Appeal to context

Chris
Chris’ Dialogue
Published in
1 min readOct 18, 2019

ผมเห็นคนดีเบตหรือปัญหาทางเทคนิคเยอะมากๆ และหลายๆ ครั้งมันเป็นการดีเบตในประเด็นที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ได้มีความแตกต่างมากนัก

เวลาคนดีเบตทางเทคนิคเนี่ย ถ้ามันเห็นผลดีผลเสียชัดเจน มันไม่ค่อยมีปัญหาอะไรหรอก แต่เวลามันไม่ชัดเนี่ยสิ ทีมจะคุยกันยังไง

ผมเห็นหลายคนพยายามยกหลักการหรือคำพูดของคนดังมาใช้ ว่าดูสิ คนนั้นบอกเขียน Javascript แบบนี้ดีกว่าอีกแบบ

ซึ่งอันนี้ผมเรียกว่า Appeal to authority มันเป็นตรรกะวิบัติแบบหนึ่ง

เอาล่ะ มันง่ายที่จะชี้ว่าแบบนี้ผิด โทษว่าดีเบตยังงี้ไม่ได้ แต่ความเป็นจริงคือ คนเลือกใช้ Appeal to authority เพราะเขาไม่รู้วิธีที่ดีกว่า แล้วเขาต้องการข้อสรุป ถ้าผมบอกว่าแค่หยุดใช้ คนก็จะอยู่ในสภาวะหาข้อสรุปไม่ได้ ซึ่ง อาจจะแย่กว่าก็ได้

ผมอยากให้เปลี่ยนจาก Appeal to authority เป็น Appeal to context แทน คือ อ้างบริบทรอบข้างแทน

ชีวิตเราไม่ได้อยู่กับหลักการ แต่เราอยู่กับบริบท อยู่กับโลกนี้เวลานี้ปัจจุบันนี้

เช่น ถ้าเถียงกันไม่ได้ว่าใช้ for-loop หรือ map-reduce ดีกว่ากัน

ถ้าเรา Appeal to authority เราก็อาจจะบอกว่า ใช้ map-reduce ดิ เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ไป Functional programming หมดแล้ว หรือไม่ก็บอกว่า บริษัทใหญ่ๆ คนเก่งๆ ใครก็ทำยังงี้กัน

แต่ถ้าเรา Appeal to context สุดท้ายเราเถียงกันเพื่อว่าคนในทีมดูแลโค้ดง่าย ดังนั้นเราก็ใส่บริบทลงไป คือ “ทีมที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน” ถนัดอะไรมากกว่า มันก็ตอบได้โดยไม่ต้องไปอ้าง authority ภายนอกใดๆ ทั้งนั้น

ตัวอย่างข้างบน บริบทเปลี่ยน การตัดสินใจก็เปลี่ยนนะ

เช่น ถ้าเรากำลังจะสเกลขยายทีม หรือกำลังจะเปลี่ยน Paradigm การทำงาน ก็อีกเรื่อง ก็ต้องเอามาใส่เป็นบริบท ก็ใช้แค่ความถนัดไม่ได้

แต่ประเด็นคือ สุดท้ายเราสามารถจัดการการโต้เถียงที่หาข้อสรุปได้ โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงอำนาจ เทรนด์ กระแส คำพูดของคนดัง เทคนิคของบริษัทใหญ่

โดยการใส่บริบทปัจจุบันเข้ามาในการสนทนา

ทีมงานที่ทำอยู่ ลักษณะลูกค้า ลักษณะธุรกิจ และอื่นๆ บริบทพวกนี้จะช่วยให้เราหาข้อสรุปได้

Appeal to context > Appeal to authority

อยู่กับปัจจุบันกันนะ

--

--

Chris
Chris’ Dialogue

I am a product builder who specializes in programming. Strongly believe in humanist.