เมื่อเหตุผลทำร้ายการสื่อสาร

Chris
Chris’ Dialogue
Published in
1 min readApr 6, 2017

อาจารย์ที่สอนเราท่านนึงบอกว่าภาษาที่ Global ทีสุดในโลกและเข้าใจง่ายที่สุดคือความรู้สึก การอธิบายว่าเรากำลังกังวล กำลังไม่สบายใจ กำลังรู้สึกเครียด การ Express ความรู้สึก มันเป็นการใช้ภาษาที่เคลียร์ ตรงไปตรงมา และเข้าใจง่ายกว่าการอธิบายเหตุผลอีก

การพูดง่ายๆ ว่า เรามีความหงุดหงิด เรามีความเครียด เรามีความกังวล มันตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย และไม่อ้อม

ตรงข้าม การพยายามเอาเหตุผลมาครอบไว้กลับยิ่งทำให้เข้าใจยากกว่า

อันนี้ยกง่ายๆ (และไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์จริง) สมมติว่า ถ้าเขียนโค้ดโดนรีวิวตีกลับ แล้วบอกว่า ขณะเขียนมีความเครียดอยู่นะ หรือบอกว่าเขียนไปแบบนี้เพราะกังวลไม่อยากจะ Refactor ของเก่ากลัวพัง ยังเข้าใจง่ายกว่าพยายามเอาเหตุผลมาครอบอีกนะ บางทีมันหลุดประเด็นไปไกล

เช่น

“โค้ดเก่าก็เขียนมาแบบนี้ ผมก็ทำต่อ”

“แล้วทำไมไม่แก้ของเก่าให้มันดีขึ้นล่ะ”

การที่เราตอบความรู้สึกตรงไปตรงมาว่า

“อ้อ ผมกลัวทำมันพัง”

“อ้อ ตอนนี้เร่งอยู่เลยรีบทำไป”

การอธิบายเป็นความรู้สึกแบบนี้ หลายๆ ครั้งมันเข้าใจง่ายกว่ายกเหตุผลว่า

“นี่ตามหลักมันไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบของผม ผมก็ไม่แก้สิ”

แบบนี้เราก็ได้ปรับโครงสร้างองค์กรโครงสร้างทีมกันพอดีอ่ะนะ หลุดประเด็นไปไกลมั้ยล่ะ

เพราะมนุษย์ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเหตุผล 100% และจริงๆ เราเข้าใจได้เสมอเวลาที่บางทีความรู้สึกมันขับเคลื่อนให้เราทำอะไรแปลกๆ

อย่างถ้าบอกตรงๆ ว่าช่วงนี้หัวร้อนอยู่ ก็ Code review ละเอียดขึ้น แค่นั้นเอง ง่ายๆ น่ะ

แต่แน่นอนว่าการที่เราจะอธิบายความรู้สึกความกังวลของตัวเอง ต้องใช้ความกล้าหาญมากๆ ที่จะซื่อสัตย์กับตัวเองในระดับนั้น การใช้เหตุผลเพื่อปกป้องตัวเองมันง่ายกว่าและรู้สึกปลอดภัยกว่า

สำหรับผมแล้ว Honesty is gold และส่วนตัว ผมให้คุณค่ากับความกล้าหาญที่จะซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองสูงมากเลยครับ ผมคิดว่าเป็น Quality ที่สำคัญมากของคนทำงานดี มันทำให้สื่อสารง่าย เข้าใจง่าย และปรับตัวอยู่ร่วมกันในทีมง่ายมากทีเดียว

--

--

Chris
Chris’ Dialogue

I am a product builder who specializes in programming. Strongly believe in humanist.