ทรัพย์สินทางปัญญา

saint99599
Computer Science, KMITL
3 min readMar 15, 2023

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นหรือสร้าง ไม่ว่าจะเป็นแบบจับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือแบบจับต้องไม่ได้ เช่น การบริการ, แนวคิดธุรกิจ, กรรมวิธีการผลิต เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งเป็น 2 ประเภท

1.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม(Industrial Property)

Ref : https://tgcthailand.com/wp-content/uploads/2022/12/intellectual_property-1200x650.jpg

1.1 สิทธิบัตร(Patent) หนังสือที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งจะคุ้มครองเมื่อทำการขอยื่นจดเท่านั้น และมีเวลาการคุ้มครองจำกัด สิทธิบัตรมีดังนี้

Ref : https://becommon.co/wp-content/uploads/2018/10/COntent-2.png

1.สิทธิบัตรการประดิษฐ์(Invention Patent) คือ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ หรือ กรรมวิธีใหม่ ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับกลไก โครงสร้าง สิ่งของ หรือเครื่องใช้ต่างๆ สิทธิบัตรมีอายุการคุ้มครอง 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และจะคุ้มครองเฉพาะประเทศที่จดเท่านั้น

หลักเกณฑ์ในการรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่
  • มีขั้นตอนการผลิตที่สูงขึ้น
  • ใช้ในอุตสาหกรรมได้

2.สิทธิบัตรยา คือ การคิดค้น เวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์ ที่รวมถึงสูตรใหม่, ส่วนผสมใหม่, วิธีการใช้ใหม่ สิทธิบัตรยามีอายุการคุ้มครอง 20 ปี

3.สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design Patent) คือ การสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การออกแบบรูปแบบรถ, รองเท้าแบบใหม่ที่มีรูปลักษณ์ภายนอกต่างจากเดิม สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี นับจากวันที่ยื่นจด

4.อนุสิทธิบัตร(Petty Patent) คือการประดิษฐ์แต่ เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย มีระยะการคุ้มครอง 6 ปี ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตั้งแต่ปีที่ 5–6 และสามารถต่ออายุได้สองครั้ง ครั้งละ 2 ปี

สิ่งที่ไม่สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้

  • จุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้, สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์ (ยกเว้นที่นำไปตัดต่อพันธุกรรมแล้ว)
  • ทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
  • ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค
  • สิ่งที่มีแพร่หลายหรือซ้ำกับคนอื่น
  • ไม่เคารพศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือราชวงศ์
  • มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ชั้นสูง
  • เป็นสิ่งลามกอนาจาร
  • ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม

1.2 แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout — Design of Integrated Circuit) คือ แบบแผนผัง หรือภาพในรูปแบบใดก็ตามที่วาง,จัดวางให้เป็นวงจรรวม หรือก็คือแบบวงจรไฟฟ้า มีอายุคุ้มครอง 10 ปี และต่ออายุได้ไม่เกินอีก 5 ปี

Ref : https://tmec.nectec.or.th/public/img/research/icfab_tidi.jpg

1.3 เครื่องหมายการค้า (Trademark) เครื่องหมายหรือลักษณะหรือตราที่ใช้กับสินค้า/บริการ มีอายุการคุ้มครองครั้งละ 10 ปี

- เครื่องหมายสําหรับสินค้า (Goods Marks) คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงบนสินค้า และผลิตภัณฑ์

Ref : https://www.thaidesignguru.com/images/article/mark-bag7.webp

- เครื่องหมายบริการ(Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนในความหมายของบริการนั้นๆ

Ref : https://www.prosoftibiz.com/upload/6220/FPQg6Bpyrz.jpg

- เครื่องหมายรับรอง(Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพสินค้า หรือบริการ

Ref : https://4.bp.blogspot.com/-VJF9Q81Kl6U/WMNJdkf3xTI/AAAAAAAAafk/DG8Jf2cSeWkS--mmnjqHk03H8DXO4oZ2ACLcB/s1600/img1489193225919.jpg

- เครื่องหมายร่วม(Collective Mark) คือ เครื่องหมายที่ถูกใช้ร่วมกัน โดยบริษัทและกลุ่มวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน

Ref : https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2016/09/ki6.jpg

1.4 ความลับทางการค้า(Trade Secret) เป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือข้อมูลที่เป็นความลับของผลิตภัณฑ์หรือการบริการนั้นๆ มีอายุตั้งแต่ 6–20 ปี โดยขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล

1.5 ชื่อทางการค้า(Trade Name) คือ ชื่อที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ในกรณีที่มีการใช้ชื่อทางการค้ากับสินค้าหรือบริการ

1.6 สิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications) คือ สินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเฉพาะของภูมิศาสตร์ เช่น ส้มบางมด, ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

Ref : https://filebroker-cdn.lazada.co.th/kf/S39d338f88a614e84829c61954d609059j.jpg

2.ลิขสิทธิ์(Copyright)

ลิขสิทธิ์เป็นการสร้างสรรค์โดยใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ โดยไม่ลอกเลียนงานผู้อื่น ซึ่งได้รับการคุ้มครองทันทีตั้งแต่สร้าง(อย่างไรก็ตามควรมีการจดลิขสิทธิ์ไว้ เพื่อให้มีการคุ้มครองทางกฎหมาย และเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆที่แสดงความเป็นเจ้าของ) มีอายุต่อจากวันที่เจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต 50 ปี เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถซื้อขายหรือโอนสิทธิ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่นๆ

  • Software เป็นประเภทวรรณกรรม เมื่อยื่นจดลิขสิทธิ์ จะต้องแนบโค้ดและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

ลิขสิทธิ์แบ่งเป็น 9 ประเภท

Ref : https://i.ytimg.com/vi/tx2HWTMuwf0/maxresdefault.jpg

1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ,งานเขียน,สิ่งพิมพ์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ, การเต้น, การทําท่า, หรือ การแสดงที่ ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว เป็นต้น

3. งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพพิมพ์, สถาปัตยกรรม หรือ ภาพถ่าย เป็นต้น

4. งานดนตรีกรรม งานที่เกี่ยวกับเพลงทํานองและเนี้อร้องหรือทำนองอย่างเดียว และรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยก และเรียบเรียงเสียงประสานเรียบร้อยแล้ว

5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น เทปวิดีโอ หรือ แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี ซึ่งประกอบด้วยลำดับภาพหรือลำดับภาพและเสียงที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้

6. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์

7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง หรือ แผ่นซีดี

8. งานแพรรอสียงและภาพ ได้แก่ งานที่นําออกเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์

9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

งานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

  • ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริง
  • รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง
  • คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย

การยื่นจดสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์ของนักศึกษาสจล.

นักศึกษาพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถยื่นจดสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์กับทางสถาบันได้ โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kris.kmitl.ac.th/

--

--