่บ่นตลอดเวลาว่าเนื้องานที่ทำไร้สาระ
“ผมก็พูดลอยๆ เท่านั้นแหละไม่ได้แคร์หรอกว่าใครจะฟังรู้เรื่อง” — พูดลอยๆ ซ้ำไปซ้ำมาในเรื่องเดิมๆ 100 ครั้ง
มนุษย์เราปฏิเสธความเปราะบางง่ายเหลือเกิน
มนุษย์เรามีความแคร์และความ Give a fuck อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจริงๆ เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าดีด้วยซ้ำไป
เมื่อความแคร์ทำให้เราเจ็บปวด มันง่ายที่เราจะโกหกตัวเองว่า ฉันไม่แคร์หรอก
แต่ทุกครั้งที่เราโกหกตัวเอง เราห่างไกลจากการจัดการมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ในจิตวิทยาการเยียวยา มันมีคำกล่าวนึงที่สำคัญมากๆ คือ
Awareness precedes control
ความรับรู้เป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมเสมอ
เวลาทำ Anger management theraphy พื้นฐานของคนที่จะจัดการความโกรธของตัวเอง ต้องรับรู้ก่อนว่าตัวเองโกรธ
ลองคิดดูนะ คนที่ขึ้นเสียงดังจนทั้งห้องตัวสั่นแล้วถามว่า “อ้าว นี่เมื่อกี้พี่ขึ้นเสียงเหรอ พี่ว่าพี่พูดปกตินะ” จะมีโอกาสบริหาร Anger ของตัวเองได้ซักเท่าไหร่กันเชียว
คนที่บอกว่า “รู้ตัวอีกทีหมัดผมก็ลอยใส่อีกคนไปแล้ว” จะสามารถทำ Anger management ได้เหรอ
หรือแม้แต่เวลาทำ Addiction theraphy พื้นฐานขั้นแรกคือ ทำให้รับรู้ว่าเจ้าตัวมีอาการ Addiction ก่อนเช่นกัน
ทุกอย่างเริ่มที่การรับรู้ทั้งสิ้น
ดังนั้นหากเราปฏิเสธที่จะรับรู้ว่าเราแคร์อะไรกันแน่ เราหมดหวังในการควบคุมและจัดการมันแน่นอนครับ
ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ยอมรับว่าโกรธแล้วพยายามจะทำ Anger management มันเป็นไปไม่ได้เลย
ซึ่งนั่นแหละที่ทำให้ผมเป็นห่วงว่าเวลาเราสอนกันว่า คนเก่งเขาไม่แคร์เรื่องพวกนี้นะ เรื่องนี้ไร้สาระนะมีแต่พวกเหลือขอเท่านั้นแหละที่แคร์ แล้วเราพยายามจะ “ปรับตัวเอง” ให้ตรงกับภาพนั้น โดยไม่มี Awareness แต่แรกว่าโดยเนื้อแท้โดยธรรมชาติ เราแคร์อะไรเป็นพื้นฐาน
ผมว่ามันไม่เวิร์ค
รากของความแคร์และการจัดการ
เรื่องนี้ถ้าให้ลงลึกจะยาว แต่ผมขอบอกสั้นๆ ที่น่าจะมีประโยชน์อย่างไวๆ คือ กลไกความแคร์มันมีสองส่วนใหญ่ๆ
- รากฐานของความแคร์ เกิดจาก Yearning, Unmet need ที่อยู่เบื้องลึก เป็นความต้องการพื้นฐาน อาจจะมาจากความต้องการทางกายภาพอย่างเช่น ความหิว หรือความต้องการทางจิตใจ เช่น การเป็นที่ยอมรับ ความรัก ความปลอดภัย การมีคุณค่า
- Behavior Manifestation พฤติกรรมที่ปรากฎ เช่น ความหิวเป็นรากฐานให้เราหาเงินหรือเปล่า ความต้องการเป็นที่ยอมรับเป็นรากฐานให้เราติดโซเชียลบ้าคลั่งหรือเปล่า ความต้องการความปลอดภัยทำให้เรา
(จริงๆ มันแบ่งลึกกว่านี้ก็ได้นะ เพราะเรื่องกลไกในจิตใจมันเป็น Spectrum โดยธรรมชาติ เราสามารถแบ่งได้หลายแบบมากๆ เลย แต่เวอร์ชั่นนี้ที่แบ่งสอนส่วนง่ายๆ ผมว่ามันมีประโยชน์สำหรับคนพึ่งเริ่มต้น)
การจัดการกับความแคร์ ถ้าพูดสั้นๆ เลย เราสามารถยอมรับส่วนที่หนึ่ง แล้วจัดการกับส่วนที่สองได้
ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่ติดมากับตัวเรา เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ปรากฎได้
ถ้าเราต้องการการยอมรับ เราอาจจะหาจากที่อื่นที่ไม่ใช่โซเชียลเน็ตเวิร์กได้มั้ย ได้
ถ้าเราต้องการมีคุณค่ากับคนอื่น เราหาจากที่อื่นที่ไม่ใช่งานได้มั้ย ได้
ถ้าเราต้องการความหิว ยังไงก็ต้องมีข้าวกินแหละ แต่วิธีการได้มาของข้าวเปลี่ยนไปได้มั้ย คำตอบคือได้
ทางเลือกเรามีเยอะมาก
แต่เราจะเลือกทางอื่นที่ดีกว่ากับสมดุลรวมของเราได้ ก็ต่อเมื่อ เรายอมรับว่าเราแคร์ และเราอยู่กับมันจนเข้าใจว่ารากที่แท้จริงความแคร์ภายในตัวเรา คืออะไรกันแน่
อะไรที่ทำให้เราเติมเต็มสิ่งที่เราแคร์ได้ อะไรไม่ได้
อยู่กับมัน เข้าใจความลื่นไหลของมัน เข้าใจข้อจำกัด เข้าใจพลวัตรของมัน
แล้วคุณจะสามารถหาวิธีอยู่กับความแคร์ของตัวเองได้ในแบบที่ไม่จำเป็นต้องทำร้ายตัวเองมากจนเกินไป
เรื่องที่ผมเป็นห่วงมากคือเรากำลังเริ่มตัดสิน ว่า คนแคร์เรื่องนี้คือดี คนแคร์เรื่องนั้นคือกระจอก บางทีคำตัดสินนี้เราโยนให้คนอื่น บางครั้งเราโยนให้ตัวเอง
เวลาคนพูดว่า คนเก่งคนมีคุณภาพอ่ะเขาไม่แคร์กับเรื่องพวกนี้หรอกนะ บางครั้งเราพูดใส่ตัวเอง บางครั้งเราพูดใส่คนอื่น เราพูดเพื่ออะไร
ในหัวเรื่องที่คนในเน็ตพยายามบอกว่าไม่มีใครเขาแคร์กับเรื่องในเน็ตหรอกนะ เขาพยายามจะบอกอะไร พยายามทำให้คนฟังอับอายเหรอที่เราแคร์เรื่องที่คนกลุ่มนึงคิดว่า “ไม่เป็นเรื่อง” แล้วความอับอายนั้นมีประโยชน์มั้ย
ผมคิดว่าความอับอายที่เราแคร์กับเรื่องนึง ไม่มีประโยชน์ ถ้าฉันแคร์ ก็คือฉันแคร์ ก็แค่นั้น ไม่มีอะไรน่าอายเลยแม้แต่นิดเดียว
ถ้าจะอับอายอะไร อาจจะมีแค่วิธีการจัดการกับพฤติกรรมปรากฎเท่านั้นเอง
แต่ความแคร์ไม่ได้มีผิดหรือถูก มีแค่ความรู้สึกแคร์เท่านั้นเอง และความแคร์เป็นต้นกำเนิดของพลังในตัวมนุษย์ด้วยซ้ำ
หากมนุษย์เราไม่มีควาแคร์เลย วันนี้เราก็แค่กินยาตายก็จบแล้วป่ะ ไม่ต้องเสียเวลาด้วย แต่เราอย่างน้อยสุดยังแคร์ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อใช่มั้ย ถึงได้ไม่ทำแบบนั้น
แต่มนุษย์ไม่ได้แคร์แค่สิ่งหยาบกร้านเหล่านั้น เรายังมีความแคร์ในเรื่องละเอียดอ่อนด้วย
และทุกๆ ความแคร์มีความหมายมีพลังเสมอ
ผมเชื่อว่าทุกๆ การกระทำของเรา มันมีความแคร์บางอย่างอยู่ภายในเราถึงเลือกทำสิ่งนั้นเสมอ มีแค่คุณจะตอแหลกับตัวเองว่า “แค่พูดลอยๆ” หรือ “ก็แค่ทำเอาขำๆ ไม่ได้แคร์อะไร” (ประโยคหลังยังมีเลยว่าแคร์ความขำ) หรือเปล่าเท่านั้นเอง
และความตอแหลกับตัวเองนี้จะทำให้เรายิ่งจัดการความแคร์ได้ยากขึ้น
และผมแคร์เรื่องนี้ ผมเลยเขียนบทความนี้ครับ
ปล. โฆษณา เรื่องนี้ผมสอนละเอียดขึ้นในคลาส Humanistic Arthicture ที่สอนว่ากลไกความแคร์ของมนุษย์เราทำงานยังไง แล้วเราจะสำรวจกลไกตรงนั้นไปจนถึงเห็นผลกระทบกับการดีไซน์ระบบซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องกับความแคร์ที่แท้จริงได้ยังไงครับ